มีใครเคยสมัครเรียน ที่ IBC - International Buddhist College ที่สงขลาบ้างค่ะ

ส่งใบสมัคร ป เอก พร้อมหัวข้อวิทยานิพนธ์ ไปตั้งแต่ มิ ย เขาบอกว่า จะพิจารณา ส ค  พอตามเรื่อง ก ย  เขาตอบอีเมล์ มาว่า ไม่ผ่านการพิจารณา อีเมล์ถามเหตุผล ไม่มีคำตอบ ใดๆ  ใครเคยมีประสบการณ์กับที่นี่บ้าง  เป็นวิทยาลัยพุทธศาสนา ใช้ภาษาอังกฤษในการเรียน และเขียนวิทยานิพนธ์ ผู้ก่อตั้งเป็นพระจีนมาเลฯ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
อยากจะขอแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับการสมัครเรียนต่อปริญญาเอกที่วิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลามาให้ผู้ที่ต้องการจะไปสมัครเรียนที่สถาบันแห่งได้รับทราบ และพิจารณาก่อนการตัดสินใจ วิทยาลัยนี้มีชื่อภาษาอังกฤษ ว่า International Buddhist College (IBC) ตามข้อมูลจาก website บอกว่า ก่อตั้งโดยพระมหายานรูปหนึ่งจากมาเลเซีย การเรียนการสอนใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน ต่อมาภาคภาษาจีนไม่ประสบความสำเร็จ ปัจจุบันจึงเหลือแต่ภาคภาษาอังกฤษเพียงอย่างเดียว พอดีดิฉันเรียนจบปริญญาโทพุทธศาสตร์ภาคอินเตอร์ที่ มหาจุฬาฯ International Buddhist Studies College (IBSC) และต้องการจะเรียนต่อปริญญาเอก ได้รับข้อมูลมาว่า ที่วิทยาลัยแห่งนี้มีทุนการศึกษาให้สำหรับผู้ที่สอบผ่านเข้าเรียนได้ และทราบอีกว่า ปริญาญาเอกของที่นี่มีโปรแกรมปริญญาเอกที่อนุญาตให้นักศึกษาเลือกทำ Dissertation และนำไปผ่านสอบใน Academic presentation 3 ครั้ง ถ้าผ่านก็จบได้ โดยไม่ต้องมี course works ดิฉันสมัครไปครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว พร้อมนำเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ + รายละเอียดโดยสังเขปตามข้อกำหนด ต่อมาวิทยาลัยติดต่อมาให้ไปพบ พอไปพบกับภิกษุณีมหายานรูป ชื่อ Zhen Ti กับ ดร. ชาวศรีลังกาท่าน ที่วิทยาเขาโคราช ท่านบอกว่า หัวข้อวิทยานิพนธ์ใช้ได้ แต่นักศึกษาต้องไปเขียน Dissertation ที่วิทยาเขตที่สงขลา 1 เทอม ซึ่งดิฉันไม่ได้เตรียมตัวที่จะต้องไปพักอาศัยที่สงขลามาก่อนเลย  แต่ดิฉันได้รับทราบข้อมูลจากนักศึกษาไทยท่านหนึ่งกำลังทำปริญญาเอกที่นั่น เป็นอาจารย์อยู่ที่เชียงใหม่ เขาบอกดิฉันว่า ไม่ต้องไปเขียนวิทยานิพนธ์ที่สงขลาแต่อย่างไร แต่ต้องติดต่อกับที่อาจารย์ปรึกษาวิทยานิพนธ์อยู่ตลอดเพื่อรับทราบ comment ต่างๆ และไปสอบ present ตามกำหนดเท่านั้น ดิฉันจึงเขียนอีเมล์ไปถึง ภิกษุณีสอบถามว่า ทราบว่ามีนักศึกษาไทยที่กำลังทำปริญญาเอกอยู่ตอนนี้ไม่ต้องไปที่สงขลาก็ได้ ดิฉันขอใช้สิทธิเช่นเดียวกับนักศึกษาไทยท่านนี้ได้หรือไม่  ทางภิกษณีไม่ยอมตอบอีเมล์  ตกลงดิฉันไม่ได้ไปเรียนเพราะลางานที่ทำอยู่ไม่ได้  ปีนี้ 2560 ดิฉันส่งใบสมัครอีกครั้ง เพราะคิดว่า น่าจะไปอยู่สงขลาได้สักเทอม พร้อมส่งหัวข้อวิทยานิพนธ์อันเดิมไปด้วยเพราะรู้ว่าเขารับ  ดิฉันส่งเอกสารไปตั้งแต่ มิถุนายน ทางเจ้าหน้าของวิทยาลัยตอบกลับมาว่าได้รับเอกสารทั้งหมดแล้วพร้อมขอบคุณที่ให้ความสนใจที่จะไปเรียนที่นั่น และให้ดิฉันรอคำตอบจากคณะกรรมการ คาดว่าน่าจะสิงหาคม พอถึงสิงหาคม ดิฉันอีเมล์ไปสอบถาม เขาก็บอกว่า วิทยาลัยเพิ่งเปิดเรียน รอคณะกรรมการพิจารณาก่อน พอกันยายนดิฉันสอบถามไปอีกครั้ง เขาก็ไม่ตอบอีเมล์ จนดิฉันต้องโทรไปสอบถามที่สงขลา คนไทยรับสายบอกว่า ให้อีเมล์มาอีกครั้ง คราวนี้เขาตอบมาว่า ไม่ได้รับพิจารณา ดิฉันอีเมล์ไปสอบถามเหตุ ก็ไม่ได้รับคำตอบกลับแต่อย่างไร
จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้ดิฉันสงสัยว่า วิทยาลัยแห่งนี้มีวิธีการจัดการค่อนข้างแปลก คือ
1.     ใน website บอกว่าเป็นแผนการศึกษาแบบเขียนวิทยานิพนธ์เพียงอย่างเดียว ไม่มี คอร์สเวริ์ค ซึ่งแผนการเรียนการสอนแบบนี้ ที่ ม. อื่นก็มี เช่น ม.มหิด (ตามข้อมูลใน website ของ ม.)  และเป็นที่ทราบกันว่า นักศึกษาเขียนวิทยานิพนธ์ที่ไหนก็ได้ แต่ต้องติดต่อกับที่ปรึกษาอย่างต่อเนื่อง  นักศึกษาไทยคนที่กำลังเรียนอยู่ที่นั่นก็บอกดิฉันเช่นนั้น และเขาก็บอกดิฉันด้วยว่า แปลกๆ  
2.    น่าสังเกตอย่างหนึ่งว่า เวลามีข้อสงสัย ทางเจ้าหน้าที่ไม่ค่อยยินดีให้คำอธิบายอย่างกระจ่าง แต่ตอบแบบผ่านๆ ว่า ให้รอก็แล้วกัน
3.    เนื่องจากวิทยาลัยแห่งนี้เป็นมหายาน ทำให้สงสัยว่า การให้ไปเขียนที่สงขลา เขาต้องการให้ผู้เรียนมีแนวเป็นมหายานด้วยหรือไม่ เพราะเขาบอกว่า ให้ทุน แต่เขาบอกว่า เป็นทุนให้เปล่า แต่ถ้าไม่จบ จะถูกปรับเป็นเงิน หนึ่งหมื่นบาท
4.    จากที่เล่ามานี้ ทำให้สงสัยว่า ตามกฏหมายไทย และกฏระเบียบกระทรวงศึกษาธิการไทย วิธีการจัดการรับคนเข้าเป็นนักศึกษาของวิทยาลัยแห่งนี้ทำถูกต้องหรือไม่ กับการที่ให้นักศึกษาในระดับปริญญาเอกเหมือนกัน แต่บางคนเขียนวิทยานิพนธ์ที่บ้านได้ แต่บางคนไม่ได้ โดยวิทยาลัย ไม่ได้มีคำอธิบายให้กับนักศึกษาว่าเพราะเหตุใด  และในความถูกต้องแล้ว ตามแผนการศึกษาแบบทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว วิทยาลัยมีสิทธิบังคับให้นักศึกษาต้องไปเขียนวิทยานิพนธ์ในที่แห่งใดแห่งหนึ่งได้เดียวหรือไม่
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่