..........บุคคลสำคัญ โลกจดจำไม่ลืม

.......สตีฟ จ็อบส์
ความน่ายกย่องของสตีฟ จ็อบส์ คงหนีไม่พ้นความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง
กล้าที่จะเสนอแนวคิดชนิดพลิกโลกทั้งใบได้ด้วยสมองของเขา
และเชื่อกันว่าในวันนั้นถ้าจ็อบส์ไม่หวนกลับมากุมบังเหียนในตำแหน่งซีอีโอของแอปเปิล
เราคงจะไม่มีวันได้เห็นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สร้างความประทับใจแก่คนทั่วโลก
และนี่คือสุดยอดนวัตกรรมที่สตีฟ จ็อบส์ ใช้เวลาทั้งชีวิตรังสรรค์ออกมา

1.Apple I (1976)
  
    
       สตีฟ จ็อบส์ ในวัย 21 ปี ได้ก่อตั้งบริษัท แอปเปิล คอมพิวเตอร์ ร่วมกับสตีฟ วอซเนียก
หากนั่งไทม์ แมชชีนย้อนไปในวันที่ 1 เมษายน 1976
คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของบริษัทแอปเปิลได้ถือกำเนิดขึ้นจากโรงจอดรถของครอบครัวจ็อบส์
ภายใต้ชื่อ Apple I ซึ่งถูกวางจำหน่ายในราคา 666.66 เหรียญสหรัฐ

2.Macintosh (1984)
       
       รากฐานการใช้งานคอมพิวเตอร์ทั้งหมดถูกส่งผ่านมายังเครื่อง Macintosh
ไม่ว่าจะเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ผ่านไอคอนกราฟิกที่เรียกว่า Graphic User Interface
อีกทั้งราคาจำหน่ายของเครื่อง Macintosh นั้นมีราคาที่ถูกกว่าครั้งที่แอปเปิลเคยจำหน่าย
ส่งผลให้ Macintosh ประสบความสำเร็จอย่างมาก

3.iMac (1998)
    
   
       จ็อบส์ได้กลับมาสู่บริษัทที่เขาก่อตั้งเองอีกครั้งในปี 1996
หลังจากที่แอปเปิลได้ใช้เงินจำนวน 402 ล้านเหรียญ ซื้อกิจการบริษัท NeXT Computer เพื่อดึงจ็อบส์กลับมาสู่บริษัทที่เขาก่อตั้งไว้
วัตถุประสงค์หลักคือการนำพาแอปเปิลให้หลุดพ้นจากยุคมืด
ทันทีที่จ็อบส์กลับมาสู่แอปเปิล สินค้าตัวแรกที่ถูกเปิดตัวผ่านสาธารณชนนั่นคือ iMac
ด้วยภาพลักษณ์การดีไซน์ที่มีความเฉพาะตัว การใช้งานเครื่องที่เข้าใจง่าย รวมไปถึงกราฟิกที่มีความสวยงาม
ทำให้แอปเปิลสามารถดึงส่วนแบ่งทางการตลาดกลับมาได้อีกครั้ง

4.iPod (2001)
   
   
       แม้ว่า iPod จะไม่ได้เป็นอุปกรณ์ฟังเพลงเครื่องแรกของโลกก็ตามที
แต่ iPod ก็กลายเป็นสินค้าที่ประสบความสำเร็จที่สุดนอกเหนือไปจาก iMac
และความสำเร็จของ iPod ตัวแรกนี่เอง ที่เป็นใบเบิกทางที่ทำให้เกิด iTune และ iPhone ซึ่งประสบความสำเร็จในเวลาต่อมา

5.iPhone (2007)

      
       ถ้าหากให้เลือกว่าสินค้าจากค่ายแอปเปิลชิ้นใดที่อยากเป็นเจ้าของมากที่สุด
คำตอบที่ได้คงจะหนีไม่พ้น iPhone ที่ถือเป็นแรงผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในโลก
โทรศัพท์มือถือด้วยรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างจากโทรศัพท์มือถือเครื่องอื่นในตลาด
การออกแบบดีไซน์ที่หรูหรา รวมถึงการมีแอพพลิเคชันที่เป็นจุดเด่นที่เหนือกว่าโทรศัพท์แบรนด์อื่นๆ
ด้านการใช้งานเป็นรูปแบบการสัมผัสผ่านหน้าจอ และมีระบบปฏิบัติการภายในตัวเครื่อง
ถึงแม้ขณะนั้นในตลาดจะมีโทรศัพท์มือถือที่รองรับระบบสัมผัสและมีระบบปฏิบัติการก็ตาม
หากเทียบกันปอนด์ต่อปอนด์แล้วไอโฟน กลับเหนือกว่าทุกด้าน

6.iPad (2010)
   
   
       ปิดท้ายกันที่นวัตกรรมเปลี่ยนโลกทั้งใบชิ้นสุดท้ายของสตีฟ จ็อบส์
ซึ่งก็คือ iPad ที่มีการเปิดตัวครั้งแรกในปี 2010
นับตั้งแต่ iPad ถูกวางจำหน่ายก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมมหาศาล
ทำให้ค่ายน้อยค่ายใหญ่ที่อยู่ในวงการคอมพิวเตอร์ทั้งโน้ตบุ๊ก เน็ตบุ๊ก ต่างอยู่เฉยไม่ได้
ต้องผลิตอุปกรณ์แท็บเล็ตขึ้นมาแข่งกับ iPad ทั้งๆ ที่แท็บเล็ตไม่ใช่ของใหม่ อยู่ในชั้นขายสินค้าไอทีมาเนิ่นนาน
แต่เมื่อมันเป็น iPad ของสตีฟ จ็อบส์ แท็บเล็ตก็กลายเป็นสินค้าที่ได้รับความสนใจชนิดที่เรียกว่าเหมือนโดนมนต์สะกดเลยทีเดียว

......มาดูแถบเอเชียกันบ้าง
เจงกิสข่าน


     เจงกิสข่านและกองทัพมองโกลอันเกรียงไกรบุกตะลุยไปทั่วเอเชีย
วีรกรรมอันเหี้ยมโหด พิชิตดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลของโลก
ไม่มีกองทัพใดสามารถยืนขวางทางของพวกเขาได้
เมื่อถึงตอนที่การพิชิตสิ้นสุดลง พวกเขากวาดล้างประชากรไปถึง 1 ใน 10 ของโลก

    แผนที่อาณาจักรมองโกเลีย เมื่อ เจงกิสข่าน สิ้นชีวิต (คศ. 1227)

     ต้องใช้กองทัพอันแข็งแกร่งและเหี้ยมโหดในการกระทำดังกล่าว
นักรบในกองทัพมองโกลไม่มีทางเลือกที่จะอ่อนแอ
ชีวิตในกองทัพหมายถึงการยอมสละแม้แต่ความสะดวกสบายพื้นฐาน

     “เจงกิสข่าน” หรือชื่อเดิมคือ เตมูจิน ยอดนักรบที่รวมชนเผ่าต่างๆ ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือเข้าด้วยกัน
เป็น จักรวรรดิมองโกล ที่แผ่ขยายอำนาจไปทั่วเอเชียและยูเรเชีย
ความโหดเหี้ยมที่ถูกเล่าขานสืบต่อกันมา มีอะไรบ้างมาดูกัน

1.ตัดหัวคนที่สูงกว่าล้อเกวียน:

หนึ่งในเรื่องราวถูกพูดถึงเมื่อครั้งที่เตมูจินยังอยู่ในช่วงวัยรุ่น
เขาเป็นผู้นำคนไปชำระแค้นกับชนเผ่าที่ฆ่าพ่อของเขา
และสามารถคว้าชัยชนะมาได้อย่างไม่ยากเย็น
แต่หลังจากได้รับชัยชนะ  ทหารที่ยอมจำนนทุกรายจะถูกนำมาลงโทษโดยการวัดส่วนสูงกับล้อเกวียน
ใครที่สูงกว่าจะถูกตัดหัว  ซึ่งล้อเกวียนดังกล่าวมีความสูงเพียง 90 เซนติเมตร
ทำให้ทหารที่ถูกจับถูกฆ่าตายหมด
ส่วนที่รอดชีวิตคือเด็ก และทารกเท่านั้น

2.ลบเมืองศัตรูออกจากหน้าประวัติศาสตร์:
อาณาจักรมองโกลได้ทำการส่งฑูตไปยังจักรวรรดิควาเรชเมียร์ เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรี
แต่ดูเหมือนจักรวรรดิควาเรชเมียร์คิดว่าตัวเองมีกำลังเหนือกว่า จึงไม่สนใจ แถมยังสังตัดหัวทูตมองโกล
เมื่อเจงกิสข่านทราบข่าวจึงบุกทัพไปยังควาเรชเมียร์ เพื่อล้างแค้นโดยสั่งทหารฆ่าสิ่งมีชีวิตทุกอย่างในเมืองแห่งนี้
ไม่ว่าจะเป็นเด็กทารก ผู้หญิงทุกคน สัตว์ทุกตัว เผาทุกอย่างทิ้ง หรือจะเรียกว่าทำให้มันหายไปทั้งหมด
ซึ่งถือเป็นการกระทำที่โหดเหี้ยมที่สุดครั้งหนึ่งของเจงกิสข่าน

3. ล้อมเมืองไว้ ให้กินกันเอง ใครออกมาจากเมืองฆ่าทิ้ง:
เจงกิสข่านได้นำกองทัพมองโกลเข้าบุกโจมตีอาณาจักรจีนที่มีประชากรกว่า 53 ล้านคน
พร้อมกับกำแพงเมืองที่สูงใหญ่ขวางเอาไว้ ส่วนทหารมองโกลนั้นมีเพียง 1 ล้านคน
เจงกิสข่านรู้ดีกว่าการบุกเข้าไปเป็นเรื่องที่ยากเกิน
จึงสั่งการให้ทหารล้อมเมืองแห่งนี้ไว้ เพื่อไม่ให้หาเสบียงได้ ซึ่งใช้เวลานานกว่า 3 ปี
ในช่วงท้ายประชาชนในอาณาจักรจีนอดอยากมาก  ว่ากันว่ามีคนกินกันเองเพื่อประทังความหิว
ต่อมาจึงยอมจำนนต่อเจงกิสข่าน ซึ่งเขาได้ทำการเผาเมืองและประชาชนไปพร้อมๆกัน
โดยไม่สนว่าพวกเขาจะมีทางสู้หรือไม่ และกลายเป็นภูเขากองกระดูกในเวลาต่อมา

4. เมื่อพันธมิตรไม่ส่งกำลังมาสนับสนุน :

สุดท้ายไม่มีเหลือแม้แต่หลักฐานถึงการมีอยู่ของอาณาจักรแห่งนั้น  
ว่ากันว่าในช่วงก่อนที่เจงกิสข่านจะบุกไปถล่มควาเรซเมียร์
ได้ขอกองกำลังสนับสนุนจากอาณาจักรซีหลี่ แต่ซีหลี่ปฏิเสธ และพร้อมจะตั้งตัวเป็นปรปักษ์กับมองโกล
แต่ไม่นานหลังจากเจงกิสข่านถล่มเมืองควาเรซเมียร์เสร็จ
ก็ยกทัพมายังซีหลี่ต่อ พร้อมกับจัดการทำลายทุกอย่างที่คนรู้จักเกี่ยวกับซีหลี
ชาวบ้านทุกคนถูกฆ่าทั้งหมด เมืองทุกแห่ง หลักฐานใดๆ ก็ตามถูกทำลายจนแทบจะไม่มีใครรู้จักซีหลีเลย
มีเพียงคำบอกเล่าจากเมืองใกล้ๆว่าเคยมี แต่ไม่มีใครรู้รายละเอียดหรือภาษาของอาณาจักรซีหลี่อีกเลยนับแต่นั้น

5. หลุมศพของเจ่งกีสข่าน:
ก่อนตายเจงกีสข่านได้ทำการบอกความต้องการสุดท้ายกับทหารคู่ใจว่า
เขาไม่ต้องการให้ใครรู้สุสานหรือหลุมศพเขา ทำให้ทหารที่ไว้ใจได้สั่งให้นายทหารคุมทาสขุดหลุมฝังศพในที่ห่างไกล
ก่อนที่ทหารจะฆ่าทาสเหล่านั้นทิ้งและโยนลงไปในหลุมเดียวกับเจงกิสข่าน ก่อนปลูกต้นไม้ไว้บนหลุมศพ
แต่เมื่อทหารที่นำทาสไปฝังกลับมายังเมือง ก็ถูกฆ่าทิ้งทั้งหมดเพื่อเก็บความลับของหลุมศพ
ที่แม้แต่ปัจจุบันก็ยังไม่มีใครพบหลุมของเจงกิสข่านมานานกว่า 800 ปี  กลายเป็นความลับมาถึงทุกวันนี้


[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่