ในวันจันทร์ - อังคารช่วงนี้หลายช่องมีละครเกี่ยวกับภาษาหรือวัฒนธรรมท้องถิ่นออกอากาศ คือเรื่องรากนคราทางช่องสามเกี่ยวกับภาคเหนือ เรื่องนายฮ้อยทมิฬเกี่ยวกับภาคอีสานทางช่องเจ็ด และเงาอาถรรพ์ทางช่องแปดเกี่ยวกับภาคใต้ จึงอยากมาแสดงความคิดเห็นอะไรสักเล็กน้อยในกระทู้นี้ครับ
โดยส่วนตัวอยากเห็นภาพยนตร์กับละครทำเรื่องราวประมาณนี้เพิ่มมาอีกหลายๆเรื่อง (นวนิยายที่มีเนื้อหาทำนองนี้เชื่อว่ามีหลายเรื่องแล้วเพียงแต่ยังไม่ได้นำมาสร้างเป็นละคร) เพื่อให้คนในแต่ละภาคเข้าใจว่าในแต่ละท้องถิ่นมีวัฒนธรรมหรือความเป็นอยู่อย่างไรบ้าง เป็นการเรียนรู้ซึ่งกันและกันไปในตัว ซึ่งในความเป็นจริง ประเทศไทยของเรานี่มีความเป็น Cultural Diversity หรือมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่สูงมาก หลายคนอาจมองอย่างหยาบๆว่ามีเพียงสี่ภาค เหนือ - กลาง - ใต้ - อีสาน ทว่าในความเป็นจริงในแต่ละภาคเองก็มีวัฒนธรรมย่อยๆที่หลากหลายไปอีก พอยกตัวอย่างได้ดังนี้
ภาคกลาง - ภาษาแถบเมืองที่เป็นกรุงเก่า (พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง สุพรรณบุรี) ที่หลายคนมองว่าเหน่อ ถือเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่ง ส่วนนี้เชื่อว่าผู้ชมน่าจะเคยเห็นกันบ่อยๆแล้วในภาพยนตร์, ละครหลายๆเรื่อง
ที่จริงความเหน่อ, ไม่เหน่อนี่ เท่าที่เคยฟังอาจารย์มา อาจารย์บอกว่าขึ้นอยู่กับว่าใช้สำเนียงใดเป็นสำเนียงทางการ โดยสำเนียงของเมืองหลวงมักเป็นสำเนียงทางการ ถ้าสำเนียงกรุงเก่าเป็นสำเนียงทางการ ก็อาจทำให้มองสำเนียงกรุงเทพฯว่าเหน่อได้เช่นกัน
ภาคตะวันออก - วัฒนธรรมอาจคล้ายภาคกลาง มีบางส่วนที่ต่างไปบ้าง สำเนียงพูดเป็นภาษากลางจริงแต่การออกเสียงหรือวรรณยุกต์อาจต่างออกไป อันเป็นอิทธิพลของบางกลุ่มชาติพันธุ์ เช่นชอง เป็นต้ร
ภาคตะวันตก - วัฒนธรรมส่วนใหญ่คล้ายภาคกลาง มีวัฒนธรรมอื่นๆบ้าง เช่นของชนเผ่าต่างๆ เช่นของกะเหรี่ยงในเรื่องเพชรพระอุมา
(มีต่อจ้า)
อยากเห็นภาพยนตร์, ละครไทยที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นอีกหลายๆเรื่อง
โดยส่วนตัวอยากเห็นภาพยนตร์กับละครทำเรื่องราวประมาณนี้เพิ่มมาอีกหลายๆเรื่อง (นวนิยายที่มีเนื้อหาทำนองนี้เชื่อว่ามีหลายเรื่องแล้วเพียงแต่ยังไม่ได้นำมาสร้างเป็นละคร) เพื่อให้คนในแต่ละภาคเข้าใจว่าในแต่ละท้องถิ่นมีวัฒนธรรมหรือความเป็นอยู่อย่างไรบ้าง เป็นการเรียนรู้ซึ่งกันและกันไปในตัว ซึ่งในความเป็นจริง ประเทศไทยของเรานี่มีความเป็น Cultural Diversity หรือมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่สูงมาก หลายคนอาจมองอย่างหยาบๆว่ามีเพียงสี่ภาค เหนือ - กลาง - ใต้ - อีสาน ทว่าในความเป็นจริงในแต่ละภาคเองก็มีวัฒนธรรมย่อยๆที่หลากหลายไปอีก พอยกตัวอย่างได้ดังนี้
ภาคกลาง - ภาษาแถบเมืองที่เป็นกรุงเก่า (พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง สุพรรณบุรี) ที่หลายคนมองว่าเหน่อ ถือเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่ง ส่วนนี้เชื่อว่าผู้ชมน่าจะเคยเห็นกันบ่อยๆแล้วในภาพยนตร์, ละครหลายๆเรื่อง
ที่จริงความเหน่อ, ไม่เหน่อนี่ เท่าที่เคยฟังอาจารย์มา อาจารย์บอกว่าขึ้นอยู่กับว่าใช้สำเนียงใดเป็นสำเนียงทางการ โดยสำเนียงของเมืองหลวงมักเป็นสำเนียงทางการ ถ้าสำเนียงกรุงเก่าเป็นสำเนียงทางการ ก็อาจทำให้มองสำเนียงกรุงเทพฯว่าเหน่อได้เช่นกัน
ภาคตะวันออก - วัฒนธรรมอาจคล้ายภาคกลาง มีบางส่วนที่ต่างไปบ้าง สำเนียงพูดเป็นภาษากลางจริงแต่การออกเสียงหรือวรรณยุกต์อาจต่างออกไป อันเป็นอิทธิพลของบางกลุ่มชาติพันธุ์ เช่นชอง เป็นต้ร
ภาคตะวันตก - วัฒนธรรมส่วนใหญ่คล้ายภาคกลาง มีวัฒนธรรมอื่นๆบ้าง เช่นของชนเผ่าต่างๆ เช่นของกะเหรี่ยงในเรื่องเพชรพระอุมา
(มีต่อจ้า)