"เขาย้ายรัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล และศาล จากอัมเตอร์ดัมมาที่เฮกตั้งแต่เมื่อไหร่คะ" คือ คำถามที่เพื่อนร่วมชั้นชาวอาร์เมเนียถามอาจารย์ชาวดัทช์ระหว่างที่พานักเรียนมาทัศนศึกษาที่กรุงเฮก
"เขาไม่ได้ย้ายนะ แต่ทุกอย่างอยู่ที่นี่มาแต่ดั้งเดิมแล้ว" คือ คำตอบของอาจารย์
เมืองหลวงที่ทุกคนคุ้นเคย คือ เมืองที่เป็นที่ตั้งของรัฐบาล รัฐสภา ศาลฎีกา กระทรวง และสถานทูต พร้อมกับมีคำว่า "กรุง" นำหน้า ทั้งหมดนี้คือสิ่งที "กรุงเฮก" มี (ภาษาอังกฤษ คือ The Hague ต้องมี The ด้วย ในภาษาดัทช์ก็ยังคง article ไว้ เรียกว่า Den Haag เช่นเดียวกับภาษาฝรั่งเศสที่เรียกว่า La Haye)
แต่เหตุไฉนเราถึงเรียนกันมาว่า อัมสเตอร์ดัม คือ เมืองหลวงของเนเธอร์แลนด์
สืบเนื่องจากความเดิมตอนที่แล้วที่กล่างถึงเมือง Delft (
https://www.facebook.com/IRememberEurope/posts/2057511721145187) เมื่อได้อิสรภาพแล้วจากสเปน เนเธอร์แลนด์ได้จัดตั้ง Dutch Republic หรือ United Provinces พร้อมย้ายที่ทำการราชการสำคัญไปยังกรุงเฮกในปี ค.ศ. ๑๕๘๘ และคงอยู่เช่นนั้นเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ต่อมาเมื่อสงครามนโปเลียนที่ได้แผ่ขยายไปเกือบทั่วทั้งยุโรปสิ้นสุดลง การประชุมใหญ่แห่งเวียนนา (Congress of Vienna) ได้มีมติจัดตั้งสหราชอาณาจักรแห่งเนเธอร์แลนด์ (United Kingdom of the Netherlands) โดยได้ผนวกดินแดนของเนเธอร์แลนด์และเบลเยียมในปัจจุบันเข้าด้วยกันเป็นประเทศเดียวในปี ๑๘๑๕
เพื่อประนีประนอมทั้ง ๒ ฝ่าย จึงได้กำหนดให้เมืองหลวงสับเปลี่ยนทุก ๒ ปี ระหว่างกรุงบรัสเซลส์ (เบลเยียม) และอัมสเตอร์ดัม โดยที่ทำการของรัฐบาลยังอยู่ที่กรุงเฮกเหมือนเดิม
ความสำคัญของอัมสเตอร์ดัมในฐานะเมืองหลวง คือ เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกและพระราชพิธีเสกสมรส (ส่วนพระราชพิธีศพทำที่ Delft) แต่การตั้งอัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองหลวงยังมีนัยยะที่ลึกซึ้งกว่านั้น
ในสมัยนั้น อัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองที่ร่ำรวยมั่งคั่งทั้งเศรษฐกิจและวัฒนธรรม และเป็นผู้นำเมืองที่นิยมความคิดแบบสาธารณรัฐ จึงมีความขัดแย้งทางการเมืองอยู่บ่อยครั้งกับฝ่ายนิยมสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีที่มั่นอยู่ที่กรุงเฮก ด้วยเหตุนี้ การแต่งตั้งอัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองหลวงจึงมีนัยยะของความประนีประนอมของสถาบันฯ รวมทั้งการยอมรับสิทธิและอำนาจของพลเมืองในคราวเดียวกัน
ต่อมาในปี ๑๙๘๓ รัฐธรรมนูญจึงได้กำหนดให้อัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ในขณะที่ที่ทำการราชการยังคงอยู่ที่กรุงเฮกเหมือนเดิม
จึงอาจกล่าวได้ว่า อัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองหลวงทางนิตินัย (de jure) ขณะที่กรุงเฮกเป็นเมืองหลวงทางพฤตินัย (de facto) ปัจจุบัน ยังเป็นที่ตั้งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ศาลอาญาระหว่างประเทศ รวมทั้งองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ อีกด้วย
-----------------------------------------------------------
ใครสนใจการเรียน การทำงาน และการท่องเที่ยวแนว hidden gems ในยุโรป ก็ขอเชิญไปเยี่ยมชมหรือพูดคุยกันได้ที่เฟสบุ๊คแฟนเพจครับ
https://www.facebook.com/IRememberEurope/
กรุงเฮกคือเมืองหลวงของเนเธอร์แลนด์?
"เขาไม่ได้ย้ายนะ แต่ทุกอย่างอยู่ที่นี่มาแต่ดั้งเดิมแล้ว" คือ คำตอบของอาจารย์
เมืองหลวงที่ทุกคนคุ้นเคย คือ เมืองที่เป็นที่ตั้งของรัฐบาล รัฐสภา ศาลฎีกา กระทรวง และสถานทูต พร้อมกับมีคำว่า "กรุง" นำหน้า ทั้งหมดนี้คือสิ่งที "กรุงเฮก" มี (ภาษาอังกฤษ คือ The Hague ต้องมี The ด้วย ในภาษาดัทช์ก็ยังคง article ไว้ เรียกว่า Den Haag เช่นเดียวกับภาษาฝรั่งเศสที่เรียกว่า La Haye)
แต่เหตุไฉนเราถึงเรียนกันมาว่า อัมสเตอร์ดัม คือ เมืองหลวงของเนเธอร์แลนด์
สืบเนื่องจากความเดิมตอนที่แล้วที่กล่างถึงเมือง Delft (https://www.facebook.com/IRememberEurope/posts/2057511721145187) เมื่อได้อิสรภาพแล้วจากสเปน เนเธอร์แลนด์ได้จัดตั้ง Dutch Republic หรือ United Provinces พร้อมย้ายที่ทำการราชการสำคัญไปยังกรุงเฮกในปี ค.ศ. ๑๕๘๘ และคงอยู่เช่นนั้นเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ต่อมาเมื่อสงครามนโปเลียนที่ได้แผ่ขยายไปเกือบทั่วทั้งยุโรปสิ้นสุดลง การประชุมใหญ่แห่งเวียนนา (Congress of Vienna) ได้มีมติจัดตั้งสหราชอาณาจักรแห่งเนเธอร์แลนด์ (United Kingdom of the Netherlands) โดยได้ผนวกดินแดนของเนเธอร์แลนด์และเบลเยียมในปัจจุบันเข้าด้วยกันเป็นประเทศเดียวในปี ๑๘๑๕
เพื่อประนีประนอมทั้ง ๒ ฝ่าย จึงได้กำหนดให้เมืองหลวงสับเปลี่ยนทุก ๒ ปี ระหว่างกรุงบรัสเซลส์ (เบลเยียม) และอัมสเตอร์ดัม โดยที่ทำการของรัฐบาลยังอยู่ที่กรุงเฮกเหมือนเดิม
ความสำคัญของอัมสเตอร์ดัมในฐานะเมืองหลวง คือ เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกและพระราชพิธีเสกสมรส (ส่วนพระราชพิธีศพทำที่ Delft) แต่การตั้งอัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองหลวงยังมีนัยยะที่ลึกซึ้งกว่านั้น
ในสมัยนั้น อัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองที่ร่ำรวยมั่งคั่งทั้งเศรษฐกิจและวัฒนธรรม และเป็นผู้นำเมืองที่นิยมความคิดแบบสาธารณรัฐ จึงมีความขัดแย้งทางการเมืองอยู่บ่อยครั้งกับฝ่ายนิยมสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีที่มั่นอยู่ที่กรุงเฮก ด้วยเหตุนี้ การแต่งตั้งอัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองหลวงจึงมีนัยยะของความประนีประนอมของสถาบันฯ รวมทั้งการยอมรับสิทธิและอำนาจของพลเมืองในคราวเดียวกัน
ต่อมาในปี ๑๙๘๓ รัฐธรรมนูญจึงได้กำหนดให้อัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ในขณะที่ที่ทำการราชการยังคงอยู่ที่กรุงเฮกเหมือนเดิม
จึงอาจกล่าวได้ว่า อัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองหลวงทางนิตินัย (de jure) ขณะที่กรุงเฮกเป็นเมืองหลวงทางพฤตินัย (de facto) ปัจจุบัน ยังเป็นที่ตั้งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ศาลอาญาระหว่างประเทศ รวมทั้งองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ อีกด้วย
-----------------------------------------------------------
ใครสนใจการเรียน การทำงาน และการท่องเที่ยวแนว hidden gems ในยุโรป ก็ขอเชิญไปเยี่ยมชมหรือพูดคุยกันได้ที่เฟสบุ๊คแฟนเพจครับ https://www.facebook.com/IRememberEurope/