เสาบริเวณลานซักล้างหลังบ้านร้าว แก้ไขยังไงดีครับ

เนื่องจากผมพึ่งได้ซื้อทาวน์โฮม 3 ชั้น แล้วได้เข้ามาอยู่ได้ประมาณ 4 เดือน แล้วสังเกตเห็นรอยร้าวบริเวณเสาบริเวณด้านหลังของตัวทาวน์โฮม (ได้สอบถามวิศวกรของโครงการ เค้าบอกว่าเป็นช่องชาร์ฟของระบบน้ำทิ้งของตัวทาวน์โฮมครับ) ผมได้ทำการแจ้งโครงการ แล้วช่างมาซ่อมโดยการเจียรอยร้าวให้เป็นร่องตัววี แล้วทำการฉาบปูนปิดทับ แล้วทาสีทับอีกที หลังจากที่ซ่อมเสร็จประมาณ 1 เดือน รอยร้าวที่ซ่อมก็กลับมาเป็นลักษณะเดิม - -!

ตามรูปนี้ครับ
[img]https://www.uppic.org/image-1CAE_59F52790.jpg[/img]
[img]https://www.uppic.org/image-2D03_59F52790.jpg[/img]
[img]https://www.uppic.org/image-0CB6_59F52790.jpg[/img]
[img]https://www.uppic.org/image-5EF2_59F52790.jpg[/img]

รบกวนสอบถามครับว่า
1. ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากอะไร (คาดว่าพื้นหลังบ้านทรุดรึป่าว - -!) เกี่ยวกับการที่ผมปูพื้นกระเบื้องหลังบ้าน+ทำโครงหลังคารึป่าวครับ
2. จะมีปัญหาต่อไปในระยะยาวรึป่าวครับ
3. มีวิธีแก้ไขให้หายขาดรึป่าวครับ

ขอบคุณครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ผนังส่วนที่ร้าวนี้ "ไม่ใช่เสา" เป็นผนังก่อปิดแนวท่อสุขาภิบาล ตามที่คนที่คุณเรียกว่าวิศวกรแจ้งมา โดยใช้ศัพท์ทางก่อสร้างว่า "ช่องชาฟต์ : Shaft"  จึงไม่ใช่ปัญหาด้านโครงสร้างโดยตรง

         
    
ด้วยทางผู้ประกอบการรายนี้ใช้การก่ออิฐ โดยก่อบนพื้นหลังบ้าน ซึ่งคงจะเป็นพื้นวางบนดิน (Slab on Ground)  และผนังก็ไปก่อชิดติดกับโครงสร้างบ้านที่เป็นโครงสร้างมีเสาเช็มยาว  จึงมีการทรุดตัวแตกต่างกันมาก โดยพื้นวางบนดินจะทรุดเร็วกว่า จึงเกิดการดึงรั้งลงด้านล่าง ดึงฉีกปูนฉาบ & อิฐก่อภายในลงมาในแนวดิ่ง ทำให้รอยร้าวฉีกขาดเป็นแนวนอน (ขนานไปกับพื้น)  โดยไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการที่ จขกท.ไปทำการปูกระเบื้องเสริมขึ้นมาโดยตรง เพียงแต่ไปเพิ่มน้ำหนักพื้นขึ้นบ้าง การทรุดตัวก็เพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย . . . . การที่ จนท.ของผู้ประกอบการ รู้สาเหตุ แล้วยังมาแก้ไขปัญหาเพียงอุดโป๊วรอยร้าว + ทาสีให้นั้น เข้าข่ายทำไปแบบ "ขอไปที"  กล่าวคือแค่ซ่อมๆฉาบฉวย ยืดเวลาให้หมดอายุประกันไป ทิ้งเป็นปัญหาระยะยาวให้กับลูกบ้าน

จะมีปัญหาระยะยาวหรือไม่?  :  ก็ขึ้นอยู่ว่าการทรุดตัวของพื้นหลังบ้านจะชลอตัวลงมากน้อยอย่างไร? แต่ก็ไม่ถึงกับเป็นปัญหาโครงสร้งโดยตรง . . . แต่สิ่งที่น่ากังวลมากกว่าว่า ระบบท่อที่เดินอยู่ภายใน ยึดเกี่ยวไว้อย่างไร จะถูกดึงรั้งจนท่อหลุดหรือแตกในอนาคตหรือไม่? ซึ่งจำเป็นต้องทุบรื้อพื้นเพื่อซ่อมแซม โดยเฉพาะหากมีท่อเดินรอดใต้คานคอดินตรงนี้เข้าบ้าน ก็จะทำให้ท่อรั่วซึม แล้วปั้มน้ำก็จะเดินๆหยุดๆ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบทั่วๆไปสำหรับบ้านแบบนี้ (จะหงุดหงิดมากเมื่อได้ยินเสียงปั้มน้ำเดินๆหยุดๆ เมื่อไม่ได้ใช้งานใดๆ)

การป้องกันแต่ต้นจะง่ายกว่ามาก ถ้าหากทางโครงการ จะทำเป็นคานคอนดินยื่นออกมา ล้อมกรอบเป็น 4 เหลี่ยมตามช่อง Shaft นั้น . . .  แต่ก็สายไปแล้วสำหรับ จขกท. . . . . การแก้ปัญหาถาวรคงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ขอแนะนำทิ้งไว้  คือ  ทุบผนังก่ออิฐนี้ออกไป แล้วทำโครงเหล็กหรือโครงกัลวาไนซ์ บุไม้เทียม (Fiber Cement)  โดยโครงทั้งหมดยึดกับตัวโครงสร้างบ้าน ไม่ถ่ายน้ำหนัก หรือไม่ยึดโยง & วางยึดกับพื้นด้านล่าง (เมื่อทาสีไปก็จะดูคล้ายๆผนังก่ออิฐฉาบปูนทาสี) โดยทิ้งช่องว่างช่วงติดพื้นไว้ประมาณ 0.5-1.0 ซม. แล้วฉีดปิดด้วย PU Sealant . . . . แก้ไขอย่างชั่วคราว  ก็ใช้วิธีเอาลูกหมูใส่ใบตัด ตัดเจียรปูนฉาบเป็นร่องในแนวนอน กว้างประมาณ 1 ซม. & ลึกประมาณ 1 ซม. โดยรอบ (เป็นกลายๆกึ่งเป็น Expansion Joint)  แล้วฉีดอุดโป๊วด้วย Polyurethane Sealant  วิธีนี้ก็เพียงบรรเทาเท่านั้นและคาดหวังว่าการทรุดตัวน่าจะน้อยลงไปมากๆแล้ว  เพราะหากการทรุดตัวยังมีอยู่มาก ผนังปูนฉาบช่วงล่างแนวกรีดก็จะแตกร้าวอยู่ดี (ก็ต้องตามมาซ่อมอุดโป๊วเป็นระยะๆไป)  [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่