คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
จากประวัติของหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กองทัพเรือ พอจะเล่าได้ว่า...ก่อนสงครามมหาเอเชียบูรพาได้มีการวางแนวทางป้องกันฐานทัพที่คาดว่าจะถูกโจมตีทางอากาศ โดยใน กทม.จะต้องอาศัย ปตอ.ของ ทบ.ช่วยยิงป้องกัน แต่ที่สัตหีบยังไม่มี ทำได้เพียงใช้ปืนเรือทำการในบางจุดเท่านั้น ข้อจำกัดดังกล่าวทำให้ต้องจัดตั้งกองต่อสู้อากาศยานขึ้นเมื่อ 16 ก.ค.2484 โดยจัดหา ปตอ.75/51 จำนวน 12 กระบอกพร้อมตู้ควบคุมการยิงและรถตรวจการณ์ 3 คัน จากบริษัทโชวาตูโอไกซา ประเทศญี่ปุ่น และใช้กำลังพลที่รอดชีวิตมาจากยุทธนาวีที่เกาะช้าง ซึ่งประจำการใน ร.ล.ธนบุรี, ร.ล.ชลบุรี และ ร.ล.สงขลา มาเป็นพลประจำปืน มีที่ตั้งชั่วคราวที่บริเวณท่าราชวรดิฐด้านเหนือ แบ่งเป็น 3 หมู่ปืนๆ ละ 4 กระบอก ก่อนจะยกฐานะเป็น ร้อย.ปืนทั้ง 3 กองร้อย กระทั่งปลายปี 2484 จึงจัด 1 กองร้อยไปประจำที่สัตหีบ เมื่อสงครามอุบัติเมื่อวันที่ 8 ธ.ค.2484 จึงต้องย้ายที่ตั้งกองต่อสู้อากาศยานไปยังสนามโรงเรียนมัธยมวัดชิโนรส ถนนอิสรภาพ ฝั่งธนบุรี พร้อมจัดกำลัง 1 กองร้อยปืนไปตั้งที่สนามหน้าโรงเรียนนายเรือซึ่งตอนนั้นมีที่ตั้งอยู่ในพระราชวังเดิม แต่กำลังพลส่วนนี้จำต้องจัดนักเรียนนายเรือเป็นพลประจำปืน เนื่องจากขาดแคลนกำลังพลในภาวะสงคราม ต่อมาเมื่อ 12 ธ.ค.2484 ได้จัดอีก 1 กองร้อยปืนไปประจำที่สนามหน้าโรงเรียนวัดบางนาใน
ต่อมาในเดือน ก.ย.2485 ได้จัดซื้อไฟฉาย 150 ซม. จำนวน 8 ดวงซึ่งมีเครื่องฟังเสียงขนาดเล็กประจำอยู่ทุกดวงจากญี่ปุ่น พร้อมจัดหาปืนกล 20 มม.เป็นอาวุธยิงระยะใกล้ป้องกันไฟฉายดวงละ 1 กระบอก โดยได้ติดตั้งไฟฉายที่สัตหีบ 3 ดวง, ฝั่งธนบุรี 2 ดวง, พระนคร 1 ดวง, วงเวียนใหญ่ 1 ดวง, คลองเตย 1 ดวง อย่างไรก็ตามการใช้ปืนกล 20 มม.เหล่านี้มักไม่ค่อยได้ผล เนื่องจากข้าศึกบินอยู่นอกระยะยิงของปืนกล ต่อมาปลายปีเดียวกัน..กรุงเทพฯ ถูกโจมตีอย่างหนัก จึงต้องขยายกองพันปืนเป็น 4 กองร้อย และวางกำลังใหม่ที่สัตหีบ 1 กองร้อย, วัดชิโนรส 1 กองร้อย (ย้ายมาจากโรงเรียนนายเรือพระราชวังเดิมและใช้พลทหารกองประจำการเป็นประจำปืนแทนนักเรียนนายเรือ), บุคคโล 1 กองร้อย และที่บางกะปิ 1 กองร้อย (บริเวณริมทางรถไฟมักกะสัน-ช่องนนทรีสุดถนนเพลินจิตอันเป็นที่ว่างปากซอยนานาใต้ ถนนสุขุมวิท)
จะเห็นได้ว่าความฉุกละหุกในการจัดหา วางกำลัง และฝึกอบรมกำลังพลประจำปืนในห้วงสงคราม ประกอบกับข้อจำกัดของระบบอาวุธและเพดานบินของเป้า เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การต่อสู้อากาศยานมิได้สำฤทธิ์ผลโดยตรงเท่าใดนัก แต่ก็สามารถช่วยยิงกดดันให้ข้าศึกไม่อาจดำเนินกลยุทธ์ในการโจมตีระดับต่ำได้โดยง่าย อย่างไรก็ตามการต่อสู้อากาศยานในสถานการณ์นี้ เราก็ต้องสูญเสียพลประจำปืนไปหลายนาย และเรือหลวงท่าจีน ถูกโจมตีจมกลางอ่าวสัตหีบเมื่อปี 2488 ซึ่งเป็นช่วงปลายสงคราม
สำหรับชิ้นส่วนไฟฉายที่เคยปกป้องพี่น้องชาวพระนครและธนบุรีจนเกิดเป็นตำนานชื่อแยกไฟฉาย ซึ่งยังคงเหลืออยู่ คือกระจกโค้ง ซึ่งเดิมสมัยผมรับราชการอยู่ที่ สอ.รฝ. เคยเห็นติดไว้ที่สโมสรสัญญาบัตรริมชลนวี ติดบ่ออนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลมาหลายปี กระทั่งปัจจุบันถูกเก็บรักษาไว้เป็นอนุสรณ์ที่หน้าอาคารกองบัญชาการ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง อ.สัตหีบ จว.ชลบุรี ครับ
ต่อมาในเดือน ก.ย.2485 ได้จัดซื้อไฟฉาย 150 ซม. จำนวน 8 ดวงซึ่งมีเครื่องฟังเสียงขนาดเล็กประจำอยู่ทุกดวงจากญี่ปุ่น พร้อมจัดหาปืนกล 20 มม.เป็นอาวุธยิงระยะใกล้ป้องกันไฟฉายดวงละ 1 กระบอก โดยได้ติดตั้งไฟฉายที่สัตหีบ 3 ดวง, ฝั่งธนบุรี 2 ดวง, พระนคร 1 ดวง, วงเวียนใหญ่ 1 ดวง, คลองเตย 1 ดวง อย่างไรก็ตามการใช้ปืนกล 20 มม.เหล่านี้มักไม่ค่อยได้ผล เนื่องจากข้าศึกบินอยู่นอกระยะยิงของปืนกล ต่อมาปลายปีเดียวกัน..กรุงเทพฯ ถูกโจมตีอย่างหนัก จึงต้องขยายกองพันปืนเป็น 4 กองร้อย และวางกำลังใหม่ที่สัตหีบ 1 กองร้อย, วัดชิโนรส 1 กองร้อย (ย้ายมาจากโรงเรียนนายเรือพระราชวังเดิมและใช้พลทหารกองประจำการเป็นประจำปืนแทนนักเรียนนายเรือ), บุคคโล 1 กองร้อย และที่บางกะปิ 1 กองร้อย (บริเวณริมทางรถไฟมักกะสัน-ช่องนนทรีสุดถนนเพลินจิตอันเป็นที่ว่างปากซอยนานาใต้ ถนนสุขุมวิท)
จะเห็นได้ว่าความฉุกละหุกในการจัดหา วางกำลัง และฝึกอบรมกำลังพลประจำปืนในห้วงสงคราม ประกอบกับข้อจำกัดของระบบอาวุธและเพดานบินของเป้า เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การต่อสู้อากาศยานมิได้สำฤทธิ์ผลโดยตรงเท่าใดนัก แต่ก็สามารถช่วยยิงกดดันให้ข้าศึกไม่อาจดำเนินกลยุทธ์ในการโจมตีระดับต่ำได้โดยง่าย อย่างไรก็ตามการต่อสู้อากาศยานในสถานการณ์นี้ เราก็ต้องสูญเสียพลประจำปืนไปหลายนาย และเรือหลวงท่าจีน ถูกโจมตีจมกลางอ่าวสัตหีบเมื่อปี 2488 ซึ่งเป็นช่วงปลายสงคราม
สำหรับชิ้นส่วนไฟฉายที่เคยปกป้องพี่น้องชาวพระนครและธนบุรีจนเกิดเป็นตำนานชื่อแยกไฟฉาย ซึ่งยังคงเหลืออยู่ คือกระจกโค้ง ซึ่งเดิมสมัยผมรับราชการอยู่ที่ สอ.รฝ. เคยเห็นติดไว้ที่สโมสรสัญญาบัตรริมชลนวี ติดบ่ออนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลมาหลายปี กระทั่งปัจจุบันถูกเก็บรักษาไว้เป็นอนุสรณ์ที่หน้าอาคารกองบัญชาการ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง อ.สัตหีบ จว.ชลบุรี ครับ
แสดงความคิดเห็น
กองทัพเรือสมัยก่อนเริ่มติดตั้งปืน ปตอ. อย่างจริงจังตั้งแต่ปีไหนครับ