แนะนำ "ท่าบริหาร" เพื่อป้องกันและแก้ไขอาการไหล่ติด

อาการไหล่ติด (Frozen shoulder หรือ Adhesive capsulitis) มีอาการเจ็บปวดเวลาเคลื่อนไหวไหล่ เคลื่อนไหวข้อไหล่ได้น้อยลง
เช่น ยกแขนไม่ได้สุด ไขว้หลังไม่ได้ ทำให้จำกัดการใช้งานของแขนข้างนั้น เช่น หวีผมลำบาก ติดตะขอเสื้อในไม่ได้ เอื้อมหยิบของ
ไม่ได้ ใส่ถอดเสื้อลำบาก ส่วนใหญ่มักมีอาการปวดตอนนอนกลางคืนด้วย นอนทับแขนไม่ได้ มักพบในผู้ป่วยอายุมากกว่า 40 ปี
ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย

ไหล่ติดเกิดขึ้นได้อย่างไร?
1. ไม่ทราบสาเหตุ
2. มีอาการปวดนำก่อน เช่น มีอาการอักเสบของเส้นเอ็นไหล่ กล้ามเนื้อรอบไหล่ กระดูกหักบริเวณไหล่ต้นแขน ทำให้ไม่สามารถ
    เคลื่อนไหวเพราะว่าปวด หรือจำกัดการเคลื่อนไหวไว้ เวลาผ่านไปพังผืดค่อยๆ ยึดในข้อไหล่
3. กล้ามเนื้ออ่อนแรง เช่น ผู้ป่วยอัมพาต ผู้ป่วยบาดเจ็บเส้นประสาท ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวไหล่ได้ เวลาผ่านไปทำให้พังผืดค่อยๆ
    ยึดจนไหล่ติด

ป้องกันไหล่ติดอย่างไร?
1. พยายามบริหาร เคลื่อนไหวข้อไหล่ไว้สม่ำเสมอ โดยเฉพาะผู้หญิงอายุมากกว่า 40 ปี ควรใช้ท่าบริหารตามนี้

1.1 ท่ายกแขนตรง


1.2 ท่าบิดแขนเข้าออก
                                                                       

1.3 ท่าไขว้หลัง



2. ผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบหรือกระดูกหัก หลังจากอาการปวดทุเลา หรือแพทย์เริ่มให้เคลื่อนไหวข้อได้ ต้องพยายามเคลื่อนไหว
    บริเวณข้อเท่าที่ไม่ปวดไว้ก่อน

2.1 ท่า Pendulum exercise (หมุนแขน)


2.2 ท่าไต่ผนัง (ไต่ขึ้น)



การบริหารไหล่ กรณีไหล่ติดแล้ว
ก่อนบริหารอาจใช้น้ำอุ่นประคบ นวดกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อไหล่ให้ผ่อนคลายและบริหาร ทำครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้ง อย่างน้อยวันละ 4 รอบ รอบละ 10 ครั้ง  ท่าบริหาร

1. ใช้มือตรงข้ามจับข้อมือแขนข้างไหล่ติด  ดึงแขนออกไปตรงๆแล้วยกแขนขึ้นตรงๆ ไปด้านหน้าจนกว่าแขนจะแนบหู
                                      

2. ใช้มือตรงข้ามจับข้อมือข้างไหล่ติด  ดึงแขนออก แล้วโยกแขนดึงไปด้านตรงข้าม ให้ดึงข้อมือไว้ตลอด


3. จากท่าแรกให้โยกตัวไปด้านตรงข้าม


4. มือด้านตรงข้ามจับข้อมือ ดึงแขนไปด้านหลังตรงๆ


5. มือด้านตรงข้ามจับข้อมือ ดึงแขนไปด้านหลัง ออกไปด้านตรงข้าม


6. มือด้านตรงข้ามจับมือข้างที่ไหล่ติด ไต่ขึ้นบนไขว้หลังได้มากขึ้น


7. ใช้ผ้าขนหนูช่วยในท่าไขว้หลัง ดึงแขนข้างที่ไหล่ติดขึ้น
                                                                         
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่