จิตคือเงา จิตคือรถ จิตคือแสงสว่าง จิตคือน้ำแกง

[๘๑๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่ง
สติปัฏฐาน ๔ เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ความเกิดแห่งกายเป็นอย่างไร? ความเกิดแห่งกายย่อมมี เพราะ
ความเกิดแห่งอาหาร ความดับแห่งกายย่อมมี เพราะความดับแห่งอาหาร ความเกิดแห่งเวทนา
ย่อมมี เพราะความเกิดแห่งผัสสะ ความดับแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ
ความเกิดแห่งจิตย่อมมี เพราะความเกิดแห่งนามรูป
ความดับแห่งจิตย่อมมี เพราะความดับแห่งนามรูป

ความเกิดแห่งธรรมย่อมมี เพราะความเกิดแห่งมนสิการ ความดับแห่งธรรมย่อมมี
เพราะความดับแห่งมนสิการ.
จบ สูตรที่ ๒


             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  บรรทัดที่ ๔๘๘๕ - ๔๘๙๔.  หน้าที่  ๒๐๓.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=4885&Z=4894&pagebreak=0


ดูกรวัปปะ เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมบรรลุ
ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ ๖ ประการ เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ
มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู...สูดกลิ่นด้วยจมูก...ลิ้มรส
ด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วไม่ดีใจ
ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้
ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น ดูกรวัปปะ เงา
ปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้
ครั้งนั้น บุรุษพึงถือจอบและตะกร้ามา เขาตัดต้นไม้นั้น
ที่โคน ครั้นแล้ว ขุดคุ้ยเอารากขึ้น โดยที่สุดแม้เท่าต้นแฝกก็ไม่ให้เหลือ เขา
ตัดผ่าต้นไม้นั้นให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย กระทำให้เป็นซีกๆ แล้วผึ่งลมและแดด
ครั้นผึ่งลมและแดดแห้งแล้วเผาไฟ กระทำให้เป็นขี้เถ้า โปรยในที่มีลมพัดจัดหรือ
ลอยในกระแสน้ำอันเชี่ยวในแม่น้ำ เมื่อเป็นเช่นนั้น เงาที่ปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้
นั้น มีรากขาดสูญ ประดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็น
ธรรมดา แม้ฉันใด ดูกรวัปปะ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้น
โดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมได้บรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองนิตย์ ๖ ประการ
เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟัง
เสียงด้วยหู...สูดกลิ่นด้วยจมูก...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วย
กาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติ-
*สัมปชัญญะอยู่ เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนา
มีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิต
เป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลิน
ในโลกนี้ จักเป็นของเย็น ฯ
          
             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๕๒๘๓-๕๓๘๒ หน้าที่ ๒๒๕-๒๒๙.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=5283&Z=5382&pagebreak=1
http://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=21&item=195&items=1&pagebreak=1&mode=bracket
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่