พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระอัจฉริยภาพในทุกสาขาที่สนพระราชหฤทัย ด้วยทรงศึกษามุ่งมั่นจริงจัง ทรงทดลองปฎิบัติจนรู้แจ้ง เห็นจริง และทรงนำเทคโนโลยีสาขาวิชาเหล่านั้นมาทรงประยุกต์ใช้เพื่อความร่มเย็นผาสุกของพสกนิกร ตลอดจนความมั่นคั่งของประเทศชาติ และพระราชอัจฉริยภาพด้านวิทยุสื่อสาร ก็เป็นพระราชอัจฉริยภาพหนึ่งในหลายด้าน ที่สะท้อนถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่มีต่อการสื่อสารของชาติอย่างหาที่สุดมิได้
พระราชอัจฉริยภาพด้านการสื่อสารปรากฎชัดตั้งแต่สมัยยังทรงพระเยาว์ขณะที่ประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ด้วยทรงสนพระราชหฤทัยศึกษาวิชาไฟฟ้าและวิทยุสื่อสาร สิ่งที่พระองค์ทรงประดิษฐ์และทดลองใช้คือเครื่องรับวิทยุกระจายเสียง ซึ่งในสมัยนั้นเครื่องรับวิทยุยังใช้แร่อยู่ ดังความตอนหนึ่งในพระราชนิพนธ์เรื่อง เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์ ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เล่าให้ฟังว่า
'เครื่องวิทยุที่บ้านไม่ทรงมีสิทธิที่จะแตะต้อง มีไว้ฟังข่าวเท่านั้น แต่เมื่ออายุสัก 10 ปี ได้ ก็มีโอกาสสร้างของตนเองขึ้นมาได้ ที่โรงเรียนมีการขายสลากในงานของโรงเรียนงานหนึ่ง ท่านก็ได้สลากเป็น คอยล์ (Coil) ท่านก็ศึกษาถามผู้รู้ว่า จะต้องทำอย่างไรจึงจะเป็นวิทยุออกมาได้ เขาก็บอกให้ท่านซื้อแร่ดำ (GalenaหรือgaleniteหรือPbs) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเครื่อง คือที่รับฟังไฟฟ้าในอากาศที่เป็นคลื่นวิทยุ และหูฟังอีกคู่หนึ่ง ทั้งหมดราคาประมาณ 10 แฟรงค์ มาต่อกันอย่างไรไม่ทราบ ทรงสามารถฟังวิทยุที่เขาส่งมาได้ ยังแบ่งกันฟังคนละหูกับพระเชษฐา ต่อไปพระเชษฐาก็ซื้อของพระองค์เอง'
'เมื่อเสด็จกลับจากเมืองไทยปี พ.ศ. 2480 มีบริษัทถวายเครื่องวิทยุ Phillipsเครื่องหนึ่งแด่รัชกาลที่ 8 ทรงนำกลับมาที่โลซานน์ด้วย ตอนแรกๆ ก็ทรงฟังอยู่ด้วยกันเพราะบรรทมห้องเดียวกัน แต่ต่อมารัชกาลที่ 8 ทรงย้ายห้องและทรงทิ้งวิทยุให้พระอนุชา เลยทรงต่อลำโพงไปเพื่อส่งรายการวิทยุไปถวายพระเชษฐา วันหนึ่งข้าพเจ้าอยู่ในห้องของข้าพเจ้า เล่นแผ่นเสียงบนเครื่องไฟฟ้าซึ่งต้องนำเสียงไปออกลำโพงของวิทยุ พระอนุชาพอดีเปิดวิทยุของท่านและก็คิดว่าสถานีอะไรกันเล่นแผ่นเสียงของพี่เรา ตั้งแต่นั้นมาก็ทรงเข้าพระทัยว่าระบบไฟฟ้านั้นมันติดต่อกันได้หมด'
ทรงตรวจซ่อมและปรับแต่งเครื่องรับ-ส่งวิทยุสื่อสาร
พระองค์ทรงเริ่มปฏิบัติการวิทยุสื่อสาร โดยทรงใช้เครื่องรับ-ส่งวิทยุ VHF/FM FM-5 เพื่อติดต่อกับข่ายวิทยุตำรวจแห่งชาติ 'ปทุมวัน' โดยทรงใช้สัญญาณเรียกขาน 'กส.9' และศูนย์รวมข่าวตำรวจนครบาล ข่าย 'ผ่านฟ้า' โดยทรงใช้สัญญาณเรียกขาน 'น.9' พระองค์ทรงใช้เครื่องรับ-ส่งวิทยุในการเฝ้าฟังและติดต่อกับเครือข่าย 'ปทุมวัน' และ 'ผ่านฟ้า' เป็นครั้งคราว เมื่อทรงว่างจากพระราชภารกิจอื่น โดยทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ผู้ที่ติดต่อกับพระองค์ท่านไม่ต้องใช้ราชาศัพท์ พระองค์ทรงจำสัญญาณเรียกขาน ประมวลคำย่อ (โค้ด'ว') ได้อย่างแม่นยำและทรงใช้ได้อย่างถูกต้อง
พระองค์สนใจตรวจซ่อมและปรับแต่งเครื่องรับ-ส่งวิทยุสื่อสารที่ทรงใช้งานอยู่ด้วยพระองค์เอง เมื่อเครื่องรับ-ส่งวิทยุ FM-5 ที่ทรงใช้งานอยู่ในขณะนั้นเกิดขัดข้อง ทรงใช้เครื่องมือช่างต่างๆ ซ่อม และปรับแต่งในเวลากลางคืนหลังจากเสร็จสิ้นพระราชภารกิจประจำวันแล้ว โดยการปรับแต่งนั้นปรากฏผลบ่อยครั้งว่า เครื่องรับ-ส่งวิทยุที่ได้ทรงปรับแต่งแล้วนั้นมีขีดความสามารถเหนือกว่าที่ระบุไว้ในคู่มือมาก กล่าวคือ ทรงปรับแต่งเครื่องรับ-ส่งวิทยุ FM-5 ให้มีกำลังส่งสูงถึง 7 วัตต์ และภาคเครื่องรับมีความไวสูงถึง 0.35 ไมโครโวลท์ ขณะที่หนังสือคู่มือระบุไว้ว่ามีกำลังส่ง 5 วัตต์ และมีความไวทางภาครับ 0.5 ไมโครโวลท์ จึงนับว่าดีเยี่ยมเป็นประวัติศาสตร์สำหรับเครื่องรับ-ส่งวิทยุในยุคนั้น
ทรงศึกษา วิจัย การผสมคลื่นวิทยุระหว่างกัน
ในการปฏิบัติหน้าที่ถวายการอารักขา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินไปปฏิบัติพระราชภารกิจทั้งในเขตกรุงเทพฯและต่างจังหวัด เจ้าหน้าที่ของกรมตำรวจและกรมราชองครักษ์ ได้นำเครื่องรับ-ส่ง VHF/FM ทั้งชนิดมือถือและชนิดติดตัวมาใช้รายงานเหตุการณ์ต่างๆ ระหว่างเสด็จพระราชดำเนินให้ศูนย์ควบคุมข่ายรับทราบทุกระยะ โดยหน่วยงานทั้งสองมิได้ใช้ข่ายและความถี่ขนาดเดียวกัน แต่มีปัญหา คือ ทุกครั้งที่เจ้าหน้าที่สื่อสารตำรวจทำการส่งวิทยุรายงานข่าว สัญญาณวิทยุของฝ่ายตำรวจจะไปดังทางเครื่องรับ-ส่งวิทยุของฝ่ายเจ้าหน้าที่ราชองครักษ์ทั้งชนิดมือถือและชนิดนำติดตัว แต่สัญญาณของฝ่ายราชองครักษ์จะเข้ามารบกวนเครื่องวิทยุของฝ่ายตำรวจบ้างในลักษณะเสียงรบกวนซู่ซ่าเท่านั้น
ความทราบถึงพระองค์ท่านจึงทำการศึกษาและทดลองจนพบสาเหตุว่าเครื่องที่ทรงใช้งานถูกออกแบบมาไม่สู้ประณีตนัก มีคุณลักษณะในการคัดเลือกสัญญาณ (SELECTIVITY) ไม่ได้มาตรฐานทั่วโลก ทั้งวงจรขยายแรงไฟฟ้าสัญญาณความถี่ปานกลาง (IF AMPLIFIER) ก็เป็นวงจรที่เปลี่ยนความถี่ไปตามความถี่ที่รับฟัง จึงทรงรับสั่งเรียกว่า 'WALKING FREQUENCY' อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าต่อมาได้ทรงสั่งซื้อเครื่องรับ-ส่งที่มีคุณภาพสูงสุดและราคาแพงที่สุดมาทรงใช้งานก็ตาม การรบกวนในลักษณะดังกล่าวก็หาได้หมดสิ้นลงไปไม่ เพียงแต่ลดลงบ้างบางส่วนเท่านั้น ทำให้น่าเชื่อว่าการรบกวนกันนั้นเป็นผลของการผสมคลื่นระหว่างกันของเครื่องส่งวิทยุตั้งแต่ 2 เครื่องที่อยู่ภายในบริเวณเดียวกัน คือINTERMODULATION
พระองค์จึงได้สังเกตลักษณะการรบกวนและทรงเปลี่ยนความถี่ที่ใช้ทดลองเป็นขั้นๆ จึงค้นพบต้นเหตุสำคัญที่มาของการรบกวนว่าเกิดจาก INTERMODULATION จึงได้สรุปไว้ในการทดลองวิเคราะห์วิจัยครั้งนี้ว่า
'หากสถานีวิทยุจำนวนตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปทำการส่งพร้อมกันภายในบริเวณเดียวกันจะเกิดการผสมคลื่นระหว่างกัน ทำให้เกิดคลื่นวิทยุความถี่ขนาดต่างๆ เข้าไปรบกวนการทำงานของเครื่องรับวิทยุอื่นๆ ได้ หากความถี่ที่เกิดจากการผสมคลื่นระหว่างกันเท่ากับความถี่ที่กำลังรับฟังอยู่จะได้ยินสัญญาณที่เข้ามารบกวนได้เสมือนกับรับฟังคลื่นตรง หากความถี่ที่เกิดจากการผสมคลื่นไม่ตรงนักจะได้ยินสัญญาณที่เข้ามาไม่ชัดเจน นอกจากนี้ หากผลต่างระหว่างความถี่ใช้งานของสองสถานีเท่ากับความถี่ If หรือครึ่งหนึ่งของ IF สัญญาณที่เข้ามารบกวนจะชัดเจนและแรงเสมือนรับฟังคลื่นตรง'
หลังจากนั้นอีกหลายปี จึงได้ปรากฏหลักฐานในการประชุมทางวิชาการระหว่างประเทศกล่าวเน้นความสำคัญของ INTERMODULATION ซึ่งสรุปตรงกับสิ่งที่พระองค์ท่านได้วิเคราะห์
ทรงสนพระทัยด้านสายอากาศและสายนำสัญญาณ
พระองค์ทรงจับจุดสำคัญของการรับ-ส่งวิทยุสื่อสารได้ โดยรับสั่งว่า 'การรับวิทยุก็ดี การส่งวิทยุก็ดี ถ้าไม่มีสายอากาศหรือสายอากาศไม่ดี จะใช้เครื่องส่งกำลังสูงเพียงใด เครื่องรับจะดีเพียงใด ก็ไม่สามารถช่วยให้การสื่อสารทางวิทยุมีประสิทธิภาพสูงได้'
ดังนั้นจึงมีความสนพระทัยและศึกษาอย่างละเอียดเกี่ยวกับคุณลักษณะของสายอากาศ โดยหลังจากที่ได้ทรงศึกษาทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติด้วยพระองค์เองอย่างถ่องแท้แล้ว จึงทรงมีพระราชดำริให้มีการพัฒนาสายอากาศเพื่อนำมาใช้ประโยชน์แก่ประเทศชาติ
ประมาณกลางปี พ.ศ.2513 พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธี อักษรกิตต์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (ตำแหน่งในขณะนั้น) ซึ่งได้ช่วยราชการอยู่ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหารเข้าเฝ้าฯ และทรงมีพระราชดำริให้ออกแบบและสร้างสายอากาศย่านความถี่สูงมากขึ้น โดยมีพระราชประสงค์เพื่อใช้สายอากาศเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาปรับปรุงการใช้งานของเครื่องวิทยุให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แทนการนำเครื่องวิทยุต่างๆ ไปปรับปรุงแก้ไขซึ่งเป็นการยุ่งยากซับซ้อนกว่า
ในการพัฒนาสายอากาศดังกล่าว พระองค์ได้ทรงกำหนดวัตถุประสงค์ของงานที่จะใช้ และคุณสมบัติทางเทคนิคด้วยพระองค์เอง และเมื่อนำขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวาย จะทรงทดลองใช้งานและพระราชทานคำแนะนำ เพื่อพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนเกิดเป็นสายอากาศ สุธี 1 สุธี 2 สุธี 3 และสุธี 4 ซึ่งต่อมาภายหลังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้สายอากาศทั้ง 4 แบบ ดังกล่าวไว้ในราชกิจจานุเบกษา
VR 009 สัญญาณจากฟ้า
นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงแก่ปวงนักวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย และแก่กรมไปรษณีย์โทรเลข ที่พระองค์ทรงสนพระทัยในการติดต่อสื่อสารทางวิทยุในเครือข่ายวิทยุสมัครเล่น ทรงทดลองการแพร่กระจายคลื่นวิทยุและรับสัญญาณด้วยพระองค์เอง ทรงเคร่งครัดในการปฎิบัติตามกฎระเบียบของการติดต่อสื่อสาร ทั้งในแง่ความถูกต้องของคำพูดติดต่อสื่อสาร และการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล พระองค์จะทรงทักท้วง ตักเตือน หากนักวิทยุสมัครเล่นคนใดมิได้ปฎิบัติตามระเบียบ ในขณะเดียวกันจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานคำแนะนำอธิบายปัญหาเทคนิคด้วยภาษาง่ายๆ ให้หายข้องใจได้ทุกครั้ง
ด้วยเหตุนี้เมื่อกรมไปรษณีย์โทรเลขได้ก่อตั้งชมรมวิทยุอาสาสมัคร หรือเรียกย่อเป็นภาษาอังกฤษว่า VR (Voluntary Radio) ขึ้น กรมไปรษณีย์โทรเลขจึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายสัญญาณเรียกขาน 'VR 009' แด่พระองค์ ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2524 ด้วยรู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอย่างหาที่สุดมิได้ พระองค์ทรงใช้วิทยุกับศูนย์สายลมกรมไปรษณีย์โทรเลข เพื่อทดสอบสัญญาณหลายครั้ง ในบางโอกาสพระองค์ทรงพระราชทานคำแนะนำทางด้านเทคนิคเกี่ยวกับการปรับแต่งเครื่องรับ-ส่งวิทยุที่มีความซับซ้อน ตลอดจนพระราชทานความรู้เกี่ยวกับสายอากาศและการเผยแพร่กระจายคลื่น และลักษณะการถูกรบกวนของคลื่นวิทยุในข่ายต่างๆ และวิธีการที่จะแก้ไขการรบกวนนั้นด้วย
เช่นในปี พ.ศ. 2528 พระราชทานคำสอนเกี่ยวกับการใช้เครื่องรับ-ส่งวิทยุของศูนย์สายลมตราอักษร YAESU แบบติดตั้งประจำที่รุ่น FT-726R จนกระทั่งพนักงานวิทยุของศูนย์สายลมมีความเข้าใจถึงวิธีการใช้เครื่องรับ-ส่งวิทยุ และสามารถปรับปุ่มต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งขณะนี้เครื่องดังกล่าวยังคงอยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) หลังจากกรมไปรษณีย์โทรเลขเปลี่ยนเป็น สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) และ กสทช. ในปัจุจบัน
นอกจากนั้นยังได้พระราชทานคำแนะนำในการแก้ปัญหาการรบกวน จากเครื่องวิทยุกระจายเสียง พระราชทานคำแนะนำป้องกันการฟ้าผ่า พระราชทานกำลังใจแก่สมาชิกชมรมวิทยุสมัครเล่นที่ออกไปช่วยเหลือรถเสียเมื่อเกิดน้ำท่วมและทรงแนะนำทางกลับบ้าน
นับเป็นสิริมงคลกับศูนย์สายลมที่ทรงติดต่อเข้ามายังศูนย์อย่างไม่ถือพระองค์และปฏิบัติการติดต่อสื่อสารถูกต้องตามระเบียบวินัยเฉกเช่นนักวิทยุสมัครเล่นทั่วไป
(ต่อ)
เสด็จสู่ฟากฟ้าสุราลัย พระมหากรุณาธิคุณจารึกในใจไทยชั่วกาล..ข้าพระพุทธเจ้า**ห้องเพลงคนรากหญ้า**23/10/2560 ด้านการสื่อสาร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระอัจฉริยภาพในทุกสาขาที่สนพระราชหฤทัย ด้วยทรงศึกษามุ่งมั่นจริงจัง ทรงทดลองปฎิบัติจนรู้แจ้ง เห็นจริง และทรงนำเทคโนโลยีสาขาวิชาเหล่านั้นมาทรงประยุกต์ใช้เพื่อความร่มเย็นผาสุกของพสกนิกร ตลอดจนความมั่นคั่งของประเทศชาติ และพระราชอัจฉริยภาพด้านวิทยุสื่อสาร ก็เป็นพระราชอัจฉริยภาพหนึ่งในหลายด้าน ที่สะท้อนถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่มีต่อการสื่อสารของชาติอย่างหาที่สุดมิได้
พระราชอัจฉริยภาพด้านการสื่อสารปรากฎชัดตั้งแต่สมัยยังทรงพระเยาว์ขณะที่ประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ด้วยทรงสนพระราชหฤทัยศึกษาวิชาไฟฟ้าและวิทยุสื่อสาร สิ่งที่พระองค์ทรงประดิษฐ์และทดลองใช้คือเครื่องรับวิทยุกระจายเสียง ซึ่งในสมัยนั้นเครื่องรับวิทยุยังใช้แร่อยู่ ดังความตอนหนึ่งในพระราชนิพนธ์เรื่อง เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์ ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เล่าให้ฟังว่า
'เครื่องวิทยุที่บ้านไม่ทรงมีสิทธิที่จะแตะต้อง มีไว้ฟังข่าวเท่านั้น แต่เมื่ออายุสัก 10 ปี ได้ ก็มีโอกาสสร้างของตนเองขึ้นมาได้ ที่โรงเรียนมีการขายสลากในงานของโรงเรียนงานหนึ่ง ท่านก็ได้สลากเป็น คอยล์ (Coil) ท่านก็ศึกษาถามผู้รู้ว่า จะต้องทำอย่างไรจึงจะเป็นวิทยุออกมาได้ เขาก็บอกให้ท่านซื้อแร่ดำ (GalenaหรือgaleniteหรือPbs) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเครื่อง คือที่รับฟังไฟฟ้าในอากาศที่เป็นคลื่นวิทยุ และหูฟังอีกคู่หนึ่ง ทั้งหมดราคาประมาณ 10 แฟรงค์ มาต่อกันอย่างไรไม่ทราบ ทรงสามารถฟังวิทยุที่เขาส่งมาได้ ยังแบ่งกันฟังคนละหูกับพระเชษฐา ต่อไปพระเชษฐาก็ซื้อของพระองค์เอง'
'เมื่อเสด็จกลับจากเมืองไทยปี พ.ศ. 2480 มีบริษัทถวายเครื่องวิทยุ Phillipsเครื่องหนึ่งแด่รัชกาลที่ 8 ทรงนำกลับมาที่โลซานน์ด้วย ตอนแรกๆ ก็ทรงฟังอยู่ด้วยกันเพราะบรรทมห้องเดียวกัน แต่ต่อมารัชกาลที่ 8 ทรงย้ายห้องและทรงทิ้งวิทยุให้พระอนุชา เลยทรงต่อลำโพงไปเพื่อส่งรายการวิทยุไปถวายพระเชษฐา วันหนึ่งข้าพเจ้าอยู่ในห้องของข้าพเจ้า เล่นแผ่นเสียงบนเครื่องไฟฟ้าซึ่งต้องนำเสียงไปออกลำโพงของวิทยุ พระอนุชาพอดีเปิดวิทยุของท่านและก็คิดว่าสถานีอะไรกันเล่นแผ่นเสียงของพี่เรา ตั้งแต่นั้นมาก็ทรงเข้าพระทัยว่าระบบไฟฟ้านั้นมันติดต่อกันได้หมด'
ทรงตรวจซ่อมและปรับแต่งเครื่องรับ-ส่งวิทยุสื่อสาร
พระองค์ทรงเริ่มปฏิบัติการวิทยุสื่อสาร โดยทรงใช้เครื่องรับ-ส่งวิทยุ VHF/FM FM-5 เพื่อติดต่อกับข่ายวิทยุตำรวจแห่งชาติ 'ปทุมวัน' โดยทรงใช้สัญญาณเรียกขาน 'กส.9' และศูนย์รวมข่าวตำรวจนครบาล ข่าย 'ผ่านฟ้า' โดยทรงใช้สัญญาณเรียกขาน 'น.9' พระองค์ทรงใช้เครื่องรับ-ส่งวิทยุในการเฝ้าฟังและติดต่อกับเครือข่าย 'ปทุมวัน' และ 'ผ่านฟ้า' เป็นครั้งคราว เมื่อทรงว่างจากพระราชภารกิจอื่น โดยทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ผู้ที่ติดต่อกับพระองค์ท่านไม่ต้องใช้ราชาศัพท์ พระองค์ทรงจำสัญญาณเรียกขาน ประมวลคำย่อ (โค้ด'ว') ได้อย่างแม่นยำและทรงใช้ได้อย่างถูกต้อง
พระองค์สนใจตรวจซ่อมและปรับแต่งเครื่องรับ-ส่งวิทยุสื่อสารที่ทรงใช้งานอยู่ด้วยพระองค์เอง เมื่อเครื่องรับ-ส่งวิทยุ FM-5 ที่ทรงใช้งานอยู่ในขณะนั้นเกิดขัดข้อง ทรงใช้เครื่องมือช่างต่างๆ ซ่อม และปรับแต่งในเวลากลางคืนหลังจากเสร็จสิ้นพระราชภารกิจประจำวันแล้ว โดยการปรับแต่งนั้นปรากฏผลบ่อยครั้งว่า เครื่องรับ-ส่งวิทยุที่ได้ทรงปรับแต่งแล้วนั้นมีขีดความสามารถเหนือกว่าที่ระบุไว้ในคู่มือมาก กล่าวคือ ทรงปรับแต่งเครื่องรับ-ส่งวิทยุ FM-5 ให้มีกำลังส่งสูงถึง 7 วัตต์ และภาคเครื่องรับมีความไวสูงถึง 0.35 ไมโครโวลท์ ขณะที่หนังสือคู่มือระบุไว้ว่ามีกำลังส่ง 5 วัตต์ และมีความไวทางภาครับ 0.5 ไมโครโวลท์ จึงนับว่าดีเยี่ยมเป็นประวัติศาสตร์สำหรับเครื่องรับ-ส่งวิทยุในยุคนั้น
ทรงศึกษา วิจัย การผสมคลื่นวิทยุระหว่างกัน
ในการปฏิบัติหน้าที่ถวายการอารักขา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินไปปฏิบัติพระราชภารกิจทั้งในเขตกรุงเทพฯและต่างจังหวัด เจ้าหน้าที่ของกรมตำรวจและกรมราชองครักษ์ ได้นำเครื่องรับ-ส่ง VHF/FM ทั้งชนิดมือถือและชนิดติดตัวมาใช้รายงานเหตุการณ์ต่างๆ ระหว่างเสด็จพระราชดำเนินให้ศูนย์ควบคุมข่ายรับทราบทุกระยะ โดยหน่วยงานทั้งสองมิได้ใช้ข่ายและความถี่ขนาดเดียวกัน แต่มีปัญหา คือ ทุกครั้งที่เจ้าหน้าที่สื่อสารตำรวจทำการส่งวิทยุรายงานข่าว สัญญาณวิทยุของฝ่ายตำรวจจะไปดังทางเครื่องรับ-ส่งวิทยุของฝ่ายเจ้าหน้าที่ราชองครักษ์ทั้งชนิดมือถือและชนิดนำติดตัว แต่สัญญาณของฝ่ายราชองครักษ์จะเข้ามารบกวนเครื่องวิทยุของฝ่ายตำรวจบ้างในลักษณะเสียงรบกวนซู่ซ่าเท่านั้น
ความทราบถึงพระองค์ท่านจึงทำการศึกษาและทดลองจนพบสาเหตุว่าเครื่องที่ทรงใช้งานถูกออกแบบมาไม่สู้ประณีตนัก มีคุณลักษณะในการคัดเลือกสัญญาณ (SELECTIVITY) ไม่ได้มาตรฐานทั่วโลก ทั้งวงจรขยายแรงไฟฟ้าสัญญาณความถี่ปานกลาง (IF AMPLIFIER) ก็เป็นวงจรที่เปลี่ยนความถี่ไปตามความถี่ที่รับฟัง จึงทรงรับสั่งเรียกว่า 'WALKING FREQUENCY' อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าต่อมาได้ทรงสั่งซื้อเครื่องรับ-ส่งที่มีคุณภาพสูงสุดและราคาแพงที่สุดมาทรงใช้งานก็ตาม การรบกวนในลักษณะดังกล่าวก็หาได้หมดสิ้นลงไปไม่ เพียงแต่ลดลงบ้างบางส่วนเท่านั้น ทำให้น่าเชื่อว่าการรบกวนกันนั้นเป็นผลของการผสมคลื่นระหว่างกันของเครื่องส่งวิทยุตั้งแต่ 2 เครื่องที่อยู่ภายในบริเวณเดียวกัน คือINTERMODULATION
พระองค์จึงได้สังเกตลักษณะการรบกวนและทรงเปลี่ยนความถี่ที่ใช้ทดลองเป็นขั้นๆ จึงค้นพบต้นเหตุสำคัญที่มาของการรบกวนว่าเกิดจาก INTERMODULATION จึงได้สรุปไว้ในการทดลองวิเคราะห์วิจัยครั้งนี้ว่า
'หากสถานีวิทยุจำนวนตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปทำการส่งพร้อมกันภายในบริเวณเดียวกันจะเกิดการผสมคลื่นระหว่างกัน ทำให้เกิดคลื่นวิทยุความถี่ขนาดต่างๆ เข้าไปรบกวนการทำงานของเครื่องรับวิทยุอื่นๆ ได้ หากความถี่ที่เกิดจากการผสมคลื่นระหว่างกันเท่ากับความถี่ที่กำลังรับฟังอยู่จะได้ยินสัญญาณที่เข้ามารบกวนได้เสมือนกับรับฟังคลื่นตรง หากความถี่ที่เกิดจากการผสมคลื่นไม่ตรงนักจะได้ยินสัญญาณที่เข้ามาไม่ชัดเจน นอกจากนี้ หากผลต่างระหว่างความถี่ใช้งานของสองสถานีเท่ากับความถี่ If หรือครึ่งหนึ่งของ IF สัญญาณที่เข้ามารบกวนจะชัดเจนและแรงเสมือนรับฟังคลื่นตรง'
หลังจากนั้นอีกหลายปี จึงได้ปรากฏหลักฐานในการประชุมทางวิชาการระหว่างประเทศกล่าวเน้นความสำคัญของ INTERMODULATION ซึ่งสรุปตรงกับสิ่งที่พระองค์ท่านได้วิเคราะห์
ทรงสนพระทัยด้านสายอากาศและสายนำสัญญาณ
พระองค์ทรงจับจุดสำคัญของการรับ-ส่งวิทยุสื่อสารได้ โดยรับสั่งว่า 'การรับวิทยุก็ดี การส่งวิทยุก็ดี ถ้าไม่มีสายอากาศหรือสายอากาศไม่ดี จะใช้เครื่องส่งกำลังสูงเพียงใด เครื่องรับจะดีเพียงใด ก็ไม่สามารถช่วยให้การสื่อสารทางวิทยุมีประสิทธิภาพสูงได้'
ดังนั้นจึงมีความสนพระทัยและศึกษาอย่างละเอียดเกี่ยวกับคุณลักษณะของสายอากาศ โดยหลังจากที่ได้ทรงศึกษาทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติด้วยพระองค์เองอย่างถ่องแท้แล้ว จึงทรงมีพระราชดำริให้มีการพัฒนาสายอากาศเพื่อนำมาใช้ประโยชน์แก่ประเทศชาติ
ประมาณกลางปี พ.ศ.2513 พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธี อักษรกิตต์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (ตำแหน่งในขณะนั้น) ซึ่งได้ช่วยราชการอยู่ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหารเข้าเฝ้าฯ และทรงมีพระราชดำริให้ออกแบบและสร้างสายอากาศย่านความถี่สูงมากขึ้น โดยมีพระราชประสงค์เพื่อใช้สายอากาศเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาปรับปรุงการใช้งานของเครื่องวิทยุให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แทนการนำเครื่องวิทยุต่างๆ ไปปรับปรุงแก้ไขซึ่งเป็นการยุ่งยากซับซ้อนกว่า
ในการพัฒนาสายอากาศดังกล่าว พระองค์ได้ทรงกำหนดวัตถุประสงค์ของงานที่จะใช้ และคุณสมบัติทางเทคนิคด้วยพระองค์เอง และเมื่อนำขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวาย จะทรงทดลองใช้งานและพระราชทานคำแนะนำ เพื่อพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนเกิดเป็นสายอากาศ สุธี 1 สุธี 2 สุธี 3 และสุธี 4 ซึ่งต่อมาภายหลังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้สายอากาศทั้ง 4 แบบ ดังกล่าวไว้ในราชกิจจานุเบกษา
VR 009 สัญญาณจากฟ้า
นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงแก่ปวงนักวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย และแก่กรมไปรษณีย์โทรเลข ที่พระองค์ทรงสนพระทัยในการติดต่อสื่อสารทางวิทยุในเครือข่ายวิทยุสมัครเล่น ทรงทดลองการแพร่กระจายคลื่นวิทยุและรับสัญญาณด้วยพระองค์เอง ทรงเคร่งครัดในการปฎิบัติตามกฎระเบียบของการติดต่อสื่อสาร ทั้งในแง่ความถูกต้องของคำพูดติดต่อสื่อสาร และการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล พระองค์จะทรงทักท้วง ตักเตือน หากนักวิทยุสมัครเล่นคนใดมิได้ปฎิบัติตามระเบียบ ในขณะเดียวกันจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานคำแนะนำอธิบายปัญหาเทคนิคด้วยภาษาง่ายๆ ให้หายข้องใจได้ทุกครั้ง
ด้วยเหตุนี้เมื่อกรมไปรษณีย์โทรเลขได้ก่อตั้งชมรมวิทยุอาสาสมัคร หรือเรียกย่อเป็นภาษาอังกฤษว่า VR (Voluntary Radio) ขึ้น กรมไปรษณีย์โทรเลขจึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายสัญญาณเรียกขาน 'VR 009' แด่พระองค์ ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2524 ด้วยรู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอย่างหาที่สุดมิได้ พระองค์ทรงใช้วิทยุกับศูนย์สายลมกรมไปรษณีย์โทรเลข เพื่อทดสอบสัญญาณหลายครั้ง ในบางโอกาสพระองค์ทรงพระราชทานคำแนะนำทางด้านเทคนิคเกี่ยวกับการปรับแต่งเครื่องรับ-ส่งวิทยุที่มีความซับซ้อน ตลอดจนพระราชทานความรู้เกี่ยวกับสายอากาศและการเผยแพร่กระจายคลื่น และลักษณะการถูกรบกวนของคลื่นวิทยุในข่ายต่างๆ และวิธีการที่จะแก้ไขการรบกวนนั้นด้วย
เช่นในปี พ.ศ. 2528 พระราชทานคำสอนเกี่ยวกับการใช้เครื่องรับ-ส่งวิทยุของศูนย์สายลมตราอักษร YAESU แบบติดตั้งประจำที่รุ่น FT-726R จนกระทั่งพนักงานวิทยุของศูนย์สายลมมีความเข้าใจถึงวิธีการใช้เครื่องรับ-ส่งวิทยุ และสามารถปรับปุ่มต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งขณะนี้เครื่องดังกล่าวยังคงอยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) หลังจากกรมไปรษณีย์โทรเลขเปลี่ยนเป็น สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) และ กสทช. ในปัจุจบัน
นอกจากนั้นยังได้พระราชทานคำแนะนำในการแก้ปัญหาการรบกวน จากเครื่องวิทยุกระจายเสียง พระราชทานคำแนะนำป้องกันการฟ้าผ่า พระราชทานกำลังใจแก่สมาชิกชมรมวิทยุสมัครเล่นที่ออกไปช่วยเหลือรถเสียเมื่อเกิดน้ำท่วมและทรงแนะนำทางกลับบ้าน
นับเป็นสิริมงคลกับศูนย์สายลมที่ทรงติดต่อเข้ามายังศูนย์อย่างไม่ถือพระองค์และปฏิบัติการติดต่อสื่อสารถูกต้องตามระเบียบวินัยเฉกเช่นนักวิทยุสมัครเล่นทั่วไป