-สรุปหุ้น IPO โรงพยาบาลวัฒนแพทย์ ตรัง (WPH)-
October 2, 2017 ( ที่มา ลงทุนแ มน)
**ในภาวะเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัว
**ถ้าถามว่า มีธุรกิจกลุ่มไหนที่ยังเติบโตได้
**ก็คงต้องตอบว่า กลุ่มโรงพยาบาล
**เพราะความเจ็บป่วยมันไม่ได้ขึ้นกับเศรษฐกิจ..
ในปี 2559 โรงพยาบาลที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มีรายได้รวมกันทั้งหมด 137,054 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.8% จากปี 2558 ในชณะที่กำไรสุทธิ 18,281 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.9% จากปี 2558 แสดงให้เห็นว่า ธุรกิจโรงพยาบาล ยังสามารถเติบโตได้ทั้งรายได้ และ กำไร
จึงไม่น่าแปลกใจที่จะมีโรงพยาบาลหลายแห่ง เร่งขยายธุรกิจ ผ่านการระดมทุน ทั้งเพื่อขยายฐานลูกค้าและเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งในตลาด
ซึ่งอีกหนึ่งโรงพยาบาลเอกชนที่กำลังจะเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายในปีนี้ คือ โรงพยาบาลวัฒนแพทย์ ตรัง จำกัด (มหาชน) หรือ WPH
WPH ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2500 โดยนายแพทย์วิทยา ลีละวัฒน์ เริ่มต้นจากการเป็นคลินิกก่อนที่จะเติบโตกลายมาเป็นสถานพยาบาล และเปลี่ยนสถานะมาเป็นโรงพยาบาลสมบูรณ์แบบเมื่อปี 2505
ปัจจุบัน WPH เป็นโรงพยาบาลขนาด 120 เตียง (ครอบครัวลีละวัฒน์ถือหุ้น 95.85%) ให้บริการครอบคลุมจังหวัดตรัง กระบี่ รวมถึงพื้นที่ใกล้เคียง เช่นที่ พัทลุง และสตูล
WPH ยังมีบริษัทย่อยได้แก่ บริษัท โรงพยาบาลวัฒนแพทย์ อ่าวนาง จำกัด (WPH ถือหุ้น 90.03%) โดยบริษัทนี้มีคลินิกเวชกรรม อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเป็นคลินิกที่ให้บริการผู้ป่วยนอกเพียงอย่างเดียว ตั้งอยู่ในจังหวัดกระบี่
WPH และบริษัทย่อย อยู่ในพื้นที่ที่มีศักยภาพ และเป็นพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของภาคใต้โดยเฉพาะที่กระบี่
รายได้รวม WPH ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
2557 รายได้ 434 ล้านบาท ขาดทุน 16 ล้านบาท (เนื่องจากมีรายการพิเศษจากการตั้งสำรองการด้อยค่าทรัพย์สิน ซึ่งถ้าตัดรายการดังกล่าวออกไป ปี 2557 จะมีกำไรปกติอยู่ที่ 12 ล้านบาท)
2558 รายได้ 479 ล้านบาท กำไร 43 ล้านบาท
2559 รายได้ 551 ล้านบาท กำไร 72 ล้านบาท
สัดส่วนรายได้ WPH มาจาก ผู้ป่วยนอก 33% และผู้ป่วยใน 67%
รายได้ที่เติบโตขึ้นมาจากรายได้ของผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของรายได้จากผู้ป่วยชาวต่างชาติ (ซึ่งในปี 2559 อยู่ที่ 9% ขณะที่ปี 2557 รายได้ส่วนนี้ยังไม่มี) การรักษาโรคที่ยุ่งยากและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการปรับขึ้นค่ายา และค่าบริการทางการแพทย์ ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นในช่วงปี 2557-2559 อยู่ที่ 30.2%, 33.9% และ 34.6% ตามลำดับ
ในขณะที่ต้นทุนไม่ได้เพิ่มขึ้นตาม เพราะบางส่วนเป็นต้นทุนคงที่ เช่น ค่าเสื่อมราคา ประกอบกับบริษัทฯมีการควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้กำไรเพิ่มแบบก้าวกระโดด
ทั้งนี้ WPH จะขายหุ้น IPO จำนวน 150 ล้านหุ้น ราคา 3.90 บาท คิดเป็นมูลค่าที่ระดมทุน 585 ล้านบาท
ซึ่งเงินที่ได้จะนำไปสร้างโรงพยาบาลใหม่ ขนาด 59 เตียง ที่อ่าวนาง จังหวัดกระบี่ (ตอนนี้เป็นคลินิก) โดย ใช้งบประมาณ 450 ล้านบาท เฟสแรก 31 เตียง เสร็จปี 2561 เฟสที่สอง 28 เตียง เสร็จปี 2563
และบริษัทยังมีโครงการสร้างอาคารใหม่ และปรับปรุงอาคารเดิม ที่จังหวัดตรัง ให้เพิ่มเกือบ 2 เท่า จาก 120 เตียง เป็น 212 เตียง ใช้งบประมาณ 463 ล้านบาท จะทยอยสร้างเสร็จเป็นเฟสตั้งแต่ปลายปี 2561 -2563
โดยทั้ง 2 โครงการนี้จะใช้เงินทุนจาก IPO เงินทุนหมุนเวียน และ มีการกู้ยืมเงินเพิ่มเติมบางส่วน เมื่อสร้างเสร็จครบทุกเฟส โรงพยาบาล จะเพิ่มขนาดเตียงจาก 120 เตียง เป็น 271 เตียง ซึ่งถือว่าเป็นการขยายมากกว่าเดิมเป็นเท่าตัว
จำนวนหุ้นทั้งหมดหลัง IPO อยู่ที่ 600 ล้านหุ้น ณ ราคา IPO ที่ 3.90 บาท ล้านหุ้น หมายความว่า Market Cap ของ WPH จะอยู่ที่ 2,340 ล้านบาท ซึ่ง Market cap ของกลุ่มโรงพยาบาลอยู่ประมาณ 500 ล้านบาท ไปจนถึงมากกว่า 3 แสนล้านบาท ดังนั้น WPH น่าจะอยู่ในกลุ่มหุ้นโรงพยาบาลขนาดเล็ก
แต่โรงพยาบาลขนาดเล็กก็มีข้อดีคือมีช่องว่างให้ขยายได้มากเมื่อเทียบกับฐานเดิม ตามข้อมูลที่ได้กล่าวมาบริษัทมีแผนจะขยายกิจการที่ใหญ่กว่าเดิมเป็นเท่าตัว แต่ก็คงต้องแลกความเสี่ยงว่าโครงการในอนาคตจะสำเร็จตามที่บริษัทหวังไว้หรือไม่
ณ ระดับ ราคา IPO ที่ 3.90 บาท ค่า P/E ของ WPH อยู่ที่ประมาณ 42.67 เท่า (คำนวณจาก 4 ไตรมาสล่าสุด) เทียบกับโรงพยาบาลที่มีขนาดใกล้เคียงกัน (EKH KDH RPH) ซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 44.71 เท่า
อย่างไรก็ตาม การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจลงทุน บทความนี้ไม่ได้ชี้นำให้ซื้อหุ้นนี้แต่อย่างใด
สรุปหุ้น IPO โรงพยาบาลวัฒนแพทย์ ตรัง (WPH)
October 2, 2017 ( ที่มา ลงทุนแ มน)
**ในภาวะเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัว
**ถ้าถามว่า มีธุรกิจกลุ่มไหนที่ยังเติบโตได้
**ก็คงต้องตอบว่า กลุ่มโรงพยาบาล
**เพราะความเจ็บป่วยมันไม่ได้ขึ้นกับเศรษฐกิจ..
ในปี 2559 โรงพยาบาลที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มีรายได้รวมกันทั้งหมด 137,054 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.8% จากปี 2558 ในชณะที่กำไรสุทธิ 18,281 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.9% จากปี 2558 แสดงให้เห็นว่า ธุรกิจโรงพยาบาล ยังสามารถเติบโตได้ทั้งรายได้ และ กำไร
จึงไม่น่าแปลกใจที่จะมีโรงพยาบาลหลายแห่ง เร่งขยายธุรกิจ ผ่านการระดมทุน ทั้งเพื่อขยายฐานลูกค้าและเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งในตลาด
ซึ่งอีกหนึ่งโรงพยาบาลเอกชนที่กำลังจะเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายในปีนี้ คือ โรงพยาบาลวัฒนแพทย์ ตรัง จำกัด (มหาชน) หรือ WPH
WPH ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2500 โดยนายแพทย์วิทยา ลีละวัฒน์ เริ่มต้นจากการเป็นคลินิกก่อนที่จะเติบโตกลายมาเป็นสถานพยาบาล และเปลี่ยนสถานะมาเป็นโรงพยาบาลสมบูรณ์แบบเมื่อปี 2505
ปัจจุบัน WPH เป็นโรงพยาบาลขนาด 120 เตียง (ครอบครัวลีละวัฒน์ถือหุ้น 95.85%) ให้บริการครอบคลุมจังหวัดตรัง กระบี่ รวมถึงพื้นที่ใกล้เคียง เช่นที่ พัทลุง และสตูล
WPH ยังมีบริษัทย่อยได้แก่ บริษัท โรงพยาบาลวัฒนแพทย์ อ่าวนาง จำกัด (WPH ถือหุ้น 90.03%) โดยบริษัทนี้มีคลินิกเวชกรรม อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเป็นคลินิกที่ให้บริการผู้ป่วยนอกเพียงอย่างเดียว ตั้งอยู่ในจังหวัดกระบี่
WPH และบริษัทย่อย อยู่ในพื้นที่ที่มีศักยภาพ และเป็นพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของภาคใต้โดยเฉพาะที่กระบี่
รายได้รวม WPH ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
2557 รายได้ 434 ล้านบาท ขาดทุน 16 ล้านบาท (เนื่องจากมีรายการพิเศษจากการตั้งสำรองการด้อยค่าทรัพย์สิน ซึ่งถ้าตัดรายการดังกล่าวออกไป ปี 2557 จะมีกำไรปกติอยู่ที่ 12 ล้านบาท)
2558 รายได้ 479 ล้านบาท กำไร 43 ล้านบาท
2559 รายได้ 551 ล้านบาท กำไร 72 ล้านบาท
สัดส่วนรายได้ WPH มาจาก ผู้ป่วยนอก 33% และผู้ป่วยใน 67%
รายได้ที่เติบโตขึ้นมาจากรายได้ของผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของรายได้จากผู้ป่วยชาวต่างชาติ (ซึ่งในปี 2559 อยู่ที่ 9% ขณะที่ปี 2557 รายได้ส่วนนี้ยังไม่มี) การรักษาโรคที่ยุ่งยากและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการปรับขึ้นค่ายา และค่าบริการทางการแพทย์ ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นในช่วงปี 2557-2559 อยู่ที่ 30.2%, 33.9% และ 34.6% ตามลำดับ
ในขณะที่ต้นทุนไม่ได้เพิ่มขึ้นตาม เพราะบางส่วนเป็นต้นทุนคงที่ เช่น ค่าเสื่อมราคา ประกอบกับบริษัทฯมีการควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้กำไรเพิ่มแบบก้าวกระโดด
ทั้งนี้ WPH จะขายหุ้น IPO จำนวน 150 ล้านหุ้น ราคา 3.90 บาท คิดเป็นมูลค่าที่ระดมทุน 585 ล้านบาท
ซึ่งเงินที่ได้จะนำไปสร้างโรงพยาบาลใหม่ ขนาด 59 เตียง ที่อ่าวนาง จังหวัดกระบี่ (ตอนนี้เป็นคลินิก) โดย ใช้งบประมาณ 450 ล้านบาท เฟสแรก 31 เตียง เสร็จปี 2561 เฟสที่สอง 28 เตียง เสร็จปี 2563
และบริษัทยังมีโครงการสร้างอาคารใหม่ และปรับปรุงอาคารเดิม ที่จังหวัดตรัง ให้เพิ่มเกือบ 2 เท่า จาก 120 เตียง เป็น 212 เตียง ใช้งบประมาณ 463 ล้านบาท จะทยอยสร้างเสร็จเป็นเฟสตั้งแต่ปลายปี 2561 -2563
โดยทั้ง 2 โครงการนี้จะใช้เงินทุนจาก IPO เงินทุนหมุนเวียน และ มีการกู้ยืมเงินเพิ่มเติมบางส่วน เมื่อสร้างเสร็จครบทุกเฟส โรงพยาบาล จะเพิ่มขนาดเตียงจาก 120 เตียง เป็น 271 เตียง ซึ่งถือว่าเป็นการขยายมากกว่าเดิมเป็นเท่าตัว
จำนวนหุ้นทั้งหมดหลัง IPO อยู่ที่ 600 ล้านหุ้น ณ ราคา IPO ที่ 3.90 บาท ล้านหุ้น หมายความว่า Market Cap ของ WPH จะอยู่ที่ 2,340 ล้านบาท ซึ่ง Market cap ของกลุ่มโรงพยาบาลอยู่ประมาณ 500 ล้านบาท ไปจนถึงมากกว่า 3 แสนล้านบาท ดังนั้น WPH น่าจะอยู่ในกลุ่มหุ้นโรงพยาบาลขนาดเล็ก
แต่โรงพยาบาลขนาดเล็กก็มีข้อดีคือมีช่องว่างให้ขยายได้มากเมื่อเทียบกับฐานเดิม ตามข้อมูลที่ได้กล่าวมาบริษัทมีแผนจะขยายกิจการที่ใหญ่กว่าเดิมเป็นเท่าตัว แต่ก็คงต้องแลกความเสี่ยงว่าโครงการในอนาคตจะสำเร็จตามที่บริษัทหวังไว้หรือไม่
ณ ระดับ ราคา IPO ที่ 3.90 บาท ค่า P/E ของ WPH อยู่ที่ประมาณ 42.67 เท่า (คำนวณจาก 4 ไตรมาสล่าสุด) เทียบกับโรงพยาบาลที่มีขนาดใกล้เคียงกัน (EKH KDH RPH) ซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 44.71 เท่า
อย่างไรก็ตาม การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจลงทุน บทความนี้ไม่ได้ชี้นำให้ซื้อหุ้นนี้แต่อย่างใด