เวลาขึ้นเครื่องบินแต่ละที เคยสงสัยไหม ว่าคนข้างๆเขาซื้อตั๋วมาราคาเท่ากันกับเราหรือเปล่า ครั้นจะถามเขาก็เดี๋ยวโดนด่ากลับมาว่าเผือกอะไรจ้ะคุณน้อง!! แล้วจะหมอไม่รับเย็บ
ไม่ต้องถามบนเครื่องแล้ว เพราะคำตอบคือ ไม่ได้เท่ากันทุกคนแน่นอน เพราะลักษณะการตั้งราคาตั๋วเครื่องบิน ไม่ใช่คงที่แบบรถไฟ รถทัวร์
แต่ตั้งราคาในลักษณะ demand-supply ช่วงไหนคนขึ้นเยอะ ก็ตั้งราคาแพงได้ ช่วงไหนคนโหรงเหรง ก็จัดโปรมาขายถูกหน่อย!!
อีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาตั๋วต่างกัน ก็คือ Fare Condition หรือเงื่อนไขของตั๋ว
วันนี้ผมเลยจะมานำเสนอเรื่องราคาตั๋วเครื่องบินให้เป็นความรู้กัน
facebook ผม หากถูกใจ กดไลค์ กดติดตามได้ครับ ^^ :
https://www.facebook.com/MileageManiac/
ตั๋วเครื่องบินจะราคาถูกหรือแพง ไม่ได้ขึ้นกับ demand-supply อย่างเดียว แต่ขึ้นกับเงื่อนไขของตั๋วด้วย
ต่อไปนี้เป็น 6 เงื่อนไขตั๋วหลักๆ ที่ทำให้ตั๋วมีราคาถูก-แพงต่างกัน
1. อายุตั๋ว-หมายถึง ช่วงเวลาที่เราสามารถอยู่ในประเทศปลายทาง เช่น อายุตั๋วไปญี่ปุ่นคือ 14 วัน นั่นหมายถึงเราก็อยู่ในญี่ปุ่นได้แค่ 14 วันเท่านั้น ถ้าอยากอยู่นานกว่านี้ ก็อาจต้องซื้อตั๋ว class สูงขึ้น
อายุตั๋วยิ่งนาน ราคายิ่งแพง ซึ่งอายุตั๋วที่เห็นกันบ่อย เช่น 14วัน 21วัน 1เดือน 3เดือน 6เดือน 1ปี เป็นต้น
2. เงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงวันที่และ Flight บิน
ตั๋วราคาแพง จะเป็นตั๋วที่สามารถเปลี่ยนแปลงวันบินและ flight บินได้อย่างอิสระ โดยไม่มีค่าธรรมเนียม
ตั๋วที่ราคาถูกลงมาก็อาจจะเปลี่ยนได้โดยมีค่าธรรมเนียม หรือให้เปลี่ยนเฉพาะขากลับ
และตั๋วที่ถูกที่สุดก็จะไม่ให้เปลี่ยนอะไรเลย!!
3. ตั๋วสามารถคืนเงินได้ไหม
ตั๋วราคาแพง ก็จะคืนเงินได้ โดยอาจมีค่าธรรมเนียม/ไม่มีขึ้นกับเงื่อนไขตั๋ว
แน่นอนว่าตั๋วที่ราคาถูกกว่าก็ไม่สามารถคืนเงินได้ตามระเบียบ
4. ไมล์ที่ได้รับ
ตั๋วที่ราคาถูกมักได้ไมล์สะสมน้อยมากหรือไม่ได้เลย
ตัวอย่างเช่นบินจากสุวรรณภูมิ-โตเกียว ระยะทางขาละ 2,890 ไมล์ ได้ไมล์ 75% ฉะนั้น เราจะได้ไมล์ทั้งหมด 75%*2*2,890=4,335 ไมล์
%ไมล์ที่ได้รับ ที่เราจะเห็นบ่อยๆคือ 10% 25% 50% 75% 100% 110% 125% 150% 200% เป็นต้น
5.การเลือกที่นั่ง
บางสายการบินไม่อนุญาตให้ตั๋ว class ต่ำสุดเลือกที่นั่งได้ แต่บางสายก็ไม่ได้มีเงื่อนไขนี้ก็มีเช่นกัน
6. การ upgrade ตั๋ว
ตั๋ว Class ต่ำๆ ไม่สามารถใช้ไมล์หรือเพิ่มเงินในการ upgrade ที่นั่งได้ (คือ จาก economy ไม่สามารถเลื่อนชั้นเป็น premium eco หรือ business ได้)
บางสายการบินก็อาจมีเงื่อนไขตั๋วมากกว่าหรือน้อยกว่า 6 เงื่อนไขนี้ก็ได้ ขึ้นกับทางสายการบินเป็นผู้กำหนดนั่นเอง
ถ้าใครยังจำกฎการนับและความน่าจะเป็นที่เราเรียนตอนม.ปลายได้ ก็จะพบว่า เงื่อนไขตั๋วที่มี จะมากถึง 6x4x3x9x2x2=2,592 รูปแบบเลยทีเดียว
แต่สายการบินไม่ได้ขยันตั้งราคาถึงประมาณ 2 พันกว่าราคาหรอก เขาก็จะเลือกเงื่อนไขต่างๆมาประกอบร่างรวมเป็น class ตั๋วหนึ่งๆ
ซึ่งสำหรับ class ตั๋วนี้ เวลาผู้โดยสารทราบเบื้องต้น ก็จะเห็นเป็นเพียงชื่อง่ายๆ ประมาณว่า saver standard flexi แนวนี้เป็นต้น ซึ่งจริงๆแล้ว ใน saver อาจแบ่งเพิ่มอีกว่าเป็น saver plus หรือ super saver ก็ได้ หรือ flex อาจแบ่งเป็น flex plus หรือ full flex อีกก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ถ้าเป็นชั้นประหยัดแล้ว สายการบินจะมีให้เลือกไม่เกิน 6 class เท่านั้นเอง ไม่ได้มีมากมายถึง 2,592 class ตามที่ผมคำนวณแน่นอนครับ
ยิ่งชั้นธุรกิจรวมกับชั้นหนึ่งแล้ว มีให้เลือก 3 class ส่วนใหญ่ก็เพียงพอต่อการขายแล้วครับ (อันนี้มองในมุมผู้โดยสารนะ แต่มุมของคนออกตั๋ว จะมีซอยย่อยมากมายกว่านี้แน่นอน)
แต่ไม่ว่าจะซื้อตั๋ว economy super saver ที่ถูกโคตรๆ หรือ economy full flex ที่แพงที่สุด สุดท้ายแล้วก็ได้น้ำหนักกระเป๋า อาหาร การบริการเช่นเดียวกัน นอกเสียจากคุณจะเป็นสมาชิกบัตรทองหรือ platinum ที่อาจจะได้น้ำหนักมากกว่านี้ การบริการดูแลที่ดีกว่านี้ ก็มิใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใดครับ
[CR] มารู้จักแนวทางการตั้งราคา และบทวิเคราะห์เรื่องราคาตั๋วเครื่องบินกัน
ไม่ต้องถามบนเครื่องแล้ว เพราะคำตอบคือ ไม่ได้เท่ากันทุกคนแน่นอน เพราะลักษณะการตั้งราคาตั๋วเครื่องบิน ไม่ใช่คงที่แบบรถไฟ รถทัวร์
แต่ตั้งราคาในลักษณะ demand-supply ช่วงไหนคนขึ้นเยอะ ก็ตั้งราคาแพงได้ ช่วงไหนคนโหรงเหรง ก็จัดโปรมาขายถูกหน่อย!!
อีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาตั๋วต่างกัน ก็คือ Fare Condition หรือเงื่อนไขของตั๋ว
วันนี้ผมเลยจะมานำเสนอเรื่องราคาตั๋วเครื่องบินให้เป็นความรู้กัน
facebook ผม หากถูกใจ กดไลค์ กดติดตามได้ครับ ^^ : https://www.facebook.com/MileageManiac/
ตั๋วเครื่องบินจะราคาถูกหรือแพง ไม่ได้ขึ้นกับ demand-supply อย่างเดียว แต่ขึ้นกับเงื่อนไขของตั๋วด้วย
ต่อไปนี้เป็น 6 เงื่อนไขตั๋วหลักๆ ที่ทำให้ตั๋วมีราคาถูก-แพงต่างกัน
1. อายุตั๋ว-หมายถึง ช่วงเวลาที่เราสามารถอยู่ในประเทศปลายทาง เช่น อายุตั๋วไปญี่ปุ่นคือ 14 วัน นั่นหมายถึงเราก็อยู่ในญี่ปุ่นได้แค่ 14 วันเท่านั้น ถ้าอยากอยู่นานกว่านี้ ก็อาจต้องซื้อตั๋ว class สูงขึ้น
อายุตั๋วยิ่งนาน ราคายิ่งแพง ซึ่งอายุตั๋วที่เห็นกันบ่อย เช่น 14วัน 21วัน 1เดือน 3เดือน 6เดือน 1ปี เป็นต้น
2. เงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงวันที่และ Flight บิน
ตั๋วราคาแพง จะเป็นตั๋วที่สามารถเปลี่ยนแปลงวันบินและ flight บินได้อย่างอิสระ โดยไม่มีค่าธรรมเนียม
ตั๋วที่ราคาถูกลงมาก็อาจจะเปลี่ยนได้โดยมีค่าธรรมเนียม หรือให้เปลี่ยนเฉพาะขากลับ
และตั๋วที่ถูกที่สุดก็จะไม่ให้เปลี่ยนอะไรเลย!!
3. ตั๋วสามารถคืนเงินได้ไหม
ตั๋วราคาแพง ก็จะคืนเงินได้ โดยอาจมีค่าธรรมเนียม/ไม่มีขึ้นกับเงื่อนไขตั๋ว
แน่นอนว่าตั๋วที่ราคาถูกกว่าก็ไม่สามารถคืนเงินได้ตามระเบียบ
4. ไมล์ที่ได้รับ
ตั๋วที่ราคาถูกมักได้ไมล์สะสมน้อยมากหรือไม่ได้เลย
ตัวอย่างเช่นบินจากสุวรรณภูมิ-โตเกียว ระยะทางขาละ 2,890 ไมล์ ได้ไมล์ 75% ฉะนั้น เราจะได้ไมล์ทั้งหมด 75%*2*2,890=4,335 ไมล์
%ไมล์ที่ได้รับ ที่เราจะเห็นบ่อยๆคือ 10% 25% 50% 75% 100% 110% 125% 150% 200% เป็นต้น
5.การเลือกที่นั่ง
บางสายการบินไม่อนุญาตให้ตั๋ว class ต่ำสุดเลือกที่นั่งได้ แต่บางสายก็ไม่ได้มีเงื่อนไขนี้ก็มีเช่นกัน
6. การ upgrade ตั๋ว
ตั๋ว Class ต่ำๆ ไม่สามารถใช้ไมล์หรือเพิ่มเงินในการ upgrade ที่นั่งได้ (คือ จาก economy ไม่สามารถเลื่อนชั้นเป็น premium eco หรือ business ได้)
บางสายการบินก็อาจมีเงื่อนไขตั๋วมากกว่าหรือน้อยกว่า 6 เงื่อนไขนี้ก็ได้ ขึ้นกับทางสายการบินเป็นผู้กำหนดนั่นเอง
ถ้าใครยังจำกฎการนับและความน่าจะเป็นที่เราเรียนตอนม.ปลายได้ ก็จะพบว่า เงื่อนไขตั๋วที่มี จะมากถึง 6x4x3x9x2x2=2,592 รูปแบบเลยทีเดียว
แต่สายการบินไม่ได้ขยันตั้งราคาถึงประมาณ 2 พันกว่าราคาหรอก เขาก็จะเลือกเงื่อนไขต่างๆมาประกอบร่างรวมเป็น class ตั๋วหนึ่งๆ
ซึ่งสำหรับ class ตั๋วนี้ เวลาผู้โดยสารทราบเบื้องต้น ก็จะเห็นเป็นเพียงชื่อง่ายๆ ประมาณว่า saver standard flexi แนวนี้เป็นต้น ซึ่งจริงๆแล้ว ใน saver อาจแบ่งเพิ่มอีกว่าเป็น saver plus หรือ super saver ก็ได้ หรือ flex อาจแบ่งเป็น flex plus หรือ full flex อีกก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ถ้าเป็นชั้นประหยัดแล้ว สายการบินจะมีให้เลือกไม่เกิน 6 class เท่านั้นเอง ไม่ได้มีมากมายถึง 2,592 class ตามที่ผมคำนวณแน่นอนครับ
ยิ่งชั้นธุรกิจรวมกับชั้นหนึ่งแล้ว มีให้เลือก 3 class ส่วนใหญ่ก็เพียงพอต่อการขายแล้วครับ (อันนี้มองในมุมผู้โดยสารนะ แต่มุมของคนออกตั๋ว จะมีซอยย่อยมากมายกว่านี้แน่นอน)
แต่ไม่ว่าจะซื้อตั๋ว economy super saver ที่ถูกโคตรๆ หรือ economy full flex ที่แพงที่สุด สุดท้ายแล้วก็ได้น้ำหนักกระเป๋า อาหาร การบริการเช่นเดียวกัน นอกเสียจากคุณจะเป็นสมาชิกบัตรทองหรือ platinum ที่อาจจะได้น้ำหนักมากกว่านี้ การบริการดูแลที่ดีกว่านี้ ก็มิใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใดครับ