คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 23
ไดโนเสาร์ที่พบในประเทศไทย มี 7 ชนิดค่ะ
1. ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน
เป็นไดโนเสาร์ซอโรพอดกินพืชขนาดใหญ่เดิน 4 ขา คอยาว หางยาว อายุประมาณ 130 ล้านปี ความยาวประมาณ 15-20 เมตร พบฟอสซิลครั้งแรกที่อุทยาoแห่งชาติภูเวียง จังหวัดขอนแก่น โดยตั้งชื่อเพื่อถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
2. อีสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชิ
เป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ เดิน 4 ขา คอยาว หางยาว อายุยุคไทรแอสซิกตอนปลาย ประมาณ 209 ล้านปี ความยาวประมาณ 13-15 เมตร ขุดค้นพบฟอสซิลที่จังหวัดชัยภูมิ โดยตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ นายปรีชา อรรถวิภัชน์ อดีตอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี
3. ชิตตะโกซอรัส สัตยารักษ์กี
เป็นไดโนเสาร์พวกที่มีสะโพกแบบนก สกุลเดียวกับที่พบในจีนแต่เป็นชนิดใหม่ เป็นไดโนเสาร์ที่กินพืชขนาดเล็กอายุยุคครีเทเชียสตอนต้นประมาณ 100 ล้านปี ความยาวประมาณ 1 เมตร โดยตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ นายนเรศ สัตยารักษ์ ผู้ค้นพบ
4. สยามโมซอรัส สุธีธรนิ
เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดในยุคครีเทเชียสตอนต้นประมาณ 130 ล้านปี ความยาวประมาณ 7 เมตร มีฟันที่มีลักษณะคล้ายฟันจระเข้ กินพืชและกินสัตว์น้ำจำพวกปลาเป็นอาหาร ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ นายวราวุธ สุธีธร อดีตผู้อำนวยการสำนักวิจัยซากดึกดำบรรพ์และพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา ผู้มีส่วนสำคัญในการสำรวจพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ในประเทศไทย
5. สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส
เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดที่เดินด้วย 2 ขาหลัง ส่วย 2 ขาหน้ามีขนาดเล็ก ในยุคครีเทเซียสตอนต้น ประมาณ 130 ล้านปี ความยาวประมาณ 6.5 เมตร นับว่าเป็นบรรพบุรุษของ ไทรันโนซอรัส เร็กซ์ ที่พบในอเมริกาเหนือ
6. กินรีมิมัส ขอนแก่นเอนซิส
เป็นไดโนเสาร์กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหารเดินและวิ่งด้วย 2 ขาหลัง มีรูปร่างคล้ายนกกระจอกเทศและปราดเปรียว ขนาดลำตัวยาวประมาณ 1-2 เมตร คอเรียว เล็กยาว ปากเป็นจะงอย ไร้ฟัน ถูกค้นพบในชั้นหินหมวดหินเสาขัวที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น อายุประมาณ 130 ล้านปี
7. สยามโมดอน นิ่มงามอิ
ไดโนเสาร์ออร์นิโธพอด สกุลใหม่ ชนิดใหม่ของโลก จากประเทศไทย โดยอ้างอิงจาก กระดูกกรามบน (maxilla) ที่ได้มาจากเหมืองหิน บ้านสะพานหิน จ.นครราชสีมา อยู่ในหมวดหินโคกกรวด มีอายุอยู่ในช่วงยุคครีเตเชียสตอนต้น นอกจากกระดูกกรามบนแล้ว ยังพบฟัน และ ชิ้นส่วนกระโหลก ที่เป็นของไดโนเสาร์ชนิดนี้อีกด้วย ที่มาของชื่อชนิด Siamodon มาจาก Siam ชื่อเดิมของประเทศไทย odous เป็นภาษากรีก แปลว่า ฟัน โดยสะกดเป็น odon เพื่อเน้นความคล้ายคลึงกันกับ Iguanodon ที่มีของชื่อสกุล nimngamiเพื่อให้เป็นเกียรติกับนายวิทยา นิ่มงาม ที่มอบตัวอย่างให้เพื่อการศึกษา
ที่มา http://miray0257.blogspot.com/
1. ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน
เป็นไดโนเสาร์ซอโรพอดกินพืชขนาดใหญ่เดิน 4 ขา คอยาว หางยาว อายุประมาณ 130 ล้านปี ความยาวประมาณ 15-20 เมตร พบฟอสซิลครั้งแรกที่อุทยาoแห่งชาติภูเวียง จังหวัดขอนแก่น โดยตั้งชื่อเพื่อถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
2. อีสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชิ
เป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ เดิน 4 ขา คอยาว หางยาว อายุยุคไทรแอสซิกตอนปลาย ประมาณ 209 ล้านปี ความยาวประมาณ 13-15 เมตร ขุดค้นพบฟอสซิลที่จังหวัดชัยภูมิ โดยตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ นายปรีชา อรรถวิภัชน์ อดีตอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี
3. ชิตตะโกซอรัส สัตยารักษ์กี
เป็นไดโนเสาร์พวกที่มีสะโพกแบบนก สกุลเดียวกับที่พบในจีนแต่เป็นชนิดใหม่ เป็นไดโนเสาร์ที่กินพืชขนาดเล็กอายุยุคครีเทเชียสตอนต้นประมาณ 100 ล้านปี ความยาวประมาณ 1 เมตร โดยตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ นายนเรศ สัตยารักษ์ ผู้ค้นพบ
4. สยามโมซอรัส สุธีธรนิ
เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดในยุคครีเทเชียสตอนต้นประมาณ 130 ล้านปี ความยาวประมาณ 7 เมตร มีฟันที่มีลักษณะคล้ายฟันจระเข้ กินพืชและกินสัตว์น้ำจำพวกปลาเป็นอาหาร ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ นายวราวุธ สุธีธร อดีตผู้อำนวยการสำนักวิจัยซากดึกดำบรรพ์และพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา ผู้มีส่วนสำคัญในการสำรวจพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ในประเทศไทย
5. สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส
เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดที่เดินด้วย 2 ขาหลัง ส่วย 2 ขาหน้ามีขนาดเล็ก ในยุคครีเทเซียสตอนต้น ประมาณ 130 ล้านปี ความยาวประมาณ 6.5 เมตร นับว่าเป็นบรรพบุรุษของ ไทรันโนซอรัส เร็กซ์ ที่พบในอเมริกาเหนือ
6. กินรีมิมัส ขอนแก่นเอนซิส
เป็นไดโนเสาร์กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหารเดินและวิ่งด้วย 2 ขาหลัง มีรูปร่างคล้ายนกกระจอกเทศและปราดเปรียว ขนาดลำตัวยาวประมาณ 1-2 เมตร คอเรียว เล็กยาว ปากเป็นจะงอย ไร้ฟัน ถูกค้นพบในชั้นหินหมวดหินเสาขัวที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น อายุประมาณ 130 ล้านปี
7. สยามโมดอน นิ่มงามอิ
ไดโนเสาร์ออร์นิโธพอด สกุลใหม่ ชนิดใหม่ของโลก จากประเทศไทย โดยอ้างอิงจาก กระดูกกรามบน (maxilla) ที่ได้มาจากเหมืองหิน บ้านสะพานหิน จ.นครราชสีมา อยู่ในหมวดหินโคกกรวด มีอายุอยู่ในช่วงยุคครีเตเชียสตอนต้น นอกจากกระดูกกรามบนแล้ว ยังพบฟัน และ ชิ้นส่วนกระโหลก ที่เป็นของไดโนเสาร์ชนิดนี้อีกด้วย ที่มาของชื่อชนิด Siamodon มาจาก Siam ชื่อเดิมของประเทศไทย odous เป็นภาษากรีก แปลว่า ฟัน โดยสะกดเป็น odon เพื่อเน้นความคล้ายคลึงกันกับ Iguanodon ที่มีของชื่อสกุล nimngamiเพื่อให้เป็นเกียรติกับนายวิทยา นิ่มงาม ที่มอบตัวอย่างให้เพื่อการศึกษา
ที่มา http://miray0257.blogspot.com/
แสดงความคิดเห็น
ห้องเพลง**คนรากหญ้า** พักยกการเมือง มุมนี้ไม่มีสี ไม่มีกลุ่ม...มีแต่เสียง 22/9/2017 (ไดโนเสาร์ เต่าล้านปี)
ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกันแล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม
กระทู้ห้องเพลงเป็นกระทู้เปิด มิได้ปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด "ขอให้มาดี เราคือเพื่อนกัน" ซึ่งก็เหมือนกับกระทู้ทั่วไป ที่เราไม่จำเป็นต้องทราบว่า User ท่านไหนเป็นใครมาจากไหน ...ดังนั้น หากมีบุคคลใดที่มีการโพสสิ่งผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น หรือสิ่งรบกวนใดๆ ในบอร์ด เป็นเรื่องส่วนบุคคล ทางห้องเพลงจึงขอแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น
สวัสดีค่ะเพื่อนๆ ห้องเพลงและเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
มีคนสงสัย ห้องเพลงพักยกการเมือง แล้วเนื้อหากระทู้เกี่ยวกับการเมืองได้ไหม
ห้องเพลงนำเสนอเรื่องราวทุกด้านอยู่แล้วค่ะ ความรู้รอบตัวต่างๆ วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ตำนาน ธรรมชาติ เศรษฐกิจ สังคม กีฬา บันเทิง ข่าวที่กำลังเป็นกระแส และการเมือง แต่เป็นการเมืองในแง่ที่เป็นเกร็ดความรู้ เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ไม่ใช่การเมืองที่มาถกเถียงกันหน้าดำหน้าแดง เพราะพื้นที่ตรงนี้เราคือพื้นที่สันติ "พักยกการเมือง" เราจะพักเรื่องเครียดๆ มาบันเทิงแบบมีสาระ สลับหมุนเวียนกันไปในแต่ละวัน
วันนี้จะพูดถึงเรื่องไดโนเสาร์ เมื่อได้ยินชื่อนี้ เราจะนึกถึงสัตว์ดึกดำบรรพ์ขนาดใหญ่ที่สูญพันธุ์จากโลกนี้ไปแล้ว หลายๆ คนเปรียบเทียบไดโนเสาร์กับอะไรที่ล้าสมัย ไม่พัฒนา คร่ำครึ หากเป็นองค์กรก็อุ้ยอ้าย แข่งขันกับใครลำบาก
ไดโนเสาร์ เต่าล้านปี สงสัยไหมคะ ทำไมไดโนเสาร์ ต้องเต่าล้านปี เขาเป็นญาติกับเต่าเหรอ
คำว่า Dinosaur (หรือที่คนไทยเรียก ไดโนเสาร์) บัญญัติขึ้นในปี ค.ศ. 1842 โดย Sir Richard Owen นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นคำที่มาจากภาษากรีก แปลว่า กิ้งก่าที่น่ากลัว (terrible lizard) ซึ่งหมายถึงขนาดที่ใหญ่โตน่ากลัว
ไดโนเสาร์นั้นเป็นสัตว์เลื้อยคลาน (reptile) ดึกดำบรรพ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ซึ่ง Reptile หรือสัตว์เลื้อยคลานนั้นประกอบไปด้วยสัตว์จำพวก กิ้งก่า งู เต่า จระเข้ ทัวทาร่า ฯลฯ เลยคิดว่า
ไดโนเสาร์เป็นสัตว์โบราณมากๆ คนไทยเลยอาจจะพูดต่อท้ายให้คล้องจองต่อไปว่า "ไดโนเสาร์ เต่าล้านปี"
ไม่ใช่แค่ภาษาไทยที่ใช้ไดโนเสาร์แทนความล้าหลัง ภาษาอังกฤษก็ใช้ในความหมายนี้เหมือนกันค่ะ เช่น
My grandfather’s car is a dinosaur. รถของคุณตาเก่าล้าสมัยสุดๆ
ยุคของไดโนเสาร์
ยุคของไดโนเสาร์อยู่ในช่วง 65-248 ล้านปีก่อนคริสต์กาล ที่เรียกว่า มหายุค Mesozoic ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น 3 ยุค คือ Triassic, Jurassic และ Cretaceous
1. Triassic (206-248 ล้านปีก่อนคริสต์กาล) กินเวลาประมาณ 42 ล้านปี ได้มีไดโนเสาร์ขนาดเล็กที่เดินด้วยสองขาหลังและกินเนื้อเกิดขึ้น
2. Jurassic (144-206 ล้านปีก่อนคริสต์กาล) กินเวลาประมาณ 162 ล้านปี สภาพสิ่งแวดล้อมของโลกเหมาะสำหรับไดโนเสาร์ มีพืชพรรณ ธัญญาหาร อุดมสมบูรณ์ ทำให้เกิดมีไดโนเสาร์ขนาดมหึมาที่กินพืชขึ้น
ถือว่าเป็นยุคทองของไดโนเสาร์ จนมีการนำไปตั้งชื่อหนังดังที่เกี่ยวกับไดโนเสาร์
3. Cretaceous (65-144 ล้านปีก่อนคริสต์กาล) กินเวลาประมาณ 79 ล้านปี เป็นยุคที่มีไดโนเสาร์มากมายหลายชนิด ตั้งแต่ขนาดเล็กเท่าไก่ จนถึงใหญ่โตมหึมา มีทั้งไดโนเสาร์ที่กินแต่พืช ไดโนเสาร์ที่กินแต่เนื้อและไดโนเสาร์ที่กินทั้งพืชและเนื้อ มีไดโนเสาร์ที่เดิน 4 ขา ไดโนเสาร์ที่เดิน 2 ขา และไดโนเสาร์ที่เดินทั้ง 4 ขาและ 2 ขา
การสูญพันธ์ของไดโนเสาร์
มีหลายทฤษฎีด้วยกัน ไม่มีผู้ใดทราบสาเหตุที่แท้จริงว่าไดโนเสาร์สูญพันธุ์ได้อย่างไร จึงมีผู้สันนิษฐานไว้อยู่หลายสาเหตุ ดังนี้
1.มีอุกาบาตขนาดใหญ่ตกลงมาสู่โลก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีฝุ่นและไอน้ำจำนวนมาก กระจายสู่อวกาศ บดบังแสงอาทิตย์เป็นเวลานาน ทำให้โลกเย็นตัวลง ไดโนเสาร์จึงสูญพันธุ์
2.หินเหลวร้อนภายในโลก เกิดการเคลื่อนไหว ทำให้เปลือกโลกและทวีปเคลื่อนที่ไป อวกาศเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ ไดโนเสาร์ไม่ชอบจึงสูญพันธุ์
3.มีหนอนมาแย่งกินใบไม้ ซึ่งเป็นอาหารของไดโนเสาร์มังสวิรัต ไดโนเสาร์จึงหิวตายไปหมด
4.ไดโนเสาร์กินเนื้อ ได้กินไดโนเสาร์มังสวิรัตจนหมด ไดโนเสาร์กินเนื้อจึงหิวและตายไป
5.มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิดกินไข่ของไดโนเสาร์จำนวนมาก
6.มีต้นไม้ที่เป็นพิษเกิดขึ้น
7.เปลือกไข่ของไดโนเสาร์เริ่มบางลง ไข่จึงแตกก่อนที่ไดโนเสาร์จะฝักออกมา
8.ไดโนเสาร์เติบโตเต็มที่แล้ว การพัฒนาสมองจะต่ำลง ส่งผลให้ลูกหลานอ่อนแอลงเรื่อยๆ
การเมืองกับไดโนเสาร์
หลายครั้งที่เราเปรียบเทียบการเมืองกับไดโนเสาร์ในลักษณะที่ว่า การเมืองยุคโบราณคือการเมืองที่ผู้นำผูกขาด ไม่ก้าวตามโลกที่เปลี่ยนไป
ข้อดีของการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง ก็คือ การยอมรับในการตัดสินใจของประชาชน ที่ไปลงคะแนนเลือกตั้งผู้ที่คิดว่าเหมาะสม หรือผู้ที่ได้รับความนิยมชมชอบให้มาเป็นผู้นำรัฐบาล
ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีของประเทศเกาหลีใต้ ประเทศฝรั่งเศส หรือแม้แต่กระทั่งเมื่อปลายปีที่ผ่านมา กับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงโดยประชาชนทั้งสิ้น
ส่วนผลออกมาจะเป็นอย่างไร แต่ในเมื่อประชาชนได้เลือกเอง เขาย่อมเลือกในสิ่งที่เป็นประโยชน์ และหากไม่ดีจริง ต่อไปเขาก็ไม่เลือก การเมืองก็จะพัฒนาไปตอบโจทย์ความทุกข์ยากของประชาชนอย่างแท้จริง
อ้างอิง
http://www.ecc.ac.th/m/knowledge_detail.php?id=409
http://www.newsletter.ipsr.mahidol.ac.th/index.php/component/content/article/107-vol36-no3/348-dinosaur.html
https://ppantip.com/topic/33756068
http://bangkok-today.com/web/3-%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%B3-%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/
https://sites.google.com/a/web1.dara.ac.th/dinosaur/kar-suy-phanthu-khxng-dinosear
..................................................
สิ่งโบราณที่มีคุณค่าทางจิตใจ เราต้องอนุรักษ์ไว้
แต่ต้องแยกให้ออกกับแนวคิด การปรับตัว เพื่อการพัฒนา
ซึ่งหากยึดติดแต่สิ่งเดิมๆ ที่เคยเป็น ไม่มีการปรับตัว ต่อไปก็คงได้สูญพันธุ์เหมือนกับไดโนเสาร์
ประวัติศาสตร์ - คริสติน่า อากีล่าร์【OFFICIAL MV】
...มันโบราณ มันออกจะโบราณ มันไม่เป็น รุ่นใหม่
มันโบราณ มันออกจะโบราณ โลกมันเปลี่ยนแปลงไปแล้ว
ประวัติศาสตร์จะไม่ซ้ำ ประวัติศาสตร์จะต้องเปลี่ยน
เปลี่ยนไปเป็นฉันและเธอเท่าเทียมกัน ประวัติศาสตร์ในวันนี้
จะแตกต่างจากวันนั้น รักของเราจะทันสมัย
https://www.youtube.com/watch?v=ITysEyg8HgY