24 ต.ค.60 นพ.กฤษดา ศิรามพชุ ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ กล่าวว่า ความโศกเศร้าของคนไทยเราในตอนนี้ยากเกินจะพรรณนา ในวันมหาวิปโยคแห่งความสูญเสียก็ได้เสียน้ำตากันจนท่วมแผ่นดินมาแล้ว แล้วในคราที่มีเหตุที่ให้นึกถึงความเศร้าครั้งนั้นอีกก็ทำให้อดไม่ได้ที่จะใจหาย คนไทยเราเป็นชนชาติที่มีกตัญญุตาต่อผู้ที่รักเคารพและแผ่นดินอย่างสูงส่ง ดังนั้นห้วงแห่งอารมณ์ที่สูญเสียนี้ถ้ามีผู้ใหญ่สักคนเกิดเข้าสู่ภาวะซึมเศร้าจริงๆก็มีสิ่งที่เป็นโจทย์ยากที่สุดของญาติคนไข้คือการที่ คนไข้ไม่ยอมไปหาหมอ เพราะรู้สึกว่าตัวเองไม่เจ็บป่วยอะไร ซึ่งปัญหานี้ตลอดชีวิตการตรวจคนไข้มาของตนได้เห็นว่าเป็นอุปสรรคใหญ่ยิ่งต่อทั้งครอบครัวคนไข้และหมอเอง
“ถ้าคนไข้ไม่ยอมมาหมอจะทำอะไรได้ ญาติคนไข้ที่น่าสงสารก็พากันร้องกลุ้มใจไม่รู้จะทำอย่างไร” นพ.กฤษดา กล่าว
พร้อมกับระบุว่า เหตุผลหนึ่งที่คนไข้โดยเฉพาะผู้สูงวัยไม่อยากไปเข้ารับการรักษาก็เพราะเกรงใจครอบครัว เกรงจะไปเป็นภาระกับลูกหลาน ซึ่งเรื่องนี้ศาสตร์อายุรวัฒน์มีหลักในการพูดคุยกับผู้สูงวัยอยู่ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้สำเร็จง่ายสะดวกโยธินอย่างหนึ่งคือครอบครัวที่เสียสละที่ช่วยกันพูดคุยอย่างใจเย็น เห็นปัญหาไม่ใช่อุปสรรคและใส่ความรักอย่างไร้เงื่อนไขอยู่ในทุกคำพูดทุกกิริยาท่าทางที่มีต่อคนไข้
อย่างไรก็ตาม นพ.กฤษดา ยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำ แต่สิ่งนี้คือกุญแจไขสู่ความสำเร็จ ซึ่งเรื่อง ซึมเศร้าในผู้สูงวัยถือเป็นเรื่องใหญ่หนึ่งทีเดียวเพราะมันอาจเกิดภายหลังจากการบาดเจ็บทางกายเช่นการล้มที่พบบ่อยในผู้สูงวัยกว่า 70 ปีขึ้นไปตั้ง 3 เท่าของคนทั่วไป ดังนั้นการจะรู้ทันภาวะซึมเศร้าจึงอยู่ที่การใส่ใจ แบบค่อนข้างเสียสละเวลาของลูกหลานที่อยู่ใกล้ ในทางอายุรวัฒน์จึงมีหลักให้เลือกสังเกตกันใกล้ๆตัว 7 ข้อ คือ
1.ใส่ใจยามสูญเสีย ความพลัดพรากสูญเสียของผู้สูงวัยนั้นบางทีสาหัสยิ่งกว่าคนอายุน้อยๆด้วยท่านผ่านเรื่องราวต่าง ๆ ที่อาจเป็นบาดแผลในใจที่เมื่อต้องเผชิญความสูญเสียใหม่ๆจะปลุกเร้าให้ความเศร้าที่เคยจมลึกในหัวใจกลับมาอีก ดังนั้นทางที่ดีคือเราควรถามและรับฟังในขณะนั้น ๆ เลยจะดีกว่า
2.มองหากิริยาเตือน ผู้ใหญ่ที่บอกกับลูกหลานเสมอเวลาถูกถามว่า “ไม่เหงาดอก” “ไม่ซึมเศร้าน่า” หรือว่า “อยู่คนเดียวก็สบายดี” นั้นบางทีต้องดูสัญญาณทางกายให้ดี ๆ ประกอบกันว่าไปด้วยกับคำพูดที่ใช้ปลอบให้คนถามสบายใจหรือไม่เช่นพูดไปก็กระวนกระวายไป บีบมือบีบไม้ไม่หยุดหย่อน หงุดหงิด ขี้โมโหหรือไม่มีสมาธิจดจ่อ ขอให้ดูอย่างละเอียดเพราะเรื่องนี้เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง
3.อย่าใช้คำที่รับไม่ได้ ขอให้เอาใจเขามาใส่ใจเราให้มาก ๆ หากนึกไม่ออกลองคิดว่าตัวเราที่รู้สึกสบายๆดีอยู่แต่จู่ ๆ ก็มีคนมาบอกให้ลุกไปหาหมอก็จะนึกค้านขึ้นมาทันควันว่า “ฉันสบายดี” ซึ่งถ้าพบผู้ใหญ่กรณีนี้ก็ควรเลี่ยงคำว่า “ซึมเศร้า” “จิตแพทย์” หรือ “กินยารักษา” เพราะว่าท่านจะรู้สึกต่อต้านแล้วในที่สุดก็จะไม่ยอมดูแลตัวเองเรื่องการกินยาและหาหมอตามกำหนดนัด
4.ให้คิดว่าคือความเจ็บป่วย เรื่องซึมเศร้าเป็นความไม่สบายหนึ่งที่เข้ามาในชีวิตเราซึ่งก็เป็นเช่นเดียวกับความเจ็บป่วยอื่นๆคือไม่มีวันที่จะคงอยู่ตลอดกาล มันมีหนทางการรักษาและดูแลกันขอเพียงแต่คนใกล้ต้องตระหนักว่าซึมเศร้าไม่ใช่เรื่องแกล้งทำ ซึ่งบางทีที่เขาไม่อยากลุกขึ้นแต่งตัวออกไปเที่ยวไหนต่อไปเหมือนเดิมก็เพราะเขาป่วยนั่นเองจึงไม่ควรฝืนใจผู้ป่วยเพราะคิดว่าแค่ปรับความคิดก็จะหายได้
5.อย่าช่วยครอบจักรวาล การดูแลอย่างที่เรียกว่า “โอ๋” เกินไปก็ไม่ดีนักกับผู้สูงวัยที่ซึมเศร้าเช่นจับเขาแต่งตัว จับเข้าห้องน้ำหรือประแป้งป้อนข้าวกันทุกเม็ดอย่างนี้จะทำให้เจ้าตัวคนป่วยรู้สึก “หมดคุณค่า” เพราะว่าทำอะไรเองไม่ได้เสียแล้วต้องมีคนช่วยหมดทุกกระเบียด ดังนั้นทางง่ายๆคือให้เขาทำในสิ่งที่พอทำได้โดยไม่ต้องเข้าช่วยไปหมดทุกอย่าง
6.สอดส่องเรื่องยา ถ้าผู้สูงวัยท่านเข้ารับการรักษาเรื่องซึมเศร้าแล้ว ขั้นตอนถัดมาคือการดูแลการรับประทานยาให้เป็นไปตามแพทย์สั่งอย่างไม่ขาดหาย ซึ่งเรื่องนี้สมาชิกครอบครัวที่อยู่ใกล้ควรดูแลกันได้หรือตั้งใครคนใดคนหนึ่งไว้ช่วยดูแลเรื่องรับประทานยาครบ เพราะบางทีผู้ป่วยอาจหยุดยาเองเพราะรู้สึกว่าตัวเองหายแล้วหรือถ้ามีคนดูแลเปลี่ยนหน้าบ่อยก็อาจไม่ทราบประวัติยาเดิมก็ได้
7. หาทางแก้ก่อนสาย ผู้ใหญ่ที่มีพฤติกรรม “เปลี่ยนไป” จากเดิมเช่นเบื่ออาหารไม่อยากกินอะไรทั้งที่แต่ก่อนเคยเจริญอาหารนั้นลางทีอาจไม่ใช่โรคทางกายอย่างเดียวแต่เป็นอาการ “ซึมเศร้า” ก็ได้เช่นเดียวกับผู้สูงวัยที่เคยกระฉับกระเฉงออกกำลังและไปเที่ยวกับเพื่อนแต่จู่ๆก็เลิกหมด งดร้องคาราโอเกะและไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่เคยทำอย่างสนุกเหมือนเคยก็ถือเป็นสัญญาณเตือนครับ
สำหรับผู้ใหญ่ยุคใหม่ขอแนะนำให้ดูอาการไม่เล่นโซเชียล ไม่เข้าไลน์กรุ้ปเพื่อนอย่างเคยด้วย อย่างไรก็ตาม ความเศร้าเมื่อมีเกิดได้ก็ย่อมดับไปได้ด้วยสติและการแปรเปลี่ยนความโศกนั้นอย่างสร้างสรรค์โดยเฉพาะการได้มีจิตอาสาทำเพื่อผู้อื่น ได้คืนความสุขให้กับคนรอบข้างและสร้างบุญกุศลเพื่อบุคคลที่เรารักด้วยใจบริสุทธิ์แท้ จะเป็นเครื่องแก้ความเศร้าได้อย่างยั่งยืนที่สุด
ข่าวจาก : แนวหน้าออนไลน์
http://www.naewna.com/likesara/299230
7 ทางรับมือซึมเศร้าเข้าแฝงในผู้สูงวัย
24 ต.ค.60 นพ.กฤษดา ศิรามพชุ ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ กล่าวว่า ความโศกเศร้าของคนไทยเราในตอนนี้ยากเกินจะพรรณนา ในวันมหาวิปโยคแห่งความสูญเสียก็ได้เสียน้ำตากันจนท่วมแผ่นดินมาแล้ว แล้วในคราที่มีเหตุที่ให้นึกถึงความเศร้าครั้งนั้นอีกก็ทำให้อดไม่ได้ที่จะใจหาย คนไทยเราเป็นชนชาติที่มีกตัญญุตาต่อผู้ที่รักเคารพและแผ่นดินอย่างสูงส่ง ดังนั้นห้วงแห่งอารมณ์ที่สูญเสียนี้ถ้ามีผู้ใหญ่สักคนเกิดเข้าสู่ภาวะซึมเศร้าจริงๆก็มีสิ่งที่เป็นโจทย์ยากที่สุดของญาติคนไข้คือการที่ คนไข้ไม่ยอมไปหาหมอ เพราะรู้สึกว่าตัวเองไม่เจ็บป่วยอะไร ซึ่งปัญหานี้ตลอดชีวิตการตรวจคนไข้มาของตนได้เห็นว่าเป็นอุปสรรคใหญ่ยิ่งต่อทั้งครอบครัวคนไข้และหมอเอง
“ถ้าคนไข้ไม่ยอมมาหมอจะทำอะไรได้ ญาติคนไข้ที่น่าสงสารก็พากันร้องกลุ้มใจไม่รู้จะทำอย่างไร” นพ.กฤษดา กล่าว
พร้อมกับระบุว่า เหตุผลหนึ่งที่คนไข้โดยเฉพาะผู้สูงวัยไม่อยากไปเข้ารับการรักษาก็เพราะเกรงใจครอบครัว เกรงจะไปเป็นภาระกับลูกหลาน ซึ่งเรื่องนี้ศาสตร์อายุรวัฒน์มีหลักในการพูดคุยกับผู้สูงวัยอยู่ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้สำเร็จง่ายสะดวกโยธินอย่างหนึ่งคือครอบครัวที่เสียสละที่ช่วยกันพูดคุยอย่างใจเย็น เห็นปัญหาไม่ใช่อุปสรรคและใส่ความรักอย่างไร้เงื่อนไขอยู่ในทุกคำพูดทุกกิริยาท่าทางที่มีต่อคนไข้
อย่างไรก็ตาม นพ.กฤษดา ยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำ แต่สิ่งนี้คือกุญแจไขสู่ความสำเร็จ ซึ่งเรื่อง ซึมเศร้าในผู้สูงวัยถือเป็นเรื่องใหญ่หนึ่งทีเดียวเพราะมันอาจเกิดภายหลังจากการบาดเจ็บทางกายเช่นการล้มที่พบบ่อยในผู้สูงวัยกว่า 70 ปีขึ้นไปตั้ง 3 เท่าของคนทั่วไป ดังนั้นการจะรู้ทันภาวะซึมเศร้าจึงอยู่ที่การใส่ใจ แบบค่อนข้างเสียสละเวลาของลูกหลานที่อยู่ใกล้ ในทางอายุรวัฒน์จึงมีหลักให้เลือกสังเกตกันใกล้ๆตัว 7 ข้อ คือ
1.ใส่ใจยามสูญเสีย ความพลัดพรากสูญเสียของผู้สูงวัยนั้นบางทีสาหัสยิ่งกว่าคนอายุน้อยๆด้วยท่านผ่านเรื่องราวต่าง ๆ ที่อาจเป็นบาดแผลในใจที่เมื่อต้องเผชิญความสูญเสียใหม่ๆจะปลุกเร้าให้ความเศร้าที่เคยจมลึกในหัวใจกลับมาอีก ดังนั้นทางที่ดีคือเราควรถามและรับฟังในขณะนั้น ๆ เลยจะดีกว่า
2.มองหากิริยาเตือน ผู้ใหญ่ที่บอกกับลูกหลานเสมอเวลาถูกถามว่า “ไม่เหงาดอก” “ไม่ซึมเศร้าน่า” หรือว่า “อยู่คนเดียวก็สบายดี” นั้นบางทีต้องดูสัญญาณทางกายให้ดี ๆ ประกอบกันว่าไปด้วยกับคำพูดที่ใช้ปลอบให้คนถามสบายใจหรือไม่เช่นพูดไปก็กระวนกระวายไป บีบมือบีบไม้ไม่หยุดหย่อน หงุดหงิด ขี้โมโหหรือไม่มีสมาธิจดจ่อ ขอให้ดูอย่างละเอียดเพราะเรื่องนี้เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง
3.อย่าใช้คำที่รับไม่ได้ ขอให้เอาใจเขามาใส่ใจเราให้มาก ๆ หากนึกไม่ออกลองคิดว่าตัวเราที่รู้สึกสบายๆดีอยู่แต่จู่ ๆ ก็มีคนมาบอกให้ลุกไปหาหมอก็จะนึกค้านขึ้นมาทันควันว่า “ฉันสบายดี” ซึ่งถ้าพบผู้ใหญ่กรณีนี้ก็ควรเลี่ยงคำว่า “ซึมเศร้า” “จิตแพทย์” หรือ “กินยารักษา” เพราะว่าท่านจะรู้สึกต่อต้านแล้วในที่สุดก็จะไม่ยอมดูแลตัวเองเรื่องการกินยาและหาหมอตามกำหนดนัด
4.ให้คิดว่าคือความเจ็บป่วย เรื่องซึมเศร้าเป็นความไม่สบายหนึ่งที่เข้ามาในชีวิตเราซึ่งก็เป็นเช่นเดียวกับความเจ็บป่วยอื่นๆคือไม่มีวันที่จะคงอยู่ตลอดกาล มันมีหนทางการรักษาและดูแลกันขอเพียงแต่คนใกล้ต้องตระหนักว่าซึมเศร้าไม่ใช่เรื่องแกล้งทำ ซึ่งบางทีที่เขาไม่อยากลุกขึ้นแต่งตัวออกไปเที่ยวไหนต่อไปเหมือนเดิมก็เพราะเขาป่วยนั่นเองจึงไม่ควรฝืนใจผู้ป่วยเพราะคิดว่าแค่ปรับความคิดก็จะหายได้
5.อย่าช่วยครอบจักรวาล การดูแลอย่างที่เรียกว่า “โอ๋” เกินไปก็ไม่ดีนักกับผู้สูงวัยที่ซึมเศร้าเช่นจับเขาแต่งตัว จับเข้าห้องน้ำหรือประแป้งป้อนข้าวกันทุกเม็ดอย่างนี้จะทำให้เจ้าตัวคนป่วยรู้สึก “หมดคุณค่า” เพราะว่าทำอะไรเองไม่ได้เสียแล้วต้องมีคนช่วยหมดทุกกระเบียด ดังนั้นทางง่ายๆคือให้เขาทำในสิ่งที่พอทำได้โดยไม่ต้องเข้าช่วยไปหมดทุกอย่าง
6.สอดส่องเรื่องยา ถ้าผู้สูงวัยท่านเข้ารับการรักษาเรื่องซึมเศร้าแล้ว ขั้นตอนถัดมาคือการดูแลการรับประทานยาให้เป็นไปตามแพทย์สั่งอย่างไม่ขาดหาย ซึ่งเรื่องนี้สมาชิกครอบครัวที่อยู่ใกล้ควรดูแลกันได้หรือตั้งใครคนใดคนหนึ่งไว้ช่วยดูแลเรื่องรับประทานยาครบ เพราะบางทีผู้ป่วยอาจหยุดยาเองเพราะรู้สึกว่าตัวเองหายแล้วหรือถ้ามีคนดูแลเปลี่ยนหน้าบ่อยก็อาจไม่ทราบประวัติยาเดิมก็ได้
7. หาทางแก้ก่อนสาย ผู้ใหญ่ที่มีพฤติกรรม “เปลี่ยนไป” จากเดิมเช่นเบื่ออาหารไม่อยากกินอะไรทั้งที่แต่ก่อนเคยเจริญอาหารนั้นลางทีอาจไม่ใช่โรคทางกายอย่างเดียวแต่เป็นอาการ “ซึมเศร้า” ก็ได้เช่นเดียวกับผู้สูงวัยที่เคยกระฉับกระเฉงออกกำลังและไปเที่ยวกับเพื่อนแต่จู่ๆก็เลิกหมด งดร้องคาราโอเกะและไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่เคยทำอย่างสนุกเหมือนเคยก็ถือเป็นสัญญาณเตือนครับ
สำหรับผู้ใหญ่ยุคใหม่ขอแนะนำให้ดูอาการไม่เล่นโซเชียล ไม่เข้าไลน์กรุ้ปเพื่อนอย่างเคยด้วย อย่างไรก็ตาม ความเศร้าเมื่อมีเกิดได้ก็ย่อมดับไปได้ด้วยสติและการแปรเปลี่ยนความโศกนั้นอย่างสร้างสรรค์โดยเฉพาะการได้มีจิตอาสาทำเพื่อผู้อื่น ได้คืนความสุขให้กับคนรอบข้างและสร้างบุญกุศลเพื่อบุคคลที่เรารักด้วยใจบริสุทธิ์แท้ จะเป็นเครื่องแก้ความเศร้าได้อย่างยั่งยืนที่สุด
ข่าวจาก : แนวหน้าออนไลน์
http://www.naewna.com/likesara/299230