หลังการฆ่าผู้นำกลุ่มก่อการร้าย Abu Sayyaf กับ Maute


ยังมีศพผู้ก่อการร้ายอีก 7 ศพเคียงข้าง Isnilon Hapilon กับ Omarkhayam Maute [AFP]



ผู้นำก่อการร้ายระดับสูง 2 คนของฟิลิปปินส์ที่ได้ประกาศสวามิภักดิ์
Islamic State of Iraq and the Levant (ISIL หรือ ISIS) ถูกฆ่าตายแล้ว
ตามรายงานข่าวของเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำการล้อมปราบอย่างต่อเนื่องในทางตอนใต้ของประเทศ

Isnilon Hapilon ผู้นำสูงสุดของกลุ่มก่อการร้าย Abu Sayyaf
และ Omarkhayam Maute ผู้นำของกลุ่มก่อการร้าย Maute
พร้อมกับนักรบรวม 7 คนถูกยิงทิ้งเมื่อวันจันทร์นี้
หลังจากที่กองทัพฟิลิปปินส์ได้เปิดยุทธการครั้งใหญ่ในเมือง Marawi
นายพล Eduardo Ano ผู้บัญชาการทหารสูงสุดได้แถลงข่าวครั้งนี้ว่า
ข้อมูลที่สำคัญได้รับจากหญิงตัวประกันอายุ 17 ปี
ที่ชิงตัวออกมาได้เมื่อเร็ว ๆ นี้ที่ได้บอกเบาะแส/ฐานที่มั่นของกลุ่มก่อการร้าย
ทำให้กองทัพสามารถระบุตำแหน่งฐานที่มั่นที่ชัดเจนของพวกก่อการร้ายได้
โดยผู้นำก่อการร้ายได้ยืนยันและตั้งใจว่าจะไม่ยอมวางอาวุธ
จากการบอกเล่าของตัวประกันที่รอดชีวิตออกมาได้
" เราจะไม่ยอมแพ้ เราจะตายด้วยการต่อสู้เท่านั้น "

Hapilon มีค่าหัวมูลค่า 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากรัฐบาลสหรัฐฯ
(175 ล้านบาท 35.-บาท/1 เหรียญสหรัฐ)
และรัฐบาลฟิลิปปินส์ยังเสนอเงินค่าหัวเพิ่มอีก 200,000 เหรียญไม่ว่าจับเป็นหรือจับตาย
และเงินค่าหัวอีก 100,000 เหรียญสำหรับ Omarkhayam

Eduardo Ano ยอมรับว่ายังมีผู้ก่อการร้ายอีกหลายสิบคนซึ่งมีชาวต่างชาติด้วย
ยังคงหลบซ่อนอยู่ในพื้นที่บางส่วนของ Marawi
และเชื่อว่ายังคงจับชาวบ้านบางคนไว้เป็นตัวประกัน

แต่การตายของ Isnilon Hapilon กับ และ Omarkhayam  Maute
มันเป็นช่วงเวลาที่สำคัญ ก่อนที่การล้อมปราบจะสิ้นสุดลง
หลังจากการสู้รบที่กินเวลากว่า 5 เดือน ที่มีผู้คนเสียชีวิตกว่า 1,000 ราย
และชาวบ้านต้องอพยพหลบหนีออกจากเมืองมากถึง 600,000 คน
ทำให้เมืองประวัติศาสตร์ถูกทำลายลงแทบจมลงสู่พื้นดิน

การล้อมเมือง Marawi เริ่มต้นขึ้น
เมื่อทหารและตำรวจพยายามที่จะจับกุมตัว Isnilon Hapilon กับพรรคพวกในเดือนพฤษภาคม
แต่แทนที่ Hapilon กับพรรรคพวกจะยอมจำนนกลับหันไปร่วมมือเป็นพันธมิตรกับกลุ่มก่อการร้าย Maute
แล้วทำการอาละวาดอย่างกระหายเลือดทั่วเมืองการศึกษา ที่อยู่ท่ามกลางทะเลสาบ Lanao ที่งดงาม
ทำให้ประธานาธิบดี Rodrigo Duterte ต้องประกาศใช้กฎอัยการศึกใน Mindanao

เรื่องราวอื้อฉาวและชั่วร้ายของ Isnilon Hapilon
กินเวลายาวนานเกือบ 2 ทศวรรษแล้ว
ในช่วงที่เป็นผู้นำสูงสุดกองโจรก่อการร้าย Abu ​​Sayyaf ในเกาะ Basilan กับ Sulu
ซึ่งกลุ่มก่อการร้ายนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลักพาตัวคนไปเรียกค่าไถ่
และการตัดหัวตัวประกันหลายคนที่มีทั้งชาวต่างชาติหลายคนด้วย

กองทัพฟิลิปปินส์ได้เปิดยุทธการรบกับกลุ่มก่อการร้ายนี้หลายครั้งแล้ว
ซึ่งเชื่อมั่นว่ากลุ่มก่อการรร้ายนี้ใกล้ชิดกับกลุ่มอัลกออิดะห์  al-Qaeda
แต่แล้ว Hapilon กลับสามารถหลบหนีจากการล้อมปราบของกองทัพได้หลายต่อหลายครั้ง

Isnilon Hapilon ได้เปลี่ยนความจงรักภักดี al-Qaeda ไปให้กับ ISIL
และกลายเป็นผู้นำสูงสุดทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากที่แต่งตั้งตนเองขึ้นมา
ในช่วงต้นปีนี้ Hapilon กับพรรคพวกได้ย้ายไปจังหวัด Lanao del Sur
เข้าร่วมกับกลุ่ม Maute ที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก ISIL
กลุ่มก่อการร้ายที่นำโดยสองพี่น้อง Omarkhayam กับ Abdullah
แต่แล้ว Abdullah กับน้องชายอีกสองคนถูกทหารยิงทิ้งในเดือนกันยายนที่ผ่านมา


นักวิจารณ์ระบุว่า การทำลายเมือง Mariwi แล้วจริง ๆ ไม่จำเป็นต้องทำถึงขนาดนี้เลย : Reuters




ประวัติศาสตร์ที่อยุติธรรม

Shidik Abantas เจ้าหน้าที่กฎหมาย Mindanao State University
ใน Marawi  ให้สัมภาษณ์กับ Al Jazeera ว่า
" ยุทธการทางทหารในวันจันทร์นี้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก
ในแง่ที่ว่าเป็นการสิ้นสุดการล้อมปราบที่นี่แล้ว
เรื่องนี้จะทำให้เกิดสันติภาพจริงหรือไม่
ความรุนแรงที่เกิดขึ้นใน Mindanao
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในท้องถิ่นของเรา
ไม่ได้เกิดจาก ISIS ในตะวันออกกลางเลย
ส่วนใหญ่เกิดจากความอยุติธรรมที่นี่ตั้งอดีตจนถึงทุกวันนี้ "

ในฐานะที่เป็นชาวบ้านในท้องถิ่นเขากล่าวว่า
" รู้สึกหดหู่และขุ่นเคืองใจกับการล้อมปราบ
และการทำลายเมือง Marawi ซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงได้
การทิ้งระเบิดทางอากาศแบบรุนแรง
และไม่ยอมรับการเจรจาต่อรองทุกชนิด
(ให้คนร้ายยอมจำนนแบบไม่มีเงื่อนไข)
ได้นำไปสู่การทำลายล้างเมือง Marawi

การทำลายเมืองทิ้งทั้งเมือง
ยิ่งทำให้เกิดความหวาดระแวงระหว่างชาวบ้านกับรัฐบาล
รวมทั้งการยืนกรานของรัฐบาล ที่ระบุว่า
ชาวบ้านให้ความร่วมมือกับกองโจรติดอาวุธ
แม้ว่าจะมีหลักฐานเป็นศูนย์หรือไม่มีหลักฐานเลยก็ตาม
ยิ่งทำให้เรื่องแบบนี้แย่ลงไปอีก "

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
Battle for Marawi: Conflict takes toll on local economy




รากเง่าของความสุดโต่ง

Jay Batongbacal นักกฎหมายและผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
University of the Philippines ให้สัมภาษณ์กับ Al Jazeera ว่า
" ยุทธการในวันจันทร์เป็นการทำลายกลุ่ม Abu Sayyaf ครั้งยิ่งใหญ่
ทำให้กองกำลังติดอาวุธต้องล้าหลังไปอีกหลายปี
แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่ากลุ่ม Abu Sayyaf จะถูกกำจัดทิ้งไปอย่างสิ้นเชิงแล้ว
เพราะกลุ่มก่อการร้ายนี้ได้แสดงศักยภาพให้เห็นถึง
ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัวได้
ตั้งแต่เกิดกลุ่มก่อการร้ายนี้ขึ้นมาในทศวรรษที่ 1990

ประสบการณ์ที่ผ่านมาในอดีตได้แสดงให้เห็นว่า
ภัยคุกคามจะมีแนวโน้มที่จะอยู่ในระดับต่ำก่อน
และหวนกลับมาเป็นภัยคุกคามอีกครั้งหลังจากมีผู้นำคนใหม่
ตราบเท่าที่เงื่อนไขทางสังคมและเศรษฐกิจใน Mindanao ยังไม่ดีขึ้น
กลุ่ม Abu Sayyaf ก็จะมีพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์สำหรับการฟื้นกลับคืนมา “
(เงื่อนไขที่จะฟื้นตัวขึ้นมาเป็นภัยคุกคามอีกครั้ง)



ในขณะเดียวกัน นายทหารที่เกษียณอายุราชการแล้ว
ที่ขอให้ Al Jazeera ปกปิดชื่อผู้ให้สัมภาษณ์
ได้กล่าวถึงการต่อสู้ที่ยาวนานของกลุ่มกบฎว่า
" นักรบรุ่นใหม่อาจเกิดขึ้นมาอีกหลังสงครามใน Marawi
การต่อสู้และการทำลายล้างในเมือง Marawi
อาจเป็นแรงบันดาลใจให้เยาวชนมุสลิมรุ่นใหม่
จะต้องพิจารณาทบทวนการต่อสู้
หรือแม้กระทั่งอุดมการณ์มุสลิมสุดโต่งของ ISIL  https://goo.gl/3bEobn (ไทย)

ขอบเขตของการทำลายเมือง Marawi
ยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง
ความขัดแย้งใน Marawi ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า
เรื่องนี้เป็นความท้าทายอย่างรุนแรงกับรัฐบาล
และเครื่องมือที่ใช้รักษาความมั่นคงของรัฐ
ทั้งยังสร้างผลกระทบอย่างรุนแรง
กับสงครามต่อต้านการก่อการร้ายในฟิลิปปินส์ "


ผู้คนหลายหมื่นคนหลบหนีจากการสู้รบใน Marawi : Reuters




“ ข้อเท็จจริงที่ว่า การกบฎได้เกิดขึ้นจริงในประเทศ
และมีตัวประกันเป็นชาวฟิลิปปินส์ที่นับถือศาสนาคริสต์
กับการรบภายในเมืองที่ยืดเยื้อเป็นเวลาหลายเดือน
คือ พัฒนาการที่ร้ายแรงอย่างมาก
กลุ่มผู้ก่อการร้ายใน Marawi ไม่ใช่พวกไร้น้ำยา
แต่เป็นกองกำลังติดอาวุธที่น่าเกรงขาม
มีการจัดตั้งเป็นอย่างดีมีอาวุธครบครัน
และมีแรงบันดาลใจสูงกล้าสู้ตายตามอุดมการณ์
ความตายของผู้นำทั้งคู่นี้และจุดจบของสงครามครั้งนี้
อาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการก่อการร้ายที่อ่อนแอลงชั่วคราว
แต่ภัยคุกคามยังคงมีอยู่ต่อไปและอาจจะมีวิวัฒนาการ
ที่นำไปสู่ความรุนแรงและรุนแรงมากยิ่งขึ้น "


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
Philippine army struggles to dislodge Maute fighters from Marawi




จุดเริ่มต้นของการต่อสู้ครั้งที่ยิ่งใหญ่กว่า


Alia Fatma Macarambon นักศึกษาและชาวบ้าน
ใน Marawi ให้สัมภาษณ์กับ Al Jazeera
" ความขัดแย้งเรื่องนี้เป็นเรื่องส่วนตัว
สงครามทำร้ายจิตใจฉัน ทุกภาพ ทุกข่าว เตือนความทรงจำถึงภัยสงคราม
ที่ทำให้ฉันต้องร้องไห้ เพราะมันไม่ใช่เมือง Marawi  ที่ฉันรู้จัก
มันทำให้ฉันเศร้าใจกับเรื่องที่ผู้บริสุทธิ์หลายคนถูกฆ่าตาย
ฉันมีญาติสนิทและเพื่อนที่ไม่มีบ้านอยู่อีกต่อไปแล้ว "




Ace Guro ชนพื้นเมือง Maranao ที่บ้านเกิดมาจาก Marawi ให้สัมภาษณ์กับ Al Jazeera
" พัฒนาการครั้งล่าสุดนี้จะส่งผลให้สงครามสิ้นสุดลงโดยเร็ว ๆ นี้
แต่มันเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการต่อสู้ครั้งที่ยิ่งใหญ่กว่าสำหรับชาวบ้าน
ความจริงแล้ว พวกเราบางคนคิดว่าจะไม่กลับไปอีกแล้ว
เพราะเมืองนี้ไม่ใช่บ้านเมืองอย่างที่เคยเป็นมาก่อน
แต่คนเราไม่มีทางเลือกหรือย้ายหนีไปจากเมืองนี้

รัฐบาลควรจะมีแผนการฟื้นฟูเมืองที่ชัดเจน
ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้ชาวบ้านจะได้ทำงานร่วมกับรัฐบาล
เราจำเป็นต้องสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
เพื่อทุกอย่างเป็นไปด้วยดี เราต้องการให้แน่ใจว่าสิ่งที่เกิดขึ้นใน Marawi
จะจบลงแค่วิกฤติการณ์เพียงครั้งหนี่งในประวัติศาสตร์

แต่เป็นเรื่องราวความสำเร็จของการที่เราเอาชนะการก่อการร้าย
แม้ว่าพวกเราจะถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกผู้ก่อการร้าย
บ้านเรือนที่ปรักหักพังจะต้องได้รับการซ่อมแซมฟื้นฟูอีกครั้ง
แต่ฉันคิดว่าสิ่งสำคัญ คือ การเยียวยาบาดแผลในใจที่เรามองไม่เห็น
จิตวิญญาณของ Maranao ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติครั้งนี้ "


เรียบเรียง/ที่มา Al Jazeera

https://goo.gl/6MoTAL




เรื่องเล่าไร้สาระ

ปมความขัดแย้งที่มียุทธการขั้นรุนแรงคือ
การจับตัวประกันชาวคริสต์โดยกลุ่มก่อการร้ายมุสลิมสุดโต่งไว้ต่อรองกับรัฐบาล
ซึ่งชาวฟิลิปปินส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิค
ขณะที่มีคนจำนวนมากหลบหนีออกจากตัวเมือง
ก็มีคนอีกจำนวนหนึ่งไม่ยอมหลบหนีออกมาด้วยเพราะห่วงบ้านเรือน
และบางคนผสมโรงปล้นทรัพย์สินบ้านเรือนที่ไร้ผู้คน
แล้วอยู่ปะปนร่วมกับพวกกองโจรก่อการร้าย
จนแทบแยกแยะไม่ออกว่า ใครคือชาวบ้านใครคือคนร้าย

ในช่วงแรกทางฟิลิปปินส์ขาดแคลนอาวุธส่วนหนึ่ง
ทั้ง ๆ ที่สหรัฐอเมริกามีฐานทัพอยู่ที่ฟิลิปปินส์
แต่ไม่ยอมให้ความช่วยเหลือทางอาวุธโดยอ้างเหตุผลต่าง ๆ นานา
ทางจีนจึงได้จัดส่งอาวุธจำนวนมากให้กับรัฐบาลฟิลิปปินส์
พอศึกใกล้จะมีแนวโน้มว่ายุติแล้ว สหรัฐจึงส่งอาวุธให้จำนวนหนึ่ง

ใน 2-3 เดือนแรกทหารฟิลิปปินส์ยังจับทิศทางรบไม่ถูก
มีข้อมูลภายในว่าการล้อมปราบครั้งนี้ใช้ที่ปรึกษาทหารผู้เชี่ยวชาญจากรัสเซีย
ที่เคยผ่านสงครามกลางเมืองในเชชเนียและซีเรียมาก่อน
เพราะความโหดสัตว์รัสเซียลอกเลียนแบบการทำสงครามของนักรบมองโกลในอดีต
กับกฎหมายซางหยางที่ปรับปรุงการปกครองของจีนในยุคโบราณ
ที่หลายชาติตอนนี้ใช้อยู่เช่น  ยิว จีน เกาหลี ญี่ปุ่น คือ

ขีดเส้นตายให้คนร้ายยอมจำนนแบบไม่มีเงื่อนไขต่อรองทุกชนิด
ขณะเดียวกันประกาศให้คนที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหลบหนีออกมาให้หมด
ใครที่ยังอยู่ในบริเวณที่จะทำการล้อมปราบให้ถือว่าเป็นพวกคนร้ายทุกคน
ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้หญิง คนชรา หรือคนพิการ
ใครก็ตามที่เป็นตัวประกันถ้ารอดตายได้ถือว่าโชคดีก็แล้วกัน
ใครที่ให้ที่พักพิง ช่วยเหลือคนร้าย ให้ถือว่าเป็นพวกคนร้าย
(กฎหมายอาญาไทยก็มีในหมวดความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ)
ใครที่รู้ว่ามีคนร้ายมาอยู่ละแวกบ้าน ไม่แจ้งทางการให้ทราบ
ทางการสืบทราบภายหลังถือว่ามีความผิดเท่ากับคนร้าย
ดังนั้น พอถึงเส้นตายก็จะปราบปรามอย่างรุนแรง
ภายในพื้นที่เป้าหมายที่มีคนร้ายหลบซ่อนอยู่

ภายหลังศึกสงบจะมีการยึดทรัพย์ครอบครัวคนร้ายทั้งหมด
แบบทำให้เป็นคนยากจนไปเลยรวมทั้งผู้สนับสนุนทุกคนด้วย
ยิวจะใช้วิธีรื้อบ้านทำลายทรัพย์สินครอบครัวคนร้ายทั้งหมด

เมืองไทยเคยยีดที่ดินโรงเรียนปอเน๊าะที่มีผู้นำก่อการร้ายแฝงตัวอยู่
แต่มีหลายคดีที่ไม่ยึดทรัพย์เพราะเวทนาครอบครัวคนร้าย


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
รัสเซียปราบผู้ก่อการร้ายใน Dagestan
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่