^ ^a หาเพื่อนถกประเด็นค่ะ
พอดีข้องใจมานานว่าอย่างฉันที่ดูอะไรยากจะติดใจคาใจอะไรบางอย่าง ติดกลับมาดูซ้ำเรื่องนี้บ่อยสุดเรื่องเดียวได้ไง ....ทำไม ทำไมตอนที่ดูและอ่านถึงฟินนักนะ มีอะไรแฝงมากกว่าที่คิดหรือเปล่า หรือโดนวางยา..
เรื่องของเรื่องก็แค่ค้นเล่นๆค่ะ
เล่น..จนมันเจออะไรบางอย่างที่ว่าดูท่าจะไม่เล่นซะงั้น
{{
นี่แน่ใจ แค่ชื่อตัวละครเรอะ!!!!}}
{{
ฉันไม่ได้ตาฝาดสินะเห็นหลักธรรมกับปรัชญาเต็มไปหมดเน้}}
อาจารย์นักเขียนแกออกจะตั้งใจแบรากตัวละครฐานของเรื่องที่ชื่อตัวละครโต้งๆงี้ แล้วเราที่ตามดูตามอ่านไม่ค่อยเคยไม่ค่อยสังเกตุด้วยโอยยยตลอดยี่สิบกว่าปี
_สารภาพว่าเคยไปลองวางไว้ที่สารานุกรมเสรีและข้าน้อยพลาด เล่นเพลินไปหน่อย... กะว่าคงมีคนมาช่วยแก้ไขอันที่ไม่ตรง.. แต่อืม เกินข้อจำกัดของสถานที่ /ขออภัยด้วยจริงๆ ทำผิดไปแล้วค่ะ/ ก็นะมีกฎที่ดูดีของที่นั่นละนะแบบนี้ก็ดีแล้ว นี่ค่อนข้างเข้าใจจริงละไหงหาอะไรกว้างๆไม่เจอเพราะงี้เอง_
' ขอบคุณที่เปิดให้เขียนเสรีค่ะ '
เอาละนะ 。◕‿◕。 จะมีใครแอบตกใจเหมือนกันเราไหมน่อ?
_____________________________________
ยังมีหลายอย่างที่คิดว่ายังไม่แม่น ผิดตรงไหนก็ขอผู้รู้จริงช่วยแก้ความเข้าใจหน่อยน่อค่ะ ประนมมือโค้งงามๆ
เปรียบเทียบมาจาก ญี่ปุ่น > ไทย < ศัพท์เฉพาะ และขยายความตามที่มีในความเชื่อเดิมเรื่องเล่าการกล่าวถึงที่มีอยู่จริง
_____________________________________
อินุยาฉะ 犬夜叉(いぬやしゃ) Inuyasha
犬:: "Inu" สุนัข。
夜叉:: यक्ष 、"Yakṣa" ≈ "Yasha"
รากศัพท์เป็นคำสันสกฤต ในตำนานทางพุทธศาสนาชี้อย่างเฉพาะเจาะจง คือ อสูรยักษา มีทั้งชนชั้นต่ำกลางสูงทั้งนี้กล่าวถึงระดับสูงนั้นเป็นอมนุษย์ที่กึ่งเป็นเทพซึ่งถือกำเนิดในชั้นภูมิจาตุมหาราชิกา สวรรค์ชั้นที่1 ° กระนั้นเมื่อรับ यक्ष เข้ามาในญี่ปุ่นได้มีการเรียกแผลงเป็น 夜叉
แต่เนื่องจากความเชื่อของศาสนาพุทธกับศาสนาพราหมณ์ในอินเดียไม่ได้หลอมรวมกัน ภาพ "ยาฉะ" ที่ถูกนำมาในญี่ปุ่นเป็นภาพวาดที่ดูมีความดุร้าย ภายหลัง "ยาฉะ" อสูรยักษากึ่งเทพ หรือ เทพอสูรยักษา อันเป็นที่มาของคำนี้ในญี่ปุ่น กลับถูกเหมารวมไปในประเภทของอสูรกายที่ชั้นภูมิต่ำกว่าอย่าง 鬼 โอนิ ยักษ์ท้องถิ่นของญี่ปุ่นที่มีกำเนิดแตกต่าง อย่างไรก็ตามอิทธิพลของศาสนาพุทธในญี่ปุ่นได้รวม ยาฉะ (ยักษา 夜叉: यक्ष 、Yakṣa "Yasha") และ ราเซ็ตสึ (รากษส 梵语: राक्षस 、Rākṣasa "Rasetsu") กลายเป็น เทพราเซ็ตสึผู้ปกป้องกฎของพุทธศาสนาในญี่ปุ่นและทำให้ "ยาฉะ" ถูกมองดีขึ้น
ทั้งนี้ยังมีกรณีกับ ดากินิเท็น 荼枳尼天(だきにてん)ดากินิ (ฑากิณี 荼吉尼: डाकिनी 、Dākinī "Dakini") ได้รับการนับถือในศาสนาพราหมณ์ของอินเดียเชื่อว่าเป็นเทพปีศาจสตรีที่กินเลือดเนื้อของมนุษย์ แต่ในทางพุทธจัดเป็นภูตเทพอมนุษย์ชนิดหนึ่ง ดากินิมีหลายตน เพศหญิง Dakini เพศชาย Daka ทางมหายานวชิรยานฑากิณีทั้งแปดเป็นบริวารของเหวัชระ ดากินิเท็นเทพที่โดดเด่นด้านการเต้นรำการดนตรี ที่ญี่ปุ่นได้นับร่วมรวมไปในคำว่า "ยาฉะ" ดากินิเท็นเป็นเทพที่มีอำนาจแสดงถึงภูมิปัญญาการรู้แจ้งของผู้หญิง การเหนือกว่าผู้ชาย โยคะ และการใช้ชีวิตคู่ รูปเคารพของดากินิเท็นที่มักพบโดยทั่วไปจะเป็นตัวแทนร่างของเทพเจ้าที่ถือดาบและขี่จิ้งจอกสีขาว
° ◦ เช่นนั้น คำว่า 夜叉 Yasha ยาฉะ
จึงจะไม่ใช่เพียงยักษาแต่ได้หมายรวมถึง
อสูรกึ่งเทพ หรือ เทพอสูร (อสูร ปีศาจ ภูติ ผี ตามสายภพภูมิกำเนิด)。
อื่นร่วมไว้
(//แต่เมื่อพูดถึงยาฉะคำนี้คนมักจะนึกถึง โอนิ แม้ข้างต้นจะไม่ได้มีแค่เผ่ายักษ์ก็ตาม)
▫※เป็นเรื่องปกติซึ่งผู้คนทั่วไปนับแต่โบราณกาลจะมักไม่แยกระหว่างความแตกต่างของภพภูมิเผ่าพันธุ์ชนชั้นของสิ่งลี้ลับ จะมักเรียกขานรวมไปในคำใดคำหนึ่งที่คุ้นเคยเมื่อเอ่ยถึง และ "ยาฉะ" ไม่ต่างกันได้มีการจัดรวมจากผู้คนส่วนหนึ่งให้เข้าไว้ในหมวดหมู่ โยไค 妖怪(ようかい)[อสูรกายผีร้ายอสูรปีศาจภูตพราย](หรือเรียกว่า อายาคาชิ(あやかし)[ความลึกลับ] , โมโนโนเคะ(もののけ)[สิ่งอื่น] , มาโมโนะ(まもの)[ปีศาจ]) ที่เป็นปรากฏการณ์ประหลาดเกินความเข้าใจของมนุษย์หรือพลังลึกลับโดยปริยาย "ยาฉะ"ที่ดีมักไม่ร่วมวงกระทำในจำพวกเดียวกับ อาคุมะ 悪魔(あくま)[ มาร ]
√ยาฉะ 夜叉 ในระดับสูงเป็น 護法善神(ごほうぜんじん)Gohōzenshin เทพผู้พิทักษ์ คือ 天部の神々 Tenbu no kamigami เทพสวรรค์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้(คำนี้หมายไปที่ภาพรวม เทวะ 神 ทุกชั้นฟ้า
[ อาทิ :
۰สวรรค์ชั้น1 จาตุมหาราชิกา ในการปกครองของจาตุมหาราช ชิเท็นโน ( 四天王(してんのう)Shitennō , ท้าวจตุโลกบาล จอมเทพ 4 องค์)
۰สวรรค์ชั้น2 ดาวดึงส์ ในการปกครองของจักรพรรดิสวรรค์ ไทชาคุเท็น ( や帝釈天(インドラ)Taishakuten , พระอินทร์ จอมเทพ)
รวมไปถึง ۰บอนเท็น ( 梵天(ぼんてん)Bonten , พระพรหม )] ) ซึ่งส่วนใหญ่ปกป้องพระพุทธศาสนาและพุทธศาสนิกชน。/ Buddhist guardian deities 。 ขอบเขตวิสัยของยาฉะ คือ 守り神 เทวะผู้พิทักษ์ 守護 ผู้ปกป้อง ◈เป็นผู้ปกครองบริวารเหล่าอสูรภูติผีปีศาจ เป็นผู้คอยดูแลโลกและปกป้องมนุษย์ ช่วยเหลือผู้ที่ประกอบด้วยความดีมีใจใฝ่ดี
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้{แต่ใครทำเลวลบหลู่หมิ่นหยามให้เห็นแลรับรู้ ท่านเทพจากชั้นนี้อาจ.. เก็บคร่าชีวิตผู้กระทำผิดบาปที่ท่านเห็นควรว่าผิดชั่วนั้นๆ ฤส่งไปปรโลกอย่างไม่มีลังเล (´▽`) , แนวทางอีกหนึ่งเมื่อมีคนใดที่มีกำลังบุญมากอันไม่เหมาะกับการจะอยู่ต่อในร่างมนุษย์ท่านๆเทพไท้ชั้นนี้ก็จะมาช่วยเร่งพาไปให้รีบไปเสวยสุขไวๆ (เช่น ออกทุนสร้างวัดคนเดียวหรือทำบุญใหญ่ไม่ชวนใครช่วยแบ่งแชร์แรงบุญ กุศลทับทีเดียว ตาย คร่ะ)} และเป็นเทพเจ้าผู้พิทักษ์ศาสนาพุทธผู้ที่คอยคุ้มครองพุทธศาสนิกที่มีศรัทธา(ด้วยคำสัตย์ที่ให้ไว้จากชั้นจาตุมหาราชิกาทั้งชั้น *ในส่วนนี้ย่อไว้ที่ คห.19-1วรรค3) บางครั้งภาพลักษณ์ของยาฉะเป็นภาพของนักรบอสูร นักรบปีศาจ
เสริม สำหรับ 夜叉 / यक्ष
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้{เสริม ※{ในชั้นจาตุมนี้คามิ (神「देव」เทว) มีรูปกายในแบบของอสูรภูติผีปีศาจที่มีความน่ากลัวแต่มีรูปลักษณ์จริงที่หน้าตาดีซึ่งมีรูปกายร่างในแบบของมนุษย์ที่งดงามดูดีด้วย นอกจากยักษาจากระดับสูงของเผ่าพันธุ์ยักษ์ยังมีอมนุษย์อื่นๆ อีกมากมายหลายเผ่าพันธุ์อยู่ในชั้นภูมินี้ แบ่งตามสไตล์จีนญี่ปุ่นน่าจะเป็น เทพอสูร เทพปีศาจ เทพภูติ เทพผี
ทั้งนี้ในชนชั้นต่างๆยังแบ่งจำแนกได้อีกหลายระดับ
▫ชั้นฟ้าจาตุมหาราชิกา
เทวะที่มีบารมีมากที่เป็นใหญ่มีตำหนักวิมานปราสาทและบริวารรับใช้โดยที่เทวะในชั้นสูงนั้นมีบ้างที่มีฐานะเป็นกษัตริย์ปกครองเผ่าพันธุ์ของตนไปด้วย เช่น พญาครุฑ พญานาค(ทางจีนญี่ปุ่นเป็นพญามังกร)
ส่วนเทวะที่มีบารมีน้อยในเผ่าพันธุ์ใดสังกัดเทวะที่มีบารมีสูงตามตำหนักวิมานปราสาทต่างๆในเผ่าพันธุ์นั้นตามเขตที่เกิด หรือไม่ได้เกิดในเขตตำหนักวิมานปราสาทใดจะเข้าสังกัดตรงกับสี่กษัตริย์เทวะสวรรค์ชิเท็นโน ( 四天王「चतुर्महाराज」จาตุมหาราช) ที่ปกครองสูงสุดในชั้นนี้ }※}
คิเคียว 桔梗(ききょう) Kikyō
桔梗(ききょう):: ไม้ดอกสีโทนเย็นสีม่วงอมฟ้า คิเคียว。
หนึ่งในหญ้าเจ็ดอย่าง ที่คนในสมัยโบราณเลือกให้ดอกคิเคียวเป็นสัญลักษณ์ของฤดูใบไม้ร่วง ภาษาดอกไม้ หมายถึง ความตั้งใจอันแน่วแน่ แต่เดิมรากของต้นคิเคียวได้ใช้ทำเป็นยาแก้ไอ ยาฆ่าเชื้อโรค และด้วยความสวยงามทำให้เป็นที่นิยมปลูกแต่ตามแหล่งธรรมชาติตามป่าเขากลับค่อยๆ มีจำนวนน้อยลงเรื่อยๆ จนกระทรวงสิ่งแวดล้อมญี่ปุ่นต้องขึ้นทะเบียนเป็นดอกไม้ที่เสี่ยงจะสูญพันธุ์
ฮิงุราชิ คาโกเมะ 日暮かごめ(ひぐらし かごめ)Higurashi Kagome
日暮(ひぐらし):: อาทิตย์อัสดง พลบค่ำ
かごめ:: การละเล่นคลาสสิกของเด็กๆในญี่ปุ่นที่มีมาเมื่อนานมากแล้ว คือ เพลง かごめかごめ "คาโกเมะคาโกเมะ"
ต้องมีอย่างน้อยหกคน(ข้อมูลเว็บนอกว่าหก ข้อมูลเว็บในไทยมีว่าสาม..) โดยหนึ่งในนั้นเป็นตัวแทนของโอนิ 鬼 (ยักษ์) นั่งปิดตาอยู่กลางวง เด็กที่เหลือจับมือล้อมวงกันร้องเพลงนี้และเดินวนรอบไปรอบๆ จนหยุดเดินเมื่อเพลงจบลง เด็กที่นั่งอยู่กลางวงต้องทายว่า "ใครกันที่อยู่ข้างหลัง" มีความเชื่อกันว่าหากเล่นในป่าไพรภูเขา เวลาผีตากผ้าอ้อม แล้วเด็กที่เป็น โอนิ ทายถูก เด็กคนที่ถูกทายถูก จะถูก ภูตผีปิศาจลักซ่อน
เนื้อร้องในเพลงชื่อนี้จะต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นแต่ยังคงเนื้อร้องท่อนของ คาโกเมะคาโกเมะ ไว้ ภายแรกเป็นการร้องเล่นกันในเด็กหญิงกลุ่มหนึ่งเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อความสนุกสนานแล้วการละเล่นนี้ได้แพร่ระบาดไปทั่วประเทศญี่ปุ่น เป็นเพลงของการเล่นในคำที่มีความน่าสนใจ
บางคนวิเคราะห์ว่าเพลงนี้ได้ซ่อนตรรกะเรื่องราวในสังคมของยุคสมัยเอาไว้ในมุมมองของเด็กในยุคนั้น ขณะที่บางคนบอกว่าเป็นเพียงการละเล่นของเด็ก การละเล่นนี้มีการแฝงด้วยความกำกวมซึ่งมีอารมณ์ขันชวนให้สับสนสงสัยกับเนื้อเพลงที่ไม่ค่อยได้ต่อเนื่องเกี่ยวโยงเป็นเรื่องเดียวกัน
คำว่า คาโกเมะ ได้กลายเป็นคำที่ไม่ชัดเจนและมีหลายความหมาย ตระกร้าสาน, ตระกร้าไม้ไผ่, การปิดล้อม, กรงนก, นกในกรง, นกในตะกร้า เป็นต้น。 มีหลายทฤษฎีที่เกี่ยวกับเพลงนี้
ชิปโป 七宝(しっぽう) Shippō
七宝(しっぽう):: จาก สันสกฤต : सप्तरत्न 、Saptaratna ﹙ サプタラットナ ﹚ , บาลี : सत्तरतन 、Sattaratana ﹙ サッタラタナ ﹚ หมายถึง เจ็ดสมบัติ。
(//ซึ่งเดิมที เลข 3 กับ เลข 7 เป็น "เลขมงคล" ตัวเลขที่ดึงดูดสิ่งดี )
° ◦ ชิปโปเป็นเจ็ดชนิดของสมบัติที่มีระบุไว้ในพระไตรปิฎก ในส่วนของ เมียวโฮเร็งเงเคียว (妙法蓮華経「सद्धर्मपुण्डरीकसूत्र」สัทธรรมปุณฑริกสูตร) พระสูตรที่สำคัญของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน
ชื่อชนิดของสมบัติทั้งเจ็ดมีความแตกต่างกันบ้างขึ้นอยู่กับพระคัมภีร์ฉบับใด เป็นที่คาดกันว่าสาเหตุที่เกิดความต่างมาจากการตีความจากภาษาต้นฉบับเดิม
ชิปโปว่าด้วย
1. ทอง金
2. เงิน 銀
3. ไพฑูรย์ หรือ แลพิสแลซูลี 瑠璃(るり)[ในอดีตเป็นคำกว้างๆ อย่าง 青色の玉 ]
4. แก้วคริสตัล 玻璃(はり)
5. ไข่มุก 硨磲(しゃこ)[เปลือกหอยที่มีความสวยงามขนาดใหญ่]
6. ปะการัง 珊瑚(さんご)
7. โมรา หรือ อาเกต 瑪瑙(めのう)[มีทฤษฎีที่ว่าหมายถึง มรกต]
มีความเชื่อกันว่าสมบัติเหล่านี้จะสามารถปกป้อง ผู้ที่พกไว้ติดตัว ผู้เป็นเจ้าของ ให้พ้นจากเภทภัย
เมียวกะ 冥加(みょうが)Myōga
冥加(みょうが):: ป้องกันความเสี่ยง, โชคดี
โทโตไซ 刀々斎(とうとうさい)Tōtōsai
刀:: ดาบ。อาวุธที่ใช้เพื่อฆ่าสังหารทำลายหรือปกป้อง
々:: คันจินี้การใช้งานการอ่านขึ้นกับอักษรตัวหน้า เป็น อักขระย้ำข้อความ คล้าย ยมก (ๆ) ในภาษาไทย โดยอาจไม่ออกเสียงเหมือนกับคำหน้า
刀々:: ดาบ
斎(さい):: บริสุทธิ์(ในทางศาสนา) ความหมายเดิมของคำนี้คือ "สะอาด, บริสุทธิ์"。
ไซ เป็นศัพท์ว่าด้วยคำสอนทางพุทธศาสนา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้1. งดเว้นจากพฤติกรรมผิดทางกายวาจาใจ
2. ด้วยการรักษาศีลรับประทานอาหารช่วงเช้าและไม่ทานอีกหลังเที่ยงของวันถึงอาทิตย์ขึ้นของวันใหม่เพียงแค่ความพอดีต่อการดำรงอยู่ของร่างกาย(นักบวชวันละหนึ่งมื้อและหนึ่งหรือสองมื้อสำหรับฆราวาสที่ยังไม่บวชกาย)ข้อกำหนดของการรักษาศีล8ขึ้นไป การถือศีลอดเพื่อให้กายใจบริสุทธิ์(บางทีงดทั้งวันหรือหลายวันสำหรับผู้ถึงพร้อม(คนธรรมดาทั่วไปทำไม่ได้โรคจะถามหาไม่ก็อาจจะตายเสียเปล่าก่อนได้เรื่อง))
3. มื้ออาหารในการรำลึกถึงของชาวพุทธ
4. การประชุมนักบวชในบริเวณเดียวกันเพื่อพิจารณาความประพฤติและลงโทษผู้มีความประพฤติเสียหายทุกกึ่งเดือนคือในวันกลางเดือนและวันสิ้นเดือนตามกฎพุทธบัญญัติ,
ทำความสะอาดกายและจิตใจในการจะรับใช้เทพเจ้า,
อาหารมังสวิรัติ อาหารของนักบวชพุทธ(เฉพาะนิกายและเฉพาะคนที่ถือข้อตกลงตนงดเว้นการกินเนื้อสัตว์),
ทำความสะอาดชะล้างสิ่งสกปรกออกจากใจกายและให้ละเว้น
, มีการพ้องกับคำหนึ่งที่หมายถึง การกำกับดูแล
"อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน" ว่าด้วยความหมายศัพท์ของชื่อตัวละครหลัก (โดยละเอียด(มาก))
พอดีข้องใจมานานว่าอย่างฉันที่ดูอะไรยากจะติดใจคาใจอะไรบางอย่าง ติดกลับมาดูซ้ำเรื่องนี้บ่อยสุดเรื่องเดียวได้ไง ....ทำไม ทำไมตอนที่ดูและอ่านถึงฟินนักนะ มีอะไรแฝงมากกว่าที่คิดหรือเปล่า หรือโดนวางยา..
เรื่องของเรื่องก็แค่ค้นเล่นๆค่ะ
เล่น..จนมันเจออะไรบางอย่างที่ว่าดูท่าจะไม่เล่นซะงั้น
{{ นี่แน่ใจ แค่ชื่อตัวละครเรอะ!!!!}}
{{ ฉันไม่ได้ตาฝาดสินะเห็นหลักธรรมกับปรัชญาเต็มไปหมดเน้}}
อาจารย์นักเขียนแกออกจะตั้งใจแบรากตัวละครฐานของเรื่องที่ชื่อตัวละครโต้งๆงี้ แล้วเราที่ตามดูตามอ่านไม่ค่อยเคยไม่ค่อยสังเกตุด้วยโอยยยตลอดยี่สิบกว่าปี
_สารภาพว่าเคยไปลองวางไว้ที่สารานุกรมเสรีและข้าน้อยพลาด เล่นเพลินไปหน่อย... กะว่าคงมีคนมาช่วยแก้ไขอันที่ไม่ตรง.. แต่อืม เกินข้อจำกัดของสถานที่ /ขออภัยด้วยจริงๆ ทำผิดไปแล้วค่ะ/ ก็นะมีกฎที่ดูดีของที่นั่นละนะแบบนี้ก็ดีแล้ว นี่ค่อนข้างเข้าใจจริงละไหงหาอะไรกว้างๆไม่เจอเพราะงี้เอง_
' ขอบคุณที่เปิดให้เขียนเสรีค่ะ '
เอาละนะ 。◕‿◕。 จะมีใครแอบตกใจเหมือนกันเราไหมน่อ?
_____________________________________
ยังมีหลายอย่างที่คิดว่ายังไม่แม่น ผิดตรงไหนก็ขอผู้รู้จริงช่วยแก้ความเข้าใจหน่อยน่อค่ะ ประนมมือโค้งงามๆ
เปรียบเทียบมาจาก ญี่ปุ่น > ไทย < ศัพท์เฉพาะ และขยายความตามที่มีในความเชื่อเดิมเรื่องเล่าการกล่าวถึงที่มีอยู่จริง
_____________________________________
犬:: "Inu" สุนัข。
夜叉:: यक्ष 、"Yakṣa" ≈ "Yasha"
รากศัพท์เป็นคำสันสกฤต ในตำนานทางพุทธศาสนาชี้อย่างเฉพาะเจาะจง คือ อสูรยักษา มีทั้งชนชั้นต่ำกลางสูงทั้งนี้กล่าวถึงระดับสูงนั้นเป็นอมนุษย์ที่กึ่งเป็นเทพซึ่งถือกำเนิดในชั้นภูมิจาตุมหาราชิกา สวรรค์ชั้นที่1 ° กระนั้นเมื่อรับ यक्ष เข้ามาในญี่ปุ่นได้มีการเรียกแผลงเป็น 夜叉
แต่เนื่องจากความเชื่อของศาสนาพุทธกับศาสนาพราหมณ์ในอินเดียไม่ได้หลอมรวมกัน ภาพ "ยาฉะ" ที่ถูกนำมาในญี่ปุ่นเป็นภาพวาดที่ดูมีความดุร้าย ภายหลัง "ยาฉะ" อสูรยักษากึ่งเทพ หรือ เทพอสูรยักษา อันเป็นที่มาของคำนี้ในญี่ปุ่น กลับถูกเหมารวมไปในประเภทของอสูรกายที่ชั้นภูมิต่ำกว่าอย่าง 鬼 โอนิ ยักษ์ท้องถิ่นของญี่ปุ่นที่มีกำเนิดแตกต่าง อย่างไรก็ตามอิทธิพลของศาสนาพุทธในญี่ปุ่นได้รวม ยาฉะ (ยักษา 夜叉: यक्ष 、Yakṣa "Yasha") และ ราเซ็ตสึ (รากษส 梵语: राक्षस 、Rākṣasa "Rasetsu") กลายเป็น เทพราเซ็ตสึผู้ปกป้องกฎของพุทธศาสนาในญี่ปุ่นและทำให้ "ยาฉะ" ถูกมองดีขึ้น
ทั้งนี้ยังมีกรณีกับ ดากินิเท็น 荼枳尼天(だきにてん)ดากินิ (ฑากิณี 荼吉尼: डाकिनी 、Dākinī "Dakini") ได้รับการนับถือในศาสนาพราหมณ์ของอินเดียเชื่อว่าเป็นเทพปีศาจสตรีที่กินเลือดเนื้อของมนุษย์ แต่ในทางพุทธจัดเป็นภูตเทพอมนุษย์ชนิดหนึ่ง ดากินิมีหลายตน เพศหญิง Dakini เพศชาย Daka ทางมหายานวชิรยานฑากิณีทั้งแปดเป็นบริวารของเหวัชระ ดากินิเท็นเทพที่โดดเด่นด้านการเต้นรำการดนตรี ที่ญี่ปุ่นได้นับร่วมรวมไปในคำว่า "ยาฉะ" ดากินิเท็นเป็นเทพที่มีอำนาจแสดงถึงภูมิปัญญาการรู้แจ้งของผู้หญิง การเหนือกว่าผู้ชาย โยคะ และการใช้ชีวิตคู่ รูปเคารพของดากินิเท็นที่มักพบโดยทั่วไปจะเป็นตัวแทนร่างของเทพเจ้าที่ถือดาบและขี่จิ้งจอกสีขาว
° ◦ เช่นนั้น คำว่า 夜叉 Yasha ยาฉะ
จึงจะไม่ใช่เพียงยักษาแต่ได้หมายรวมถึง
อสูรกึ่งเทพ หรือ เทพอสูร (อสูร ปีศาจ ภูติ ผี ตามสายภพภูมิกำเนิด)。
อื่นร่วมไว้
(//แต่เมื่อพูดถึงยาฉะคำนี้คนมักจะนึกถึง โอนิ แม้ข้างต้นจะไม่ได้มีแค่เผ่ายักษ์ก็ตาม)
▫※เป็นเรื่องปกติซึ่งผู้คนทั่วไปนับแต่โบราณกาลจะมักไม่แยกระหว่างความแตกต่างของภพภูมิเผ่าพันธุ์ชนชั้นของสิ่งลี้ลับ จะมักเรียกขานรวมไปในคำใดคำหนึ่งที่คุ้นเคยเมื่อเอ่ยถึง และ "ยาฉะ" ไม่ต่างกันได้มีการจัดรวมจากผู้คนส่วนหนึ่งให้เข้าไว้ในหมวดหมู่ โยไค 妖怪(ようかい)[อสูรกายผีร้ายอสูรปีศาจภูตพราย](หรือเรียกว่า อายาคาชิ(あやかし)[ความลึกลับ] , โมโนโนเคะ(もののけ)[สิ่งอื่น] , มาโมโนะ(まもの)[ปีศาจ]) ที่เป็นปรากฏการณ์ประหลาดเกินความเข้าใจของมนุษย์หรือพลังลึกลับโดยปริยาย "ยาฉะ"ที่ดีมักไม่ร่วมวงกระทำในจำพวกเดียวกับ อาคุมะ 悪魔(あくま)[ มาร ]
√ยาฉะ 夜叉 ในระดับสูงเป็น 護法善神(ごほうぜんじん)Gohōzenshin เทพผู้พิทักษ์ คือ 天部の神々 Tenbu no kamigami เทพสวรรค์[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ซึ่งส่วนใหญ่ปกป้องพระพุทธศาสนาและพุทธศาสนิกชน。/ Buddhist guardian deities 。 ขอบเขตวิสัยของยาฉะ คือ 守り神 เทวะผู้พิทักษ์ 守護 ผู้ปกป้อง ◈เป็นผู้ปกครองบริวารเหล่าอสูรภูติผีปีศาจ เป็นผู้คอยดูแลโลกและปกป้องมนุษย์ ช่วยเหลือผู้ที่ประกอบด้วยความดีมีใจใฝ่ดี[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ และเป็นเทพเจ้าผู้พิทักษ์ศาสนาพุทธผู้ที่คอยคุ้มครองพุทธศาสนิกที่มีศรัทธา(ด้วยคำสัตย์ที่ให้ไว้จากชั้นจาตุมหาราชิกาทั้งชั้น *ในส่วนนี้ย่อไว้ที่ คห.19-1วรรค3) บางครั้งภาพลักษณ์ของยาฉะเป็นภาพของนักรบอสูร นักรบปีศาจ
เสริม สำหรับ 夜叉 / यक्ष
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
桔梗(ききょう):: ไม้ดอกสีโทนเย็นสีม่วงอมฟ้า คิเคียว。
หนึ่งในหญ้าเจ็ดอย่าง ที่คนในสมัยโบราณเลือกให้ดอกคิเคียวเป็นสัญลักษณ์ของฤดูใบไม้ร่วง ภาษาดอกไม้ หมายถึง ความตั้งใจอันแน่วแน่ แต่เดิมรากของต้นคิเคียวได้ใช้ทำเป็นยาแก้ไอ ยาฆ่าเชื้อโรค และด้วยความสวยงามทำให้เป็นที่นิยมปลูกแต่ตามแหล่งธรรมชาติตามป่าเขากลับค่อยๆ มีจำนวนน้อยลงเรื่อยๆ จนกระทรวงสิ่งแวดล้อมญี่ปุ่นต้องขึ้นทะเบียนเป็นดอกไม้ที่เสี่ยงจะสูญพันธุ์
日暮(ひぐらし):: อาทิตย์อัสดง พลบค่ำ
かごめ:: การละเล่นคลาสสิกของเด็กๆในญี่ปุ่นที่มีมาเมื่อนานมากแล้ว คือ เพลง かごめかごめ "คาโกเมะคาโกเมะ"
ต้องมีอย่างน้อยหกคน(ข้อมูลเว็บนอกว่าหก ข้อมูลเว็บในไทยมีว่าสาม..) โดยหนึ่งในนั้นเป็นตัวแทนของโอนิ 鬼 (ยักษ์) นั่งปิดตาอยู่กลางวง เด็กที่เหลือจับมือล้อมวงกันร้องเพลงนี้และเดินวนรอบไปรอบๆ จนหยุดเดินเมื่อเพลงจบลง เด็กที่นั่งอยู่กลางวงต้องทายว่า "ใครกันที่อยู่ข้างหลัง" มีความเชื่อกันว่าหากเล่นในป่าไพรภูเขา เวลาผีตากผ้าอ้อม แล้วเด็กที่เป็น โอนิ ทายถูก เด็กคนที่ถูกทายถูก จะถูก ภูตผีปิศาจลักซ่อน
เนื้อร้องในเพลงชื่อนี้จะต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นแต่ยังคงเนื้อร้องท่อนของ คาโกเมะคาโกเมะ ไว้ ภายแรกเป็นการร้องเล่นกันในเด็กหญิงกลุ่มหนึ่งเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อความสนุกสนานแล้วการละเล่นนี้ได้แพร่ระบาดไปทั่วประเทศญี่ปุ่น เป็นเพลงของการเล่นในคำที่มีความน่าสนใจ
บางคนวิเคราะห์ว่าเพลงนี้ได้ซ่อนตรรกะเรื่องราวในสังคมของยุคสมัยเอาไว้ในมุมมองของเด็กในยุคนั้น ขณะที่บางคนบอกว่าเป็นเพียงการละเล่นของเด็ก การละเล่นนี้มีการแฝงด้วยความกำกวมซึ่งมีอารมณ์ขันชวนให้สับสนสงสัยกับเนื้อเพลงที่ไม่ค่อยได้ต่อเนื่องเกี่ยวโยงเป็นเรื่องเดียวกัน
คำว่า คาโกเมะ ได้กลายเป็นคำที่ไม่ชัดเจนและมีหลายความหมาย ตระกร้าสาน, ตระกร้าไม้ไผ่, การปิดล้อม, กรงนก, นกในกรง, นกในตะกร้า เป็นต้น。 มีหลายทฤษฎีที่เกี่ยวกับเพลงนี้
七宝(しっぽう):: จาก สันสกฤต : सप्तरत्न 、Saptaratna ﹙ サプタラットナ ﹚ , บาลี : सत्तरतन 、Sattaratana ﹙ サッタラタナ ﹚ หมายถึง เจ็ดสมบัติ。
(//ซึ่งเดิมที เลข 3 กับ เลข 7 เป็น "เลขมงคล" ตัวเลขที่ดึงดูดสิ่งดี )
° ◦ ชิปโปเป็นเจ็ดชนิดของสมบัติที่มีระบุไว้ในพระไตรปิฎก ในส่วนของ เมียวโฮเร็งเงเคียว (妙法蓮華経「सद्धर्मपुण्डरीकसूत्र」สัทธรรมปุณฑริกสูตร) พระสูตรที่สำคัญของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน
ชื่อชนิดของสมบัติทั้งเจ็ดมีความแตกต่างกันบ้างขึ้นอยู่กับพระคัมภีร์ฉบับใด เป็นที่คาดกันว่าสาเหตุที่เกิดความต่างมาจากการตีความจากภาษาต้นฉบับเดิม
ชิปโปว่าด้วย
1. ทอง金
2. เงิน 銀
3. ไพฑูรย์ หรือ แลพิสแลซูลี 瑠璃(るり)[ในอดีตเป็นคำกว้างๆ อย่าง 青色の玉 ]
4. แก้วคริสตัล 玻璃(はり)
5. ไข่มุก 硨磲(しゃこ)[เปลือกหอยที่มีความสวยงามขนาดใหญ่]
6. ปะการัง 珊瑚(さんご)
7. โมรา หรือ อาเกต 瑪瑙(めのう)[มีทฤษฎีที่ว่าหมายถึง มรกต]
มีความเชื่อกันว่าสมบัติเหล่านี้จะสามารถปกป้อง ผู้ที่พกไว้ติดตัว ผู้เป็นเจ้าของ ให้พ้นจากเภทภัย
冥加(みょうが):: ป้องกันความเสี่ยง, โชคดี
刀:: ดาบ。อาวุธที่ใช้เพื่อฆ่าสังหารทำลายหรือปกป้อง
々:: คันจินี้การใช้งานการอ่านขึ้นกับอักษรตัวหน้า เป็น อักขระย้ำข้อความ คล้าย ยมก (ๆ) ในภาษาไทย โดยอาจไม่ออกเสียงเหมือนกับคำหน้า
刀々:: ดาบ
斎(さい):: บริสุทธิ์(ในทางศาสนา) ความหมายเดิมของคำนี้คือ "สะอาด, บริสุทธิ์"。
ไซ เป็นศัพท์ว่าด้วยคำสอนทางพุทธศาสนา [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
, มีการพ้องกับคำหนึ่งที่หมายถึง การกำกับดูแล