น.ส.กษิติธร ภูภราดัย รองผู้อำนวยการ กลุ่มยุทธศาสตร์และบริหาร สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) เปิดเผยว่า ผลการสำรวจการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลในอุตสาหกรรมการศึกษา ประจำปี 2559 ซึ่งทำการสำรวจครูวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนสังกัด กทม. และ สพฐ. จำนวน 923 โรงเรียนทั่วประเทศ พบว่า
โรงเรียน 99% มีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงใช้งาน
ครูมีความพึงพอใจต่อความเร็วของอินเทอร์เน็ตของโรงเรียน 35%,
ไม่พอใจเนื่องจากความเร็วไม่พียงพอต่อการใช้งาน 65%,
ผลสำรวจยังระบุด้วยว่า
มีความขาดแคลนนักคอมพิวเตอร์ที่จะให้ความช่วยเหลือบุคลากรในโรงเรียนอย่างรุนแรง
โดยโรงเรียนถึง 55% ระบุว่าไม่มีนักคอมพิวเตอร์ในโรงเรียน และ
โรงเรียนที่เหลือ 45% ระบุว่าทั้งโรงเรียนมีนักคอมพิวเตอร์เพียง 1-2 คนเท่านั้น
นอกจากนี้ยังได้พบว่ามีการแบ่งปันทรัพยากรดิจิทัลที่ครูสร้างขึ้นเอง
โดยมีการแบ่งปันเฉพาะภายในโรงเรียนเท่านั้น 57%
แบ่งปันบนยูทูบ 5%
ไม่ได้แบ่งปัน 5%
บนเว็บไซต์ของหน่วยงานเอกชน 1%
บนเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐ 1% และ
ไม่เคยสร้างเอง 31%
ครูทุกคนสามารถเข้าถึงอุปกรณ์ไอทีได้หลายชนิด ได้แก่ สมาร์ทโฟน พีซี และโน้ตบุ๊ค
ในขณะที่นักเรียนประมาณครึ่งหนึ่งเข้าถึงได้เพียงสมาร์ทโฟนเท่านั้น
น.ส.กษิตธร กล่าวว่าอย่างไรก็ตาม ครูวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ประเมินความสามารถด้านดิจิทัลของตนเองได้ในระดับค่อนข้างดี สามารถเข้าถึงและใช้งานสื่อและทรัพยากรดิจิทัลผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยตนเองได้ แต่ยังขาดการอบรมด้านนี้อย่างเพียงพอและต่อเนื่อง ส่วนด้านการใช้สื่อและทรัพยากรดิจิทัลในการเรียนการสอน พบว่า
ครูใช้สื่อดิจิทัลถึง 50% ของจำนวนคาบเรียนทั้งหมด
และครู 55% สามารถสร้างสื่อดิจิทัลเอง และ
แบ่งปันให้ครูคนอื่น ๆ ในโรงเรียน
แต่ยังขาดแพลตฟอร์มในการแบ่งปัน และคัดกรองสื่อที่มีคุณภาพอย่างเป็นระบบ จากงานวิจัยทั้งหมดพอจะสรุปได้ว่า ทางด้านกลุ่มครู ครูมีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานเพียงพอ ทรัพยากรดิจิทัลที่ครูใช้อย่างมากได้แก่ ยูทูบ ไมโครซอฟท์ออฟฟิศ รวมถึงสื่อจากเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
น.ส.กษิติธร กล่าวว่า สุดท้ายที่พื้นฐานของเทคโนโลยีที่จำเป็นคือความเสถียรของสัญญาณอินเทอร์เน็ตของโรงเรียนที่จะต้องหาวิธีแก้ไขเพื่อให้ครูและนักเรียนสามารถใช้งานได้โดยไม่ติดขัด อันจะเป็นการส่งเสริมการใช้งานด้านดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย โดยดีป้าในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทในการส่งเสริมอุตสาหกรรมดิจิทัลและการนำดิจิทัลไปใช้เพื่อศักภาพทางเศรษฐกิจและสังคม จึงเร่งดำเนินการโครงการด้านสังคมเพื่อสร้างกำลังคนด้านดิจิทัลสู่ภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงภาคการศึกษาด้วย โดยจะมีความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ และภาคเอกชน เพื่อให้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในวงกว้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการใช้สื่อดิจิทัลให้เป็นประโยชน์ต่อภาคการศึกษาต่อไป
JJNY : ปฏิรูปดี๊ดี...ซี้จุกสูญ "ดีป้า"สำรวจพบ.ร.ร.ทั่วประเทศขาดแคลนนักคอมพิวเตอร์หนักมาก!
โรงเรียน 99% มีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงใช้งาน
ครูมีความพึงพอใจต่อความเร็วของอินเทอร์เน็ตของโรงเรียน 35%,
ไม่พอใจเนื่องจากความเร็วไม่พียงพอต่อการใช้งาน 65%,
ผลสำรวจยังระบุด้วยว่า
มีความขาดแคลนนักคอมพิวเตอร์ที่จะให้ความช่วยเหลือบุคลากรในโรงเรียนอย่างรุนแรง
โดยโรงเรียนถึง 55% ระบุว่าไม่มีนักคอมพิวเตอร์ในโรงเรียน และ
โรงเรียนที่เหลือ 45% ระบุว่าทั้งโรงเรียนมีนักคอมพิวเตอร์เพียง 1-2 คนเท่านั้น
นอกจากนี้ยังได้พบว่ามีการแบ่งปันทรัพยากรดิจิทัลที่ครูสร้างขึ้นเอง
โดยมีการแบ่งปันเฉพาะภายในโรงเรียนเท่านั้น 57%
แบ่งปันบนยูทูบ 5%
ไม่ได้แบ่งปัน 5%
บนเว็บไซต์ของหน่วยงานเอกชน 1%
บนเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐ 1% และ
ไม่เคยสร้างเอง 31%
ครูทุกคนสามารถเข้าถึงอุปกรณ์ไอทีได้หลายชนิด ได้แก่ สมาร์ทโฟน พีซี และโน้ตบุ๊ค
ในขณะที่นักเรียนประมาณครึ่งหนึ่งเข้าถึงได้เพียงสมาร์ทโฟนเท่านั้น
น.ส.กษิตธร กล่าวว่าอย่างไรก็ตาม ครูวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ประเมินความสามารถด้านดิจิทัลของตนเองได้ในระดับค่อนข้างดี สามารถเข้าถึงและใช้งานสื่อและทรัพยากรดิจิทัลผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยตนเองได้ แต่ยังขาดการอบรมด้านนี้อย่างเพียงพอและต่อเนื่อง ส่วนด้านการใช้สื่อและทรัพยากรดิจิทัลในการเรียนการสอน พบว่า
ครูใช้สื่อดิจิทัลถึง 50% ของจำนวนคาบเรียนทั้งหมด
และครู 55% สามารถสร้างสื่อดิจิทัลเอง และ
แบ่งปันให้ครูคนอื่น ๆ ในโรงเรียน
แต่ยังขาดแพลตฟอร์มในการแบ่งปัน และคัดกรองสื่อที่มีคุณภาพอย่างเป็นระบบ จากงานวิจัยทั้งหมดพอจะสรุปได้ว่า ทางด้านกลุ่มครู ครูมีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานเพียงพอ ทรัพยากรดิจิทัลที่ครูใช้อย่างมากได้แก่ ยูทูบ ไมโครซอฟท์ออฟฟิศ รวมถึงสื่อจากเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
น.ส.กษิติธร กล่าวว่า สุดท้ายที่พื้นฐานของเทคโนโลยีที่จำเป็นคือความเสถียรของสัญญาณอินเทอร์เน็ตของโรงเรียนที่จะต้องหาวิธีแก้ไขเพื่อให้ครูและนักเรียนสามารถใช้งานได้โดยไม่ติดขัด อันจะเป็นการส่งเสริมการใช้งานด้านดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย โดยดีป้าในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทในการส่งเสริมอุตสาหกรรมดิจิทัลและการนำดิจิทัลไปใช้เพื่อศักภาพทางเศรษฐกิจและสังคม จึงเร่งดำเนินการโครงการด้านสังคมเพื่อสร้างกำลังคนด้านดิจิทัลสู่ภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงภาคการศึกษาด้วย โดยจะมีความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ และภาคเอกชน เพื่อให้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในวงกว้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการใช้สื่อดิจิทัลให้เป็นประโยชน์ต่อภาคการศึกษาต่อไป