"ที่จริงงานของประชาชน ของภาครัฐนั้นรพ.เอกชนยินดีให้ความร่วมมืออยู่แล้ว แต่ไม่ใช่ให้ควักเงินในกระเป๋าไปบริจาค อย่างน้อยก็ให้ได้เท่าต้นทุน "
ซึ่งต้นทุนหลักๆ กว่าร้อยละ 60 คือค่าแรงของแพทย์ พยาบาล เป็นต้น แล้วยังมีค่ายา ค่าเครื่องมือแพทย์ด้วย ยกตัวอย่างโครงการเจ็บป่วยฉุกเฉินรักษาทุกที่ดีทุกสิทธิ (Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP) จ่ายร้อยละ 23-35 ของค่ารักษาที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งต่ำกว่าต้นทุนชัดเจน "
นายกสมาคมรพ.เอกชน แจง รพ.เอกชน ทยอยออกจากประกันสังคม-บัตรทอง เหตุเงินน้อย ต่ำกว่าต้นทุน
https://www.dailynews.co.th/politics/599519
พุธที่ 20 กันยายน 2560 เวลา 15.50 น.
จากกรณีที่ที่ผ่านมามีรพ.เอกชนหลายแห่งทยอยออกจากระบบประกันสังคม ซึ่งนพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานกองทุนประกันสังคม (สปส.) ได้มีการชี้แจงว่าในแต่ละปีมีรพ.ทยอยเข้า-ออก จากการเป็นสถานบริการสำหรับผู้ประกันตนมาตลอด เป็นเรื่องปกติ และจำนวนรพ.ก็ปกติ ไม่กระทบกับผู้ประกันตน ส่วนกรณีการรักษาผู้ป่วยระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในการดูแลของรพ.รัฐ ทั่วประเทศอยู่แล้ว แต่จะมีผู้ป่วยบางส่วนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่อยู่ในการดูแลของรพ.เอกชน และเมื่อประมาณเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา รพ.มเหสักข์ ก็ได้ออกจากระบบการเป็นสถานพยาบาลดูแลผู้ป่วยบัตรทอง ขณะที่ รพ.แพทย์ปัญญา ,รพ.บางนา 1 ,รพ.กล้วยน้ำไท และรพ.วิภารามปากเกร็ด ไม่ขอเป็นหน่วยบริการรับส่งต่อผู้ป่วยบัตรทอง ซึ่งผู้บริหาร สปสช.ก็ได้ออกมาชี้แจงว่ารพ.มเหสักข์มีการปรับปรุงรพ.ใหม่ ส่วนรพ.อื่นยอมรับว่าสาเหตุหนึ่งมาจากปัญหาเงินน้อย
ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 ก.ย. นพ.พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช นายกสมาคม รพ.เอกชน กล่าวถึงความร่วมมือของรพ.เอกชนในการดูแลผู้ป่วยในระบบประกันสังคม และระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ว่า ที่ผ่านมาทางรพ.เอกชนให้ความร่วมมือในการดูแลผู้ป่วยของ 2 ระบบนี้มาตลอด แต่ระบบที่ไม่ดูแลเขาอย่างเสมอภาค ให้เงินน้อยต่ำกว่าต้นทุนก็อยู่ได้ไม่นาน บังคับให้มีมาตรฐานสูงกว่ารพ.รัฐก็อยู่ได้ไม่นาน เมื่อไหร่ที่ทำให้ผิดธรรมชาติก็อยู่ไม่ได้ อย่างผู้ป่วยไปรพ.ภาครัฐนอกเวลานั้นสามารถเก็บเงินเพิ่มได้ แต่ไม่ให้เอกชนเก็บแบบนี้ก็เป็นไปได้อย่างไร ที่ผ่านมา ให้ต่ำกว่าต้นทุน ซึ่งบางอย่างรพ.ก็ยังทนอยู่เพราะเป็นอาชีพของเขา อาจจะไปแก้ปัญหาโดยการลดต้นทุนบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องตรงไปตรงมา แต่เมื่อไหร่ที่กระทบต้นทุนมากๆ ก็อยู่ไม่ได้ เพราะไม่สามารถเอารายได้จากคนไข้เงินสดมาจ่ายให้กับคนไข้กองทุนได้
นพ.พงษ์พัฒน์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ที่ผ่านมามีการสะท้อนปัญหาให้กับผู้บริหารกองทุนบ่อยเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม วันนี้ (20 ก.ย.) จะมีการหารือกันของคณะกรรมาธิการสาธารณสุข (กมธ.) ซึ่งจะมีวาระเรื่องนี้เหมือนกัน ที่จริงงานของประชาชน ของภาครัฐนั้นรพ.เอกชนยินดีให้ความร่วมมืออยู่แล้ว แต่ไม่ใช่ให้ควักเงินในกระเป๋าไปบริจาค อย่างน้อยก็ให้ได้เท่าต้นทุน ซึ่งต้นทุนหลักๆ กว่าร้อยละ 60 คือค่าแรงของแพทย์ พยาบาล เป็นต้น แล้วยังมีค่ายา ค่าเครื่องมือแพทย์ด้วยยกตัวอย่างโครงการเจ็บป่วยฉุกเฉินรักษาทุกที่ดีทุกสิทธิ (Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP) จ่ายร้อยละ 23-35 ของค่ารักษาที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งต่ำกว่าต้นทุนชัดเจน
เมื่อถามว่าขณะนี้ มีสัญญาณว่ารพ.เอกชนจะออกจากประกันสังคมมากน้อยแค่ไหน นพ.พงษ์พัฒน์ กล่าวว่า หากไม่มีการแก้อะไรก็น่าห่วง อย่างตอนนี้ประกันสังคมมีการแก้ไขปัญหาด้วยการเพิ่มเงิน แต่ก็ไปหักค่าการรักษาคุณภาพรพ.ออก 40-80 บาท ต่อ 1 ประชากรผู้ประกันตน แสดงว่าต่อไปการรักษาของรพ.เอกชนไม่ต้องมีคุณภาพก็ได้ ความหมายคืออย่างนั้นหรือไม่ ถ้ารพ.ไหนมีผู้ประกันตน 1 แสนคน ก็ถูกหักออกไป 4-8 ล้านบาท ส่วนรพ.ต้นทุนหายไป ต้องทำอย่างไร ก็ต้องลดคุณภาพหรือไม่ ตรงไปตรงมา คือตอนนี้รพ.ก็ต้องปรับตัว.
................................
รพ.เอกชน โวย"ขาดทุน" จากนโยบายรัฐ "รักษาฉุกเฉิน" : นันท์ชนก วงษ์สมุทร์ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=28-06-2017&group=15&gblog=79
โรงพยาบาลเอกชน"แพง" .. ข้อมูลที่ยังไม่รู้ หรือว่า แกล้งไม่รู้ ? ( ฟังความอีกข้าง ^_^ )
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=08-06-2015&group=7&gblog=190
infographic 9ข้อควรรู้เรื่องเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิทุกที่
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-06-2017&group=7&gblog=216
เจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียวนโยบายดี แต่การปฏิบัติล้มเหลว ? ...
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=14-10-2014&group=7&gblog=185
เจ็บป่วยฉุกเฉินเมื่อนโยบายยังไม่ชัด ต้องคิดก่อนเข้า : นพ.ธีระ วรธนารัตน์
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=21-02-2017&group=7&gblog=212
แจง รพ.เอกชน ทยอยออกจากประกันสังคม-บัตรทอง เหตุเงินน้อย ต่ำกว่าต้นทุน โครงการเจ็บป่วยฉุกเฉินรักษาทุกที่ จ่ายร้อยละ25-35
"ที่จริงงานของประชาชน ของภาครัฐนั้นรพ.เอกชนยินดีให้ความร่วมมืออยู่แล้ว แต่ไม่ใช่ให้ควักเงินในกระเป๋าไปบริจาค อย่างน้อยก็ให้ได้เท่าต้นทุน "
ซึ่งต้นทุนหลักๆ กว่าร้อยละ 60 คือค่าแรงของแพทย์ พยาบาล เป็นต้น แล้วยังมีค่ายา ค่าเครื่องมือแพทย์ด้วย ยกตัวอย่างโครงการเจ็บป่วยฉุกเฉินรักษาทุกที่ดีทุกสิทธิ (Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP) จ่ายร้อยละ 23-35 ของค่ารักษาที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งต่ำกว่าต้นทุนชัดเจน "
นายกสมาคมรพ.เอกชน แจง รพ.เอกชน ทยอยออกจากประกันสังคม-บัตรทอง เหตุเงินน้อย ต่ำกว่าต้นทุน
https://www.dailynews.co.th/politics/599519
พุธที่ 20 กันยายน 2560 เวลา 15.50 น.
จากกรณีที่ที่ผ่านมามีรพ.เอกชนหลายแห่งทยอยออกจากระบบประกันสังคม ซึ่งนพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานกองทุนประกันสังคม (สปส.) ได้มีการชี้แจงว่าในแต่ละปีมีรพ.ทยอยเข้า-ออก จากการเป็นสถานบริการสำหรับผู้ประกันตนมาตลอด เป็นเรื่องปกติ และจำนวนรพ.ก็ปกติ ไม่กระทบกับผู้ประกันตน ส่วนกรณีการรักษาผู้ป่วยระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในการดูแลของรพ.รัฐ ทั่วประเทศอยู่แล้ว แต่จะมีผู้ป่วยบางส่วนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่อยู่ในการดูแลของรพ.เอกชน และเมื่อประมาณเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา รพ.มเหสักข์ ก็ได้ออกจากระบบการเป็นสถานพยาบาลดูแลผู้ป่วยบัตรทอง ขณะที่ รพ.แพทย์ปัญญา ,รพ.บางนา 1 ,รพ.กล้วยน้ำไท และรพ.วิภารามปากเกร็ด ไม่ขอเป็นหน่วยบริการรับส่งต่อผู้ป่วยบัตรทอง ซึ่งผู้บริหาร สปสช.ก็ได้ออกมาชี้แจงว่ารพ.มเหสักข์มีการปรับปรุงรพ.ใหม่ ส่วนรพ.อื่นยอมรับว่าสาเหตุหนึ่งมาจากปัญหาเงินน้อย
ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 ก.ย. นพ.พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช นายกสมาคม รพ.เอกชน กล่าวถึงความร่วมมือของรพ.เอกชนในการดูแลผู้ป่วยในระบบประกันสังคม และระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ว่า ที่ผ่านมาทางรพ.เอกชนให้ความร่วมมือในการดูแลผู้ป่วยของ 2 ระบบนี้มาตลอด แต่ระบบที่ไม่ดูแลเขาอย่างเสมอภาค ให้เงินน้อยต่ำกว่าต้นทุนก็อยู่ได้ไม่นาน บังคับให้มีมาตรฐานสูงกว่ารพ.รัฐก็อยู่ได้ไม่นาน เมื่อไหร่ที่ทำให้ผิดธรรมชาติก็อยู่ไม่ได้ อย่างผู้ป่วยไปรพ.ภาครัฐนอกเวลานั้นสามารถเก็บเงินเพิ่มได้ แต่ไม่ให้เอกชนเก็บแบบนี้ก็เป็นไปได้อย่างไร ที่ผ่านมา ให้ต่ำกว่าต้นทุน ซึ่งบางอย่างรพ.ก็ยังทนอยู่เพราะเป็นอาชีพของเขา อาจจะไปแก้ปัญหาโดยการลดต้นทุนบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องตรงไปตรงมา แต่เมื่อไหร่ที่กระทบต้นทุนมากๆ ก็อยู่ไม่ได้ เพราะไม่สามารถเอารายได้จากคนไข้เงินสดมาจ่ายให้กับคนไข้กองทุนได้
นพ.พงษ์พัฒน์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ที่ผ่านมามีการสะท้อนปัญหาให้กับผู้บริหารกองทุนบ่อยเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม วันนี้ (20 ก.ย.) จะมีการหารือกันของคณะกรรมาธิการสาธารณสุข (กมธ.) ซึ่งจะมีวาระเรื่องนี้เหมือนกัน ที่จริงงานของประชาชน ของภาครัฐนั้นรพ.เอกชนยินดีให้ความร่วมมืออยู่แล้ว แต่ไม่ใช่ให้ควักเงินในกระเป๋าไปบริจาค อย่างน้อยก็ให้ได้เท่าต้นทุน ซึ่งต้นทุนหลักๆ กว่าร้อยละ 60 คือค่าแรงของแพทย์ พยาบาล เป็นต้น แล้วยังมีค่ายา ค่าเครื่องมือแพทย์ด้วยยกตัวอย่างโครงการเจ็บป่วยฉุกเฉินรักษาทุกที่ดีทุกสิทธิ (Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP) จ่ายร้อยละ 23-35 ของค่ารักษาที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งต่ำกว่าต้นทุนชัดเจน
เมื่อถามว่าขณะนี้ มีสัญญาณว่ารพ.เอกชนจะออกจากประกันสังคมมากน้อยแค่ไหน นพ.พงษ์พัฒน์ กล่าวว่า หากไม่มีการแก้อะไรก็น่าห่วง อย่างตอนนี้ประกันสังคมมีการแก้ไขปัญหาด้วยการเพิ่มเงิน แต่ก็ไปหักค่าการรักษาคุณภาพรพ.ออก 40-80 บาท ต่อ 1 ประชากรผู้ประกันตน แสดงว่าต่อไปการรักษาของรพ.เอกชนไม่ต้องมีคุณภาพก็ได้ ความหมายคืออย่างนั้นหรือไม่ ถ้ารพ.ไหนมีผู้ประกันตน 1 แสนคน ก็ถูกหักออกไป 4-8 ล้านบาท ส่วนรพ.ต้นทุนหายไป ต้องทำอย่างไร ก็ต้องลดคุณภาพหรือไม่ ตรงไปตรงมา คือตอนนี้รพ.ก็ต้องปรับตัว.
................................
รพ.เอกชน โวย"ขาดทุน" จากนโยบายรัฐ "รักษาฉุกเฉิน" : นันท์ชนก วงษ์สมุทร์ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=28-06-2017&group=15&gblog=79
โรงพยาบาลเอกชน"แพง" .. ข้อมูลที่ยังไม่รู้ หรือว่า แกล้งไม่รู้ ? ( ฟังความอีกข้าง ^_^ ) https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=08-06-2015&group=7&gblog=190
infographic 9ข้อควรรู้เรื่องเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิทุกที่ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-06-2017&group=7&gblog=216
เจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียวนโยบายดี แต่การปฏิบัติล้มเหลว ? ... https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=14-10-2014&group=7&gblog=185
เจ็บป่วยฉุกเฉินเมื่อนโยบายยังไม่ชัด ต้องคิดก่อนเข้า : นพ.ธีระ วรธนารัตน์ https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=21-02-2017&group=7&gblog=212