จากธนบุรีศรีมหาสมุทร ถึง กรุงเทพมหานคร

จากธนบุรีศรีมหาสมุทร ถึง กรุงเทพมหานคร

๑ จดหมายเหตุการอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์(กรมศิลปากร ๒๕๒๕ หน้า ๑๔
เมืองธนบุรี หรือที่ชาวต่างระเทศที่เข้ามาติดต่อในสมัยกรุงศรีอยุธยานิยมเรียกชื่อเดิมว่า บางกอก ที่ปรากฎในแผนที่ บันทึก จดหมายเหตุ ตลอดจนจดหมายโต้ตอบระหว่างกัน ในฐานะที่เป็นเมืองหน้าด่านสำคัญอยู่ระหว่างปากน้ำเจ้าพระยากับกรุงศรีอยุธยาและผ่านอีกในตอนขากลับ

๒ ต่อมาได้ตั้งเป็นเมือง เพื่อกำกับเส้นทางการค้าสำคัญ สกัดกั้นเรือสินค้าที่ผ่านไปมาทั้งขาเข้าขาออก เป็นด่านขนอน มีชื่อเรียกในกฎหมายเก่ากรุงศรีอยุธยาว่า นายขนอนธนบุรี

๓ สมเด็จพระไชยราชาธิราช เมื่อ พ.ศ. ๒๐๖๕ ให้ขุดคลองบางกอกใหญ่
สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ขุดคลองบางกรวย

คลองบางกอกใหญ่ หรือ คลองบางหลวง

คลองนี้ดูตามแผนที่จะเห็นว่าอยู่ระหว่างป้อมวิชัยประสิทธิ์หัวมุมพระราชวังเดิมกับวัดกัลยาณมิตร ลำแม่น้ำจะอ้อมเข้าทางบางกอกใหญ่ เลี้ยวอ้อมไบางระมาด

บริเวณพื้นที่วัดกัลยามิตรนั้นแต่เดิมที่ก็เป็นตัวแม่น้ำยังไม่เป็นพื้นดินเหมือนอย่างทุกวันนี้ ถ้าไปด้วยเรือก็ต้องแจวกันตั้งแต่เช้าจนถึงเย็นทีเดียว แต่ถ้าเดินทางบกลัดตรงตำบลบางกอกก็กินเวลา หนึ่ง ชั่วโมง

๔ พ.ศ. ๒๑๐๐ สมเด็จพระมาหาจักรพรรดิยกฐานะด่านขนอนนี้เป็นเมืองฑนบุรีศรีมหาสมุทร หรือเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร

๕ สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ดังที่ นิโกลาส์ แซร์แวส์ บาทหลวงชาวฝรั่งเศสได้กล่าวถึงบางกอกไว้ว่า

เป็นสถานที่อันมีความสำคัญที่สุดแห่งราชอาณาจักรสยามอย่างปราศจากข้อสงสัย เพราะว่าในบรรดาเมืองท่าด้วยกันแล้วก็เป็นแห่งเดียวเท่านั้นที่พอจะป้องกันข้าศึกได้

๖ ตอนลายรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงโปรดเกล้าให้กองทหารจากราชสำนักฝรั่งเศสทำการสร้างป้อมค่ายขึ้นสิงฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เรียกชื่อ ว่าป้อมบางกอก หรือ ป้อมวิไชเยนทร์ ตามชื่อของคอนสแตนติน ฟอลคอน หรือ เจ้าพระยาวิไชเยนทร์ ต่อมาได้ทำสายโซ่ใหญ่ขึงขวางแม่น้ำไว้ทั้งสองฝาก เพื่อ้องกันเรื่อรบของข้าศึกที่จะมาทางทะเลต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ป้อมวิไชประสิทธิ์ และให้ขุดที่สวนเดิมเป็นท้องนานอกเมืองทั้งสองฝั่งให้เรียกว่า ทะเลตม ไว้สำหรับจะได้ทำนาใกล้พระนคร

๗ มีการจัดการกองทหารของฝรั่งเศสประจำการอยู่ป้อมนี้ดังปรากฎเรื่องราว การต่อสู้ของทหารฝรั่งเศและชาสยามกับพวกกบฎมักกะสันในเวลาต่อมา

๘ หนังสือศิลปกรรมในบางกอกระบุว่า

ในย่านเมืองธนบุรีนี้มีวัดที่มีอายุเก่าแก่ถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่มากมาย และบางแห่งอาจจะมีอายุเก่าแก่ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาเสียอีก

๙ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงสถาปนาเมืองธนบุรีขึ้นเ็นราชธานี

๑๐ พ.ศ. ๒๔๕๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีการประกาศให้ยกขึ้นเป็นจังหวัดธนบุรี แต่ยังคงรวมการบริหารอยู่กับจังหวัดพระนคร โดยขึ้นอยู่กับ กรมพระนครเรียกว่านครบาลจังหวัดพระนครและธนบุรี

๑๑ พ.ศ. ๒๔๕๕ มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกการบริหารส่วนภูมิภาคจังหวัดธนบุรีออกจากจังหวัดพระนคร แต่ถึงจะเป็นจังหวัดปล้วก็ยังคงอาศัยศาลากลางจังหวัดพระนครเ็นที่ทำการไปพลางก่อนจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๘ จึงมีที่ทำการของตัวเองแต่ที่ทำการก็ยังตั้งอยู่ฝั่งพระนคร

๑๒ พ.ศ. ๒๔๙๙ จอมพล.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี มีนโยบายให้สร้างศาลากลางจังหวัดธนบุรี ซึ่งแล้วเสร็จในปีต่อมา

๑๓ พ.ศ. ๒๕๑๔ มีการรวมจังหวัดธนบุรีเข้ากับกรุงเทพโดยมีชื่อเรียกเป็นทางการว่า นครหลวงกรุงเทพธนบุรี

๑๔ ภายในเวลาเพียงปีเดียว ก็มีประกาศของคณะปฏิวัติให้เรียกชื่อนครหลวงของราชอาณาจักรไทยว่า กรุงเทพมหานคร

ขอบคุณข้อมูล

๑ ธนบุรีมีอดีต ป.บุนนาค
๒ เล่าเรื่องบางกอก ส.พลายน้อย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่