คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
แชร์จากประสบการณ์ที่เคยทำสีโมเดลหุ่นและยานพาหนะจากหนัง เช่น Star Wars, Alien, Back to the Future ฯลฯ ละกันครับ
1. ABS พลาสติกมันจะจมน้ำ อ่อนนุ่ม เหนียว ทนแรงบิด ทนความร้อนจากการเสียดสีหรือหมุน มักใช้กับข้อต่อหรือแกนหมุนต่าง ๆ ควรพ่นด้วยแอร์บรัชโดยกดให้สีออกบาง ๆ ทีละชั้นจะได้แห้งเร็ว ไม่งั้นทินเนอร์ไหลเข้าไปกัดพลาสติกในซอกจนกรอบและหัก ถ้าพ่นด้วยสีกระป๋องทั่วไปอันตรายมาก เพราะมันเม็ดใหญ่สีเยิ้ม ถ้าทายิ่งแล้วใหญ่ควรใช้เทปปิดกันซอกข้อต่อหมุนต่าง ๆ ไว้กันสีไหลเข้าไป
2. PP โพลิโพรพิลีน (Polypropylene) คล้าย ABS แต่ทนกว่า ลอยน้ำ น้ำหนักมากกว่าหน่อย การพ่นสีก็เหมือน ABS
3. การรองพื้นก็ใช้วิธีพ่นเหมือนกัน จำไว้ว่าจะพ่นสีควรรองพื้นก่อนเสมอ นอกจากช่วยให้สีติดแน่นขึ้นแล้วยังช่วยให้เห็นรอยตะเข็บจากการประกบพิมพ์, รอย Ejector Pin กลม ๆ, รอยบุ๋มรอยแหว่งตามจุดต่าง ๆ ชัดขึ้น จะได้รู้ว่าต้องอุดต้องขัดออกตรงไหนตามรูปข้างล่าง (จาก RG Unicorn Gundam) ขัดแล้วก็พ่นรองพื้นใหม่ อ้อ!ก่อนพ่นรองพื้นควรขัดผิวพลาสติกให้ออกด้าน ๆ หายเรียบมันเสียก่อน สีจะได้ติดดีขึ้น ผมชอบใช้กระดาษทรายน้ำเบอร์ 1200 ขัด บางทีก็ 600 ชุดน้ำลูบเบา ๆ
4. ไม่ว่าจะพ่นสูตรน้ำหรือทินเนอร์ ต้องพ่นบาง ๆ ทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วพ่นบาง ๆ ชั้นต่อไปทิ้งให้แห้ง แล้วพ่นชั้นต่อไปจนพอใจ
5. RG ที่ให้มาในกล่องมันสีออกเขียว ๆ เป็นสติ๊กเกอร์ฟิล์มใสนะครับไม่ใช่ดีแคลน้ำที่ออกสีฟ้า แต่ก็ใช้น้ำช่วยให้มันลื่นตอนจัดตำแหน่งบนชิ้นงานได้ แล้วค่อยซับน้ำออก จะพ่นเคลียร์สูตรอะไรเคลือบก็ได้ แต่ต้องบาง ๆ ทีละชั้น
จากนี้ไปแถมครับ ต้องจำให้ขึ้นใจว่า สูตรทินเนอร์ > สูตรน้ำ > สูตรน้ำมัน
คือจำว่าสีสูตร(ตัวทำละลาย)อะไรทาทับกันได้โดยไม่ละลายหรือทำให้สีชั้นก่อนแตก (ขวาไม่ละลายซ้าย) และสีสูตรเดียวกันพ่นหรือทาทับกันได้โดยไม่ละลายถ้าชั้นก่อนแห้งสนิทแล้ว ผมพ่นด้วยแอร์บรัชไม่เคยมีปัญหาลำดับการพ่น จะพ่นทับสูตรไหนสลับกันยังไงก็ได้ ขอให้พ่นบาง ๆ หลายชั้นโดยรอให้แต่ละชั้นแห้งก่อนก็พอ
สูตรทินเนอร์ - เช่น สีประเภทแลคเกอร์ของ Mr.Color, Mr.Super Clear UV Cut
สูตรน้ำ (หรือสูตรแอลกอฮอล์) - เช่น สีประเภทอะคริลิคของ Tamiya (ขวดกลมที่ใช้ตัวทำละลาย X-20A นี่เป็นแอลกอฮอล์), Acrysion, Gundam Marker, Mr.Top Coat
สูตรน้ำมัน (อีนาเมล, น้ำมันสน, น้ำมันไฟแช็ก) - เช่นของ Tamiya (ขวดเหลี่ยมที่ใช้ตัวทำละลาย X-20), Tamiya Panel Line Accent Color
ป.ล. Decal มันออกเสียงว่า ดีแคล นะครับ มันมาจากภาษาฝรั่งเศษ ดีแคลคอเมเนีย (Decalcomania) แอลตัวเดียวไม่ใช่ 2 ตัวแบบ Call ทำไมเว็บและเพจกันดั้มต่าง ๆ สอนกันผิด ๆ แล้วมือใหม่ก็จำมาผิด ๆ ต่อ ๆ กันไป
1. ABS พลาสติกมันจะจมน้ำ อ่อนนุ่ม เหนียว ทนแรงบิด ทนความร้อนจากการเสียดสีหรือหมุน มักใช้กับข้อต่อหรือแกนหมุนต่าง ๆ ควรพ่นด้วยแอร์บรัชโดยกดให้สีออกบาง ๆ ทีละชั้นจะได้แห้งเร็ว ไม่งั้นทินเนอร์ไหลเข้าไปกัดพลาสติกในซอกจนกรอบและหัก ถ้าพ่นด้วยสีกระป๋องทั่วไปอันตรายมาก เพราะมันเม็ดใหญ่สีเยิ้ม ถ้าทายิ่งแล้วใหญ่ควรใช้เทปปิดกันซอกข้อต่อหมุนต่าง ๆ ไว้กันสีไหลเข้าไป
2. PP โพลิโพรพิลีน (Polypropylene) คล้าย ABS แต่ทนกว่า ลอยน้ำ น้ำหนักมากกว่าหน่อย การพ่นสีก็เหมือน ABS
3. การรองพื้นก็ใช้วิธีพ่นเหมือนกัน จำไว้ว่าจะพ่นสีควรรองพื้นก่อนเสมอ นอกจากช่วยให้สีติดแน่นขึ้นแล้วยังช่วยให้เห็นรอยตะเข็บจากการประกบพิมพ์, รอย Ejector Pin กลม ๆ, รอยบุ๋มรอยแหว่งตามจุดต่าง ๆ ชัดขึ้น จะได้รู้ว่าต้องอุดต้องขัดออกตรงไหนตามรูปข้างล่าง (จาก RG Unicorn Gundam) ขัดแล้วก็พ่นรองพื้นใหม่ อ้อ!ก่อนพ่นรองพื้นควรขัดผิวพลาสติกให้ออกด้าน ๆ หายเรียบมันเสียก่อน สีจะได้ติดดีขึ้น ผมชอบใช้กระดาษทรายน้ำเบอร์ 1200 ขัด บางทีก็ 600 ชุดน้ำลูบเบา ๆ
4. ไม่ว่าจะพ่นสูตรน้ำหรือทินเนอร์ ต้องพ่นบาง ๆ ทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วพ่นบาง ๆ ชั้นต่อไปทิ้งให้แห้ง แล้วพ่นชั้นต่อไปจนพอใจ
5. RG ที่ให้มาในกล่องมันสีออกเขียว ๆ เป็นสติ๊กเกอร์ฟิล์มใสนะครับไม่ใช่ดีแคลน้ำที่ออกสีฟ้า แต่ก็ใช้น้ำช่วยให้มันลื่นตอนจัดตำแหน่งบนชิ้นงานได้ แล้วค่อยซับน้ำออก จะพ่นเคลียร์สูตรอะไรเคลือบก็ได้ แต่ต้องบาง ๆ ทีละชั้น
จากนี้ไปแถมครับ ต้องจำให้ขึ้นใจว่า สูตรทินเนอร์ > สูตรน้ำ > สูตรน้ำมัน
คือจำว่าสีสูตร(ตัวทำละลาย)อะไรทาทับกันได้โดยไม่ละลายหรือทำให้สีชั้นก่อนแตก (ขวาไม่ละลายซ้าย) และสีสูตรเดียวกันพ่นหรือทาทับกันได้โดยไม่ละลายถ้าชั้นก่อนแห้งสนิทแล้ว ผมพ่นด้วยแอร์บรัชไม่เคยมีปัญหาลำดับการพ่น จะพ่นทับสูตรไหนสลับกันยังไงก็ได้ ขอให้พ่นบาง ๆ หลายชั้นโดยรอให้แต่ละชั้นแห้งก่อนก็พอ
สูตรทินเนอร์ - เช่น สีประเภทแลคเกอร์ของ Mr.Color, Mr.Super Clear UV Cut
สูตรน้ำ (หรือสูตรแอลกอฮอล์) - เช่น สีประเภทอะคริลิคของ Tamiya (ขวดกลมที่ใช้ตัวทำละลาย X-20A นี่เป็นแอลกอฮอล์), Acrysion, Gundam Marker, Mr.Top Coat
สูตรน้ำมัน (อีนาเมล, น้ำมันสน, น้ำมันไฟแช็ก) - เช่นของ Tamiya (ขวดเหลี่ยมที่ใช้ตัวทำละลาย X-20), Tamiya Panel Line Accent Color
ป.ล. Decal มันออกเสียงว่า ดีแคล นะครับ มันมาจากภาษาฝรั่งเศษ ดีแคลคอเมเนีย (Decalcomania) แอลตัวเดียวไม่ใช่ 2 ตัวแบบ Call ทำไมเว็บและเพจกันดั้มต่าง ๆ สอนกันผิด ๆ แล้วมือใหม่ก็จำมาผิด ๆ ต่อ ๆ กันไป
แสดงความคิดเห็น
มีปัญหากับการทำสี RG ครับ
เลยอยากจะขอคำแนะนำจากกูรูกันพลาทุกๆท่านครับ ตามนี้เลยครับ
เกี่ยวกับพลาสติกโครงใน ABS/PP
1. โครงในที่เป็นพลาสติก ABS/PP ทำสีได้ไหมครับ? ถ้าได้ควรใช้สีสูตรไหน? ควรพ่นหรือทาดีครับ?
2. พลาสติก PP เป็นพลาสติกแบบไหนครับ? มีคุณสมบัติอย่างไรครับ? มันทาสีหรือพ่นสีได้ไหมครับ? ถ้าได้ควรใช้สีสูตรไหนดีครับ?
3. ABS นี่จำเป็นต้องพ่นรองพื้นก่อนทุกครั้งเลยเหรอครับ? แล้วมันแห้งได้เร็วแค่ไหนครับ? เจ้า ABS นี่ได้ยินมาว่า "พ่นได้แต่ห้ามทา" นี่จริงรึเปล่าครับ?
จากนี้เป็นคำถามเกี่ยวกับดีคอลจากกล่องกับน้ำครับ
4. พวกดีคอลน้ำนี่ ถ้าจะพ่นเคลียร์สูตรแล็กเกอร์ต้องพ่นห่างๆ ค่อยๆให้สีติดบางๆก่อนพอแห้งติดดีชั้นนึงแล้วค่อยพ่นตามปกติได้ใช่ไหมครับ? หรือต้องค่อยๆพ่นบางๆไปเรื่อยๆจนกว่าจะหนาในระดับนึงก่อนครับ? หรือต้องกลับไปใช้สูตรน้ำเหมือนเดิม?
5. ไอ้ดีคอลที่ให้มากับกล่องนี่มันพ่นเคลียร์สูตรแล็กเกอร์แบบในคำถามที่ 4 ได้ไหมครับ?
ปล* บางตัวผมจำเป็นต้องใช้แบบมันเงาเพื่อความสวยงามครับ
น่าจะมีประมาณนี้แหละครับ ขอความกรุณาช่วยๆกันตอบด้วยนะครับ เพื่อคนอื่นที่กำลังประสบปัญหาแบบผมด้วย ขอบคุณครับ