สงสัยครับ ทำไมพายุสุริยะถึงไม่สามารถขจัดก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์บนชั้นบรรยาศได้ของดาวศุกร์ครับ

คือพึ่งไปอ่านเจอมาว่าดาวศุกร์ไม่มีสนามแม่เหล็ก
เลยสงสัยเพราะดาวอังคารไม่มีสนามแม่เหล็กเหมือนซึ่งผลสุดท้ายส่งผลให้ชั้นก๊าซที่อยู่บรรยากาศของดาวอังคารถูกพัดไปเกือบหมด
แต่แปลกที่ทำไมดาวศุกร์ที่มีสภาพคล้ายๆกัน และอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่า น่าจะได้รับผลกระทบจากพายุสุริยะมากกว่าทำไมถึงคงชั้นบรรยากาศที่เต็มไปด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ได้ครับ ?
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
การที่บรรยากาศดาวศุกร์สามารถ รอดพ้น จากการปัดเป่าของ Solar wind ได้

เป็นเพราะกลไกการเกิด Induced magnetosphere ครับ  การเกิด induced magnetosphere นี้

เกิดได้ตามรายละเอียดในภาพนี้
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
เหตุเพราะดาวศุกร์ เป็นดาวที่ยังไม่ตาย คือยังมีชั้นแมกมา หลอมเหลว อยู่ภายใน ซึ่งผิดกับดาวอังคาร ที่ชั้น หลอมเหลว ได้เย็นตัวลง จนแทบตายสนิท
การยังหลอมเหลว ร้อนอยู่ภายใน  ได้สร้าง การเผาไหม้ เกิดขึ้นตลอดเวลา  จึงมีการ สร้าง co2ในขบวนการเผาผลาญนี้  ลักษณะคล้ายการก่อตัวของโลก ช่วงแรก ก็เต็มไปด้วยco2แต่ โลก โชคดีที่หมุนรอบตัวเองเร็วพอที่สร้าง สนามแม่เหล็ก ปกป้อง เหนี่ยวนำรักษาน้ำที่มาจากดาวหางเอาไว้ (ขอบคุณดวงจันทร์ด้วย)  จน เกิดเมฆหมอก  เกิดฟ้าผ่าเปลี่ยน สิ่งไม่มีชีวิต  ให้เป็นสิ่งมีชีวิตขึ้น(ฟ้าพระผู้สร้าง)  ในยุค แรกเริ่ม  อย่างไซยาโนแบคทีเรีย(ผู้สร้างโลกให้น่าอยู่)
แล้ว สังเคราะนำ co2แยก c(คาบอน)ออกมาเป็นโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต  และปล่อย02เข้าสู้ชั้นบรรยากาศ จนเป็นโลกแบบทุกวันนี้
แต่ อนิจจา ที่ดาวศุกร์ หมุนรอบตัวเองช้าไป ไม่เพียงพอที่จะสร้าง สนามแม่เหล็ก ได้มากพอ ให้ชั้นบรรยากาศอื่น ที่เอื่อ ต่อสิ่งมีชีวิตก่อตัวขึ้น  จึงสูญเสีย น้ำไปเสียสิ้น
(บ้างก็ว่ามีไอน้ำบางส่วน ถูกชั้น บรรยากาศที่เต็มไปด้วยco2กักไว้)
คงเหลือ แต่ co2ที่ถูกสร้างจากการเผาไหม้ภายใน ตลอดเวลา  เมื่อมีco2มากก็เกิด สภาวะเรือน กระจก
กักเก็บ สะท้อน ความร้อนไม่ให้สะท้อนไป ยิ่งร้อนยิ่งเร่ง ขบวนการสร้าง co2 จนมากขึ้น หนาแน่น  จนเกิดรูปแบบสนามแม่เหล็ก ที่ต่างไปจากโลก เหนี่ยวนำไว้ เกินกว่าลม สุริยะจะพัดพาไปได้ทัน  นานวัน ก็กลาย เป็นชั้นบรรยากาศ   เฉพาะรูปแบบของดาวศุกร์ไปที่ไม่มีใครเหมือน ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่