คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
จะเป็นผู้พิพากษา/ อัยการ
ม.ปลาย จะเรียนสายอะไรมาก็ได้
จะเรียน ปวช. หรือ กศน. ก็ยังได้
แต่ต้องเรียนจบ ป.ตรี นิติศาสตร์ เท่านั้น
ถ้าให้ดีก็ให้เรียน ป.ตรี นิติศาสตร์ ที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ส่วน มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก็ดัง นิติศาสตร์ แต่ให้เอาไว้เลือกที่หลัง ถ้าสอบ ฬ หรือ ม.ธ. ไม่ติด
เพราะ ม.ราม เป็น ม.ตลาดวิชา รับ นักศึกษาไม่จำกัดจำนวน ไม่ต้องสอบเข้า สามารถ กำตังค์ กำเอกสาร มาสมัครเข้าเรียนได้เลย
แต่ทั้งนี้ จะเรียน ม.อื่นๆ ก็ได้ ขอให้ คณะกรรมการอัยการ, คณะกรรมการตุลาการ รับรอง คุณวุฒิแล้ว
เช่น หลักสูตรที่คณะกรรมการตุลาการ รับรอง http://www.ojc.coj.go.th/doc/data/ojc/ojc_1480320783.pdf
และ เนติบัณฑิตยสภา ต้องรับรองให้สามารถสมัครเป็นนักศึกษาเนติบัณฑิตได้ด้วย
http://www.thethaibar.or.th/thaibarweb/fileadmin/DAM/2556/thabian_naksueksa/mahawitthayalai_21082557.pdf
ส่วนการเรียนนิติศาสตร์ หลักๆ ก็อยู่ที่ความรู้ ความสามารถ ความขยันหมั่นเพียร ของตนเอง เป็นหลัก
พูดเป็นนัยๆ ได้ว่า เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน เพราะอยู่ที่ตัวเองนั่นแหละ
(แต่ถ้าเรียน ม. ที่ดังด้านนี้ ก็จะดี เพราะมีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรได้ดีกว่า)
ถ้าจะสอบอัยการผู้ช่วย หรือผู้ช่วยผู้พิพากษา
ต้องมีคุณสมบัติพื้นฐานด้าน วุฒิการศึกษา และ อายุงาน (สรุปสั้นๆ คร่าวๆ) ดังนี้
1. จบ ป.ตรี นิติศาสตร์ (จากสถาบันที่ได้รับการรับรอง ข้างต้น)
2. เป็นผู้สอบไล่ได้ความรู้ชั้นเนติบัณฑิตตามหลักสูตรของสํานักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (จบ ประกาศนียบัตรเนติบัณฑิตไทย)
3. มีประสบการณ์ทำงานด้านกฎหมายตามที่กำหนด (ด้านล่าง)
4. มีสิทธิสอบเมื่อมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี
-------------------------
สำหรับอัยการผู้ช่วย
วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นที่สามารถเก็บอายุงานสอบอัยการผู้ช่วย สำหรับผู้สมัครสอบคัดเลือก (สรุปย่อ)
ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายดังต่อไปนี้ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี
(1) อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ หรือภาควิชานิติศาสตร์ หรือสาขาวิชานิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งคณบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่ารับรองว่าได้สอนวิชากฎหมายตามหลักสูตรในคณะนิติศาสตร์ หรือภาควิชานิติศาสตร์ หรือสาขาวิชานิติศาสตร์มาแล้ว
(2) พนักงานฝ่ายปกครองหรือข้าราชการตำรวจ ซึ่งทำหน้าที่พนักงานสอบสวน และผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่พนักงานสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า 20 เรื่อง
(3) เจ้าพนักงานคดี สำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานสายงานนิติการที่ ก.อ. กำหนด หรือข้าราชการศาลยุติธรรมตำแหน่งเจ้าพนักงานศาลยุติธรรม (วุฒิทางกฎหมาย) หรือเจ้าพนักงานคดี สำนักงานศาลยุติธรรม ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรมกำหนด
(4) นายทหารซึ่งทำหน้าที่นายทหารสืบสวนสอบสวน หรือนายทหารสารวัตรสืบสวนสอบสวน กระทรวงกลาโหม ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานสอบสวนคดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลทหารมาแล้วไม่น้อยกว่า 20 เรื่อง
(5) ข้าราชการตำแหน่งเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานสอบสวนคดียาเสพติดมาแล้วไม่น้อยกว่า 20 เรื่อง
(6) ข้าราชการตำแหน่งเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบทรัพย์สิน หรือไต่สวนและวินิจฉัยคดีที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
(7) ข้าราชการตำแหน่งนักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือนักวิชาการที่ดิน (วุฒิทางกฎหมาย) กรมที่ดิน ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่ ก.พ. กำหนด
(8) เจ้าพนักงานการเลือกตั้ง (งานนิติการ) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่ ก.พ. กำหนด หรือเป็นเจ้าพนักงานการเลือกตั้ง (งานวินิจฉัยหรืองานสืบสวนสอบสวน) หรือพนักงานสืบสวนสอบสวน สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานพิจารณาวินิจฉัยหรือสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า 20 เรื่อง
(9) ข้าราชการหรือลูกจ้างในกระทรวงยุติธรรม ทำหน้าที่พนักงานคุมประพฤติ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานในสายงานคุมประพฤติที่ ก.พ. กำหนด
(10) ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ตำแหน่งนิติกร ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร ตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่ ก.พ. กำหนด
(11) เจ้าหน้าที่ของรัฐในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ พนักงานในองค์กรของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การมหาชน ตำแหน่งนิติกร ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร
(12) อาจารย์สอนวิชากฎหมาย โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรอง
(13) นักวิชาการแรงงาน (วุฒิทางกฎหมาย) ซึ่งทำหน้าที่ฟ้องคดีหรือแก้ต่างคดีแรงงานให้แก่ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตาย ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และได้ว่าความในศาลแรงงานโดยทำหน้าที่หรือมีส่วนร่วมทำหน้าที่ทนายความกรณีศาลออกนั่งพิจารณามาแล้วไม่น้อยกว่า 20 เรื่อง โดยมีหนังสือรับรองของผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณามาแสดงว่าได้ทำหน้าที่ดังกล่าวอย่างแท้จริง
(14) พนักงานราชการของส่วนราชการ ตำแหน่งนิติกร ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร ตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่ ก.พ. กำหนด
(15) พนักงานปฏิบัติการของสำนักกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติงานในหน้าที่ผู้ปฏิบัติการทางกฎหมายในสำนักกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ผู้ปฏิบัติการ
(16) เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือลูกจ้างในหน่วยงานของรัฐ หรือผู้รับจ้างตามสัญญาจ้างเหมาบริการ (นิติกร) ในสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร ตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่ ก.พ. หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่นกำหนด แล้วแต่กรณี
(17) พนักงานของสถาบันการเงินที่ ก.อ. รับรอง ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร
(18) อาจารย์ผู้บรรยายประจำวิชาของคณะนิติศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่กระทรวงศึกษาธิการให้การรับรองมาตรฐานการศึกษาของหลักสูตรนิติศาสตร์ ซึ่งคณบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่ารับรองว่าได้สอนวิชากฎหมายตามหลักสูตรในคณะนิติศาสตร์มาแล้วในวิชาใดวิชาหนึ่งหรือหลายวิชา ดังนี้ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายพยานหลักฐาน กฎหมายล้มละลาย พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายพาณิชย์นาวี หรือกฎหมายระหว่างประเทศ
(19) เจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญกำหนด
(20) นักวิจัยหรือผู้ช่วยนักวิจัย (วุฒิทางกฎหมาย) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกำหนด
(21) ข้าราชการตำรวจซึ่งทำหน้าที่นิติกร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร ตามมาตรฐานในสายงานนิติการ ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนด
(22) พนักงานคดีปกครอง (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานศาลปกครอง ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่พนักงานคดีปกครองตามประกาศประธานศาลปกครองสูงสุด เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานคดีปกครองและการมอบหมายงานระหว่างตุลาการศาลปกครองกับพนักงานคดีปกครอง ฉบับลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2545 ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรอง หรือผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานที่สำนักงานศาลปกครองกำหนด
(23) พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ หรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษ (วุฒิทางกฎหมาย) กรมสอบสวนคดีพิเศษ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานที่กรมสอบสวนคดีพิเศษกำหนด
(24) เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานสอบสวนคดีเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มาแล้วไม่น้อยกว่า 20 เรื่อง
(25) เจ้าหน้าที่ของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ตำแหน่งนิติกร หรือเจ้าหน้าที่สอบสวน ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร หรือเจ้าหน้าที่สอบสวน
(26) เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านสืบสวนสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า 20 เรื่อง
(27) พนักงานคดี (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานสายงานคดีที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกำหนด
(28) เจ้าหน้าที่สิทธิมนุษยชน (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านสืบสวนสอบสวน สรุปสำนวนคำร้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 20 เรื่อง
(29) นักการทูต (วุฒิทางกฎหมาย) กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายระหว่างประเทศ การส่งผู้ร้ายข้ามแดน หรือความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญาอย่างแท้จริง
(30) นักกฎหมายกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานตามมาตรฐานในสายงานนักกฎหมายกฤษฎีกาที่ ก.พ. กำหนด
(31) ทนายความ ซึ่งจะต้องได้ว่าความในศาล โดยทำหน้าที่หรือมีส่วนร่วมทำหน้าที่ทนายความในการที่ศาลออกนั่งพิจารณามาแล้วไม่น้อยกว่า 20 เรื่อง ในจำนวนนี้ต้องเป็นคดีแพ่งไม่น้อยกว่า 5 เรื่อง โดยมีหนังสือรับรองของผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณา
ม.ปลาย จะเรียนสายอะไรมาก็ได้
จะเรียน ปวช. หรือ กศน. ก็ยังได้
แต่ต้องเรียนจบ ป.ตรี นิติศาสตร์ เท่านั้น
ถ้าให้ดีก็ให้เรียน ป.ตรี นิติศาสตร์ ที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ส่วน มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก็ดัง นิติศาสตร์ แต่ให้เอาไว้เลือกที่หลัง ถ้าสอบ ฬ หรือ ม.ธ. ไม่ติด
เพราะ ม.ราม เป็น ม.ตลาดวิชา รับ นักศึกษาไม่จำกัดจำนวน ไม่ต้องสอบเข้า สามารถ กำตังค์ กำเอกสาร มาสมัครเข้าเรียนได้เลย
แต่ทั้งนี้ จะเรียน ม.อื่นๆ ก็ได้ ขอให้ คณะกรรมการอัยการ, คณะกรรมการตุลาการ รับรอง คุณวุฒิแล้ว
เช่น หลักสูตรที่คณะกรรมการตุลาการ รับรอง http://www.ojc.coj.go.th/doc/data/ojc/ojc_1480320783.pdf
และ เนติบัณฑิตยสภา ต้องรับรองให้สามารถสมัครเป็นนักศึกษาเนติบัณฑิตได้ด้วย
http://www.thethaibar.or.th/thaibarweb/fileadmin/DAM/2556/thabian_naksueksa/mahawitthayalai_21082557.pdf
ส่วนการเรียนนิติศาสตร์ หลักๆ ก็อยู่ที่ความรู้ ความสามารถ ความขยันหมั่นเพียร ของตนเอง เป็นหลัก
พูดเป็นนัยๆ ได้ว่า เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน เพราะอยู่ที่ตัวเองนั่นแหละ
(แต่ถ้าเรียน ม. ที่ดังด้านนี้ ก็จะดี เพราะมีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรได้ดีกว่า)
ถ้าจะสอบอัยการผู้ช่วย หรือผู้ช่วยผู้พิพากษา
ต้องมีคุณสมบัติพื้นฐานด้าน วุฒิการศึกษา และ อายุงาน (สรุปสั้นๆ คร่าวๆ) ดังนี้
1. จบ ป.ตรี นิติศาสตร์ (จากสถาบันที่ได้รับการรับรอง ข้างต้น)
2. เป็นผู้สอบไล่ได้ความรู้ชั้นเนติบัณฑิตตามหลักสูตรของสํานักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (จบ ประกาศนียบัตรเนติบัณฑิตไทย)
3. มีประสบการณ์ทำงานด้านกฎหมายตามที่กำหนด (ด้านล่าง)
4. มีสิทธิสอบเมื่อมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี
-------------------------
สำหรับอัยการผู้ช่วย
วิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นที่สามารถเก็บอายุงานสอบอัยการผู้ช่วย สำหรับผู้สมัครสอบคัดเลือก (สรุปย่อ)
ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายดังต่อไปนี้ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี
(1) อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ หรือภาควิชานิติศาสตร์ หรือสาขาวิชานิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งคณบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่ารับรองว่าได้สอนวิชากฎหมายตามหลักสูตรในคณะนิติศาสตร์ หรือภาควิชานิติศาสตร์ หรือสาขาวิชานิติศาสตร์มาแล้ว
(2) พนักงานฝ่ายปกครองหรือข้าราชการตำรวจ ซึ่งทำหน้าที่พนักงานสอบสวน และผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่พนักงานสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า 20 เรื่อง
(3) เจ้าพนักงานคดี สำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานสายงานนิติการที่ ก.อ. กำหนด หรือข้าราชการศาลยุติธรรมตำแหน่งเจ้าพนักงานศาลยุติธรรม (วุฒิทางกฎหมาย) หรือเจ้าพนักงานคดี สำนักงานศาลยุติธรรม ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรมกำหนด
(4) นายทหารซึ่งทำหน้าที่นายทหารสืบสวนสอบสวน หรือนายทหารสารวัตรสืบสวนสอบสวน กระทรวงกลาโหม ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานสอบสวนคดีอาญาซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลทหารมาแล้วไม่น้อยกว่า 20 เรื่อง
(5) ข้าราชการตำแหน่งเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานสอบสวนคดียาเสพติดมาแล้วไม่น้อยกว่า 20 เรื่อง
(6) ข้าราชการตำแหน่งเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบทรัพย์สิน หรือไต่สวนและวินิจฉัยคดีที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
(7) ข้าราชการตำแหน่งนักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือนักวิชาการที่ดิน (วุฒิทางกฎหมาย) กรมที่ดิน ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่ ก.พ. กำหนด
(8) เจ้าพนักงานการเลือกตั้ง (งานนิติการ) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่ ก.พ. กำหนด หรือเป็นเจ้าพนักงานการเลือกตั้ง (งานวินิจฉัยหรืองานสืบสวนสอบสวน) หรือพนักงานสืบสวนสอบสวน สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานพิจารณาวินิจฉัยหรือสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า 20 เรื่อง
(9) ข้าราชการหรือลูกจ้างในกระทรวงยุติธรรม ทำหน้าที่พนักงานคุมประพฤติ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานในสายงานคุมประพฤติที่ ก.พ. กำหนด
(10) ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ตำแหน่งนิติกร ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร ตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่ ก.พ. กำหนด
(11) เจ้าหน้าที่ของรัฐในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ พนักงานในองค์กรของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การมหาชน ตำแหน่งนิติกร ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร
(12) อาจารย์สอนวิชากฎหมาย โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรอง
(13) นักวิชาการแรงงาน (วุฒิทางกฎหมาย) ซึ่งทำหน้าที่ฟ้องคดีหรือแก้ต่างคดีแรงงานให้แก่ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตาย ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และได้ว่าความในศาลแรงงานโดยทำหน้าที่หรือมีส่วนร่วมทำหน้าที่ทนายความกรณีศาลออกนั่งพิจารณามาแล้วไม่น้อยกว่า 20 เรื่อง โดยมีหนังสือรับรองของผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณามาแสดงว่าได้ทำหน้าที่ดังกล่าวอย่างแท้จริง
(14) พนักงานราชการของส่วนราชการ ตำแหน่งนิติกร ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร ตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่ ก.พ. กำหนด
(15) พนักงานปฏิบัติการของสำนักกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ปฏิบัติงานในหน้าที่ผู้ปฏิบัติการทางกฎหมายในสำนักกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ผู้ปฏิบัติการ
(16) เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือลูกจ้างในหน่วยงานของรัฐ หรือผู้รับจ้างตามสัญญาจ้างเหมาบริการ (นิติกร) ในสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร ตามมาตรฐานในสายงานนิติการที่ ก.พ. หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่นกำหนด แล้วแต่กรณี
(17) พนักงานของสถาบันการเงินที่ ก.อ. รับรอง ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร
(18) อาจารย์ผู้บรรยายประจำวิชาของคณะนิติศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่กระทรวงศึกษาธิการให้การรับรองมาตรฐานการศึกษาของหลักสูตรนิติศาสตร์ ซึ่งคณบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่ารับรองว่าได้สอนวิชากฎหมายตามหลักสูตรในคณะนิติศาสตร์มาแล้วในวิชาใดวิชาหนึ่งหรือหลายวิชา ดังนี้ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายพยานหลักฐาน กฎหมายล้มละลาย พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายพาณิชย์นาวี หรือกฎหมายระหว่างประเทศ
(19) เจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญกำหนด
(20) นักวิจัยหรือผู้ช่วยนักวิจัย (วุฒิทางกฎหมาย) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกำหนด
(21) ข้าราชการตำรวจซึ่งทำหน้าที่นิติกร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร ตามมาตรฐานในสายงานนิติการ ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนด
(22) พนักงานคดีปกครอง (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานศาลปกครอง ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่พนักงานคดีปกครองตามประกาศประธานศาลปกครองสูงสุด เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานคดีปกครองและการมอบหมายงานระหว่างตุลาการศาลปกครองกับพนักงานคดีปกครอง ฉบับลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2545 ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรอง หรือผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานที่สำนักงานศาลปกครองกำหนด
(23) พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ หรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษ (วุฒิทางกฎหมาย) กรมสอบสวนคดีพิเศษ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานที่กรมสอบสวนคดีพิเศษกำหนด
(24) เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานสอบสวนคดีเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มาแล้วไม่น้อยกว่า 20 เรื่อง
(25) เจ้าหน้าที่ของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ตำแหน่งนิติกร หรือเจ้าหน้าที่สอบสวน ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร หรือเจ้าหน้าที่สอบสวน
(26) เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านสืบสวนสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า 20 เรื่อง
(27) พนักงานคดี (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายอย่างแท้จริงในหน้าที่ดังกล่าวตามมาตรฐานสายงานคดีที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกำหนด
(28) เจ้าหน้าที่สิทธิมนุษยชน (วุฒิทางกฎหมาย) สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านสืบสวนสอบสวน สรุปสำนวนคำร้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 20 เรื่อง
(29) นักการทูต (วุฒิทางกฎหมาย) กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานด้านกฎหมายระหว่างประเทศ การส่งผู้ร้ายข้ามแดน หรือความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญาอย่างแท้จริง
(30) นักกฎหมายกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานตามมาตรฐานในสายงานนักกฎหมายกฤษฎีกาที่ ก.พ. กำหนด
(31) ทนายความ ซึ่งจะต้องได้ว่าความในศาล โดยทำหน้าที่หรือมีส่วนร่วมทำหน้าที่ทนายความในการที่ศาลออกนั่งพิจารณามาแล้วไม่น้อยกว่า 20 เรื่อง ในจำนวนนี้ต้องเป็นคดีแพ่งไม่น้อยกว่า 5 เรื่อง โดยมีหนังสือรับรองของผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณา
แสดงความคิดเห็น
อยากเป็นผู้พิพากษานี่ต้องเรียนยังไง ไปสายไหนยังไงค่ะ
.
*ขอบคุณสำหรับทุกคำตอบนะคะ ฝากไว้ให้น้องๆที่สนใจเข้ามาเยี่ยมชมกระทู้ได้เลย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้