IEC จะมีเจ้าภาพหรือไม่อยู่ที่การประชุมวิสามัญในรอบนี้ครับ ไปกันเยอะๆนะครับ
ทางเลือก...อนาคต “หุ้น IEC”
“กระผม นายโกมล จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 1 ของบริษัท IEC (บริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน)) ขอเสนอตัวที่จะเข้ามาบริหารบริษัท IEC แบบมืออาชีพและด้วยจิตใจความเป็นเจ้าของ เพราะที่ผ่านมา IEC ประสบปัญหาการบริหารอย่างหนัก หุ้นถูกห้ามซื้อขาย (SP) มีการทุจริตจำนวนมาก และบริษัทได้ดำเนินการสั่งฟ้องผู้บริหารเก่าแล้วมากกว่า 10 คดี
จากข้อมูลที่ได้ติดตามมา แม้ส่วนของผู้ถือหุ้นจะเป็นบวก แต่ฐานะการเงินปัจจุบันไม่ดีนัก พบว่า บริษัทขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง มีแนวโน้มจะต้องเข้าแผนฟื้นฟู เพราะมีโอกาสที่ส่วนผู้ถือหุ้นจะติดลบ ถ้าจะแก้ปัญหานี้ได้ ท่านผู้ถือหุ้นทุกท่านต้องช่วยกันสนับสนุนการประชุม วันที่ 20 ต.ค. 2560 ถ้าท่านสามารถเข้าร่วมประชุมได้ก็ยิ่งดี เพื่อให้วาระการเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม (RO) ผ่าน จะต้องใช้เสียงถึง 75% เพราะหากไม่สามารถผ่านวาระเพิ่มทุนนี้ได้ IEC คงหนีไม่พ้นต้องเข้าแผนฟื้นฟู ซึ่งจะทำให้ผู้ถือหุ้นทุกท่านได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก
เนื่องจากขณะนี้ ได้มีกลุ่มผู้รณรงค์ต่อต้านการเพิ่มทุนครั้งนี้โดยเปิดเผย ซึ่งผมยินดีใช้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นชี้แจงข้อเท็จจริง เพื่อให้ผู้ถือหุ้นเกิดความกระจ่างถึงเหตุผลและความจำเป็นต้องเพิ่มทุน ซึ่งเป็นตัวชี้วัดอนาคตของบริษัท IEC
ท่านที่ได้รับจดหมายของบริษัทแล้ว และเข้าใจเจตนารมย์ในการเพิ่มทุนของบริษัทอย่างดีแล้ว ขอท่านช่วยกรุณาเซ็นชื่อมอบอำนาจให้กับบริษัทด้วยครับ เพื่อให้การประชุมบรรลุผลและผ่านวาระการเพิ่มทุนได้
ผมขอยืนยันว่า จะตั้งใจบริหารให้ IEC ก้าวหน้าไม่แพ้บริษัท อกริเพียว โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (APURE) บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ที่ผมบริหารอยู่ (เข้าบริหารประมาณ 5 ปี) ซึ่งขณะนั้นมีผลขาดทุน ประสบปัญหาทางการเงิน ซึ่งผมเข้าไปบริหารกระทั่งกลับมาปกติในสภาพที่เห็นในปัจจุบัน มีกำไรต่อเนื่อง และล้างขาดทุนกลับมาจ่ายเงินปันผลได้ ซึ่งนักลงทุนก็ทราบกันดี
ทั้งนี้ เพื่อให้รับทราบเจตนารมย์ของผมด้วย IEC มีผู้ถือหุ้นมากกว่า 25,000 คน ผมจึงต้องขอสื่อสารผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อให้รับทราบได้ทั่วถึงอีกทางหนึ่งด้วยครับ
ขอแสดงความนับถือ
นายโกมล จึงรุ่งเรืองกิจ
ที่มา >>>>>>>>
http://www.thansettakij.com/content/216802
ขาใหญ่ ในตลาดหุ้น : ‘พงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ’ พันธกิจ‘ท้าทาย’กู้ซาก IEC
ธุรกิจนี้ กำไรได้ ถ้าไม่โกง เป็นคำกล่าวของ พงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิล เอ็นจีเนียริงฯ (IEC) บุตรคนโตของ โกมล จึงรุ่งเรืองกิจ ซึ่งบทบาทและภารกิจขณะนี้ มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่า 2 เดือนที่ผ่านมา ที่ “พงศ์กวิน” เข้าไปบริหารบริษัทที่บอบชํ้าจากการกระทำของอดีตผู้บริหารเก่าคนแล้วคนเล่า ต่างแย่งชิงกันฉ้อฉล-ทุจริต สูบเงินออกจาก IEC เกือบจะเหลือแต่ซาก จนไม่เหลือเจ้าภาพ ปล่อยให้กลุ่มนักลงทุนกลุ่มใหม่ เข้ามาหาผลประโยชน์อีกทอด
ก่อนที่ “ซาก” ของ IEC จะย่อยสลาย โกมล-ลูกชาย เป็น 1 ในนักลงทุนที่หลงเคลิ้มไปกับนโยบายสร้างฝันของ “ภูษณ ปรีย์มาโนช” ไม่สามารถทอดสายตาผ่านเลยไปได้ ท่ามกลางผู้ถือหุ้นรายย่อยร่วม 25,000 คน โกมล-ลูกชาย จึงต้องยื่นมือเข้ามากอบกู้ IEC ด้วยการใส่เงินอัดฉีด ประทังไปพลางๆ
ภารกิจหนักอึ้งบังเกิดแล้วกับ พงศ์กวิน หนุ่มน้อยวัย 38 ปี เขาถูกท้าทายด้วยปัญหาที่หมักหมม ทั้งหนี้สินของ IEC คดีความทุจริตของอดีตผู้บริหาร, การเข้าไปเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้กลับมามีกำไรเลี้ยงบริษัทได้ รวมไปถึงการให้โรงไฟฟ้าที่หยุดดำเนินการเดินต่อได้ หรือที่ผลิตไฟฟ้าอยู่แล้ว ให้การผลิตมีประสิทธิภาพ ขณะที่ความขัดแย้งของผู้ถือหุ้น ที่สัดส่วนการถือหุ้นต่างกันไม่ถึง 1% (ข้อมูล ณ 26 ก.ย. 60) เป็นปัญหาเฉพาะหน้าอีกทางที่ต้องผ่านไปให้ได้
2 เดือนที่ผ่านมา “พงศ์กวิน” เข้าไปจัดการอะไรบ้างกับ IEC??
โฟม หรือ พงศ์กวิน เล่าว่า IEC มีการลงทุน ที่สูงเกินความจริง หน้าบัญชีติดลบ ติดหนี้เจ้าหนี้การค้า ไม่มีวัตถุดิบ ทำให้หยุดผลิตบ่อย ต้นทุนการผลิตสูง สิ่งแรกที่คุณพ่อทำ คือ การนำเงิน 15 ล้านบาทแรก ให้บริษัทกู้ โดยไม่มีหลักประกัน โดยเงินจำนวนนี้ นำไปต่อรองเจ้าหนี้การค้าให้ส่งวัตถุดิบผลิตไฟฟ้าได้ใช้เครดิตตัวคุณพ่อ การันตีกับเจ้าหนี้ กระทั่งปัจจุบันมีสต๊อกวัตถุดิบรองรับการผลิตไฟฟ้าถึง 7 วัน ปลอดภัยระดับหนึ่ง
หลังจากแก้ปัญหาวัตถุดิบได้ “โฟม” ได้มุ่งหน้า “ตัด และหั่น” ค่าใช้จ่ายเริ่มตั้งแต่สำนักงาน จากที่เคยใช้ออฟฟิศ 3 ห้อง ค่าเช่า 8-9 แสนบาทต่อเดือน ลดลงมาเหลือเพียง 1 ห้องสำนักงาน ค่าเช่าลงมาเหลือราว 200,000 บาท ลดพนักงาน (ด้วยความจำเป็น) ลง 30% ของพนักงานทั้งหมด โดยจ่ายเงินชดเชยบรรเทาความเดือดร้อนจากการเลิกจ้าง, การใช้หน่วยงานกลางทำราคากลางสำหรับการจัดซื้อจัดจ้าง
“2 เดือนที่ผมเข้าไป นโยบายการบริหารของผม ค่าใช้จ่ายลดลง สามารถเบรกการขาดทุนได้ ถ้าไม่นับภาระดอกเบี้ยปีละ 60 ล้านบาท จากหนี้การค้าที่มีอยู่ 110 ล้านบาท หนี้ตั๋วบี/อี 70 ล้านบาท ค่าเสื่อมราคา 170 ล้านบาทต่อปี น่าจะเบรกขาดทุนได้ แต่มีประเด็น จ่ายดอกเบี้ยจำนวนมาก กลายเป็นว่า หน้าบัญชีติดลบ กระแสเงินสดไม่เพียงพอ ของเดิมๆ กำไรยาก จากการลงทุนสูงเกินจริง การบริหารจัดการไม่ดี ทำให้ไม่มีประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า ซึ่งต้องการเงินทุนเข้าไปปรับปรุงเครื่องจักรการผลิต โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าจีเดค ที่หาดใหญ่จะคุ้มทุนต้องผลิตให้ได้ 4.3 เมกะวัตต์ แต่ปัจจุบันทำได้เพียง 3.8 เมกกะวัตต์เท่านั้น โรงไฟฟ้าที่ขายไฟฟ้า (COD) แล้วทั้งหมด 17 เมกะวัตต์ ขาดทุนทุกวัน เบรกอีเวนต์ไม่ได้”
เพิ่มทุน RO:แก้ปัญหา โรงไฟฟ้าเก่า-ซื้อของใหม่ต่อยอด ซึ่งโฟมบอกว่า แก้ไขได้กรณีเดียวคือ การเพิ่มทุนมีเงินเข้ามากว่า 2,000 ล้านบาท เข้ามาอัดฉีดเพื่อนำไปแก้ไขปัญหาเก่า คือ โรงไฟฟ้าชีวมวลที่หนองรี จ.กาญจนบุรี ซึ่งผลิตดำเนินการและสัญญาขายไฟฟ้าจะหมดในเดือนเมษายน 2561 หากไม่มีเงินมาดำเนินการต่อ หรือขายออกไม่ทัน การลงทุนไปแล้ว 115 ล้านบาท เสียหายกลายเป็นศูนย์ ซึ่งเขาไม่ต้องการเห็น นอกจากนี้เงินก้อนใหม่ มีแผนนำไปซื้อโรงไฟฟ้าชีวมวลแห่งใหม่ ขนาด 8 เมกะวัตต์ ราคา 750 ล้านบาท ที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นโรงไฟฟ้าที่หยุดผลิตจากปัญหาสภาพคล่อง
สำหรับพงศ์กวิน ระดับความรู้ปริญญาตรีด้านวิศว กรรมโยธาและปริญญาโทบริหารธุรกิจ (MBA) ตลอดจนความชำนาญการทำธุรกิจจากบริษัท ซัมมิทฟุตแวร์ฯธุรกิจรองเท้าของครอบครัว และอสังหาริมทรัพย์ เช่น คอนโดมิเนียม 2 หมื่นยูนิต กว่า 10 ปีมานี้ ไม่รู้สึกท้าทายเท่ากับการได้แก้ปัญหาให้ IEC กลับมาเทิร์นอะราวด์ได้ และเชื่อว่าต้องทำให้ได้ เพื่อไม่ให้ IEC เข้าแผนฟื้นฟู ความเสียหายมาถึงผู้ถือหุ้นรายย่อย 25,000 คน
ที่มา >>>>>>>>>>
http://www.thansettakij.com/content/219768
โกมล จึงรุ่งเรืองกิจ ‘มังกร’ออกจากถํ้า
หากเอ่ยชื่อ โกมล จึงรุ่งเรืองกิจ มังกรตัวที่ 3 ของตระกูล “จึงรุ่งเรืองกิจ” เป็นน้องคนที่ 3 ของ “สรรเสริญ จุฬางกูร” และเป็นพี่ชาย “สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ” เป็น Low Profile แต่ High Profit มุ่งมั่นทำธุรกิจแบบเรียบง่าย ไม่ชอบเปิดตัว แต่ชื่อของ “โกมล” บ่อยครั้งปรากฏออกมาในตลาดหุ้น ด้วยการถือหุ้นหลายบริษัท ที่นักลงทุนคิดโยงใยว่าเขามีส่วนกับการเก็งกำไรหุ้นร้อนหลายตัวในตลาด โดยไม่รู้ว่าเขาคือแหล่งเงินทุนที่นักธุรกิจรายใหญ่ ต่างก็วิ่งมาหาเขา
โอกาสที่ “โกมล” จะปรากฏตัวกับสื่อไม่ใช่เรื่องง่าย แต่วันนี้ “โกมล” เป็นมังกรที่ยอมออกจากถํ้าอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะเขามีวัตถุประสงค์และภารกิจสำคัญ ที่ต้องการจะสื่อกับนักลงทุน นั่นก็คือ การเข้ากอบกู้ฟื้นฟูกิจการให้กับบริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิล เอนจีเนียริงฯ หรือ IEC ในสถานการณ์เร่งด่วนที่ต้องการคนที่มีความรู้ ความสามารถ กำลังพล พร้อมกำลังทรัพย์ เข้ามาบริหารงานอย่างจริงจัง ไม่ใช่แค่มาสูบผลประโยชน์ออกไปจากบริษัท เหมือนที่ผ่านมา ที่เคยมีอดีตผู้บริหารดีแทค ที่ผู้ถือหุ้นรายย่อย เคยฝากความหวังเข้ามาบริหารให้กิจการมีกำไร กลับมาจ่ายปันผลได้ แต่สุดท้ายก็ล่ม มีคดีฟ้องร้องติดตัวออกไป
ย้อนไป 4 ปีก่อน “โกมล” นักธุรกิจและนักลงทุนรายใหญ่ที่หาตัวจับยาก ที่ไม่มีใครรู้ว่าเขาหลงเชื่อถลำลึกเข้ามาลงทุน IEC จากการชักชวนและเชื่อในตัวของ “ดร.อดีตมือดีของ ดีแทค” เพิ่มทุนไป-มา กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในที่สุด ปล่อยให้ “ดร.ภู” บริหารเกิดการทุจริต เป็นคดีความ เมื่อ IEC “ขาดเจ้าภาพ” ที่จะมาบริหารให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ ผู้ถือหุ้นกว่า 25,000 คน ถูกลอยแพ บริษัทมีความเสี่ยงสูงที่จะเข้าแผนฟื้นฟู ในฐานะที่ “โกมล” ถือหุ้นใหญ่กว่า 4% ไม่ต้องการเห็นความเสียหายเกิดขึ้นกับ IEC อีกครั้ง จึงตัดสินใจปฏิบัติการ “กอบกู้” IEC และประกาศเพิ่มทุนให้กับผู้ถือหุ้นเดิม สัดส่วน 1 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ราคาขายหุ้นละ 0.125 บาท หรือ 1 สตางค์เศษเท่านั้น ซึ่งวันที่ 20 ตุลาคม 2560 นี้ เป็นวันตัดสินใจของผู้ถือหุ้นที่จะร่วมกันชี้ชะตาอนาคตของ IEC ร่วมกับ “โกมล”
นักลงทุนที่ไม่รู้จัก “โกมล” วันนี้ “ขาใหญ่” อาสาพาไปรู้จักเขามากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้ถือหุ้นรายย่อย IEC ตัดสินใจที่จะเดินร่วมทางไปกับเขาได้อย่างสบายใจ
++จากธุรกิจส่วนตัวสู่ APURE
“โกมล” เป็นนักธุรกิจที่มากด้วยกิจการในฐานะเจ้าของ 100 % ทุกธุรกิจที่ทำประสบความสำเร็จ ปราศจากปัญหาสภาพคล่อง เขาเป็นเจ้าของธุรกิจรองเท้า แอร์โรซอฟท์ ที่ผลิตเดือนละ 2 ล้านคู่ ส่งออกไปขายต่างประเทศเป็นหลัก 70% โดยมีตลาดหลักอยู่ที่ตะวันออกกลาง, ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เจ้าของสนามกอล์ฟไพน์เฮิร์สท ย่านรังสิต อพาร์ตเม้นต์ให้เช่าหลายหมื่นยูนิต ย่านรังสิต เจ้าของรับเหมาก่อสร้าง ไปจนถึงโรงงานผลิตเคมีสำหรับงานเคลือบหลังคากระเบื้อง และถือหุ้นใหญ่กว่า 60% ในบริษัท อกริเพียวโฮลดิ้งส์ฯ (APURE)
5-6 ปีก่อน APURE มีสภาพไม่ต่างจาก IEC ธุรกิจผลิตและจำหน่ายข้าวโพดหวานส่งออกดี แต่ประสิทธิภาพการบริหารจัดการของอดีตผู้บริหารและผู้ถือหุ้นเก่า ทำให้บริษัทประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก ในที่สุด “โกมล” ก็ต้องออกมาแสดงฝีมือการบริหารด้วยตัวเอง ตั้งแต่การซ่อมบำรุงเครื่องจักรการผลิตใหม่ทั้งหมด ด้วยตัวของเขาเอง ซึ่งมีความรู้ช่างเครื่องเป็นอย่างดี ช่วยประหยัดต้นทุนได้อย่างมากให้กับ APURE และไม่เพียงแค่การลงแรงดูเครื่องจักร เขายังลงมาคลุกกับการปรับปรุงคุณภาพการผลิตที่ให้ผลผลิตต่อหน่วยที่สูง ผลิตเม็ดพันธุ์ข้าวโพดที่มีคุณภาพ การบริหารจัดการผลประโยชน์ให้กับชาวไร่ข้าวโพด ทำให้ APURE ฟื้นจากบริษัทขาดทุน สู่บริษัทที่กลับมาสร้างกำไร ในเวลาไม่นานนัก ผลงานเป็นที่ประจักษ์ จากตัวเลขกำไรของ APURE ในปี 2559 ที่ผ่านมา สร้างสถิติสูงสุด 191 ล้านบาท เติบโตจากปี 2558 ที่มีกำไร 96 ล้านบาท โตเกือบเท่าตัว และปี 2557 มีกำไรเพียง 79 ล้านบาท ในที่สุดกลับมาจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นได้ปีละ 2 ครั้ง เป็นที่ประจักษ์อยู่ขณะนี้
แล้วมีเหตุผลใดๆ ที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยกว่า 25,000 คน จะไม่เลือกคนที่มีความตั้งใจ มีศักยภาพพร้อมทั้งเงินและบุคลากร โปร่งใส ไม่เอาเปรียบ ทำร้ายผู้ถือหุ้น และพร้อมทำธุรกิจใหม่ๆ ที่จะใส่เข้ามา รวมทั้งปรับปรุงธุรกิจเดิมที่มีอยู่ให้เดินหน้าต่อไปได้ ก่อนจะตายหมู่ ปล่อยให้ IEC เดินเข้าแผนฟื้นฟูในเวลาอันใกล้นี้
ที่มา >>>>>>>>
http://www.thansettakij.com/content/216957
วันศุกร์ที่ 20 ตุลานี้ ผู้ถือหุ้น IEC ไปประชุมวิสามัญที่จะถึงนี้กันเยอะๆนะครับ
ทางเลือก...อนาคต “หุ้น IEC”
“กระผม นายโกมล จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 1 ของบริษัท IEC (บริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน)) ขอเสนอตัวที่จะเข้ามาบริหารบริษัท IEC แบบมืออาชีพและด้วยจิตใจความเป็นเจ้าของ เพราะที่ผ่านมา IEC ประสบปัญหาการบริหารอย่างหนัก หุ้นถูกห้ามซื้อขาย (SP) มีการทุจริตจำนวนมาก และบริษัทได้ดำเนินการสั่งฟ้องผู้บริหารเก่าแล้วมากกว่า 10 คดี
จากข้อมูลที่ได้ติดตามมา แม้ส่วนของผู้ถือหุ้นจะเป็นบวก แต่ฐานะการเงินปัจจุบันไม่ดีนัก พบว่า บริษัทขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง มีแนวโน้มจะต้องเข้าแผนฟื้นฟู เพราะมีโอกาสที่ส่วนผู้ถือหุ้นจะติดลบ ถ้าจะแก้ปัญหานี้ได้ ท่านผู้ถือหุ้นทุกท่านต้องช่วยกันสนับสนุนการประชุม วันที่ 20 ต.ค. 2560 ถ้าท่านสามารถเข้าร่วมประชุมได้ก็ยิ่งดี เพื่อให้วาระการเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม (RO) ผ่าน จะต้องใช้เสียงถึง 75% เพราะหากไม่สามารถผ่านวาระเพิ่มทุนนี้ได้ IEC คงหนีไม่พ้นต้องเข้าแผนฟื้นฟู ซึ่งจะทำให้ผู้ถือหุ้นทุกท่านได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก
เนื่องจากขณะนี้ ได้มีกลุ่มผู้รณรงค์ต่อต้านการเพิ่มทุนครั้งนี้โดยเปิดเผย ซึ่งผมยินดีใช้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นชี้แจงข้อเท็จจริง เพื่อให้ผู้ถือหุ้นเกิดความกระจ่างถึงเหตุผลและความจำเป็นต้องเพิ่มทุน ซึ่งเป็นตัวชี้วัดอนาคตของบริษัท IEC
ท่านที่ได้รับจดหมายของบริษัทแล้ว และเข้าใจเจตนารมย์ในการเพิ่มทุนของบริษัทอย่างดีแล้ว ขอท่านช่วยกรุณาเซ็นชื่อมอบอำนาจให้กับบริษัทด้วยครับ เพื่อให้การประชุมบรรลุผลและผ่านวาระการเพิ่มทุนได้
ผมขอยืนยันว่า จะตั้งใจบริหารให้ IEC ก้าวหน้าไม่แพ้บริษัท อกริเพียว โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (APURE) บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ที่ผมบริหารอยู่ (เข้าบริหารประมาณ 5 ปี) ซึ่งขณะนั้นมีผลขาดทุน ประสบปัญหาทางการเงิน ซึ่งผมเข้าไปบริหารกระทั่งกลับมาปกติในสภาพที่เห็นในปัจจุบัน มีกำไรต่อเนื่อง และล้างขาดทุนกลับมาจ่ายเงินปันผลได้ ซึ่งนักลงทุนก็ทราบกันดี
ทั้งนี้ เพื่อให้รับทราบเจตนารมย์ของผมด้วย IEC มีผู้ถือหุ้นมากกว่า 25,000 คน ผมจึงต้องขอสื่อสารผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อให้รับทราบได้ทั่วถึงอีกทางหนึ่งด้วยครับ
ขอแสดงความนับถือ
นายโกมล จึงรุ่งเรืองกิจ
ที่มา >>>>>>>> http://www.thansettakij.com/content/216802
ขาใหญ่ ในตลาดหุ้น : ‘พงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ’ พันธกิจ‘ท้าทาย’กู้ซาก IEC
ธุรกิจนี้ กำไรได้ ถ้าไม่โกง เป็นคำกล่าวของ พงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิล เอ็นจีเนียริงฯ (IEC) บุตรคนโตของ โกมล จึงรุ่งเรืองกิจ ซึ่งบทบาทและภารกิจขณะนี้ มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่า 2 เดือนที่ผ่านมา ที่ “พงศ์กวิน” เข้าไปบริหารบริษัทที่บอบชํ้าจากการกระทำของอดีตผู้บริหารเก่าคนแล้วคนเล่า ต่างแย่งชิงกันฉ้อฉล-ทุจริต สูบเงินออกจาก IEC เกือบจะเหลือแต่ซาก จนไม่เหลือเจ้าภาพ ปล่อยให้กลุ่มนักลงทุนกลุ่มใหม่ เข้ามาหาผลประโยชน์อีกทอด
ก่อนที่ “ซาก” ของ IEC จะย่อยสลาย โกมล-ลูกชาย เป็น 1 ในนักลงทุนที่หลงเคลิ้มไปกับนโยบายสร้างฝันของ “ภูษณ ปรีย์มาโนช” ไม่สามารถทอดสายตาผ่านเลยไปได้ ท่ามกลางผู้ถือหุ้นรายย่อยร่วม 25,000 คน โกมล-ลูกชาย จึงต้องยื่นมือเข้ามากอบกู้ IEC ด้วยการใส่เงินอัดฉีด ประทังไปพลางๆ
ภารกิจหนักอึ้งบังเกิดแล้วกับ พงศ์กวิน หนุ่มน้อยวัย 38 ปี เขาถูกท้าทายด้วยปัญหาที่หมักหมม ทั้งหนี้สินของ IEC คดีความทุจริตของอดีตผู้บริหาร, การเข้าไปเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้กลับมามีกำไรเลี้ยงบริษัทได้ รวมไปถึงการให้โรงไฟฟ้าที่หยุดดำเนินการเดินต่อได้ หรือที่ผลิตไฟฟ้าอยู่แล้ว ให้การผลิตมีประสิทธิภาพ ขณะที่ความขัดแย้งของผู้ถือหุ้น ที่สัดส่วนการถือหุ้นต่างกันไม่ถึง 1% (ข้อมูล ณ 26 ก.ย. 60) เป็นปัญหาเฉพาะหน้าอีกทางที่ต้องผ่านไปให้ได้
2 เดือนที่ผ่านมา “พงศ์กวิน” เข้าไปจัดการอะไรบ้างกับ IEC??
โฟม หรือ พงศ์กวิน เล่าว่า IEC มีการลงทุน ที่สูงเกินความจริง หน้าบัญชีติดลบ ติดหนี้เจ้าหนี้การค้า ไม่มีวัตถุดิบ ทำให้หยุดผลิตบ่อย ต้นทุนการผลิตสูง สิ่งแรกที่คุณพ่อทำ คือ การนำเงิน 15 ล้านบาทแรก ให้บริษัทกู้ โดยไม่มีหลักประกัน โดยเงินจำนวนนี้ นำไปต่อรองเจ้าหนี้การค้าให้ส่งวัตถุดิบผลิตไฟฟ้าได้ใช้เครดิตตัวคุณพ่อ การันตีกับเจ้าหนี้ กระทั่งปัจจุบันมีสต๊อกวัตถุดิบรองรับการผลิตไฟฟ้าถึง 7 วัน ปลอดภัยระดับหนึ่ง
หลังจากแก้ปัญหาวัตถุดิบได้ “โฟม” ได้มุ่งหน้า “ตัด และหั่น” ค่าใช้จ่ายเริ่มตั้งแต่สำนักงาน จากที่เคยใช้ออฟฟิศ 3 ห้อง ค่าเช่า 8-9 แสนบาทต่อเดือน ลดลงมาเหลือเพียง 1 ห้องสำนักงาน ค่าเช่าลงมาเหลือราว 200,000 บาท ลดพนักงาน (ด้วยความจำเป็น) ลง 30% ของพนักงานทั้งหมด โดยจ่ายเงินชดเชยบรรเทาความเดือดร้อนจากการเลิกจ้าง, การใช้หน่วยงานกลางทำราคากลางสำหรับการจัดซื้อจัดจ้าง
“2 เดือนที่ผมเข้าไป นโยบายการบริหารของผม ค่าใช้จ่ายลดลง สามารถเบรกการขาดทุนได้ ถ้าไม่นับภาระดอกเบี้ยปีละ 60 ล้านบาท จากหนี้การค้าที่มีอยู่ 110 ล้านบาท หนี้ตั๋วบี/อี 70 ล้านบาท ค่าเสื่อมราคา 170 ล้านบาทต่อปี น่าจะเบรกขาดทุนได้ แต่มีประเด็น จ่ายดอกเบี้ยจำนวนมาก กลายเป็นว่า หน้าบัญชีติดลบ กระแสเงินสดไม่เพียงพอ ของเดิมๆ กำไรยาก จากการลงทุนสูงเกินจริง การบริหารจัดการไม่ดี ทำให้ไม่มีประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า ซึ่งต้องการเงินทุนเข้าไปปรับปรุงเครื่องจักรการผลิต โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าจีเดค ที่หาดใหญ่จะคุ้มทุนต้องผลิตให้ได้ 4.3 เมกะวัตต์ แต่ปัจจุบันทำได้เพียง 3.8 เมกกะวัตต์เท่านั้น โรงไฟฟ้าที่ขายไฟฟ้า (COD) แล้วทั้งหมด 17 เมกะวัตต์ ขาดทุนทุกวัน เบรกอีเวนต์ไม่ได้”
เพิ่มทุน RO:แก้ปัญหา โรงไฟฟ้าเก่า-ซื้อของใหม่ต่อยอด ซึ่งโฟมบอกว่า แก้ไขได้กรณีเดียวคือ การเพิ่มทุนมีเงินเข้ามากว่า 2,000 ล้านบาท เข้ามาอัดฉีดเพื่อนำไปแก้ไขปัญหาเก่า คือ โรงไฟฟ้าชีวมวลที่หนองรี จ.กาญจนบุรี ซึ่งผลิตดำเนินการและสัญญาขายไฟฟ้าจะหมดในเดือนเมษายน 2561 หากไม่มีเงินมาดำเนินการต่อ หรือขายออกไม่ทัน การลงทุนไปแล้ว 115 ล้านบาท เสียหายกลายเป็นศูนย์ ซึ่งเขาไม่ต้องการเห็น นอกจากนี้เงินก้อนใหม่ มีแผนนำไปซื้อโรงไฟฟ้าชีวมวลแห่งใหม่ ขนาด 8 เมกะวัตต์ ราคา 750 ล้านบาท ที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นโรงไฟฟ้าที่หยุดผลิตจากปัญหาสภาพคล่อง
สำหรับพงศ์กวิน ระดับความรู้ปริญญาตรีด้านวิศว กรรมโยธาและปริญญาโทบริหารธุรกิจ (MBA) ตลอดจนความชำนาญการทำธุรกิจจากบริษัท ซัมมิทฟุตแวร์ฯธุรกิจรองเท้าของครอบครัว และอสังหาริมทรัพย์ เช่น คอนโดมิเนียม 2 หมื่นยูนิต กว่า 10 ปีมานี้ ไม่รู้สึกท้าทายเท่ากับการได้แก้ปัญหาให้ IEC กลับมาเทิร์นอะราวด์ได้ และเชื่อว่าต้องทำให้ได้ เพื่อไม่ให้ IEC เข้าแผนฟื้นฟู ความเสียหายมาถึงผู้ถือหุ้นรายย่อย 25,000 คน
ที่มา >>>>>>>>>> http://www.thansettakij.com/content/219768
โกมล จึงรุ่งเรืองกิจ ‘มังกร’ออกจากถํ้า
หากเอ่ยชื่อ โกมล จึงรุ่งเรืองกิจ มังกรตัวที่ 3 ของตระกูล “จึงรุ่งเรืองกิจ” เป็นน้องคนที่ 3 ของ “สรรเสริญ จุฬางกูร” และเป็นพี่ชาย “สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ” เป็น Low Profile แต่ High Profit มุ่งมั่นทำธุรกิจแบบเรียบง่าย ไม่ชอบเปิดตัว แต่ชื่อของ “โกมล” บ่อยครั้งปรากฏออกมาในตลาดหุ้น ด้วยการถือหุ้นหลายบริษัท ที่นักลงทุนคิดโยงใยว่าเขามีส่วนกับการเก็งกำไรหุ้นร้อนหลายตัวในตลาด โดยไม่รู้ว่าเขาคือแหล่งเงินทุนที่นักธุรกิจรายใหญ่ ต่างก็วิ่งมาหาเขา
โอกาสที่ “โกมล” จะปรากฏตัวกับสื่อไม่ใช่เรื่องง่าย แต่วันนี้ “โกมล” เป็นมังกรที่ยอมออกจากถํ้าอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะเขามีวัตถุประสงค์และภารกิจสำคัญ ที่ต้องการจะสื่อกับนักลงทุน นั่นก็คือ การเข้ากอบกู้ฟื้นฟูกิจการให้กับบริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิล เอนจีเนียริงฯ หรือ IEC ในสถานการณ์เร่งด่วนที่ต้องการคนที่มีความรู้ ความสามารถ กำลังพล พร้อมกำลังทรัพย์ เข้ามาบริหารงานอย่างจริงจัง ไม่ใช่แค่มาสูบผลประโยชน์ออกไปจากบริษัท เหมือนที่ผ่านมา ที่เคยมีอดีตผู้บริหารดีแทค ที่ผู้ถือหุ้นรายย่อย เคยฝากความหวังเข้ามาบริหารให้กิจการมีกำไร กลับมาจ่ายปันผลได้ แต่สุดท้ายก็ล่ม มีคดีฟ้องร้องติดตัวออกไป
ย้อนไป 4 ปีก่อน “โกมล” นักธุรกิจและนักลงทุนรายใหญ่ที่หาตัวจับยาก ที่ไม่มีใครรู้ว่าเขาหลงเชื่อถลำลึกเข้ามาลงทุน IEC จากการชักชวนและเชื่อในตัวของ “ดร.อดีตมือดีของ ดีแทค” เพิ่มทุนไป-มา กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในที่สุด ปล่อยให้ “ดร.ภู” บริหารเกิดการทุจริต เป็นคดีความ เมื่อ IEC “ขาดเจ้าภาพ” ที่จะมาบริหารให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ ผู้ถือหุ้นกว่า 25,000 คน ถูกลอยแพ บริษัทมีความเสี่ยงสูงที่จะเข้าแผนฟื้นฟู ในฐานะที่ “โกมล” ถือหุ้นใหญ่กว่า 4% ไม่ต้องการเห็นความเสียหายเกิดขึ้นกับ IEC อีกครั้ง จึงตัดสินใจปฏิบัติการ “กอบกู้” IEC และประกาศเพิ่มทุนให้กับผู้ถือหุ้นเดิม สัดส่วน 1 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ราคาขายหุ้นละ 0.125 บาท หรือ 1 สตางค์เศษเท่านั้น ซึ่งวันที่ 20 ตุลาคม 2560 นี้ เป็นวันตัดสินใจของผู้ถือหุ้นที่จะร่วมกันชี้ชะตาอนาคตของ IEC ร่วมกับ “โกมล”
นักลงทุนที่ไม่รู้จัก “โกมล” วันนี้ “ขาใหญ่” อาสาพาไปรู้จักเขามากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้ถือหุ้นรายย่อย IEC ตัดสินใจที่จะเดินร่วมทางไปกับเขาได้อย่างสบายใจ
++จากธุรกิจส่วนตัวสู่ APURE
“โกมล” เป็นนักธุรกิจที่มากด้วยกิจการในฐานะเจ้าของ 100 % ทุกธุรกิจที่ทำประสบความสำเร็จ ปราศจากปัญหาสภาพคล่อง เขาเป็นเจ้าของธุรกิจรองเท้า แอร์โรซอฟท์ ที่ผลิตเดือนละ 2 ล้านคู่ ส่งออกไปขายต่างประเทศเป็นหลัก 70% โดยมีตลาดหลักอยู่ที่ตะวันออกกลาง, ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เจ้าของสนามกอล์ฟไพน์เฮิร์สท ย่านรังสิต อพาร์ตเม้นต์ให้เช่าหลายหมื่นยูนิต ย่านรังสิต เจ้าของรับเหมาก่อสร้าง ไปจนถึงโรงงานผลิตเคมีสำหรับงานเคลือบหลังคากระเบื้อง และถือหุ้นใหญ่กว่า 60% ในบริษัท อกริเพียวโฮลดิ้งส์ฯ (APURE)
5-6 ปีก่อน APURE มีสภาพไม่ต่างจาก IEC ธุรกิจผลิตและจำหน่ายข้าวโพดหวานส่งออกดี แต่ประสิทธิภาพการบริหารจัดการของอดีตผู้บริหารและผู้ถือหุ้นเก่า ทำให้บริษัทประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก ในที่สุด “โกมล” ก็ต้องออกมาแสดงฝีมือการบริหารด้วยตัวเอง ตั้งแต่การซ่อมบำรุงเครื่องจักรการผลิตใหม่ทั้งหมด ด้วยตัวของเขาเอง ซึ่งมีความรู้ช่างเครื่องเป็นอย่างดี ช่วยประหยัดต้นทุนได้อย่างมากให้กับ APURE และไม่เพียงแค่การลงแรงดูเครื่องจักร เขายังลงมาคลุกกับการปรับปรุงคุณภาพการผลิตที่ให้ผลผลิตต่อหน่วยที่สูง ผลิตเม็ดพันธุ์ข้าวโพดที่มีคุณภาพ การบริหารจัดการผลประโยชน์ให้กับชาวไร่ข้าวโพด ทำให้ APURE ฟื้นจากบริษัทขาดทุน สู่บริษัทที่กลับมาสร้างกำไร ในเวลาไม่นานนัก ผลงานเป็นที่ประจักษ์ จากตัวเลขกำไรของ APURE ในปี 2559 ที่ผ่านมา สร้างสถิติสูงสุด 191 ล้านบาท เติบโตจากปี 2558 ที่มีกำไร 96 ล้านบาท โตเกือบเท่าตัว และปี 2557 มีกำไรเพียง 79 ล้านบาท ในที่สุดกลับมาจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นได้ปีละ 2 ครั้ง เป็นที่ประจักษ์อยู่ขณะนี้
แล้วมีเหตุผลใดๆ ที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยกว่า 25,000 คน จะไม่เลือกคนที่มีความตั้งใจ มีศักยภาพพร้อมทั้งเงินและบุคลากร โปร่งใส ไม่เอาเปรียบ ทำร้ายผู้ถือหุ้น และพร้อมทำธุรกิจใหม่ๆ ที่จะใส่เข้ามา รวมทั้งปรับปรุงธุรกิจเดิมที่มีอยู่ให้เดินหน้าต่อไปได้ ก่อนจะตายหมู่ ปล่อยให้ IEC เดินเข้าแผนฟื้นฟูในเวลาอันใกล้นี้
ที่มา >>>>>>>> http://www.thansettakij.com/content/216957