เชื้อรากำจัดพลาสติค

ทีมนักวิจัยวิทยาศาสตร์ปากีสถาน
ค้นพบเชื้อราชนิดหนึ่งซึ่งกำจัดพลาสติคให้ย่อยสลายได้
การค้นพบครั้งนี้นับว่าเป็นข่าวที่ดีมากสำหรับสภาพแวดล้อม


มันต้องใช้เวลานับพันปีในการย่อยสลายพลาสติคให้หมดไป
นับตั้งแต่มีการผลิตพลาสติคขึ้นมาราว 65 ปีก่อน
พลาสติคคาดว่ามีอยู่ประมาณ 8.3 พันล้านตันทั่วโลก
พวกมันส่วนมากอยู่ในพื้นที่หลุมกลบฝังขยะในประเทศต่าง ๆ
พลาสติคเป็นสารสังเคราะห์ที่ผลิตขึ้นมาโดยมนุษย์
ทำให้พวกมันไม่สามารถกำจัดได้ด้วยธรรมชาติ

" เรากำลังเผชิญหน้าอย่างรวดเร็วจนจะกลายเป็นดาวเคราะห์พลาสติค
และถ้าเราไม่อยากจะอยู่กับโลกแบบนี้แล้ว เราต้องคิดใหม่ ทำใหม่
หาหนทางใช้วัสดุบางอย่างทดแทนพลาสติคได้อย่างยิ่งเลย "
Dr. Roland Geyer นักนิเวชวิทยาอุตสาหกรรม UC Santa Barbara ให้สัมภาษณ์กับ BBC News


ที่มา http://bbc.in/2vD1tAo
เพื่อที่จะเอาชนะสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้แล้ว
กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบพันธมิตร
ที่ไม่น่าจะเป็นไปได้เลยตามธรรมชาติ
เชื้อราในดินที่กำจัดพลาสติคให้ย่อยสลายได้

ผลการศึกษา “Biodegradation of Polyester Polyurethane by Aspergillus tubingensis”
จะได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Environmental Pollution http://bit.ly/2wDTnaU
Sehroon Khan หัวหน้าทีมวิจัย World Agroforestry Center กับสมาชิกในทีม
ได้ศึกษาจากตัวอย่างกองขยะใน Islamabad ใน Pakistan
" เพื่อที่จะดูว่ามีอะไรบ้าง ที่ใช้พลาสติคย่อยสลายเป็นอาหารได้
พอ ๆ กับขบวนการย่อยสลายอาหารพวกพืชหรือสัตว์ที่ตายแล้ว ”
Khan สรุป

เชื้อราที่ทีมนักวิจัยค้นพบอาศัยอยู่ในดิน
มีชื่อเรียกว่า Aspergillus Tubingensis
พวกมันสร้างอาณาจักรด้วยการยึดครองพลาสติค
แล้วผลิตเอนไซมส์(enzymes) ลึกลับบางประเภท
ทำลายพันธะทางเคมีที่มีอยู่ใน(พลาสติค) Polymers
ทำให้พลาสติคย่อยสลายเป็นชิ้นเล็ก ๆ ได้


Source: Bioimágenes
พลาสติคสร้างขึ้นจากห่วงโซ่โมเลกุลที่เรียกว่า โพลีเมอร์
ซึ่งมีการขึ้นรูปแบบได้หลายอย่าง เช่น
Polyethylene Polystyrene และ Polypropylene
โดยมากพลาสติคมักจะประกอบด้วย Carbon กับ Hydrogen
และบางครั้งมี Oxygen Nitrogen Sulfur Chlorine Fluorine Phosphorous หรือ Silicon

Aspergillus Tubingensis คือ เชื้อราที่ย่อยสลาย Polyurethane ได้
ด้วยการสร้างเส้นใย(mycelia) ที่แข็งแรงมาก
ในการฉีกพลาสติคให้ขาดออกจากกันเป็นชิ้น ๆ ได้
พวกมันใช้เวลาในการกำจัดไม่นานมากนัก
เพรระนักวิจัยสังเกตพบความมีนัยสำคัญอย่างยิ่ง
ในการที่พวกมันขจัดกลุ่มพลาสติคตัวอย่างได้ภายในไม่กี่สัปดาห์

ในการใช้ประโยชน์จากเชื้อราเหล่านี้
จะเป็นส่วนหนึ่งของการเริ่มต้นขจัดภูเขาขยะทั่วทุกมุมโลก
นักวิจัยได้ระบุว่า จะลงมือขยายพันธุ์เชื้อราดังกล่าวในหลุมกลบฝังขยะ
ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเบื้องต้นก่อน
(อุณหภูมิ และระดับความเป็นกรดเป็นด่าง)

แม้ว่าเชื้อรากลุ่มนี้จะไม่ใช่ของจากธรรมชาติชุดแรก
ที่มนุษย์ค้นพบในการกัดกินพลาสติคให้ย่อยสลาย
เพราะในช่วงต้นปี Dr. Federica Bertocchini
จาก Institute of Biomedicine and Biotechnology of Cantabria ใน Spain
ได้ค้นพบโดยบังเอิญขณะที่ทำการศึกษาว่า
หนอนผีเสื้อกลางคืนกำลังกัดกินถุงพลาสติค
ที่ขังพวกมันไว้ให้ย่อยสลายได้
พวกมันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก
เพราะมันเริ่มกัดกินถุงลาสติคที่ขังพวกมันไว้ภายในเวลา 40 นาที
หลังจากนั้นเพียง 12 ชั่วโมงพวกมันไดย่อยสลายพลาสติคไป 12 มิลลิกรัม (0.0004 ออนซ์)


Source: Rasbak/Wikipedia
เรียบเรียง/ที่มา

http://bit.ly/2hdk7gs
http://bit.ly/2ymXF8M
http://bit.ly/2nUadRT






แบคทีเรียย่อยสลายพลาสติค 
 
 

แบคทีเรีย Ideonella sakaiensis ที่มีความสามารถในการย่อยสลาย PET ได้
โดยทีมผู้วิจัยได้ทำการแยกแบคทีเรียจากขยะพลาสติก PET จำนวน 250 ตัวอย่าง

Credit : http://bit.ly/2xvFIXw








เรื่องเดิมที่เกี่ยวกับขยะ








แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่