อีอีซีน่าสนใจ
(มือใหม่อย่างเรา) มาทำความเข้าใจกัน...
รัฐบาลประกาศนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เพื่อขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรม ซึ่งจะเป็นการพึ่งพาเทคโนโลยีระดับสูงมากขึ้น โดยจะมีการลงทุนขนาดใหญ่เพื่อพัฒนาภาคการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำให้ไทยสามารถหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางภายในไม่เกิน 20 ปี
โดยจะเป็นการพัฒนาเชิงพื้นที่ขนาดใหญ่
(ซึ่งเป็นแนวทางที่หลายประเทศทำและประสบความสำเร็จมาแล้ว เช่น จีน มาเลเซีย อินเดีย) กำหนดพื้นที่เป้าหมายเพื่อการพัฒนาเป็นพิเศษ ได้แก่ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นพื้นที่ของโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด เท่ากับเป็นการต่อยอดโครงการเดิม ให้ชื่อว่าอีอีซี หรือโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้การพัฒนาอีอีซีจะเป็นประโยชน์ทั้งภูมิภาค ไม่เฉพาะพื้นที่อีอีซี แต่จะเชื่อมโยงกับระเบียงเศรษฐกิจจีน ลาว ไทย การสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษเชื่อมยูนนาน ลาว ไทย ทำให้จังหวัดอื่น ๆ เช่น ขอนแก่น หนองคาย ได้ประโยชน์ไปด้วย
โครงการอีอีซีประกอบด้วยการลงทุนใน 4 กลุ่ม 5 โครงการหลัก และ 15 โครงการสำคัญ
กลุ่มที่ 1
โครงสร้างพื้นฐาน เพื่อดึงดูดให้บริษัทข้ามชาติจากทั่วทุกมุมโลกให้สนใจมาลงทุน ตั้งฐานการผลิตที่ไทย ‘อีอีซี’ จึงต้องมีโครงสร้างพื้นฐานรองรับอย่างดี โดยออกแบบการขนส่งครอบคลุมทั้งทางถนน ทางราง ทางอากาศ และทางน้ำ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ถนน: มอเตอร์เวย์ 3 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ – ชลบุรี, พัทยา – มาบตาพุด, แหลมฉบัง – นครราชสีมา
ราง:
รถไฟทางคู่ (ช่วงฉะเชิงเทรา – แก่งคอย)
รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก (กรุงเทพฯ – ระยอง)
รถไฟเชื่อมโยง 3 สนามบิน ‘ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา’
อากาศ: พัฒนาสนามบินอู่ตะเภาให้เป็นสนามบินเชิงพาณิชย์แห่งที่ 3 และอุตสาหกรรมอากาศยาน
น้ำ:
พัฒนาท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ
พัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง (ระยะที่ 3) ให้สามารถรองรับตู้สินค้า 18 ล้านตู้ต่อปี
พัฒนาท่าเรือมาบตาพุด (ระยะที่ 3) รองรับสินค้าเหลว ก๊าซ ฯลฯ
กลุ่มที่ 2
อุตสาหกรรมเป้าหมาย ประกอบด้วย 5 อุตสาหกรรมเดิมที่ศักยภาพอยู่ คือ
First S-Curve ได้แก่ การเกษตร อาหาร อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ การท่องเที่ยว และ 5 อุตสาหกรรมใหม่ หรือ
New S-Curve ได้แก่ Robotics, Aerospace, Bio Chemical, Digital Content, Healthcare
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้First S-Curve ได้แก่
• อุตสาหกรรมยานยนต์ (Next-Generation Automotive) สนับสนุนการพัฒนาเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า
• อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Intelligent Electronics) การผลิตระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในยานยนต์ อุปกรณ์โทรคมนาคม รวมถึงการออกแบบที่อยู่อาศัยอัจฉริยะ ซึ่งเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
• การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพระดับสูง (Advance Agriculture and Biotechnology) เทคโนโลยีการเกษตรขั้นสูงที่มีการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยและการลงทุนทางเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์
• อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food Processing) การวิจัยและผลิตอาหารเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่ใช้โปรตีนทางเลือก เช่น โปรตีนเกษตร
• อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Tourism) จัดระเบียบและส่งเสริมกิจกรรมหลากหลายตามสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ สนับสนุนธุรกิจการฟื้นฟูทางการแพทย์และศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพ ส่งเสริมศูนย์การแสดงสินค้าและนิทรรศการระดับนานาชาติ
New S-Curve ได้แก่ Robotics, Aerospace, Bio Chemical, Digital Content, Healthcare
• หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรมและชีวิตประจำวัน (Advance Robotics) เช่น หุ่นยนต์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อาทิ การดำน้ำและการแพทย์
• อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics) การพัฒนาศูนย์ซ่อมอากาศยานและฝึกอบรม ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางทางการบินของเอเชีย
• อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) มีโรงพยาบาลที่ทันสมัย การลงทุนในการผลิตยา อุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงการรักษาโรคทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต/สมาร์ทโฟน
• อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemical) ตั้งเป้าใช้จุดแข็งด้านการเกษตรใหญ่ที่สุดในอาเซียน พัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ เช่น ใช้ไบโอพลาสติกในการหีบห่อเพื่อการส่งออก
• อุตสาหกรรมดิจิทัล เช่น E-commerce, Digital Content, Data Center, Cloud Computing
กลุ่มที่ 3
ด้านการท่องเที่ยว กำหนดให้ พัทยา – สัตหีบ – ระยอง เป็นวงแหวนการท่องเที่ยวระดับโลก โดยมีระยองเป็นเป้าหมายของการสร้างเศรษฐกิจใหม่คือ เกษตรพรีเมี่ยม, การค้าสมัยใหม่, ศูนย์กระจายสินค้า, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประสบการณ์
กลุ่มที่ 4
การสร้างเมืองใหม่ ได้แก่ Global Business Hub / Free Economic Zone, พัฒนาเมืองใหม่ ฉะเชิงเทรา-พัทยา-ระยอง และระบบสาธารณูปโภค น้ำ-พลังงาน-ขยะ
รวมทั้ง 4 กลุ่มแล้ว จะเป็น 15 โครงการหลักที่เป็นภารกิจต้องพัฒนาในพื้นที่อีอีซี
ทั้งนี้ 5 โครงการหลักที่รัฐบาลผลักดันให้เป็นรูปธรรมภายใน 5 ปีแรก คือ โครงการสำคัญที่พึ่งพิงกันและเชื่อมโยงกัน ได้แก่ สนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือแหลมฉบัง รถไฟความเร็วสูง อุตสาหกรรมไฮเทคสำหรับอนาคต เช่น รถยนต์ไฟฟ้า และ 3 เมืองใหม่ เพื่อรองรับประชากรจำนวนพอเหมาะที่จะทำให้การลงทุนอื่น ๆ คุ้มทุน
สำหรับแผนการลงทุนของรัฐบาลตามกรอบการลงทุนรวมของภาครัฐและเอกชน ระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2560 – 2564) รวมกว่า 1.5 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนในส่วนของภาครัฐไม่เกิน 3 แสนล้านบาท ภาคเอกชน 5 แสนล้านบาท ส่วนที่เหลืออีกจะเป็นการร่วมทุนของภาครัฐกับเอกชน 7 แสนล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการร่วมลงทุนก่อสร้างท่าเรือ สนามบิน และรถไฟ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดการณ์ไว้ว่า โครงการอีอีซีจะทำให้ไทยลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ขยายฐานภาษีของประเทศให้ใหญ่ขึ้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของประชาชน พร้อมเชื่อว่าอีอีซีจะช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวปีละ 5% เพิ่มการจ้างงานปีละ 1 แสนคน และมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 10 ล้านคนต่อปี
เป็นโครงการนี้ยิ่งใหญ่มาก หากทุกอย่างเป็นจริงได้ตามแผนงานที่วางไว้ ประเทศไทยก็น่าจะเรียกว่าเป็นยุคแสงทองผ่องอำไพอย่างแท้จริง
ที่มา:
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ขอบคุณข้อมูลจาก The Standard, มติชน, ผู้จัดการ 360 องศา
อีอีซีสาดแสงทองผ่องอำไพพาไทยแลนด์พ้นกับดัก
รัฐบาลประกาศนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เพื่อขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรม ซึ่งจะเป็นการพึ่งพาเทคโนโลยีระดับสูงมากขึ้น โดยจะมีการลงทุนขนาดใหญ่เพื่อพัฒนาภาคการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำให้ไทยสามารถหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางภายในไม่เกิน 20 ปี
โดยจะเป็นการพัฒนาเชิงพื้นที่ขนาดใหญ่ (ซึ่งเป็นแนวทางที่หลายประเทศทำและประสบความสำเร็จมาแล้ว เช่น จีน มาเลเซีย อินเดีย) กำหนดพื้นที่เป้าหมายเพื่อการพัฒนาเป็นพิเศษ ได้แก่ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นพื้นที่ของโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด เท่ากับเป็นการต่อยอดโครงการเดิม ให้ชื่อว่าอีอีซี หรือโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
โครงการอีอีซีประกอบด้วยการลงทุนใน 4 กลุ่ม 5 โครงการหลัก และ 15 โครงการสำคัญ
กลุ่มที่ 1 โครงสร้างพื้นฐาน เพื่อดึงดูดให้บริษัทข้ามชาติจากทั่วทุกมุมโลกให้สนใจมาลงทุน ตั้งฐานการผลิตที่ไทย ‘อีอีซี’ จึงต้องมีโครงสร้างพื้นฐานรองรับอย่างดี โดยออกแบบการขนส่งครอบคลุมทั้งทางถนน ทางราง ทางอากาศ และทางน้ำ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
กลุ่มที่ 2 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ประกอบด้วย 5 อุตสาหกรรมเดิมที่ศักยภาพอยู่ คือ First S-Curve ได้แก่ การเกษตร อาหาร อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ การท่องเที่ยว และ 5 อุตสาหกรรมใหม่ หรือ New S-Curve ได้แก่ Robotics, Aerospace, Bio Chemical, Digital Content, Healthcare
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
กลุ่มที่ 3 ด้านการท่องเที่ยว กำหนดให้ พัทยา – สัตหีบ – ระยอง เป็นวงแหวนการท่องเที่ยวระดับโลก โดยมีระยองเป็นเป้าหมายของการสร้างเศรษฐกิจใหม่คือ เกษตรพรีเมี่ยม, การค้าสมัยใหม่, ศูนย์กระจายสินค้า, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประสบการณ์
กลุ่มที่ 4 การสร้างเมืองใหม่ ได้แก่ Global Business Hub / Free Economic Zone, พัฒนาเมืองใหม่ ฉะเชิงเทรา-พัทยา-ระยอง และระบบสาธารณูปโภค น้ำ-พลังงาน-ขยะ
รวมทั้ง 4 กลุ่มแล้ว จะเป็น 15 โครงการหลักที่เป็นภารกิจต้องพัฒนาในพื้นที่อีอีซี
ทั้งนี้ 5 โครงการหลักที่รัฐบาลผลักดันให้เป็นรูปธรรมภายใน 5 ปีแรก คือ โครงการสำคัญที่พึ่งพิงกันและเชื่อมโยงกัน ได้แก่ สนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือแหลมฉบัง รถไฟความเร็วสูง อุตสาหกรรมไฮเทคสำหรับอนาคต เช่น รถยนต์ไฟฟ้า และ 3 เมืองใหม่ เพื่อรองรับประชากรจำนวนพอเหมาะที่จะทำให้การลงทุนอื่น ๆ คุ้มทุน
สำหรับแผนการลงทุนของรัฐบาลตามกรอบการลงทุนรวมของภาครัฐและเอกชน ระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2560 – 2564) รวมกว่า 1.5 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนในส่วนของภาครัฐไม่เกิน 3 แสนล้านบาท ภาคเอกชน 5 แสนล้านบาท ส่วนที่เหลืออีกจะเป็นการร่วมทุนของภาครัฐกับเอกชน 7 แสนล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการร่วมลงทุนก่อสร้างท่าเรือ สนามบิน และรถไฟ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดการณ์ไว้ว่า โครงการอีอีซีจะทำให้ไทยลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ขยายฐานภาษีของประเทศให้ใหญ่ขึ้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของประชาชน พร้อมเชื่อว่าอีอีซีจะช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวปีละ 5% เพิ่มการจ้างงานปีละ 1 แสนคน และมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 10 ล้านคนต่อปี
เป็นโครงการนี้ยิ่งใหญ่มาก หากทุกอย่างเป็นจริงได้ตามแผนงานที่วางไว้ ประเทศไทยก็น่าจะเรียกว่าเป็นยุคแสงทองผ่องอำไพอย่างแท้จริง
ที่มา: [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้