นโยบายกรมชลประทานในการคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการ

ผมเป็นคนนึงที่ทำงานรับราชการ (เรียนจบด้านวิศวกรรมโยธา) ได้เห็นนโยบายของสำนักงาน ก.พ. ตามคำสั่ง
" http://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/circular/w12-2560.pdf " เงื่อนไขข้อ 67.


ในส่วนของกรมชลประทานนั้นคนที่เรียนจบด้านวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมชลประทาน และวิศวกรรมทรัพยากรน้ำจากทุกสถาบันที่มีใบประกอบวิชาชีพทางด้านวิศวกรรมโยธานั้นเวลากรมชลประทานเปิดสอบคัดเลือกในอดีตสามารถสมัครสอบได้ทั้งในตำแหน่ง วิศวกรโยธาปฏิบัติการและวิศวกรชลประทานปฏิบัติการ แต่นโยบายของกรมชลประทานได้เปลี่ยนแปลงในปี พ.ศ.2559 ให้ผู้ที่เรียนจบด้านวิศวกรรมโยธาจากทุกสถาบันที่มีใบประกอบวิชาชีพทางด้านวิศวกรรมโยธา สามารถสมัครสอบได้ในตำแหน่งวิศวกรโยธาปฏิบัติการเท่านั้น ส่วนผู้ที่เรียนจบด้านวิศวกรรมชลประทาน และวิศวกรรมทรัพยากรน้ำจากทุกสถาบันที่มีใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมโยธา สามารถสมัครสอบได้ในตำแหน่งวิศวกรโยธาปฏิบัติการและวิศวกรชลประทานปฏิบัติการ ซึ่งมีแค่ 3 สถานที่ที่เปิดการเรียนการสอนในสาขาดังกล่าวคือ
1.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิศวกรรมชลประทาน (วิทยาเขตกำแพงแสน)
2.สถาบันสมทบ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิศวกรรมชลประทาน (ของกรมชลประทาน)
3.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ (วิทยาเขตบางเขน)
ซึ่งเป็นเหมือนการปิดกั้นทางการสอบคัดเลือกในเมื่อทั้ง 3 คณะนั้นถือใบประกอบวิชาชีพทางด้านวิศวกรรมโยธาเหมือนกัน แต่ก็ยังไม่เท่านโยบายปัจจุบันของกรมชลประทานที่ต่อสู้เพื่อขอความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.พ. ในเรื่องการสอบคัดเลือกเข้ารับราชการในตำแหน่งวิศวกรชลประทานปฏิบัติการ โดยในปี พ.ศ.2561-2562 กรมชลประทานจะใช้คำสั่งของสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1004/ว12 ลงวันที่ 21 กันยายน 2560 ให้เปิดสอบรับบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งวิศวกรชลประทานปฏิบัติการ โดยไม่ต้องผ่านภาค ก. แต่ต้องเรียนจบทางด้านวิศวกรรมชลประทาน หรือวิศวกรรมโยธา-ชลประทาน เท่านั้น (ตัดวิศวกรรมทรัพยากรน้ำออกไปอีก) โดยกล่าวว่าอาชีพทางด้านนี้ขาดแคลน
ผมเลยอยากขอความคิดเห็นจากเพื่อนสมาชิกว่าสิ่งที่กรมชลประทานได้กระทำนั้นเป็นการกีดกันทางอาชีพหรือไม่หรือเกื้อให้เฉพาะบางสถาบันเท่านั้นในเมื่อถ้าเรียนจบด้านวิศวกรรมชลประทาน หรือวิศวกรรมโยธา-ชลประทานและมีใบประกอบวิชาชีพทางด้านวิศวกรรมโยธา สามารถทำงานด้านวิศวกรรมโยธาได้ทั้งหมด แต่ถ้าเรียนจบด้านวิศวกรรมโยธาและมีใบประกอบวิชาชีพทางด้านวิศวกรรมโยธา ไม่สามารถทำงานราชการด้านวิศวกรรมชลประทานได้ บรรทัดฐานของกรมชลประทานคืออะไร


หมายเหตุ
ตำแหน่ง วิศวกรโยธาปฏิบัติการในกรมชลประทานมีน้อยกว่าวิศวกรชลประทานปฏิบัติการมาก และในช่วงเวลาที่เปิดสอบของทั้ง 2 ตำแหน่ง ความถี่ในการเปิดสอบตำแหน่งวิศวกรชลประทานปฏิบัติการจะทำการเปิดสอบถี่มาก และรับบรรจุมากกว่า ในช่วงเวลา 1 ปี
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่