วันสัตว์โลก หรือ World Animal Day เป็นวันสากลเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญในสิทธิและความเป็นอยู่ของสัตว์ทั่วโลกไม่ว่าจะอยู่ในผืนป่าหรือในเมือง
สัตว์ในเมืองมักมีมนุษย์ดูแล แต่สัตว์ป่าจำนวนไม่น้อยถูกมนุษย์เบียดเบียน เช่น จับออกมาจากถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติหรือเพาะพันธุ์ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในธุรกิจบันเทิง ท่องเที่ยว และอาหาร เป็นต้น
สัตว์หลายชนิดใกล้สูญพันธุ์และต้องการความช่วยเหลือจากมนุษย์ เช่น
ช้างแอฟริกามักถูกฆ่าเอางา
แพนด้าที่มีจำนวนประชากร พื้นที่อาศัย และอาหารลดน้อยลง
วาฬที่เหลือจำนวนประชากรน้อยและถูกคุกคาม และ
เสือโคร่งที่เป็นความภาคภูมิใจของผืนป่าที่หลงเหลือประชากรทั่วโลกแค่เพียง 3,200 ตัวเท่านั้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เสือโคร่งถูกพบมากที่สุดในประเทศอินเดีย ซึ่งมีความพยายามในการรักษาสายพันธุ์ แต่ปัจจุบันอาจมีเสือโคร่งหลงเหลืออยู่ไม่ถึง 1,400 ตัว และมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะสูญพันธุ์
ในประเทศไทยพบจำนวนประชากรเสือโคร่งประมาณ 200 ตัว ซึ่งมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เสือคือสัตว์ที่เป็นดัชนีชี้วัดความสมบูรณ์ของป่า และเป็นสัตว์ที่อยู่ในห่วงโซ่อาหารชั้นบนสุด หากจำนวนเสือลดลง จำนวนสัตว์กินพืชจะมีจำนวนสูงขึ้น จนขาดการควบคุม ดังนั้น การอนุรักษ์เสือโคร่ง ก็คือการรักษาสมดุลของธรรมชาติ
เป็นที่น่ายินดีที่ปัจจุบัน องค์กรต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน และภาคเอกชน เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์สัตว์ป่าและทรัพยากรธรรมชาติในผืนป่ามากขึ้น จึงได้รวมตัวกันเป็นภาคีเครือข่าย ร่วมดำเนินงานในหลาย ๆ ด้าน อาทิ ด้านการป้องกันและสนับสนุนอุปกรณ์ในการดำเนินงาน ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการปรับปรุงแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และด้านงานวิจัย เป็นต้น
WWF องค์กรด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ได้ดำเนินงานอนุรักษ์เสือโคร่งใน 13 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย มีจุดมุ่งหมายเพื่อฟื้นฟูจำนวนประชากรเสือโคร่งและสัตว์ที่เป็นเหยื่อ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการสูญพันธุ์ ขณะนี้กำลังดำเนินโครงการ
“คืนเสือโคร่งสู่เขาใหญ่ ดงพญาเย็น (Reintroduction of Tiger to Dong Praya Yen- Khao Yai)” ซึ่งจะเป็นครั้งแรกในโลกที่ WWF จะทำการย้ายถิ่นอาศัยของเสือโคร่ง จากอุทยานแห่งชาติทับลานและอุทยานแห่งชาติปางสีดา กลับสู่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของป่ามากกว่า เพื่อลดความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของเสือโคร่งในประเทศไทย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้โดยมีภาคเอกชนอย่าง Jim Thompson ซึ่งเป็นหนึ่งในภาคีเครือข่าย ได้เข้าร่วมสนับสนุนโครงการนี้ด้วยการออกแบบ Collection ผ้าพันคอลายเสือโคร่ง โดยหัก 5% ของราคาผ้าพันคอที่จำหน่ายสนับสนุนโครงการนี้
นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินโครงการแก้ปัญหาช้างป่าที่กุยบุรี ซึ่งมักออกมาหากินในเขตพื้นที่ชุมชน จนเกิดการทำลายพืชผลทางการเกษตร โดยได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในการพัฒนาและติดตั้งอุปกรณ์กล้องตรวจจับความเคลื่อนไหวของช้างป่า
(เป็นระบบแรกของโลกที่ใช้สำหรับสัตว์ป่า) ซึ่งจะส่งข้อมูลตรงไปยัง Dashboard ให้เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังรับทราบและแจ้งหน่วยงานขับไล่ ให้เข้าปฏิบัติงานในพื้นที่ได้ทัน ก่อนที่จะสร้างความเสียหาย ตลอดจนถึงการพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับอนาคต ซึ่งโครงการนี้จะทำให้คนในชุมชนอยู่ร่วมกับสัตว์ป่าและธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน
มาร่วมกันอนุรักษ์สัตว์ ทั้งสัตว์ป่าและสัตว์ในเมือง เพื่อให้ทุกชีวิตสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นปกติสุข
***
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.wwf.or.th
-----------------------------------------------
ที่มา: PostJung
4 ตุลาคม วันสัตว์โลก ร่วมอนุรักษ์เพื่ออยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
สัตว์ในเมืองมักมีมนุษย์ดูแล แต่สัตว์ป่าจำนวนไม่น้อยถูกมนุษย์เบียดเบียน เช่น จับออกมาจากถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติหรือเพาะพันธุ์ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในธุรกิจบันเทิง ท่องเที่ยว และอาหาร เป็นต้น
สัตว์หลายชนิดใกล้สูญพันธุ์และต้องการความช่วยเหลือจากมนุษย์ เช่น ช้างแอฟริกามักถูกฆ่าเอางา แพนด้าที่มีจำนวนประชากร พื้นที่อาศัย และอาหารลดน้อยลง วาฬที่เหลือจำนวนประชากรน้อยและถูกคุกคาม และเสือโคร่งที่เป็นความภาคภูมิใจของผืนป่าที่หลงเหลือประชากรทั่วโลกแค่เพียง 3,200 ตัวเท่านั้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในประเทศไทยพบจำนวนประชากรเสือโคร่งประมาณ 200 ตัว ซึ่งมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เป็นที่น่ายินดีที่ปัจจุบัน องค์กรต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน และภาคเอกชน เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์สัตว์ป่าและทรัพยากรธรรมชาติในผืนป่ามากขึ้น จึงได้รวมตัวกันเป็นภาคีเครือข่าย ร่วมดำเนินงานในหลาย ๆ ด้าน อาทิ ด้านการป้องกันและสนับสนุนอุปกรณ์ในการดำเนินงาน ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการปรับปรุงแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และด้านงานวิจัย เป็นต้น
WWF องค์กรด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ได้ดำเนินงานอนุรักษ์เสือโคร่งใน 13 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย มีจุดมุ่งหมายเพื่อฟื้นฟูจำนวนประชากรเสือโคร่งและสัตว์ที่เป็นเหยื่อ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการสูญพันธุ์ ขณะนี้กำลังดำเนินโครงการ “คืนเสือโคร่งสู่เขาใหญ่ ดงพญาเย็น (Reintroduction of Tiger to Dong Praya Yen- Khao Yai)” ซึ่งจะเป็นครั้งแรกในโลกที่ WWF จะทำการย้ายถิ่นอาศัยของเสือโคร่ง จากอุทยานแห่งชาติทับลานและอุทยานแห่งชาติปางสีดา กลับสู่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของป่ามากกว่า เพื่อลดความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของเสือโคร่งในประเทศไทย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินโครงการแก้ปัญหาช้างป่าที่กุยบุรี ซึ่งมักออกมาหากินในเขตพื้นที่ชุมชน จนเกิดการทำลายพืชผลทางการเกษตร โดยได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในการพัฒนาและติดตั้งอุปกรณ์กล้องตรวจจับความเคลื่อนไหวของช้างป่า (เป็นระบบแรกของโลกที่ใช้สำหรับสัตว์ป่า) ซึ่งจะส่งข้อมูลตรงไปยัง Dashboard ให้เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังรับทราบและแจ้งหน่วยงานขับไล่ ให้เข้าปฏิบัติงานในพื้นที่ได้ทัน ก่อนที่จะสร้างความเสียหาย ตลอดจนถึงการพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับอนาคต ซึ่งโครงการนี้จะทำให้คนในชุมชนอยู่ร่วมกับสัตว์ป่าและธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน
มาร่วมกันอนุรักษ์สัตว์ ทั้งสัตว์ป่าและสัตว์ในเมือง เพื่อให้ทุกชีวิตสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นปกติสุข
***
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.wwf.or.th
-----------------------------------------------
ที่มา: PostJung