สวัสดียามค่ำคืนครับ มากันดึกๆ หายจากการเขียนกระทู้ไปนาน ทิ้งห่างจากกระทู้ไปสักพักใหญ่และยาวเลยทีเดียว ... ยาวใหญ่ อย่าคิดไปไกลนะครับ ถ้าคิดไปไกล แปลว่า เราคิดอย่างเดียวกัน 55555 เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา มาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ
วันนี้ก็จะมาพูดถึงการใช้ไฮไลท์กันนะครับ ซึ่งก็เป็นเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ เพื่อช่วยให้การอ่านหนังสือมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และก็เป็นโพสต์ที่นักเรียนนักศึกษาทุกคนเอาไปประยุกต์ใช้ได้ครับ ไม่ใช่เฉพาะแต่นักกฎหมายเท่านั้น
สิ่งแรกเลยในการใช้ปากกาไฮไลท์ก็คือ เราต้องมีปากกาไฮไลท์ครับ 😜และเพื่อความสวยงามและเป็นระเบียบก็ควรมีไม้บรรทัดไว้รองให้เราถูไฮไลท์ได้ตรงคงเส้นคงวาด้วยครับ
...เมื่อมีปากกาไฮไลท์พร้อมแล้ว ก็ต้องมาทำความเข้าใจว่า นี่คือ “ปากกาไฮไลท์” ไม่ใช่สี TOA หรือลิปสติกที่หยิบขึ้นมาทาถูๆ เพื่อความสวยงามตามใจชอบเหมือนยาหม่องตราถ้วยทอง...มันม๊าย ช่ายยยย ต้องมีขอบเขตในการใช้ด้วย และสิ่งที่อยากให้ทุกท่านเข้าใจไปพร้อมกันก็คือ ปากกาไฮไลท์ไม่ได้ทำให้เราจดจำข้อความเหล่านั้นได้โดยตรง เพียงแต่มันเป็นการจำกัดการมองเห็นทำให้เรามองเห็นข้อความได้น้อยลง และเมื่อเรามองเห็นข้อความได้น้อยลง เราก็จะจดจำข้อความน้อยๆ เหล่านั้นได้แม่นขึ้น นี่แหละ ประโยชน์ของเขาล่ะ 👍
สีที่ใช้ก็ควรมีเพียง 4 สีเท่านั้น จำนวน 4 สีเป็นจำนวนที่เพียงพอและไม่เยอะเกินไป หากเยอะเกินไปแทนที่จะช่วยให้จำได้กลับทำให้เราสับสนหนักกว่าเก่าอีก ปกติก็สับสนอยู่แล้ว เวรกรรมแท้ๆ 55555 เคยเห็นประมวลของชาวเฟสบุคท่านหนึ่งอย่างกับน้ำกินรุ้งเลย 🍭 🌈 พล่าตาไปหมด แบบนี้ติ๊บสมองหนักเลยครับ นอกจากนี้แล้วการใช้แต่ละสีก็ต้องมีความหมายในตัวด้วย ว่าแต่ละสีหมายความว่าอะไร เวลาเปิดอ่านปุ๊บจะได้รู้ว่าเรื่องนี้หรือมาตรานี้มีองค์ประกอบหรือมีสาระสำคัญอยู่ที่ไหนบ้าง 😁
ทีนี้ก็มาว่าด้วยเรื่องสีที่ใช้ และความหมายที่ให้กันครับ แต่ละคนก็อาจจะให้ความหมายของแต่ละสีที่แตกต่างกันไป ฉะนั้น ณ กระทู้นี้ ผมก็จะขอยกตัวอย่างแต่ละสีที่ผมใช้ละกันครับ ก็มีสีส้ม สีชมพู สีฟ้า และสีเขียว สียอดฮิตอย่างสีเหลืองสะท้อนแสงไม่ใช้นะครับ ตอนอ่านหนังสือก็เปิดไฟอยู่แล้วยิ่งสะท้อนยิ่งแยงตา ถถถถ. ก็เพราะว่าเป็นสียอดฮิตนี่เองครับ ผมเลยไม่ใช่ 555555 🤦
ถ้าเป็นการไฮไลท์ลงในตัวบท แต่ละสีจะมีความหมาย ดังนี้
สีส้ม = จะใช้ถูถ้อยคำสำคัญ (keyword) ของมาตรานั้น ที่แบบว่าจะขาดเสียไม่ได้ หรือว่าพอเปิดมาปุ๊บอ่านสีส้มที่ถูไว้ต้องนึกออกเลยว่าเป็นมาตราอะไร เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 ใช้ถูตรงคำว่า “สำคัญผิดในสาระสำคัญ” ซึ่งคำนี้ถือเป็นถ้อยคำสำคัญของมาตรา 156 เลยทีเดียวเชียว
สีฟ้า = ใช้ถูข้อยกเว้นของมาตรานั้นๆ หรือถ้อยคำสำคัญที่เป็นการบ่งบอกเนื้อหานั้นๆ คล้ายๆ กับสีส้มครับ ต่างกันตรงที่มันเป็นคนละจุดและต้องการให้มันเกิดความแตกต่าง
สีชมพู = ใช้ถูคำที่ต้องมีการขยายความออกไป คำที่ต้องเชื่อมไปยังมาตราอื่นๆ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 ถูตรงคำว่า “ใช้กำลังประทุษร้าย” และเขียนว่าไปดู มาตรา 1(6) ความหมายของคำว่า “ประทุษร้าย” หรือคำอื่นๆ ที่ต้องมีการขยายความโดยอาศัยคำพิพากษาฎีกาเป็นต้น
สีเขียว = ใช้ถูคำที่เป็นวิธีดำเนินการหรือระยะเวลา เช่น วิ.แพ่ง มาตรา 177 ถูคำว่า คำว่า “ภายในสิบห้าวัน” หรือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 “ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่” เป็นต้น
ในส่วนของคำพิพากษาฎีกา แต่ละสีจะมีความหมายก็คือ
สีฟ้า = ทาถูไปที่เลขฎีกาเลยครับ ให้รู้ว่าฎีกานี้ต้องเน้นนะ ต้องอ่านนะ หรือไม่ก็หลักการสำคัญของฎีกานั้นๆ
สีเขียว = ข้อเท็จจริงสำคัญของฎีกานั้นๆ ที่แบบว่าอ่านปุ๊บก็รู้เรื่องเลยว่าฎีกานี้เป็นเรื่องอะไร
สีส้ม = ผลของคดีนั้นๆ พร้อมกับเหตุผลที่ศาลฎีกาฟันลงมา
สีชมพู = แน่นอนว่า คำพิพากษาฎีกาสวยๆ มักจะมีจุดพลิกผันทำให้ข้อเท็จจริงที่ดูเหมือนว่าเราจะเข้าใจตามหลักการต้องเปลี่ยนไป เพราะ มีหลักการที่เป็นจุดหักเหอย่างอื่น ตรงนี้แหละครับ ใช้สีชมพู
นี้ก็คือการแนวทางการใช้ไฮไลท์เล็กๆ ที่นำมาฝากกันครับ นอกเหนือจากนี้ก็แล้วแต่เรื่องราวที่อ่านครับว่าต้องใช้สีอะไร ความหมายอะไร แต่หลักสำคัญที่อยากให้ไว้ก็คือ ให้ใช้ไฮไลท์โดยที่สีนั้นต้องมอบความหมายที่ดีให้เราเสมอ ช่วยให้เราจดจำได้แม่นยำขึ้น ก็อยากให้ทุกท่านนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับสไตล์ของตัวเองครับ...และก็อย่าลืมนะ ทุกสีต้องมีความหมาย ไม่ใช่ลิปสติก ไม่ใช่ TOA และก็ไม่ใช่ยาหม่องตราถ้วยทอง บรัยส์ ราตรีสวัสดิ์ 5555555 👋 🎉
การใช้ไฮไลท์ในการอ่านหนังสือของมนุษย์ประมวลและนักเรียน/นักศึกษา
วันนี้ก็จะมาพูดถึงการใช้ไฮไลท์กันนะครับ ซึ่งก็เป็นเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ เพื่อช่วยให้การอ่านหนังสือมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และก็เป็นโพสต์ที่นักเรียนนักศึกษาทุกคนเอาไปประยุกต์ใช้ได้ครับ ไม่ใช่เฉพาะแต่นักกฎหมายเท่านั้น
สิ่งแรกเลยในการใช้ปากกาไฮไลท์ก็คือ เราต้องมีปากกาไฮไลท์ครับ 😜และเพื่อความสวยงามและเป็นระเบียบก็ควรมีไม้บรรทัดไว้รองให้เราถูไฮไลท์ได้ตรงคงเส้นคงวาด้วยครับ
...เมื่อมีปากกาไฮไลท์พร้อมแล้ว ก็ต้องมาทำความเข้าใจว่า นี่คือ “ปากกาไฮไลท์” ไม่ใช่สี TOA หรือลิปสติกที่หยิบขึ้นมาทาถูๆ เพื่อความสวยงามตามใจชอบเหมือนยาหม่องตราถ้วยทอง...มันม๊าย ช่ายยยย ต้องมีขอบเขตในการใช้ด้วย และสิ่งที่อยากให้ทุกท่านเข้าใจไปพร้อมกันก็คือ ปากกาไฮไลท์ไม่ได้ทำให้เราจดจำข้อความเหล่านั้นได้โดยตรง เพียงแต่มันเป็นการจำกัดการมองเห็นทำให้เรามองเห็นข้อความได้น้อยลง และเมื่อเรามองเห็นข้อความได้น้อยลง เราก็จะจดจำข้อความน้อยๆ เหล่านั้นได้แม่นขึ้น นี่แหละ ประโยชน์ของเขาล่ะ 👍
สีที่ใช้ก็ควรมีเพียง 4 สีเท่านั้น จำนวน 4 สีเป็นจำนวนที่เพียงพอและไม่เยอะเกินไป หากเยอะเกินไปแทนที่จะช่วยให้จำได้กลับทำให้เราสับสนหนักกว่าเก่าอีก ปกติก็สับสนอยู่แล้ว เวรกรรมแท้ๆ 55555 เคยเห็นประมวลของชาวเฟสบุคท่านหนึ่งอย่างกับน้ำกินรุ้งเลย 🍭 🌈 พล่าตาไปหมด แบบนี้ติ๊บสมองหนักเลยครับ นอกจากนี้แล้วการใช้แต่ละสีก็ต้องมีความหมายในตัวด้วย ว่าแต่ละสีหมายความว่าอะไร เวลาเปิดอ่านปุ๊บจะได้รู้ว่าเรื่องนี้หรือมาตรานี้มีองค์ประกอบหรือมีสาระสำคัญอยู่ที่ไหนบ้าง 😁
ทีนี้ก็มาว่าด้วยเรื่องสีที่ใช้ และความหมายที่ให้กันครับ แต่ละคนก็อาจจะให้ความหมายของแต่ละสีที่แตกต่างกันไป ฉะนั้น ณ กระทู้นี้ ผมก็จะขอยกตัวอย่างแต่ละสีที่ผมใช้ละกันครับ ก็มีสีส้ม สีชมพู สีฟ้า และสีเขียว สียอดฮิตอย่างสีเหลืองสะท้อนแสงไม่ใช้นะครับ ตอนอ่านหนังสือก็เปิดไฟอยู่แล้วยิ่งสะท้อนยิ่งแยงตา ถถถถ. ก็เพราะว่าเป็นสียอดฮิตนี่เองครับ ผมเลยไม่ใช่ 555555 🤦
ถ้าเป็นการไฮไลท์ลงในตัวบท แต่ละสีจะมีความหมาย ดังนี้
สีส้ม = จะใช้ถูถ้อยคำสำคัญ (keyword) ของมาตรานั้น ที่แบบว่าจะขาดเสียไม่ได้ หรือว่าพอเปิดมาปุ๊บอ่านสีส้มที่ถูไว้ต้องนึกออกเลยว่าเป็นมาตราอะไร เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 ใช้ถูตรงคำว่า “สำคัญผิดในสาระสำคัญ” ซึ่งคำนี้ถือเป็นถ้อยคำสำคัญของมาตรา 156 เลยทีเดียวเชียว
สีฟ้า = ใช้ถูข้อยกเว้นของมาตรานั้นๆ หรือถ้อยคำสำคัญที่เป็นการบ่งบอกเนื้อหานั้นๆ คล้ายๆ กับสีส้มครับ ต่างกันตรงที่มันเป็นคนละจุดและต้องการให้มันเกิดความแตกต่าง
สีชมพู = ใช้ถูคำที่ต้องมีการขยายความออกไป คำที่ต้องเชื่อมไปยังมาตราอื่นๆ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 ถูตรงคำว่า “ใช้กำลังประทุษร้าย” และเขียนว่าไปดู มาตรา 1(6) ความหมายของคำว่า “ประทุษร้าย” หรือคำอื่นๆ ที่ต้องมีการขยายความโดยอาศัยคำพิพากษาฎีกาเป็นต้น
สีเขียว = ใช้ถูคำที่เป็นวิธีดำเนินการหรือระยะเวลา เช่น วิ.แพ่ง มาตรา 177 ถูคำว่า คำว่า “ภายในสิบห้าวัน” หรือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 “ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่” เป็นต้น
ในส่วนของคำพิพากษาฎีกา แต่ละสีจะมีความหมายก็คือ
สีฟ้า = ทาถูไปที่เลขฎีกาเลยครับ ให้รู้ว่าฎีกานี้ต้องเน้นนะ ต้องอ่านนะ หรือไม่ก็หลักการสำคัญของฎีกานั้นๆ
สีเขียว = ข้อเท็จจริงสำคัญของฎีกานั้นๆ ที่แบบว่าอ่านปุ๊บก็รู้เรื่องเลยว่าฎีกานี้เป็นเรื่องอะไร
สีส้ม = ผลของคดีนั้นๆ พร้อมกับเหตุผลที่ศาลฎีกาฟันลงมา
สีชมพู = แน่นอนว่า คำพิพากษาฎีกาสวยๆ มักจะมีจุดพลิกผันทำให้ข้อเท็จจริงที่ดูเหมือนว่าเราจะเข้าใจตามหลักการต้องเปลี่ยนไป เพราะ มีหลักการที่เป็นจุดหักเหอย่างอื่น ตรงนี้แหละครับ ใช้สีชมพู
นี้ก็คือการแนวทางการใช้ไฮไลท์เล็กๆ ที่นำมาฝากกันครับ นอกเหนือจากนี้ก็แล้วแต่เรื่องราวที่อ่านครับว่าต้องใช้สีอะไร ความหมายอะไร แต่หลักสำคัญที่อยากให้ไว้ก็คือ ให้ใช้ไฮไลท์โดยที่สีนั้นต้องมอบความหมายที่ดีให้เราเสมอ ช่วยให้เราจดจำได้แม่นยำขึ้น ก็อยากให้ทุกท่านนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับสไตล์ของตัวเองครับ...และก็อย่าลืมนะ ทุกสีต้องมีความหมาย ไม่ใช่ลิปสติก ไม่ใช่ TOA และก็ไม่ใช่ยาหม่องตราถ้วยทอง บรัยส์ ราตรีสวัสดิ์ 5555555 👋 🎉