เคยไปเยือนขอนแก่นเมื่อหลายสิบปีก่อน สมัยนั้นจำได้ว่าขอนแก่นยังมีความเป็นเมืองอยู่น้อยมาก แต่ด้วยวันเวลาที่ผ่านไปอย่างรวดเร็ว บวกกับแรงผลักดันของรัฐบาล ที่ต้องการให้จังหวัดขอนแก่นเป็น
Smart city [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้สมาร์ตซิตี (smart city) หรือ เมืองอัจฉริยะ เป็นรูปแบบการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิตัล หรือข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสารในการเพิ่มประสิทธิและคุณภาพของบริการชุมชน เพื่อช่วยในการลดต้นทุน และลดการบริโภคของประชากร โดยยังคงเพิ่มประสิทธิภาพให้ประชาชนสามารถอยู่อาศัยได้ในคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งจากยุทธศาสตร์ที่ตั้งของเมืองขอนแก่น ที่มีความพร้อมครบทุกด้าน ทั้งด้านการศึกษา การแพทย์และสาธารณสุข การค้า เศรษฐกิจ การลงทุน และการขนส่ง
ทำให้ทุกวันนี้ขอนแก่น ครองแชมป์พื้นที่น่าลงทุนมากที่สุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และมีความเป็นผู้นำทางด้าน Smart City ที่เห็นเป็นรูปเป็นร่างได้ก่อนจังหวัดต้นแบบอื่นๆ ที่รัฐบาลได้เคยวางไว้ (รัฐบาลมีนโยบายผลักดันเรื่อง Smart City ทั่วทั้งประเทศ โดยดำเนินการที่จังหวัดภูเก็ตก่อนแล้วมาที่เชียงใหม่และขอนแก่นคู่ขนานกัน)
Khonkaen Smart City เกิดได้จากความร่วมมือของทุกภาคส่วน
จุดเริ่มต้นจากปัญหาความเจริญถูกกระจุกตัวอยู่แค่เฉพาะในกรุงเทพมหานครฯ
ทำให้งบประมาณที่จะนำมาพัฒนาความเจริญในต่างจังหวัดในแง่ของการพัฒนาเชิงป้องกัน
มีโอกาสที่จะได้งบประมาณน้อยมาก ชาวขอนแก่นจึงรวมกลุ่มกับนักธุรกิจชั้นนำแนวหน้า
ในพื้นที่ของจังหวัดขอนแก่นอีกกว่า 20 บริษัท จัดตั้งเป็นบริษัท
ในนาม “บริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง. (KKTT) จำกัด"
จุดประสงค์เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของจังหวัดตนเอง
ในเชิงออกแบบและพัฒนาเมือง อย่างถูกหลักวิชาการ
จังหวัดขอนแก่นโดยกลุ่ม KKTT จึงเห็นว่าหากต้องรองบประมาณจากภาครัฐเพียงอย่างเดียว โดยตัวจังหวัดมีการเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดด จะเป็นอุปสรรคในการเจริญเติบโตแบบยั่งยืน จึงจำเป็นต้องหางบประมาณจากด้านอื่น ในการพัฒนาจังหวัดของตนเองและนี่คือที่มาทำให้เกิดแนวทางในการระดมทุน ของคนในจังหวัดขึ้นมาเพื่อใช้ ในการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานของตนเอง โดยยึดหลักประโยชน์ของจังหวัดตนเป็นที่ตั้ง
เรามาดู 5 โปรเจคที่จะเกิดขึ้นเพื่อรองรับการพัฒนาเมือง สู่ Smart City กัน
1.ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติขอนแก่น หรือ KICE (ไคซ์)
ด้วยความที่จังหวัดขอนแก่นเป็นศูนย์กลางทางการศึกษา เป็นเมืองศูนย์กลางการปฏิบัติงานตาม
‘แผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจ’ เชื่อมต่อประเทศไทย พม่า เวียดนาม อีกทั้งเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าและการขนส่ง และเป็นประตูสู่ภูมิภาคอินโดจีนและประเทศจีนตอนใต้แล้ว ขอนแก่นยังได้พัฒนาด้านการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อจัดประชุมสัมมนา จึงมีเอกชนเข้ามาลงทุนก่อสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน มีแนวคิดการออกแบบเพื่อรองรับการจัดงานขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นงานแสดงสินค้า คอนเสิร์ต งานประชุม สัมมนาฯ ด้วยพื้นที่กว่า 26 ไร่ รองรับคนได้สูงสุดถึง 8,000 คน
โดยบริหารงานภายใต้ บริษัท ซี.พี.แลนด์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีเป้าหมายให้เป็นสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้า จังหวัดขอนแก่นขึ้นมา เพื่อเป็นการสานโอกาสให้ SME เปิดตลาดสู่อินโดจีน ในการสร้างงาน สร้างอาชีพ และกระจายรายได้ให้กับคนในท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย และยังเป็นสื่อกลางในการผสานโอกาสการติดต่อธุรกิจในหมู่ผู้เข้าร่วมงานนานาชาติ คาดว่าจะเปิดให้บริการได้อย่างเต็มรูปแบบในเดือน ธันวาคม 2560 นี้
2.ระบบขนส่งมวลชนรางเบา
ขอนแก่นเป็นจังหวัดต้นแบบของการพัฒนาเมืองใหญ่ด้วยระบบขนส่งมวลชนในรูปแบบของรถไฟรางเบา โดยภาคเอกชนในจังหวัดรวมตัวก่อตั้งเป็นบริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง จำกัด หรือเคเคทีที ด้วยทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท และมีความคืบหน้าอย่างเป็นระบบมากที่สุด โดยในขณะนี้ โครงการผ่านการอนุมัติเรียบร้อยแล้ว โดยคาดว่า ปลายปี 2560 นี้ จะเริ่มก่อสร้างได้อย่างเป็นทางการมีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2562-2563 ใช้เงินลงทุนประมาณ 1.5หมื่นล้านบาท
3. ขอนแก่นซิตี้บัส
สิ่งที่เห็นรูปธรรมในขณะนี้คือ การเปิดบริการรถบัสโดยสารปรับอากาศ ขอนแก่นซิตี้บัส ที่เชื่อมท่าอากาศยานขอนแก่นกับสถานีขนส่งผู้โดยสาร 3 แห่งในแนวตะวันออก-ตะวันตก โดยผ่านสถานที่สำคัญในตัวเมือง มีบริการไว-ไฟในรถบัส สามารถชำระค่าโดยสารด้วยสมาร์ทการ์ด ด้วยอัตราค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย สำหรับเด็ก/นักเรียน ค่าโดยสาร 10 บาท และยังมีแอพพลิเคชันในมือถือบอกข้อมูลและตำแหน่งรถ พร้อมสรรพอีกต่างหาก โดยได้รับความร่วมมือจากสมาคมผู้ประกอบการรถสองแถว และเทศบาลเมืองขอนแก่น ซึ่งมีแผนจะเปลี่ยนเป็น Smart Bus ให้บริการทุกสายทั่วเมืองขอนแก่นในอนาคตด้วย
4.ขยายสนามบินขอนแก่น
แผนการพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติขอนแก่น ซึ่งมองการขยายผู้โดยสารเพิ่มจาก1.5 ล้านคนต่อปี เป็น 4-5 ล้านคนต่อปี โดยในขณะนี้ทางกระทรวงคมนาคม ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ในการศึกษาออกแบบ ซึ่งตามแผนจะเป็นการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ โดยคาดว่าจะใช้งบลงทุนราว 2,100 ล้านบาท และจะนำเสนอครม.บรรจุงบประมาณได้ในปี2561 เพื่อให้ก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2563
5.ขยายถนนเพิ่มขึ้น
การขยายโครงข่ายถนน อาทิ ถนนกัลปพฤกษ์ ระยะที่ 3 (ศรีจันทร์ – เหล่านาดี) กรมทางหลวงชนบท ทบทวนการออกแบบแนวทางการก่อสร้างใหม่ ถนนผังเมือง ข.5 (หน้า ร.พ.ศรีนครินทร์ –ร.พ.ค่ายศรีพัชรินทร) กรมทางหลวงชนบทและบรรจุเข้าแผนงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ก่อสร้างอุโมงค์ลอดทางรถไฟ บริเวณจุดตัดทางรถไฟบ้านหนองไผ่ งบประมาณ 411ล้านบาท แล้วเสร็จในปี 2560 ฯลฯ
สุดท้ายแล้ว
Smart City อาจจะไม่ใช่เมืองที่มีแต่ความก้าวหน้าทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วความรู้สึกของคนที่อาศัยอยู่ในเมือง มีความรู้สึก
จ่ายน้อยได้มาก ถึงแม้เงินเดือนเท่าเดิม แต่กลับได้คุณภาพชีวิตสูงขึ้น ได้มีเวลาใช้ชีวิตกับครอบครัวมากขึ้น รถติดต้องไม่ใช่ปัญหาใหญ่ และทำให้ผู้คนเห็นว่าการเดินทางโดยขนส่งมวลชนหรือรถสาธารณะทำได้สะดวกกว่ารถยนต์ ค่าครองชีพในการเดินทาง ค่าที่อยู่อาศัยก็ต้องไม่สูงมากจนเอื้อมไม่ถึง
ซึ่งเมื่อทุกอย่างเสร็จสมบูรณ์และเปิดให้บริการเรียบร้อย จะทำให้ขอนแก่นเป็น Smart Cityอย่างสมบูรณ์ เมื่อระบบขนส่งมวลชนพร้อม ทั้งรถสมาร์ทบัส รถไฟรางเบา เป็นพื้นฐาน การดึงเอาเทคโนโลยี IOT มาใช้ อาทิ wifi เซนเซอร์ครอบคลุมทั่วเมือง สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาที่สามารถต่อยอดได้ก็อาจจะเป็นได้ทั้ง smart economic, smart citizen, smart environment, smart governance ซึ่งกระแสโลกและเทคโนโลยีก็เป็นไปในด้านนี้
ทั้งหมดคือความหวังใหม่ที่ไม่เฉพาะแต่เพียงคนขอนแก่นอยากเห็นเท่านั้น แต่คนไทยทุกคนที่ฝันอยากให้ประเทศไทยพัฒนามากขึ้นให้สมกับเป็นยุค Thailand 4.0 ด้วยการเปิดทาง-ร่วมกัน ภายใต้แนวคิดการปรับการทำงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ก้าวทันโลกแบบที่เทศบาลนครขอนแก่นกำลังทำ การเติบโตของภาคเศรษฐกิจและการปกครองในท้องถิ่นที่เกิดขึ้น มาจากการเปิด "มิติ" แห่งการร่วมมือกันของ ภาครัฐและเอกชน ที่กลมเกลียวกันโดยสมบูรณ์แบบ เป็นต้นแบบของการเดินเข้าสู่ Smart City อย่างจริงจังหวัดแรกของประเทศไทย.
เผยโฉม 5 โปรเจคยักษ์ ดันขอนแก่นสู่ Smart City อย่างเต็มรูปแบบ
ทำให้ทุกวันนี้ขอนแก่น ครองแชมป์พื้นที่น่าลงทุนมากที่สุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และมีความเป็นผู้นำทางด้าน Smart City ที่เห็นเป็นรูปเป็นร่างได้ก่อนจังหวัดต้นแบบอื่นๆ ที่รัฐบาลได้เคยวางไว้ (รัฐบาลมีนโยบายผลักดันเรื่อง Smart City ทั่วทั้งประเทศ โดยดำเนินการที่จังหวัดภูเก็ตก่อนแล้วมาที่เชียงใหม่และขอนแก่นคู่ขนานกัน)
ทำให้งบประมาณที่จะนำมาพัฒนาความเจริญในต่างจังหวัดในแง่ของการพัฒนาเชิงป้องกัน
มีโอกาสที่จะได้งบประมาณน้อยมาก ชาวขอนแก่นจึงรวมกลุ่มกับนักธุรกิจชั้นนำแนวหน้า
ในพื้นที่ของจังหวัดขอนแก่นอีกกว่า 20 บริษัท จัดตั้งเป็นบริษัท
ในนาม “บริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง. (KKTT) จำกัด"
จุดประสงค์เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของจังหวัดตนเอง
ในเชิงออกแบบและพัฒนาเมือง อย่างถูกหลักวิชาการ
จังหวัดขอนแก่นโดยกลุ่ม KKTT จึงเห็นว่าหากต้องรองบประมาณจากภาครัฐเพียงอย่างเดียว โดยตัวจังหวัดมีการเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดด จะเป็นอุปสรรคในการเจริญเติบโตแบบยั่งยืน จึงจำเป็นต้องหางบประมาณจากด้านอื่น ในการพัฒนาจังหวัดของตนเองและนี่คือที่มาทำให้เกิดแนวทางในการระดมทุน ของคนในจังหวัดขึ้นมาเพื่อใช้ ในการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานของตนเอง โดยยึดหลักประโยชน์ของจังหวัดตนเป็นที่ตั้ง
1.ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติขอนแก่น หรือ KICE (ไคซ์)
ด้วยความที่จังหวัดขอนแก่นเป็นศูนย์กลางทางการศึกษา เป็นเมืองศูนย์กลางการปฏิบัติงานตาม ‘แผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจ’ เชื่อมต่อประเทศไทย พม่า เวียดนาม อีกทั้งเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าและการขนส่ง และเป็นประตูสู่ภูมิภาคอินโดจีนและประเทศจีนตอนใต้แล้ว ขอนแก่นยังได้พัฒนาด้านการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อจัดประชุมสัมมนา จึงมีเอกชนเข้ามาลงทุนก่อสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน มีแนวคิดการออกแบบเพื่อรองรับการจัดงานขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นงานแสดงสินค้า คอนเสิร์ต งานประชุม สัมมนาฯ ด้วยพื้นที่กว่า 26 ไร่ รองรับคนได้สูงสุดถึง 8,000 คน โดยบริหารงานภายใต้ บริษัท ซี.พี.แลนด์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีเป้าหมายให้เป็นสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้า จังหวัดขอนแก่นขึ้นมา เพื่อเป็นการสานโอกาสให้ SME เปิดตลาดสู่อินโดจีน ในการสร้างงาน สร้างอาชีพ และกระจายรายได้ให้กับคนในท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย และยังเป็นสื่อกลางในการผสานโอกาสการติดต่อธุรกิจในหมู่ผู้เข้าร่วมงานนานาชาติ คาดว่าจะเปิดให้บริการได้อย่างเต็มรูปแบบในเดือน ธันวาคม 2560 นี้
2.ระบบขนส่งมวลชนรางเบา
ขอนแก่นเป็นจังหวัดต้นแบบของการพัฒนาเมืองใหญ่ด้วยระบบขนส่งมวลชนในรูปแบบของรถไฟรางเบา โดยภาคเอกชนในจังหวัดรวมตัวก่อตั้งเป็นบริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง จำกัด หรือเคเคทีที ด้วยทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท และมีความคืบหน้าอย่างเป็นระบบมากที่สุด โดยในขณะนี้ โครงการผ่านการอนุมัติเรียบร้อยแล้ว โดยคาดว่า ปลายปี 2560 นี้ จะเริ่มก่อสร้างได้อย่างเป็นทางการมีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2562-2563 ใช้เงินลงทุนประมาณ 1.5หมื่นล้านบาท
3. ขอนแก่นซิตี้บัส
สิ่งที่เห็นรูปธรรมในขณะนี้คือ การเปิดบริการรถบัสโดยสารปรับอากาศ ขอนแก่นซิตี้บัส ที่เชื่อมท่าอากาศยานขอนแก่นกับสถานีขนส่งผู้โดยสาร 3 แห่งในแนวตะวันออก-ตะวันตก โดยผ่านสถานที่สำคัญในตัวเมือง มีบริการไว-ไฟในรถบัส สามารถชำระค่าโดยสารด้วยสมาร์ทการ์ด ด้วยอัตราค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย สำหรับเด็ก/นักเรียน ค่าโดยสาร 10 บาท และยังมีแอพพลิเคชันในมือถือบอกข้อมูลและตำแหน่งรถ พร้อมสรรพอีกต่างหาก โดยได้รับความร่วมมือจากสมาคมผู้ประกอบการรถสองแถว และเทศบาลเมืองขอนแก่น ซึ่งมีแผนจะเปลี่ยนเป็น Smart Bus ให้บริการทุกสายทั่วเมืองขอนแก่นในอนาคตด้วย
4.ขยายสนามบินขอนแก่น
แผนการพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติขอนแก่น ซึ่งมองการขยายผู้โดยสารเพิ่มจาก1.5 ล้านคนต่อปี เป็น 4-5 ล้านคนต่อปี โดยในขณะนี้ทางกระทรวงคมนาคม ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ในการศึกษาออกแบบ ซึ่งตามแผนจะเป็นการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ โดยคาดว่าจะใช้งบลงทุนราว 2,100 ล้านบาท และจะนำเสนอครม.บรรจุงบประมาณได้ในปี2561 เพื่อให้ก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2563
5.ขยายถนนเพิ่มขึ้น
การขยายโครงข่ายถนน อาทิ ถนนกัลปพฤกษ์ ระยะที่ 3 (ศรีจันทร์ – เหล่านาดี) กรมทางหลวงชนบท ทบทวนการออกแบบแนวทางการก่อสร้างใหม่ ถนนผังเมือง ข.5 (หน้า ร.พ.ศรีนครินทร์ –ร.พ.ค่ายศรีพัชรินทร) กรมทางหลวงชนบทและบรรจุเข้าแผนงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ก่อสร้างอุโมงค์ลอดทางรถไฟ บริเวณจุดตัดทางรถไฟบ้านหนองไผ่ งบประมาณ 411ล้านบาท แล้วเสร็จในปี 2560 ฯลฯ
สุดท้ายแล้ว Smart City อาจจะไม่ใช่เมืองที่มีแต่ความก้าวหน้าทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วความรู้สึกของคนที่อาศัยอยู่ในเมือง มีความรู้สึก จ่ายน้อยได้มาก ถึงแม้เงินเดือนเท่าเดิม แต่กลับได้คุณภาพชีวิตสูงขึ้น ได้มีเวลาใช้ชีวิตกับครอบครัวมากขึ้น รถติดต้องไม่ใช่ปัญหาใหญ่ และทำให้ผู้คนเห็นว่าการเดินทางโดยขนส่งมวลชนหรือรถสาธารณะทำได้สะดวกกว่ารถยนต์ ค่าครองชีพในการเดินทาง ค่าที่อยู่อาศัยก็ต้องไม่สูงมากจนเอื้อมไม่ถึง
ซึ่งเมื่อทุกอย่างเสร็จสมบูรณ์และเปิดให้บริการเรียบร้อย จะทำให้ขอนแก่นเป็น Smart Cityอย่างสมบูรณ์ เมื่อระบบขนส่งมวลชนพร้อม ทั้งรถสมาร์ทบัส รถไฟรางเบา เป็นพื้นฐาน การดึงเอาเทคโนโลยี IOT มาใช้ อาทิ wifi เซนเซอร์ครอบคลุมทั่วเมือง สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาที่สามารถต่อยอดได้ก็อาจจะเป็นได้ทั้ง smart economic, smart citizen, smart environment, smart governance ซึ่งกระแสโลกและเทคโนโลยีก็เป็นไปในด้านนี้
ทั้งหมดคือความหวังใหม่ที่ไม่เฉพาะแต่เพียงคนขอนแก่นอยากเห็นเท่านั้น แต่คนไทยทุกคนที่ฝันอยากให้ประเทศไทยพัฒนามากขึ้นให้สมกับเป็นยุค Thailand 4.0 ด้วยการเปิดทาง-ร่วมกัน ภายใต้แนวคิดการปรับการทำงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ก้าวทันโลกแบบที่เทศบาลนครขอนแก่นกำลังทำ การเติบโตของภาคเศรษฐกิจและการปกครองในท้องถิ่นที่เกิดขึ้น มาจากการเปิด "มิติ" แห่งการร่วมมือกันของ ภาครัฐและเอกชน ที่กลมเกลียวกันโดยสมบูรณ์แบบ เป็นต้นแบบของการเดินเข้าสู่ Smart City อย่างจริงจังหวัดแรกของประเทศไทย.