อยากเป็นผู้พิพากษาต้องเริ่มต้นจากอะไรคะ

กระทู้คำถาม
ตอนนี้กำลังคิดเรื่องจะเรียนต่อค่ะ กำลังสับสนว่าจะเลือกอะไรดีระหว่างเรียนสัตวแพทย์กับนิติศาสตร์ ปกติรักสัตว์ ชอบเรียนวิชาชีววิทยาและเรียนได้ดีพวกความจำอะไรทำนองนี้ค่ะและถนัดภาษาอังกฤษมากที่สุด แต่ก็สนใจวิชากฎหมายมากค่ะ ชอบพูดคุยถกเถียงด้วยเหตุผล ชอบอะไรที่เป็นเหตุเป็นผลค่ะ ชอบวิทยาศาสตร์ ชอบคิดคำพูดเรียบเรียงคำพูดชอบเรียงความ ก็เลยสนใจนิติศาสตร์ค่ะแต่ไม่รู้ว่าจะไปในทิศทางไหนดี แต่ทางครอบครัวไม่สนับสนุนให้เรียนนิติศาสตร์เลยค่ะเพราะตกงาน ปกติที่บ้านก็จะมีสายอาชีพพวกแพทย์ พยาบาล ครู ประมาณนี้ค่ะน่าจะเป็นเหตุผลที่ครอบครัวไม่อยากให้ออกจากอาชีพพวกนี้เพราะมั่นคง แต่ก็สนใจนิติค่ะอยากเป็นผู้พิพากษาอยากทราบแนวทางค่ะว่าจะต้องไต่เต้าอย่างไรบ้าง เริ่มต้นตั้งแต่เรียนนิติจบป.ตรีเลยนะคะแล้วจะต่อไปทิศทางไหนต่อ สอบอะไรเพิ่ม ทำงานยังไง ขอละเอียดๆเลยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 29
เนติ ไม่ใช่ ปริญญาโท

และ ปริญญาโท ก็ไม่ใช่ เนติ


การเรียน เนติบัณฑิต ต้องลงทะเบียนกับ "เนติบัณฑิตยสภา"  (จบ ป.ตรี จากมหาลัยที่เนติบัณฑิตยสภารับรองก็สมัครได้เลย ไม่มีการสอบเข้า)
สถานที่เรียนอยู่ตลิ่งชัน ถ.กาญจนาภิเษก ไม่จำเป็นต้องเข้าเรียน  มีบริการส่งหนังสือคำบรรยายให้ทุกๆสัปดาห์ถึงบ้าน
หลักสูตร 1 ปี (ถ้าขยัน + เก่งก็จบปีเดียว)
ไม่มีสาขาให้เลือก ทุกคนต้องเรียนเหมือนกันหมดเรียกว่า 4 ขา
ต้องสอบผ่านทั้ง 4 ขา จึงจะถือว่าเรียนจบ  คือ เทอม 1 ขาแพ่ง  ขาอาญา  เทอม 2 ขาวิ.แพ่ง ขาวิ.อาญา  

การเรียนเนติ เน้นเรียนคำพิพากษาฎีกา เป็นการนำ 4 ปีที่เรียนจาก ป.ตรี มาสรุปอีกรอบในเวลา 1 ปี
หากพื้นฐาน ป.ตรี ดีก็จะได้เปรียบในการเรียนเนติ  ข้อสอบ ขาละ 10 ข้อ รวม 100 คะแนน ได้เกิน 50 ถือว่าผ่าน

จบแล้วจะได้รับ วุฒิเนติบัณฑิตไทย (น.บ.ท.)  มีพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรวันที่ 7 ส.ค. ที่สวนอัมพร




การเรียน ปริญญาโท ต้องสมัคร + สอบเข้า ตาม "มหาวิทยาลัยต่างๆ"  เช่น จุฬา ธรรมศาสตร์ รามคำแหง หรือ ม.เอกชนต่างๆ เป็นต้น
สถานที่เรียนก็ตามที่ตั้งของมหาวิทยาลัยนั้นๆ  และจำเป็นต้องเข้าเรียน
ส่วนมาก Check เวลาเรียน  และส่วนมากตารางเรียนจะเป็นช่วงเย็นๆ หรือไม่ก็ ส-อา

หลักสูตรส่วนมากก็ 2 ปี (มีทั้งแบบทำ และ ไม่ทำวิทยานิพนธ์ แล้วแต่เราจะเลือก)  
ปริญญาโทมีสาขาให้เลือกมากมายแล้วแต่มหาวิทยาลัย เช่น สาขากฎหมายมหาชน , สาขากฎหมายเอกชน , สาขากฎหมายระหว่างประเทศ
หรืออยากเรียนหลักสูตรสองภาษา อินเตอร์ ก็มีให้เลือกในหลายๆมหาวิทยาลัย เช่นกัน

การเรียนปริญญาโท เน้นเรียนทฤษฎี แก่น ที่มาของกฎหมาย กฎหมายเปรียบเทียบ ไม่ได้เน้นคำพิพากษาฎีกามากนัก
เน้นการถกเถียงปัญหาใน Class  เน้นการทำรายงาน ทำวิจัย และที่ยากคือทำวิทยานิพนธ์ (หากเลือกเรียนแบบทำวิทยานิพนธ์)
มีคะแนนเก็บ คะแนนสอบ คะแนนรายงาน แล้วแต่วิชา

จบแล้วจะได้รับ วุฒินิติศาสตร์มหาบัณฑิต (น.ม.) Master of Laws (LL.M.)  รับปริญญาก็ตามมหาวิทยาลัยนั้นๆกำหนด



- เราสามารถเรียนเนติบัณฑิต กับ ปริญญาโท ควบกันได้ ถ้าเราไหว
- เส้นทางสู่การเป็น อัยการ ผู้พิพากษา ไม่จำเป็นต้องจบปริญญาโท แต่ต้องจบเนติบัณฑิต
- แต่การเรียนปริญญาโท ทำให้โอกาสในการสอบเป็นผู้พิพากษา กับ อัยการของเรามากขึ้น
- ยิ่งเรียนปริญญาโทจากต่างประเทศ 2 ใบ โอกาสยิ่งมากขึ้นไปอีก
- การสอบผู้พิพากษาผมแทบไม่เคยได้ยินเรื่องเส้นสาย ข้อสอบรั่ว มั่นใจได้แทบ 100  % ว่าคนสอบได้มาจากความสามารถจริงๆ


- การสอบผู้พิพากษา มี 3 สนาม

1. สนามใหญ่  
ป.ตรีนิติศาสตร์ + เนติ + ทำงานด้านกฎหมายในภาครัฐ 2 ปี หรือ เป็นทนายความว่าความตามจำนวนคดีที่เขากำหนด
สอบล่าสุด 4 สิงหาคม 2556    สมัคร 8000 คน ผ่าน 15 คน  


2. สนามเล็ก    
ป.ตรีนิติศาสตร์ + เนติ + ป.โท(ในไทย)  + ทำงานด้านกฎหมายในภาครัฐ 1 ปี หรือ เป็นทนายความว่าความตามจำนวนที่เขากำหนด  
สอบล่าสุด 8 มิถุนายน 2555  สมัคร 2,100 คน ผ่าน 35 คน


3. สนามจิ๋ว
ป.ตรีนิติศาสตร์ + เนติ + ป.โท 2 ใบ (เมืองนอก) + ทำงานด้านกฎหมายในภาครัฐ 1 ปี หรือ เป็นทนายความว่าความตามจำนวนที่เขากำหนด (ตรงนี้ไม่ชัวร์)      สอบล่าสุด 18 กันยายน 2555 สมัคร 198 คน ผ่าน 46 คน


สู้ๆครับน้อง ตอนนี้พี่ก็เพิ่งจบ กำลังหางานนิติกร ราชการ  + กำลังเรียนเนติ  กะว่า ปีหน้าจะ เรียนปริญญาโท
ยินดีต้อนรับสู่วงการนิติศาสตร์ล่วงหน้าครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่