เรื่องสั้น.....วิทยุของหมู่บ้านและหลานลุงทูน
วิทยุชุมชนของอำเภอเรามีที่มาไม่เหมือนใคร หลวงพ่อเจ้าคณะตำบลท่านมองการณ์ไกล ความที่เป็นนักพัฒนา ท่านจึงศึกษากฎระเบียบของท่านเอง ติดต่อช่าง สั่งซื้ออุปกรณ์ด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัว แล้วก็ให้คนมาตั้งเสาอากาศ กว่าชาวบ้านจะรู้เรื่องก็มีเสียงพระที่ญาติโยมคุ้นเคยเทศน์ออกอากาศทุกเช้าค่ำก่อนปลายปี 2546
หลังทดลองออกอากาศได้ไม่นาน หลวงพ่อก็เชิญตัวแทนชาวบ้านมาชี้แจงว่าท่านสร้างกระบอกเสียงให้แล้ว ใครมีเรื่องราวดีๆ มีข่าวเตือนภัยก็มาช่วยกันกระจายข่าว ถือเป็นการเรียนรู้ใหม่ในบ้านเรา พร้อมกับยกให้ชุมชนบริหารกันเอง
ช่วงนั้น ด้วยใจรักงานสื่อสาร ฉันเป็นชาวบ้านคนแรกๆ ที่อาสาเดินเข้าไปในห้องส่ง คอยหาข่าวสารมาพูดออกอากาศผ่านคลื่นวิทยุขนาดกำลังส่ง 30 วัตต์ซึ่งได้ยินกันทั่วทุกตำบล แรกๆ ก็อาศัยข่าวจากหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ โดยเลือกเรื่องใกล้ตัวชาวบ้านมากที่สุด พร้อมทั้งพยายามเก็บข่าวจากชุมชนซึ่งดูเหมือนไม่ยากแต่ก็ไม่ง่าย แม้จะมีกำนันและผู้ใหญ่บ้านในแต่ละหมู่บ้านแต่ละตำบล แต่พวกเขาก็ไม่ได้มีความพร้อมสำหรับกิจกรรมนี้ อาสาสมัครอย่างฉันจึงต้องทำหน้าที่ทั้งผู้สื่อข่าว บรรณาธิการข่าว และนักจัดรายการวิทยุด้วยในเวลาเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม นานวันเข้าข่าวสารต่างๆ ก็ถูกส่งเข้ามาเอง โดยเฉพาะการจัดงานต่างๆ ในชุมชน เช่น ทอดกฐิน ผ้าป่า งานศพ แต่งงาน ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ฯลฯ ที่ช่วยเน้นความเป็นวิทยุชุมชนของเรามากขึ้น และยิ่งมีครูผู้กระตือรือร้นจากโรงเรียนประถมบ้านทุ่งแห่งหนึ่งอาสาเข้ามาเป็นประธานคณะทำงานด้วยแล้ว ราวกลางปี 2547 รายการต่างๆ ของวิทยุเราก็เริ่มคึกคักด้วยเรื่องราวในชุมชน จากการประสานงานของประธานคนนี้ ซึ่งเป็นไปพร้อมกับการใช้อำนาจและค่อนไปทางหาผลประโยชน์อยู่ในที
ฉันได้เรียนรู้สังคมที่นี่ผ่านวิทยุชุมชนของเรา ได้ร่วมงานกับผู้คนหลากหลายอาชีพที่มีจุดยืนเดียวกันคือ การทำงานแบบอาสาสมัคร ไม่หวังผลทางธุรกิจ โดยมีชาวบ้านคอยบริจาคช่วยค่าไฟและค่าคนเฝ้าห้องส่งเดือนละสามพันบาท
ระยะแรก ประธานจากโรงเรียนบ้านทุ่งมักมาพบที่บ้านและพูดคุยกับฉันในฐานะรองประธานอยู่บ่อยครั้ง แต่พอถึงเดือนสิงหาคม เขาก็เริ่มขาดการติดต่อสื่อสาร ที่น่าคิดก็คือ เขาตอบรับการประชุมแห่งหนึ่งเพื่อรับเงื่อนไขการเปิดซีดีรายการบันเทิงที่มีโฆษณาออกอากาศ โดยจะได้รับเงินตอบแทนทุกเดือน ซึ่งคณะทำงานไม่ได้รับรู้ด้วยเลย
ฉันเริ่มเข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร พร้อมกับส่งสัญญาณถึงเพื่อนๆ คณะกรรมการ ขณะที่ยังทำงานนี้ต่อไปด้วยใจดวงเดิม
ปีเดียวกัน หลังจากวันแม่แห่งชาติผ่านไปหนึ่งวัน วิทยุของเราได้รับข่าวที่ไม่คาดฝัน รูปถ่ายเด็กน้อยและข้อความที่เขียนด้วยลายมือชาวบ้านถูกส่งเข้ามาจากหมู่บ้านหนึ่งที่อยู่ห่างออกไปสิบกว่ากิโลเมตร เด็กหญิงแก้มป่องผิวคล้ำวัยหกขวบหายไปจากบ้านอย่างไร้ร่องรอยขณะที่ออกไปซื้อขนม อันเป็นช่วงที่ป้าดูแลบ้านและลุงซึ่งเป็นพี่ชายของแม่ไปเฝ้ายายของเด็กที่โรงพยาบาลอำเภอ ส่วนพ่อแม่เด็กน้อยทำงานอยู่ในกรุงเทพฯ
ข่าวเด็กหายแพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็ว พร้อมกับเรื่องราวต่างๆ สุดแต่ใครจะได้ข้อมูลจากแหล่งใด ขณะที่วิทยุของเราประกาศขอความร่วมมือจากชาวบ้านเพื่อช่วยกันหาเบาะแสคนลักพาตัวเด็ก ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ภาพถ่ายเด็กน้อยถูกขยายใหญ่และถ่ายเอกสารแจกทั่วอำเภอด้วยน้ำใจช่างภาพที่มีประวัติหนี้เสียจากการเป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน ส่วนฉัน ตลอดทั้งสัปดาห์นั้นคอยติดต่อกับสื่อมวลชนทั้งส่วนกลางและท้องถิ่นตามแต่จะนึกได้
น่าแปลกที่ประธานของเราไม่แสดงท่าทีเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย ทั้งที่เขาเป็นครู และบ้านของเขาก็ถือว่าไม่ไกลจากบ้านของเด็กมากนัก แม้ว่าเขาจะไม่ได้สอนในโรงเรียนที่เด็กอยู่ก็ตาม สิ่งที่เขาทำในเวลานั้นก็คือ ขนซีดีรายการบันเทิงแทรกโฆษณาเข้าไปสั่งให้คนเฝ้าห้องส่งเปิดออกอากาศวันละหนึ่งชั่วโมงทุกวัน ทั้งที่วิทยุของเราไม่อนุญาตให้มีการโฆษณา
วันที่ห้าของการออกอากาศซีดีชุดนั้น อันเป็นวันที่แปดที่เด็กน้อยหายไป หลังจากที่คณะทำงานพากันท้วงติง แต่ประธานก็ยังยืนยันว่าจะเปิด ฉันและเพื่อนๆ กรรมการจึงนัดประชุมกันเอง และตัดสินใจระงับการออกอากาศรายการนี้แม้รู้ดีว่าต้องเผชิญกับเหตุการณ์ใดในเวลาต่อมา
ราวบ่ายสามโมงของวันนั้น พร้อมกับความตั้งใจที่จะแจ้งให้ประธานทราบ ฉันนัดหมายให้ลุงทูน-ลุงของเด็กที่หายออกมาพบ เพื่อโทรศัพท์แจ้งในรายการโทรทัศน์การกุศลที่ถ่ายทอดสดรายการหนึ่ง
เขามีใบหน้าพิมพ์เดียวกับหลานสาว รูปร่างสูงใหญ่ ผิวคล้ำ และมีรอยกร้านแดดลมเช่นชาวไร่ทั่วไป ลุงทูนไม่ได้พูดอะไรมากนัก ริมฝีปากแห้งผาก นัยน์ตาขาวของเขาทั้งสองข้างมีเส้นเลือดฝอยสีแดงปรากฏชัด ขอบตาลึกเป็นสีคล้ำอย่างคนอดนอน
ลุงเล่าว่า ตั้งแต่หลานหายไป คืนแรกเขาและพี่น้องช่วยกันออกตามหาทั้งในสระน้ำ ทุ่งนา ป่าละเมาะ ทั่วทั้งหมู่บ้านแม้ฝนตกหนัก รุ่งขึ้นและวันต่อๆ มา จึงแบ่งกันเป็นสายเดินทางไปยังหมู่บ้านใกล้เคียง โดยที่ไม่ลืมพึ่งพาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และวิทยุชุมชนของเราก็เป็นอีกความหวังหนึ่งด้วย
ฉันอยากร้องไห้แทนลุงทูนเหลือเกินที่เย็นวันนั้นลุงต้องกลับไปโดยแทบสิ้นหวัง เพราะเจ้าหน้าที่ในรายการโทรทัศน์ชี้แจงว่าหมดเวลาเสียก่อนที่จะเปิดเสียงลุงออกอากาศ และขอรับข้อมูลไว้เพื่อประกาศให้ในคราวหน้า ลุงทูนลากลับไปท่ามกลางสายฝนกระหน่ำและสายฟ้าแปลบปลาบ ขณะที่เสียงแหบเครือของเขาในเครื่องบันทึกเทปยังก้องในหูฉัน
"อยากฝากว่า ถ้าไม่ได้ช่วยอะไรก็อย่าพูดให้คนเป็นพ่อเป็นแม่สะเทือนใจ เช่นว่า มันจะเอาไปตัดแขนตัดขาเป็นขอทาน อย่าพูดเลยครับ มันเจ็บปวด”
(อ่านต่อกรอบล่างค่ะ)
มีเรื่องสั้นจากชนบทมาฝากค่ะ
วิทยุชุมชนของอำเภอเรามีที่มาไม่เหมือนใคร หลวงพ่อเจ้าคณะตำบลท่านมองการณ์ไกล ความที่เป็นนักพัฒนา ท่านจึงศึกษากฎระเบียบของท่านเอง ติดต่อช่าง สั่งซื้ออุปกรณ์ด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัว แล้วก็ให้คนมาตั้งเสาอากาศ กว่าชาวบ้านจะรู้เรื่องก็มีเสียงพระที่ญาติโยมคุ้นเคยเทศน์ออกอากาศทุกเช้าค่ำก่อนปลายปี 2546
หลังทดลองออกอากาศได้ไม่นาน หลวงพ่อก็เชิญตัวแทนชาวบ้านมาชี้แจงว่าท่านสร้างกระบอกเสียงให้แล้ว ใครมีเรื่องราวดีๆ มีข่าวเตือนภัยก็มาช่วยกันกระจายข่าว ถือเป็นการเรียนรู้ใหม่ในบ้านเรา พร้อมกับยกให้ชุมชนบริหารกันเอง
ช่วงนั้น ด้วยใจรักงานสื่อสาร ฉันเป็นชาวบ้านคนแรกๆ ที่อาสาเดินเข้าไปในห้องส่ง คอยหาข่าวสารมาพูดออกอากาศผ่านคลื่นวิทยุขนาดกำลังส่ง 30 วัตต์ซึ่งได้ยินกันทั่วทุกตำบล แรกๆ ก็อาศัยข่าวจากหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ โดยเลือกเรื่องใกล้ตัวชาวบ้านมากที่สุด พร้อมทั้งพยายามเก็บข่าวจากชุมชนซึ่งดูเหมือนไม่ยากแต่ก็ไม่ง่าย แม้จะมีกำนันและผู้ใหญ่บ้านในแต่ละหมู่บ้านแต่ละตำบล แต่พวกเขาก็ไม่ได้มีความพร้อมสำหรับกิจกรรมนี้ อาสาสมัครอย่างฉันจึงต้องทำหน้าที่ทั้งผู้สื่อข่าว บรรณาธิการข่าว และนักจัดรายการวิทยุด้วยในเวลาเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม นานวันเข้าข่าวสารต่างๆ ก็ถูกส่งเข้ามาเอง โดยเฉพาะการจัดงานต่างๆ ในชุมชน เช่น ทอดกฐิน ผ้าป่า งานศพ แต่งงาน ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ฯลฯ ที่ช่วยเน้นความเป็นวิทยุชุมชนของเรามากขึ้น และยิ่งมีครูผู้กระตือรือร้นจากโรงเรียนประถมบ้านทุ่งแห่งหนึ่งอาสาเข้ามาเป็นประธานคณะทำงานด้วยแล้ว ราวกลางปี 2547 รายการต่างๆ ของวิทยุเราก็เริ่มคึกคักด้วยเรื่องราวในชุมชน จากการประสานงานของประธานคนนี้ ซึ่งเป็นไปพร้อมกับการใช้อำนาจและค่อนไปทางหาผลประโยชน์อยู่ในที
ฉันได้เรียนรู้สังคมที่นี่ผ่านวิทยุชุมชนของเรา ได้ร่วมงานกับผู้คนหลากหลายอาชีพที่มีจุดยืนเดียวกันคือ การทำงานแบบอาสาสมัคร ไม่หวังผลทางธุรกิจ โดยมีชาวบ้านคอยบริจาคช่วยค่าไฟและค่าคนเฝ้าห้องส่งเดือนละสามพันบาท
ระยะแรก ประธานจากโรงเรียนบ้านทุ่งมักมาพบที่บ้านและพูดคุยกับฉันในฐานะรองประธานอยู่บ่อยครั้ง แต่พอถึงเดือนสิงหาคม เขาก็เริ่มขาดการติดต่อสื่อสาร ที่น่าคิดก็คือ เขาตอบรับการประชุมแห่งหนึ่งเพื่อรับเงื่อนไขการเปิดซีดีรายการบันเทิงที่มีโฆษณาออกอากาศ โดยจะได้รับเงินตอบแทนทุกเดือน ซึ่งคณะทำงานไม่ได้รับรู้ด้วยเลย
ฉันเริ่มเข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร พร้อมกับส่งสัญญาณถึงเพื่อนๆ คณะกรรมการ ขณะที่ยังทำงานนี้ต่อไปด้วยใจดวงเดิม
ปีเดียวกัน หลังจากวันแม่แห่งชาติผ่านไปหนึ่งวัน วิทยุของเราได้รับข่าวที่ไม่คาดฝัน รูปถ่ายเด็กน้อยและข้อความที่เขียนด้วยลายมือชาวบ้านถูกส่งเข้ามาจากหมู่บ้านหนึ่งที่อยู่ห่างออกไปสิบกว่ากิโลเมตร เด็กหญิงแก้มป่องผิวคล้ำวัยหกขวบหายไปจากบ้านอย่างไร้ร่องรอยขณะที่ออกไปซื้อขนม อันเป็นช่วงที่ป้าดูแลบ้านและลุงซึ่งเป็นพี่ชายของแม่ไปเฝ้ายายของเด็กที่โรงพยาบาลอำเภอ ส่วนพ่อแม่เด็กน้อยทำงานอยู่ในกรุงเทพฯ
ข่าวเด็กหายแพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็ว พร้อมกับเรื่องราวต่างๆ สุดแต่ใครจะได้ข้อมูลจากแหล่งใด ขณะที่วิทยุของเราประกาศขอความร่วมมือจากชาวบ้านเพื่อช่วยกันหาเบาะแสคนลักพาตัวเด็ก ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ภาพถ่ายเด็กน้อยถูกขยายใหญ่และถ่ายเอกสารแจกทั่วอำเภอด้วยน้ำใจช่างภาพที่มีประวัติหนี้เสียจากการเป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน ส่วนฉัน ตลอดทั้งสัปดาห์นั้นคอยติดต่อกับสื่อมวลชนทั้งส่วนกลางและท้องถิ่นตามแต่จะนึกได้
น่าแปลกที่ประธานของเราไม่แสดงท่าทีเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย ทั้งที่เขาเป็นครู และบ้านของเขาก็ถือว่าไม่ไกลจากบ้านของเด็กมากนัก แม้ว่าเขาจะไม่ได้สอนในโรงเรียนที่เด็กอยู่ก็ตาม สิ่งที่เขาทำในเวลานั้นก็คือ ขนซีดีรายการบันเทิงแทรกโฆษณาเข้าไปสั่งให้คนเฝ้าห้องส่งเปิดออกอากาศวันละหนึ่งชั่วโมงทุกวัน ทั้งที่วิทยุของเราไม่อนุญาตให้มีการโฆษณา
วันที่ห้าของการออกอากาศซีดีชุดนั้น อันเป็นวันที่แปดที่เด็กน้อยหายไป หลังจากที่คณะทำงานพากันท้วงติง แต่ประธานก็ยังยืนยันว่าจะเปิด ฉันและเพื่อนๆ กรรมการจึงนัดประชุมกันเอง และตัดสินใจระงับการออกอากาศรายการนี้แม้รู้ดีว่าต้องเผชิญกับเหตุการณ์ใดในเวลาต่อมา
ราวบ่ายสามโมงของวันนั้น พร้อมกับความตั้งใจที่จะแจ้งให้ประธานทราบ ฉันนัดหมายให้ลุงทูน-ลุงของเด็กที่หายออกมาพบ เพื่อโทรศัพท์แจ้งในรายการโทรทัศน์การกุศลที่ถ่ายทอดสดรายการหนึ่ง
เขามีใบหน้าพิมพ์เดียวกับหลานสาว รูปร่างสูงใหญ่ ผิวคล้ำ และมีรอยกร้านแดดลมเช่นชาวไร่ทั่วไป ลุงทูนไม่ได้พูดอะไรมากนัก ริมฝีปากแห้งผาก นัยน์ตาขาวของเขาทั้งสองข้างมีเส้นเลือดฝอยสีแดงปรากฏชัด ขอบตาลึกเป็นสีคล้ำอย่างคนอดนอน
ลุงเล่าว่า ตั้งแต่หลานหายไป คืนแรกเขาและพี่น้องช่วยกันออกตามหาทั้งในสระน้ำ ทุ่งนา ป่าละเมาะ ทั่วทั้งหมู่บ้านแม้ฝนตกหนัก รุ่งขึ้นและวันต่อๆ มา จึงแบ่งกันเป็นสายเดินทางไปยังหมู่บ้านใกล้เคียง โดยที่ไม่ลืมพึ่งพาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และวิทยุชุมชนของเราก็เป็นอีกความหวังหนึ่งด้วย
ฉันอยากร้องไห้แทนลุงทูนเหลือเกินที่เย็นวันนั้นลุงต้องกลับไปโดยแทบสิ้นหวัง เพราะเจ้าหน้าที่ในรายการโทรทัศน์ชี้แจงว่าหมดเวลาเสียก่อนที่จะเปิดเสียงลุงออกอากาศ และขอรับข้อมูลไว้เพื่อประกาศให้ในคราวหน้า ลุงทูนลากลับไปท่ามกลางสายฝนกระหน่ำและสายฟ้าแปลบปลาบ ขณะที่เสียงแหบเครือของเขาในเครื่องบันทึกเทปยังก้องในหูฉัน
"อยากฝากว่า ถ้าไม่ได้ช่วยอะไรก็อย่าพูดให้คนเป็นพ่อเป็นแม่สะเทือนใจ เช่นว่า มันจะเอาไปตัดแขนตัดขาเป็นขอทาน อย่าพูดเลยครับ มันเจ็บปวด”
(อ่านต่อกรอบล่างค่ะ)