เอเอฟพี - นายกรัฐมนตรี จัสติน ทรูโด แห่งแคนาดา ออกมาแถลงยืนยันวานนี้ (25 เม.ย.) ว่าชายชาวแคนาดาคนหนึ่งซึ่งถูกกลุ่มติดอาวุธอิสลามิสต์ “อาบูไซยาฟ” ในฟิลิปปินส์จับตัวไปเรียกค่าไถ่ได้ถูกสังหารแล้ว หลังทางการฟิลิปปินส์พบ “ศีรษะ” ของชาวต่างชาติถูกทิ้งไว้บนเกาะห่างไกลแห่งหนึ่ง
“ผมเสียใจอย่างยิ่งที่ได้ทราบข่าวว่า คุณจอห์น ริดสเดล ซึ่งถูกจับเป็นตัวประกันในฟิลิปปินส์ ตั้งแต่วันที่ 21 ก.ย. ปี 2015 ได้ถูกสังหารโดยน้ำมือของคนร้าย” ทรูโดกล่าว
“นี่เป็นการฆาตกรรมอย่างเลือดเย็น และกลุ่มติดอาวุธที่จับเขาไปเป็นตัวประกันจะต้องรับผิดชอบ”
ริดสเดลถูกนักรบอาบูไซยาฟจับตัวไปเมื่อ 7 เดือนก่อน พร้อมกับ โรเบิร์ต ฮอลล์ เพื่อนชาวแคนาดา, มาริเตส ฟลอร์ แฟนสาวชาวฟิลิปปินส์ของฮอลล์ และ คยาร์ทัน เซ็กกิงสตัด ผู้จัดการรีสอร์ตชาวนอร์เวย์ โดยขณะเกิดเหตุทั้ง 4 ได้นำเรือยอตช์ไปจอดอยู่ที่อ่าวแห่งหนึ่งใกล้กับเมืองดาเวา (Davao)
หลังผ่านไปประมาณ 6 สัปดาห์ กลุ่มมือปืนอาบูไซยาฟก็ได้แพร่คลิปวิดีโอบันทึกภาพตัวประกันทั้งหมดถูกควบคุมตัวอยู่กลางป่า และได้เรียกร้องเงินค่าไถ่ชาวต่างชาติ 3 คน รายละ 21 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ชาวตะวันตกทั้ง 3 คนถูกสั่งให้ร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลของตน และตลอดหลายเดือนที่ผ่านมาอาบูไซยาฟก็ได้แพร่คลิปวิดีโอลักษณะเดียวกันอีกหลายครั้ง และตัวประกันก็มีท่าทีอ่อนระโหยโรยแรงลงเรื่อยๆ
ในคลิปวิดีโอล่าสุด ริดสเดล ซึ่งอยู่ในวัย 60 ปลายๆ กล่าวว่าคนร้ายจะสังหารเขาในวันที่ 25 เม.ย. หากไม่ได้รับเงินค่าไถ่ 6.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
หลังผ่านพ้นเส้นตายไปไม่กี่ชั่วโมง ตำรวจฟิลิปปินส์ก็ได้รับแจ้งว่ามีชาย 2 คนขี่รถจักรยานยนต์นำศีรษะชาวต่างชาติมาทิ้งใกล้ๆ ศาลาว่าการเมืองบนเกาะโจโล (Jolo) ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงมะนิลาไปทางใต้ราว 1,000 กิโลเมตร และเป็นฐานที่มั่นสำคัญแห่งหนึ่งของอาบูไซยาฟ
“เราพบศีรษะอยู่ในถุงพลาสติก” วิลเฟรโด กายัต ผู้บัญชาการตำรวจประจำภูมิภาคให้สัมภาษณ์กับเอเอฟพี พร้อมระบุว่า เป็นศีรษะชายผิวขาว แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุตัวตนของผู้ตายได้
ทรูโดยืนยันว่า รัฐบาลแคนาดาจะประสานกับทางการฟิลิปปินส์เพื่อตามล่าตัวผู้สังหารริดสเดลมาลงโทษ และยังไม่ละความพยายามที่จะช่วยเหลือตัวประกันคนอื่นๆ
ริดสเดลเป็นเพื่อนของ บ็อบ แร อดีตหัวหน้าพรรคลิเบอรัลคนก่อนหน้าทรูโด เคยทำงานเป็นนักหนังสือพิมพ์ ผู้จัดการบริษัทน้ำมัน และชื่นชอบการล่องเรือเป็นชีวิตจิตใจ
เขาเดินทางไปฟิลิปปินส์เพื่อรับตำแหน่งผู้บริการเหมืองทองแห่งหนึ่ง ก่อนจะเกษียณอายุ
นอกจากชาวต่างชาติกลุ่มนี้แล้ว เชื่อกันว่าอาบูไซยาฟยังจับตัวนักดูนกชาวเนเธอร์แลนด์คนหนึ่งไปเมื่อปี 2012 และได้ลักพาตัวลูกเรือลากจูงชาวอินโดนีเซียและมาเลเซียไปอีก 18 คนบริเวณน่านน้ำตอนใต้ของฟิลิปปินส์เมื่อเดือนที่แล้ว
อาบูไซยาฟเป็นนักรบอิสลามิสต์กลุ่มย่อยที่มีฐานปฏิบัติการอยู่บนเกาะโจโลและเกาะใกล้เคียง และถูกสหรัฐฯ ขึ้นบัญชีเป็นองค์กรก่อการร้าย
นักรบกลุ่มนี้อยู่เบื้องหลังเหตุวินาศกรรมร้ายแรงในฟิลิปปินส์มาแล้วหลายครั้ง รวมถึงการลอบวางระเบิดเรือเฟอร์รีในอ่าวมะนิลาเมื่อปี 2004 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 100 ราย นอกจากนี้ยังลักพาตัวชาวต่างชาติไปหลายสิบคน โดยตระเวนปฏิบัติการตั้งแต่น่านน้ำตอนใต้ของฟิลิปปินส์เรื่อยไปจนถึงเกาะบอร์เนียว
แกนนำอาบูไซยาฟเพิ่งประกาศสวามิภักดิ์ต่อกลุ่มติดอาวุธรัฐอิสลาม (ไอเอส) ในตะวันออกกลางไปเมื่อไม่นานนี้ แต่นักวิเคราะห์เชื่อว่าเป้าหมายหลักของพวกเขายังอยู่ที่การลักพาตัวเพื่อเรียกค่าไถ่เท่านั้น ไม่ได้มีอุดมการณ์ในการทำสงครามศาสนา หรือสร้างรัฐคอลีฟะห์ขึ้นมาอย่างไอเอส
สถานการณ์ความมั่นคงในภาคใต้ฟิลิปปินส์ยังคงน่าเป็นห่วง แม้รัฐบาลจะทำข้อตกลงสันติภาพกับกลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร (Moro Islamic Liberation Front - MILF) ซึ่งเป็นกบฏมุสลิมกลุ่มใหญ่ที่สุดเมื่อปี 2014 ซึ่งช่วยให้เหตุการณ์ความไม่สงบที่ยืดเยื้อมานานถึง 45 ปียุติลงได้
สุดเหี้ยม! กลุ่มติดอาวุธ “อาบูไซยาฟ” ฆ่าตัดหัวตัวประกันชาวแคนาดา-หิ้ว “ศีรษะ” โยนทิ้งใกล้ศาลาว่าการเมือง
“ผมเสียใจอย่างยิ่งที่ได้ทราบข่าวว่า คุณจอห์น ริดสเดล ซึ่งถูกจับเป็นตัวประกันในฟิลิปปินส์ ตั้งแต่วันที่ 21 ก.ย. ปี 2015 ได้ถูกสังหารโดยน้ำมือของคนร้าย” ทรูโดกล่าว
“นี่เป็นการฆาตกรรมอย่างเลือดเย็น และกลุ่มติดอาวุธที่จับเขาไปเป็นตัวประกันจะต้องรับผิดชอบ”
ริดสเดลถูกนักรบอาบูไซยาฟจับตัวไปเมื่อ 7 เดือนก่อน พร้อมกับ โรเบิร์ต ฮอลล์ เพื่อนชาวแคนาดา, มาริเตส ฟลอร์ แฟนสาวชาวฟิลิปปินส์ของฮอลล์ และ คยาร์ทัน เซ็กกิงสตัด ผู้จัดการรีสอร์ตชาวนอร์เวย์ โดยขณะเกิดเหตุทั้ง 4 ได้นำเรือยอตช์ไปจอดอยู่ที่อ่าวแห่งหนึ่งใกล้กับเมืองดาเวา (Davao)
หลังผ่านไปประมาณ 6 สัปดาห์ กลุ่มมือปืนอาบูไซยาฟก็ได้แพร่คลิปวิดีโอบันทึกภาพตัวประกันทั้งหมดถูกควบคุมตัวอยู่กลางป่า และได้เรียกร้องเงินค่าไถ่ชาวต่างชาติ 3 คน รายละ 21 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ชาวตะวันตกทั้ง 3 คนถูกสั่งให้ร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลของตน และตลอดหลายเดือนที่ผ่านมาอาบูไซยาฟก็ได้แพร่คลิปวิดีโอลักษณะเดียวกันอีกหลายครั้ง และตัวประกันก็มีท่าทีอ่อนระโหยโรยแรงลงเรื่อยๆ
ในคลิปวิดีโอล่าสุด ริดสเดล ซึ่งอยู่ในวัย 60 ปลายๆ กล่าวว่าคนร้ายจะสังหารเขาในวันที่ 25 เม.ย. หากไม่ได้รับเงินค่าไถ่ 6.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
หลังผ่านพ้นเส้นตายไปไม่กี่ชั่วโมง ตำรวจฟิลิปปินส์ก็ได้รับแจ้งว่ามีชาย 2 คนขี่รถจักรยานยนต์นำศีรษะชาวต่างชาติมาทิ้งใกล้ๆ ศาลาว่าการเมืองบนเกาะโจโล (Jolo) ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงมะนิลาไปทางใต้ราว 1,000 กิโลเมตร และเป็นฐานที่มั่นสำคัญแห่งหนึ่งของอาบูไซยาฟ
“เราพบศีรษะอยู่ในถุงพลาสติก” วิลเฟรโด กายัต ผู้บัญชาการตำรวจประจำภูมิภาคให้สัมภาษณ์กับเอเอฟพี พร้อมระบุว่า เป็นศีรษะชายผิวขาว แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุตัวตนของผู้ตายได้
ทรูโดยืนยันว่า รัฐบาลแคนาดาจะประสานกับทางการฟิลิปปินส์เพื่อตามล่าตัวผู้สังหารริดสเดลมาลงโทษ และยังไม่ละความพยายามที่จะช่วยเหลือตัวประกันคนอื่นๆ
ริดสเดลเป็นเพื่อนของ บ็อบ แร อดีตหัวหน้าพรรคลิเบอรัลคนก่อนหน้าทรูโด เคยทำงานเป็นนักหนังสือพิมพ์ ผู้จัดการบริษัทน้ำมัน และชื่นชอบการล่องเรือเป็นชีวิตจิตใจ
เขาเดินทางไปฟิลิปปินส์เพื่อรับตำแหน่งผู้บริการเหมืองทองแห่งหนึ่ง ก่อนจะเกษียณอายุ
นอกจากชาวต่างชาติกลุ่มนี้แล้ว เชื่อกันว่าอาบูไซยาฟยังจับตัวนักดูนกชาวเนเธอร์แลนด์คนหนึ่งไปเมื่อปี 2012 และได้ลักพาตัวลูกเรือลากจูงชาวอินโดนีเซียและมาเลเซียไปอีก 18 คนบริเวณน่านน้ำตอนใต้ของฟิลิปปินส์เมื่อเดือนที่แล้ว
อาบูไซยาฟเป็นนักรบอิสลามิสต์กลุ่มย่อยที่มีฐานปฏิบัติการอยู่บนเกาะโจโลและเกาะใกล้เคียง และถูกสหรัฐฯ ขึ้นบัญชีเป็นองค์กรก่อการร้าย
นักรบกลุ่มนี้อยู่เบื้องหลังเหตุวินาศกรรมร้ายแรงในฟิลิปปินส์มาแล้วหลายครั้ง รวมถึงการลอบวางระเบิดเรือเฟอร์รีในอ่าวมะนิลาเมื่อปี 2004 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 100 ราย นอกจากนี้ยังลักพาตัวชาวต่างชาติไปหลายสิบคน โดยตระเวนปฏิบัติการตั้งแต่น่านน้ำตอนใต้ของฟิลิปปินส์เรื่อยไปจนถึงเกาะบอร์เนียว
แกนนำอาบูไซยาฟเพิ่งประกาศสวามิภักดิ์ต่อกลุ่มติดอาวุธรัฐอิสลาม (ไอเอส) ในตะวันออกกลางไปเมื่อไม่นานนี้ แต่นักวิเคราะห์เชื่อว่าเป้าหมายหลักของพวกเขายังอยู่ที่การลักพาตัวเพื่อเรียกค่าไถ่เท่านั้น ไม่ได้มีอุดมการณ์ในการทำสงครามศาสนา หรือสร้างรัฐคอลีฟะห์ขึ้นมาอย่างไอเอส
สถานการณ์ความมั่นคงในภาคใต้ฟิลิปปินส์ยังคงน่าเป็นห่วง แม้รัฐบาลจะทำข้อตกลงสันติภาพกับกลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร (Moro Islamic Liberation Front - MILF) ซึ่งเป็นกบฏมุสลิมกลุ่มใหญ่ที่สุดเมื่อปี 2014 ซึ่งช่วยให้เหตุการณ์ความไม่สงบที่ยืดเยื้อมานานถึง 45 ปียุติลงได้