ดีไซน์ไร้ขอบเป็นเทรนด์ใหม่ของวงการสมาร์ทโฟนที่กำลังมาแรง แนวคิดดีไซน์ไร้ขอบเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่นั้นไม่มีใครทราบ บ้างก็ว่ามันเริ่มมาตั้งแต่ปี 2007 เมื่อ Steve Jobs เปิดตัว iPhone รุ่นแรกที่เข้ามาปฏิวัติวงการด้วยหน้าจอทัชสกรีน และทำให้เราเห็นความสำคัญของหน้าจอแสดงผลมากขึ้น บ้างก็ว่ามันเกิดขึ้นก่อนหน้านั้นอีก โดยมีต้นกำเนิดมาจากนิยายและภาพยนต์แนวไซไฟที่มักจะจินตนาการมือถือในอนาคตในรูปแบบของแผ่นกระจกใสๆ ไร้กรอบบางเฉียบ แต่ไม่ว่าจะเริ่มต้นจากตรงไหน ขอบจอซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเขตแดนระหว่างหน้าจอกับตัวเครื่องก็ค่อยๆ เลือนหายไป จนมาถึงปัจจุบันที่สมาร์ทโฟนเรือธงต่างก็พยายามจะเข้าใกล้ความไร้ขอบให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ว่าจะเป็น iPhone X, Samsung Galaxy S8, Xiaomi Mi Mix และอีกหลายต่อหลายรุ่นที่จะทยอยกันเปิดตัวตามออกมา
เราอาจจะมองว่านี่เป็นเพียงกระแสที่ผ่านมาแล้วก็จะผ่านไป แต่หากมองให้ลึกลงไป มันไม่ใช่แค่แฟชัน แต่มันคือ "ความท้าทาย"
สัญลักษณ์แห่งการก้าวข้ามขีดจำกัด
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาสมาร์ทโฟนพัฒนาไปไกลมาก เรามี CPU ที่แรงขึ้น เร็วขึ้น หน่วยความจำเยอะขึ้น กล้องหน้ากล้องหลังที่คมชัดขึ้น และฟีเจอร์อื่นๆ มากมาย แต่ดีไซน์ภายนอกกลับไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงไปเท่าไหร่ แม้ตัวเครื่องจะใหญ่ขึ้น ขอบมุมโค้งมนยิ่งขึ้น วัสดุดีขึ้น แต่สุดท้ายแล้วมันก็ยังหนีไม่พ้นแท่งสีเหลี่ยมผืนผ้าแบนๆ อยู่ดี ในเมื่อไม่ค่อยเหลืออะไรให้เปลี่ยน ขอบจอจึงเป็นเป้าหมายต่อไปและเป็นความท้าทายครั้งใหม่ของเหล่านักออกแบบและวิศวกร
หลายๆ แบรนด์ได้พยายามค้นคว้าดีไซน์ไร้ขอบ 100% มานานแล้ว หนึ่งในนั้นคือ Apple
“ความตั้งใจของเราคือการสร้าง iPhone ที่มีหน้าจอแสดงผลเต็มๆ มานานมากกว่า 10 ปีแล้ว ให้เป็นวัตถุจับต้องได้ที่จะอันตรธานหายไปสู่ประสบการณ์การใช้งาน” Jony Ive กล่าวผ่านคลิปวิดีโอในงานเปิดตัว iPhone 8 และ iPhone X ช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา
ในอดีต การกำจัดขอบจอออกไปโดยสมบูรณ์นั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก อาจพูดได้ว่าเป็นไปไม่ได้เลย เพราะเซ็นเซอร์ต่างๆ และกล้องหน้าจำเป็นต้องมีที่อยู่ของมัน ซึ่งก็ไม่มีที่ไหนจะเหมาะไปกว่าขอบบนและขอบล่างอีกแล้ว แต่เมื่อเวลาผ่านไป ชิ้นส่วนต่างๆ ได้รับการพัฒนาให้มีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ ทำให้กินพื้นที่ในการติดตั้งน้อยลง และเปิดทางให้นักออกแบบและวิศวกรได้ขยายพื้นที่จอแสดงผลออกไปอีกได้
อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จนี้มีราคาที่ต้องจ่าย iPhone X ที่เพิ่งเปิดตัวเลือกที่จะทิ้งปุ่มโฮมและรวมเซ็นเซอร์สารพัดเอาไว้ที่แถบเล็กๆ บนจอจนดูน่ารำคาญสำหรับใครหลายๆ คน Samsung Galaxy S8 ย้ายเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือไปอยู่ด้านหลังซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่ต่างบอกตรงกันว่าใช้งานยาก หรือ Xiaomi Mi Mix ก็เลือกที่จะสละลำโพงออกไป จนมีฟีดแบ็คไม่ดีเกี่ยวกับคุณภาพเสียงออกมา
ถ้าถามว่ามันคุ้มกันหรือไม่ หากมองจากมุมของนักออกแบบ มันคือการแลกที่คุ้มค่าแน่นอน เพราะพวกเขาเชื่อว่าหน้าจอแสดงผลคือส่วนสำคัญที่สุดที่จะดึงดูดผู้ใช้ได้อย่างชะงัด นอกจากเหตุผลเรื่องความสวยงามแล้ว ขอบจอที่บางลงยังทำให้ผู้ใช้อยู่กับหน้าจอนานขึ้นเพราะเสพคอนเทนต์ความบันเทิงต่างๆ ได้เพลินกว่าอีกด้วย
แต่สุดท้ายไม่ว่าอย่างไร สมาร์ทโฟนก็ยังมีข้อจำกัดที่ข้ามไปไม่ได้อยู่ นั่นคือขนาดตัวเครื่องที่จะต้องไม่เกินมือและกระเป๋ากางเกง ถ้าจะขยายหน้าจอโดยไม่เพิ่มขนาดตัวเครื่อง ก็ต้องเอาขอบจอออกไปเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เอง ดีไซน์ไร้ขอบจึงถือเป็นการพัฒนาก้าวสำคัญก้าวหนึ่งของวงการออกแบบสมาร์ทโฟนที่เริ่มจะหาทางไปไม่ได้แล้ว
ปลายทางของดีไซน์ไร้ขอบ จะพาเราไปสู่นวัตกรรมแบบไหน?
ยังไม่มีใครรู้ว่าสมาร์ทโฟนในอนาคตจะฉีกกรอบออกไปได้มากแค่ไหน แต่ส่วนตัวเชื่อว่าสมาร์ทโฟนจะยังคงมีขอบจอเช่นเดิมในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพราะไม่ว่าอย่างไรก็ต้องมีจุดที่หน้าจอกับบอดี้มาบรรจบกันอยู่ดี หากจะกำจัดขอบจอให้หมดจดอาจต้องละทิ้งบอดี้ทั้งหมด แล้วเก็บอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ในมือถือที่เป็นกระจกทั้งหมดแทน ซึ่งจะทำให้มือถือเป็นจอไร้ขอบแบบ 360 องศาไปโดยปริยาย อาจจะฟังดูเหลือเชื่อ แต่คอนเซ็ปต์มือถือจอ 360 องศาไม่ใช่ของใหม่ และบางแบรนด์ก็เริ่มจดสิทธิบัตรและค้นคว้าวิจัยแล้วด้วย
ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ก็จะมีขอบจอเล็กลงทีะน้อยๆ แม้ว่ามันอาจจะไม่มีประโยชน์อะไรกับการใช้งานมากนัก แต่มันคือสัญลักษณ์ที่สะท้อนให้เห็นความก้าวล้ำทางวิศวกรรม และชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของเหล่าดีไซเนอร์นั่นเอง...สวัสดี
ทำไมต้องไร้ขอบ? : เทรนด์ใหม่ของวงการมือถือ ความสวยงาม หรือความท้าทายทางนวัตกรรม ?
ดีไซน์ไร้ขอบเป็นเทรนด์ใหม่ของวงการสมาร์ทโฟนที่กำลังมาแรง แนวคิดดีไซน์ไร้ขอบเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่นั้นไม่มีใครทราบ บ้างก็ว่ามันเริ่มมาตั้งแต่ปี 2007 เมื่อ Steve Jobs เปิดตัว iPhone รุ่นแรกที่เข้ามาปฏิวัติวงการด้วยหน้าจอทัชสกรีน และทำให้เราเห็นความสำคัญของหน้าจอแสดงผลมากขึ้น บ้างก็ว่ามันเกิดขึ้นก่อนหน้านั้นอีก โดยมีต้นกำเนิดมาจากนิยายและภาพยนต์แนวไซไฟที่มักจะจินตนาการมือถือในอนาคตในรูปแบบของแผ่นกระจกใสๆ ไร้กรอบบางเฉียบ แต่ไม่ว่าจะเริ่มต้นจากตรงไหน ขอบจอซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเขตแดนระหว่างหน้าจอกับตัวเครื่องก็ค่อยๆ เลือนหายไป จนมาถึงปัจจุบันที่สมาร์ทโฟนเรือธงต่างก็พยายามจะเข้าใกล้ความไร้ขอบให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ว่าจะเป็น iPhone X, Samsung Galaxy S8, Xiaomi Mi Mix และอีกหลายต่อหลายรุ่นที่จะทยอยกันเปิดตัวตามออกมา
เราอาจจะมองว่านี่เป็นเพียงกระแสที่ผ่านมาแล้วก็จะผ่านไป แต่หากมองให้ลึกลงไป มันไม่ใช่แค่แฟชัน แต่มันคือ "ความท้าทาย"
สัญลักษณ์แห่งการก้าวข้ามขีดจำกัด
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาสมาร์ทโฟนพัฒนาไปไกลมาก เรามี CPU ที่แรงขึ้น เร็วขึ้น หน่วยความจำเยอะขึ้น กล้องหน้ากล้องหลังที่คมชัดขึ้น และฟีเจอร์อื่นๆ มากมาย แต่ดีไซน์ภายนอกกลับไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงไปเท่าไหร่ แม้ตัวเครื่องจะใหญ่ขึ้น ขอบมุมโค้งมนยิ่งขึ้น วัสดุดีขึ้น แต่สุดท้ายแล้วมันก็ยังหนีไม่พ้นแท่งสีเหลี่ยมผืนผ้าแบนๆ อยู่ดี ในเมื่อไม่ค่อยเหลืออะไรให้เปลี่ยน ขอบจอจึงเป็นเป้าหมายต่อไปและเป็นความท้าทายครั้งใหม่ของเหล่านักออกแบบและวิศวกร
หลายๆ แบรนด์ได้พยายามค้นคว้าดีไซน์ไร้ขอบ 100% มานานแล้ว หนึ่งในนั้นคือ Apple
“ความตั้งใจของเราคือการสร้าง iPhone ที่มีหน้าจอแสดงผลเต็มๆ มานานมากกว่า 10 ปีแล้ว ให้เป็นวัตถุจับต้องได้ที่จะอันตรธานหายไปสู่ประสบการณ์การใช้งาน” Jony Ive กล่าวผ่านคลิปวิดีโอในงานเปิดตัว iPhone 8 และ iPhone X ช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา
ในอดีต การกำจัดขอบจอออกไปโดยสมบูรณ์นั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก อาจพูดได้ว่าเป็นไปไม่ได้เลย เพราะเซ็นเซอร์ต่างๆ และกล้องหน้าจำเป็นต้องมีที่อยู่ของมัน ซึ่งก็ไม่มีที่ไหนจะเหมาะไปกว่าขอบบนและขอบล่างอีกแล้ว แต่เมื่อเวลาผ่านไป ชิ้นส่วนต่างๆ ได้รับการพัฒนาให้มีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ ทำให้กินพื้นที่ในการติดตั้งน้อยลง และเปิดทางให้นักออกแบบและวิศวกรได้ขยายพื้นที่จอแสดงผลออกไปอีกได้
อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จนี้มีราคาที่ต้องจ่าย iPhone X ที่เพิ่งเปิดตัวเลือกที่จะทิ้งปุ่มโฮมและรวมเซ็นเซอร์สารพัดเอาไว้ที่แถบเล็กๆ บนจอจนดูน่ารำคาญสำหรับใครหลายๆ คน Samsung Galaxy S8 ย้ายเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือไปอยู่ด้านหลังซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่ต่างบอกตรงกันว่าใช้งานยาก หรือ Xiaomi Mi Mix ก็เลือกที่จะสละลำโพงออกไป จนมีฟีดแบ็คไม่ดีเกี่ยวกับคุณภาพเสียงออกมา
ถ้าถามว่ามันคุ้มกันหรือไม่ หากมองจากมุมของนักออกแบบ มันคือการแลกที่คุ้มค่าแน่นอน เพราะพวกเขาเชื่อว่าหน้าจอแสดงผลคือส่วนสำคัญที่สุดที่จะดึงดูดผู้ใช้ได้อย่างชะงัด นอกจากเหตุผลเรื่องความสวยงามแล้ว ขอบจอที่บางลงยังทำให้ผู้ใช้อยู่กับหน้าจอนานขึ้นเพราะเสพคอนเทนต์ความบันเทิงต่างๆ ได้เพลินกว่าอีกด้วย
แต่สุดท้ายไม่ว่าอย่างไร สมาร์ทโฟนก็ยังมีข้อจำกัดที่ข้ามไปไม่ได้อยู่ นั่นคือขนาดตัวเครื่องที่จะต้องไม่เกินมือและกระเป๋ากางเกง ถ้าจะขยายหน้าจอโดยไม่เพิ่มขนาดตัวเครื่อง ก็ต้องเอาขอบจอออกไปเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เอง ดีไซน์ไร้ขอบจึงถือเป็นการพัฒนาก้าวสำคัญก้าวหนึ่งของวงการออกแบบสมาร์ทโฟนที่เริ่มจะหาทางไปไม่ได้แล้ว
ปลายทางของดีไซน์ไร้ขอบ จะพาเราไปสู่นวัตกรรมแบบไหน?
ยังไม่มีใครรู้ว่าสมาร์ทโฟนในอนาคตจะฉีกกรอบออกไปได้มากแค่ไหน แต่ส่วนตัวเชื่อว่าสมาร์ทโฟนจะยังคงมีขอบจอเช่นเดิมในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพราะไม่ว่าอย่างไรก็ต้องมีจุดที่หน้าจอกับบอดี้มาบรรจบกันอยู่ดี หากจะกำจัดขอบจอให้หมดจดอาจต้องละทิ้งบอดี้ทั้งหมด แล้วเก็บอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ในมือถือที่เป็นกระจกทั้งหมดแทน ซึ่งจะทำให้มือถือเป็นจอไร้ขอบแบบ 360 องศาไปโดยปริยาย อาจจะฟังดูเหลือเชื่อ แต่คอนเซ็ปต์มือถือจอ 360 องศาไม่ใช่ของใหม่ และบางแบรนด์ก็เริ่มจดสิทธิบัตรและค้นคว้าวิจัยแล้วด้วย
ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ก็จะมีขอบจอเล็กลงทีะน้อยๆ แม้ว่ามันอาจจะไม่มีประโยชน์อะไรกับการใช้งานมากนัก แต่มันคือสัญลักษณ์ที่สะท้อนให้เห็นความก้าวล้ำทางวิศวกรรม และชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของเหล่าดีไซเนอร์นั่นเอง...สวัสดี