ข่าว - เก็บเมล็ดพันธุ์โทษจำคุก มูลนิธิชีววิถีจวก กระทรวงเกษตรฯ ออกร่างกม.ปล้นเกษตรกรไทย

ข่าวจาก  https://www.isranews.org/isranews-news/60128-biothai-60128.html

มูลนิธิชีววิถีจวก กระทรวงเกษตรฯ ออกร่างกฎหมาย ปล้นเกษตรกรไทย ชี้เนื้อหลัก ห้ามเก็บเมล็ดพันธุ์พืชปลูกต่อ โทษถึงจำคุก ซ้ำเปิดช่องบริษัทผูกขาด ขยายเวลาสิทธิเพิ่มถึง 20-25 ปี กระทบความมั่นคงทางอาหารของไทย


เมื่อวันที่ 6 ต.ค.60 นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ  ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI) ให้สัมภาษณ์ ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org  ถึงกรณีที่กรมวิชาการเกษตรประกาศรับฟังความเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช(ฉบับที่...) พ.ศ.... ซึ่งกำหนดสิ้นสุดรับฟังความเห็นภายในวันที่ 20 ตุลาคมนี้  โดยทางมูลนิธีชีววิถีพบว่า เนื้อหาของร่างกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชฉบับใหม่นี้ให้เป็นไปตามอนุสัญญา UPOV 1991 ซึ่งเอื้ออำนวยประโยชน์ให้บรรษัทเมล็ดพันธุ์เพิ่มการผูกขาดพันธุ์พืชและเปิดช่องให้ลงโทษเกษตรกรที่เก็บรักษาพันธุ์พืชไปปลูกต่อ เป็นการทำลายวัฒนธรรมที่สร้างความหลากหลายทางชีวภาพ และจะกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศ

นายวิฑูรย์ กล่าวถึงร่างกฎหมายตาม UPOV คือกฎหมายให้สิทธิผูกขากแก้นักปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งก็คือบริษัทเมล็ดพันธุ์อย่างเข้มข้นมาก ไปลดทอนสิทธิของเกษตรกร ซึ่งภายใต้กฎหมายเดิม เกษตรกรมีสิทธิที่จะเก็บพันธุ์ไปปลูกต่อได้ ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์พืชใดๆ ก็ตามที่เกษตรกรซื้อมาปลูก แต่ภายใต้ UPOV สิทธิเหล่านี้ถูกตัดออกไป

ทั้งนี้ มูลนิธิชีววิถี ได้ระบุถึงเนื้อหาของร่างกฎหมายของกรมวิชาการเกษตรที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของกรมวิชาการการเกษตร ว่า มีเนื้อหาที่ละเมิดสิทธิเกษตรกร ขยายการผูกขาดของบรรษัทเมล็ดพันธุ์ และเปิดทางสะดวกให้โจรสลัดชีวภาพ โดยมีสาระสำคัญที่น่ากังวลดังต่อไป

1. ตัดสิทธิของเกษตรกรเก็บรักษาพันธุ์พืชใหม่ไปปลูกต่อ โดยตัดเนื้อหาใน มาตรา 33 (4) ของกฎหมายฉบับเดิมออก ซึ่งทำให้เกษตรกรที่เก็บพันธุ์พืชไปปลูกต่ออาจได้รับโทษถึงจำคุก

2. ขยายระยะเวลาการผูกขาดพันธุ์พืชใหม่ของบริษัทออกไปตาม UPOV1991 โดยขยายสิทธิผูกขาดพันธุ์พืชออกไปจาก 12-17 ปี เป็น 20-25 ปีแล้วแต่กรณี (ยกเว้นพืชที่ให้เนื้อไม้)

3. ขยายการผูกขาดจากเดิมกำหนดอนุญาตให้เฉพาะ “ส่วนขยายพันธุ์” ให้รวมไปถึง “ผลผลิต” และ “ผลิตภัณฑ์” ด้วย

4. ขยายการผูกขาดพันธุ์พืชใหม่ไปยังอนุพันธุ์ของสายพันธุ์พืชใหม่ หรือสายพันธุ์ซึ่งมีลักษณะพันธุ์ที่ได้พันธุกรรมสำคัญมาจากพันธุ์ที่ได้รับการคุ้มครอง (Essentially Derived Varieties-EDVs)

5. เปิดทางสะดวกให้โจรสลัดชีวภาพ โดยตัดการแสดงที่มาของสารพันธุกรรมออกเมื่อบริษัทประสงค์จะขอรับการคุ้มครองพันธ์พืชใหม่ และแก้คำนิยามของพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทไม่จำเป็นต้องแบ่งปันผลประโยชน์เมื่อนำเอาพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปไปใช้ประโยชน์ โดยเพียงแต่บริษัทนำเอาพันธุ์พืชพื้นเมืองที่ต้องการมา ”ผ่านกระบวนการปรับปรุงพันธุ์” เสียก่อนเท่านั้น

6. ตัดข้อกำหนดการต้องผ่านกระบวนการรับรองความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับพันธุ์พืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ประสงค์จะขอรับการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ออก

7. ตัดเงื่อนไขเกี่ยวกับการระงับสิทธิในพันธุ์พืชใหม่ที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารและการแทรกแซงของรัฐในกรณีที่มีการตั้งราคาเมล็ดพันธุ์แพงจนเกษตรกรไม่สามารถเข้าถึงได้

8. แก้ที่มาของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากเกษตรกร นักวิชาการ องค์กรสาธารณประโยชน์ และภาคเอกชน จากการเลือกตั้งกันเอง เป็นการแต่งตั้งทั้งหมด


นอกจากนี้ทางมูลนิธิฯ ยังระบุถึงหลักการและเหตุผลที่มีการร่างกฎหมายฉบับครั้งนี้ ซึ่งระบุไว้อย่างชัดเจนว่า เป็นการร่างกฎหมายเพื่อให้ให้เป็นไป “ตามแนวทางของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่(อนุสัญญา UPOV 1991)” และรองรับ “แนวโน้มการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) จะผลักดันให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญา UPOV1991”

“การออกร่างฯ ในช่วงเวลานี้เป็นการฉวยโอกาส 2 ชั้น คือฉวยโอกาสไม่ให้ประชาชนเคลื่อนไหวคัดค้าน โดยเฉพาะในเดือนตุลาคม และฉวยโอกาสผลักดันให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาระหว่างประเทศทางอ้อมโดยไม่ผ่านกระบวนการทางรัฐสภาเกี่ยวกับการให้สัตยาบันในอนุสัญญาความตกลงระหว่างประเทศตามรัฐธรรมนูญ” ผอ.มูลนิธิชีววิถี กล่าว และว่า มาตรการต่อไปทางเครือข่ายจะเร่งกระจายเรื่องนี้ไปยังเครือข่ายเกษตรกรทั่วประเทศ เพื่อให้เข้ามาแสดงความเห็นคัดค้าน และจำเป็นต้องมีการจัดเวทีให้ความรู้ในเรื่องกฎหมายตัวนี้ เนื่องจากเป็นกฎหมายที่มีความซับซ้อน มีการลดทอนคำนิยาม และหากร่างฉบับดังกล่าวยังผ่านไปได้ ก็จำเป็นต้องมีการชุมนุมคัดค้าน แต่คงต้องรอให้พ้นช่วงพระราชพิธีไปก่อน

อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวได้รายงานด้วยว่า ที่ผ่านมากรมวิชาการเกษตรได้เคยมีความพยายามในการแก้ไขกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 แล้วหลายครั้ง โดยเฉพาะในช่วง เมื่อว้นที่ 16 มีนาคม 2559 ทางมูลนิธิชีววิถีได้ทำหนังสือคัดค้านและชี้แจงเหตุผลต่างๆ ต่อกรมวิชาการเกษตร และนักวิชาการหลายท่านก็ได้แสดงความคิดเห็นคัดค้าน แต่ความเห็นดังกล่าวไม่เคยได้รับการพิจารณา และนำมาปรับปรุงในร่างกฎหมายฉบับใหม่ที่กำลังเปิดรับฟังความเห็นเลย ซึ่งทางมูลนิธิชีววิถีมองว่า การเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นทางหน้าเว็บไซท์น่าจะเป็นเพียงพิธีกรรมเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กฎหมายนี้ผ่านความเห็นชอบของรัฐบาลและสภานิติบัญญัติแห่งชาติเท่านั้น

สามารถอ่านเนื้อสำคัญของร่างที่นี่
http://www.doa.go.th/main/images/stories/opinion/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%8Dpvp.pdf

หมายเหตุ: ภาพประกอบจาก biodiversidadla.org
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
ร่างกฎหมายใหม่ในส่วน ลิขสิทธ์พันธุ์พืชนี้ จะเป็นประโยชน์แก่กลุ่มนักวิจัย และผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์พืชใหม่ๆ มากกว่ากลุ่มเกษตรกร

พวกเขาไม่ได้สนใจพันธุ์ดังเดิมของเกษตรกรหรอกครับ
เพราะเขามีพันธุ์ที่ดีกว่าพันธุ์ดังเดิมที่เกษตรกรมีอยู่ ในทุกๆด้านอยู่แล้ว

เมื่อใดที่เขาเอาพันธุ์ใหม่มาขาย พันธุ์นี้จะเป็นที่ต้องการของตลาด ทดแทนพันธุ์ดั้งเดิมจนหมด
เมื่อติดตลาดปลายทาง(ผู้บริโภค) แล้ว เมื่อนั้นเขาก็คุมราคาพันธุ์ได้ตามใจ

ร่างแก้ไขใหม่นี้ จะคุ้มครองพันธุ์ ห้ามนำมาจำหน่ายต่อ 20-25ปี
แปลว่า ใน 20-25 ปีนี้ ผู้ผลิตพันธุ์พืชจะไม่มีคู่แข่ง การค้าที่ไม่มีคู่แข่ง ก็เหมือนกับการผูกขาด ไม่มีการแข่งขัน ราคาจะถูกแพงก็ขึ้นอยู่กับผู้ผลิต

นักวิชาการบางท่าน แนะนำว่า "เลือกกลับไปใช้พันธุ์ดังเดิมก็ได้"  
แต่ในความเป็นจริงคือ จะไม่มีคนซื้อ หรือ ถูกกดราคาเพราะตลาดต้องการผลผลิตที่คุณภาพดีกว่า(ต้องการสายพันธุ์ใหม่)

ถ้าใครยังนึกภาพไม่ออก ให้ลองถามคนใกล้ตัวที่เคยอยู่ในยุคที่ยังไม่มีมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ว่าสมัยนั้นมะม่วงทานสุกอะไรที่เป็นที่นิยมที่สุดดูครับ
แล้วมาดูว่าในปัจจุบันนี้ มะม่วงทานสุกชนิดใดที่เกษตรกรนิยมปลูกกัน
ความต้องการของตลาด จึงเป็นตัวบังคับให้เกษตรกรเลือกสายพันธุ์พืชตามที่ตลาดต้องการ

เกษตรกรไม่มีทางเลือก จึงต้องใช้เมล็ดพันธุ์ราคาแพงจากผู้ผลิดต่อไปอีก 20-25 ปี


ปล. ทราบรึไม่ว่าราคาเมล็ดพันธุ์ฟักทอง ที่มีขายในปัจจุบัน(ยังไม่มีการคุ้มครองพันธุ์พืช)ราคาเท่าไหร่?
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่