SOAR analysis มาแทน SWOT? .. 26/9/2560 สรายุทธ กันหลง

กระทู้สนทนา
SOAR analysis มาแทน SWOT? .. 26/9/2560
https://ppantip.com/topic/36914367

SOAR เป็นกระบวนการกำหนดกลยุทธ์และการวางแผนเพื่อให้องค์กรมองภาพอนาคตที่พอใจ มาจากปรัชญาการแสวงหาอย่างชื่นชม (Appreciative Inquiry : AI) ที่นำมาใช้กับแนวคิดเชิงกลยุทธ์และกระบวนการพิจารณา ประกอบด้วย จุดแข็ง (Strengths : S) โอกาส (Opportunities : O) ความฝัน/แรงบันดาลใจ (Aspirations : A) ผลลัพธ์ (Result : R)

SOAR ต่างจาก SWOT ที่มีจุดแข็ง จุดด้อย โอกาส และภัยคุกคาม (Strengths: S, Weaknesses : W, Opportunity : O, Threat : T) ที่ว่าเป็นการวางแผนกลยุทธ์เชิงบวก ที่ไม่ได้มองข้ามจุดอ่อนและภัยคุกคาม แต่ให้ความสนใจกับความฝัน/แรงบันดาลใจ และผลลัพธ์ เพื่อให้เวลาพิจารณาสิ่งที่สมาชิกในองค์กรมีศักยภาพหรือทำได้ดีอยู่แล้ว เพื่อให้เกิดพลังและความมั่นใจที่จะตั้งเป้าหมายที่ท้าทายและบรรลุความสำเร็จได้

การวิเคราะห์กลยุทธ์โซอ้าร์ (SOAR) ในทางการศึกษา

Organization Development หรือการพัฒนาองค์กร มีแนวคิดหลากหลาย แนวคิดหนึ่งคือการวางแผนกลยุทธ์ (strategic planning) ที่ใช้แพร่หลายมากคือ SWOT analysis หรือการวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัย (Strengths, Weaknesses, Opportunities, and Threats) แต่นักวิชาการบางส่วนมองว่า SWOT analysis มีมุมมองในแง่ลบหรือมองในแง่ความบกพร่อง (negative or deficit)  จึงได้มีแนวคิด "การตรวจสอบอย่างชื่นชม" (Appreciative Inquiry : AI) ที่เป็นกระบวนการวางแผลกลยุทธ์และประสบความสำเร็จ (Sprangel and Stavros, 2011) มีหลักการ 4-D (Stavros and Cooperrider 2013) คือ

Discovery หรือ ค้นหา ระบุเหตุการณ์ของความสำเร็จ ค่านิยมหลัก และการปฏิบัติที่ดีเลิศขององค์กรตน

Dream หรือ ฝัน มีวิสัยทัศน์มองความเป็นไปได้ต่างๆเชิงบวก

Design หรือ ออกแบบ มีโครงสร้าง กระบวนการ และความสัมพันธ์ เพื่อนำไปสู่ความฝันนั้น และ

Destiny หรือ ชะตากรรมของความสำเร็จ พัฒนาแผนที่มาจากแรงบันดาลใจ มีประสิทธิผล นำไปสู่การปฏิบัติได้

แนวคิด Appreciative Inquiry ได้นำมาสู่การวิเคราะห์กลยุทธ์ SOAR (Strengths, Opportunities, Aspirations, Results) อ่านว่า โซอ้าร์ หรือ การวิเคราะห์จุดแข็ง โอกาส ความฝัน และผลลัพธ์ ซึ่งมาแทนการวิเคราะห์ SWOT การวิเคราะห์ SOAR เป็น "มุมมองอย่างลึกซึ้งของการคิดและการวางแผนกลยุทธ์เชิงบวกที่ส่งเสริมให้องค์กรได้สร้างอนาคตของตนเองด้วยความร่วมมือความเข้าใจร่วมกันและความมุ่งมั่นปฏิบัติ" (a profoundly positive approach to strategic thinking and planning that allows an organization to construct its future through collaboration, shared understanding and a commitment to action) (Stavros and Hinrichs, 2009)

SWOT เหมาะสำหรับการปรึกษาแบบระบบ top down คือ เอาระดับหัวหน้ามาระดมสมองกัน ส่วน SOAR เหมาะแบบ bottom up คือให้สมาขิกทุกคนในองค์การมีส่วนร่วม แบบหลังอาจจะช้าและสลับซับซ้อน  แต่ผลสรุปที่มาจะยั่งยืนและทำให้สมาขิกในองค์การเต็มใจทำงานร่วมกันมากกว่า แต่สุดท้ายอยู่ที่ความเป็นภาวะผู้นำของทุกคนในองค์การ

สามารถสั่งซื้อหนังสือ SOAR ได้ที่
http://www.soar-strategy.com/index.php?f=order

เป็น eBook ราคาประมาณ 10 เหรียญสหรัฐ
https://www.amazon.com/Thin-Book-Building-Strengths-Based-Strategy/dp/B002EAYITS/ref=sr_1_1?ie=UTF8&s=digital-text&qid=1248375512&sr=1-1

อ้างอิง

Stavros, J. M., & Hinrichs, G. (2009). SOAR: Building Strengths-Based Stragety. Retrieved September 26, 2017. http://www.soar-strategy.com/

Strengths, opportunities, aspirations, results (SOAR) analysis. (2016), Service Quality Division. The Global Voice Quality. Retrieved April 24, 2017.
http://asqservicequality.org/glossary/strengths-opportunities-aspirations-results-soar-analysis/

Sprangel, J. Stavros, J., & Cole, M. (2011). Creating sustainable relationships using the strengths, opportunities, aspirations and results framework, trust, and environmentalism: a research-based case study. International Journal of Training and Development, 15, 39-57. DOI: 10.1111/j.1468-2419.2010.00367.x

Stavros, J., Cooperrider, D., & Kelley, D. L. (2003). Strategic Inquiry -> Appreciative Intent: Inspiration to SOAR A New Framework for Strategic Planning. AI Practitioner.

Stavros, J. M., & Hinrichs, G. (2009). The Thin Book of SOAR: Building Strengths-Based Strategy. Bend, OR: Thin Book Publishing Co.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่