กฏหมายใหม่ เรื่องการอายัดเงินเดือน

.....ติดตามข้อมูล ข่าวสาร  ทราบมาว่า  ปัจจุบัน ขยายวงเงิน จากเดิม ลูกหนี้มีเงินรายได้(เงินเดือน) รวมกัน  ไม่เกิน 10,000 บาท  ไม่สามารถอายัดเงินเดือนได้  ปัจจุบัน  ขยายไปเป็น  ลูกหนี้มีเงินรายได้รวมกัน(เงินเดือน) ไม่เกิน  20,000 บาท  ไม่สามารถจะอายัดได้  ส่วนข้าราชการให้คงใช้กฏหมายเดิม  คือไม่สามารถอายัดเงินเดือนของข้าราชการได้  ......แต่

......เจ้าหนี้ ก็ยังสามารถยื่นคำร้อง  ขออายัดเงินในบัญชีธนาคารได้  ผมจึงสงสัยว่า  ในเมื่อ ออกกฏหมายมาคุ้มครอง ลูกหนี้ ให้พอใช้ชีวิตอยู่ได้ ในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน  โดยห้ามอายัดเงินเดือนของ  ลูกหนี้ที่มีรายได้รวมกัน ไม่เกิน 20,000 บาท  แต่ทำไมกลับอายัดเงินในบัญชีเงินฝากได้ ซึ่งเป็นบัญชีเงินเดือนที่ลูกหนี้ได้รับค่าตอบแทนจากการทำงาน    แล้วการอายัดเงินในบัญชีเงินฝาก  มีกฏหมายกำหนด ด้วยหรือไม่ ว่าหากเงินในบัญชีเงินฝาก  มีไม่เกิน 20,000 บาท  ไม่สามารถอายัดได้  แบบกรณีอายัดเงินเดือน   หรือว่า  ไม่มีกฏหมายรองรับ  จะอายัดเท่าไหร่ก็ได้  (สมมุติ) ถ้าลูกหนี้ที่เป็นข้าราชการ  มีเงินจ่ายเข้าบัญชีธนาคาร(เงินเดือน) เพียง 5,000 บาท ซึ่งเป็นเงินเดือนที่ได้รับ หลังจากหักหนี้  สหกรณ์  หนี้สินต่างๆ ภายในองค์กร   เจ้าหนี้ก็สามารถยื่นขอ อายัดได้  แบบนี้รึป่าว  ถ้าเป็นแบบนี้  ลูกหนี้ตายสถานเดียว  มีเงินในบัญชีแค่นี้ยังจะโดนอายัดอีก  

...บางคนบอกว่า  ก็ต้องไปยื่นต่อศาล  ให้ศาลท่านเพิกถอนคำสั่งอายัด  ผมจึงอยากทราบว่า  แล้วประชาชน  คนธรรมดา ที่ไม่ใช่ทนาย  สามารถยื่นหนังสือขอเพิกถอนคำสั่ง  ได้เองรึป่าว  หรือว่าต้องว่าจ้างให้ทนายยื่นคำร้องขอให้

ปล. แล้วจะเอาเงินที่ไหนไปจ้างทนาย  แค่มีชีวิตอยู่ไปให้พ้นเดือนๆนึง  ยังจะแย่เลยครับ

(ขออภัย) หากใช้คำที่ไม่เหมาะสม หรือตีความหมายยาก  ผมไม่ค่อยรู้เรื่องกฏหมายครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่