"ดลบันดาล แต่ความชื่นบานแสนสำราญนิรันดร์
อยู่ด้วยกัน เป็นมิ่งเป็นขวัญอย่าห่างร้างแรมไกล
สุดรักเอย ตื่นได้เชยชมดวงใจ"
เนื้อเพลงท่อนสุดท้ายในบทเพลงพระราชนิพนธ์
"ค่ำแล้ว"
... ยินค่ำแล้ว ... แว่วนัยหทัยพระองค์ ... สู่ใจพสกนิกร
ค่ำแล้ว
.
เพลงค่ำแล้วแผ่วหายเมื่อใกล้รุ่ง
ราษฎร์ตื่นมุ่งรอยทรงธรรมอย่างมิเกี่ยง
ตะวันรอนพาวังเวงทั่ววังเวียง
นภาเพียงมีจันทราพาขวัญคืน
.
เพลงค่ำแล้วแฝงนัยพรจากฟ้า
อยู่ด้วยกันบรรดาลพาสำราญรื่น
ดารารายเคียงจันทรามิ่งขวัญยืน
ไม่ร้างไกลย่อมได้ชื่นชมดวงใจ
.
จักสืบสานพระผู้ครรไลลับ
จักพร้อมสรรพเพียรทำดีมิหนีไหน
จักประสานมือจับมือคอยเข้าใจ
จักเข้าถึงพัฒนาไทยนิรันดร
...
น้อมสำนึกพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้น
ข้าพระพุทธเจ้า นางสาวธนิตา รำไพกุล
๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๐
“ค่ำแล้ว” เป็นเพลงที่บ่งบอกถึงความรู้สึกออดอ้อน แผ่วเบา และผ่อนคลายตาม เหมาะสำหรับใช้เป็นเพลงกล่อมนอน
มีเรื่องเล่าว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอุ้ม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ตอนที่ทรงพระเยาว์ไว้ในอ้อมพระกรข้างหนึ่ง และทรงเล่นเพลงนี้บนอิเล็กโทนด้วยพระหัตถ์อีกข้างหนึ่ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก็ทรงบรรทมไป ทำให้หลายคนเข้าใจว่า ทรงพระราชนิพนธ์พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แต่มีผู้นำรับสั่งของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาเล่าว่า “สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี รับสั่งว่าที่จริงแล้วไม่ได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลงนี้เพื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แต่ว่าเมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงฟังเพลงนี้ทีไรทรงหลับทุกครั้ง ตอนนั้นท่านเพิ่งประสูติ ใคร ๆ ก็เลยคิดว่าเป็นเพลงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี”
เพลงพระราชนิพนธ์ ค่ำแล้ว เป็นเพลงจังหวะวอลทซ์ที่มีลักษณะเพลงกล่อมนอน (lullaby) อันเป็นแขนงหนึ่งของเพลงบัลลาด เพลงกล่อมนอนแบบนี้นิยมประพันธ์กันมานานแล้วในดนตรีคลาสสิกตะวันตก เพลงพระราชนิพนธ์นี้มีทำนองหวานและเยือกเย็น โน้ตเรียงขึ้นลงเป็นชุดๆ แม้ว่าการไล่เสียงขึ้นลงจะฟังดูง่าย แต่ในทางปฏิบัติแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะมีตอนต้นของทุกท่อนที่ต้องลากเสียงจนเต็มห้องและติดกันถึง 4 ห้อง ผู้ร้องต้องมีลมหายใจที่ยาวและนิ่ง ซึ่งต้องฝึกฝนมากและมีประสบการณ์สูง ในท่อนแยกมีเสียงไล่กันเพียงเสียงเดียวก็จริง แต่ส่วนใหญ่เป็นครึ่งเสียง ในท่อนนี้ผู้ร้องต้องแม่นเสียง มิฉะนั้นจะร้องเพี้ยนได้ง่าย
ที่มา: http://www.radioparliament.net/parliament/viewNews.php?nId=7115#.WeI4O4-0N6M
เรียบเรียง www.bangkokbanksme.com
ค่ำแล้ว ... แว่วความนัยสู่ใจพสกนิกร
อยู่ด้วยกัน เป็นมิ่งเป็นขวัญอย่าห่างร้างแรมไกล
สุดรักเอย ตื่นได้เชยชมดวงใจ"
เนื้อเพลงท่อนสุดท้ายในบทเพลงพระราชนิพนธ์ "ค่ำแล้ว"
... ยินค่ำแล้ว ... แว่วนัยหทัยพระองค์ ... สู่ใจพสกนิกร
ค่ำแล้ว
.
เพลงค่ำแล้วแผ่วหายเมื่อใกล้รุ่ง
ราษฎร์ตื่นมุ่งรอยทรงธรรมอย่างมิเกี่ยง
ตะวันรอนพาวังเวงทั่ววังเวียง
นภาเพียงมีจันทราพาขวัญคืน
.
เพลงค่ำแล้วแฝงนัยพรจากฟ้า
อยู่ด้วยกันบรรดาลพาสำราญรื่น
ดารารายเคียงจันทรามิ่งขวัญยืน
ไม่ร้างไกลย่อมได้ชื่นชมดวงใจ
.
จักสืบสานพระผู้ครรไลลับ
จักพร้อมสรรพเพียรทำดีมิหนีไหน
จักประสานมือจับมือคอยเข้าใจ
จักเข้าถึงพัฒนาไทยนิรันดร
...
น้อมสำนึกพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้น
ข้าพระพุทธเจ้า นางสาวธนิตา รำไพกุล
๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๐
“ค่ำแล้ว” เป็นเพลงที่บ่งบอกถึงความรู้สึกออดอ้อน แผ่วเบา และผ่อนคลายตาม เหมาะสำหรับใช้เป็นเพลงกล่อมนอน
มีเรื่องเล่าว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอุ้ม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ตอนที่ทรงพระเยาว์ไว้ในอ้อมพระกรข้างหนึ่ง และทรงเล่นเพลงนี้บนอิเล็กโทนด้วยพระหัตถ์อีกข้างหนึ่ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก็ทรงบรรทมไป ทำให้หลายคนเข้าใจว่า ทรงพระราชนิพนธ์พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แต่มีผู้นำรับสั่งของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาเล่าว่า “สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี รับสั่งว่าที่จริงแล้วไม่ได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลงนี้เพื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แต่ว่าเมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงฟังเพลงนี้ทีไรทรงหลับทุกครั้ง ตอนนั้นท่านเพิ่งประสูติ ใคร ๆ ก็เลยคิดว่าเป็นเพลงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี”
เพลงพระราชนิพนธ์ ค่ำแล้ว เป็นเพลงจังหวะวอลทซ์ที่มีลักษณะเพลงกล่อมนอน (lullaby) อันเป็นแขนงหนึ่งของเพลงบัลลาด เพลงกล่อมนอนแบบนี้นิยมประพันธ์กันมานานแล้วในดนตรีคลาสสิกตะวันตก เพลงพระราชนิพนธ์นี้มีทำนองหวานและเยือกเย็น โน้ตเรียงขึ้นลงเป็นชุดๆ แม้ว่าการไล่เสียงขึ้นลงจะฟังดูง่าย แต่ในทางปฏิบัติแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะมีตอนต้นของทุกท่อนที่ต้องลากเสียงจนเต็มห้องและติดกันถึง 4 ห้อง ผู้ร้องต้องมีลมหายใจที่ยาวและนิ่ง ซึ่งต้องฝึกฝนมากและมีประสบการณ์สูง ในท่อนแยกมีเสียงไล่กันเพียงเสียงเดียวก็จริง แต่ส่วนใหญ่เป็นครึ่งเสียง ในท่อนนี้ผู้ร้องต้องแม่นเสียง มิฉะนั้นจะร้องเพี้ยนได้ง่าย
ที่มา: http://www.radioparliament.net/parliament/viewNews.php?nId=7115#.WeI4O4-0N6M
เรียบเรียง www.bangkokbanksme.com