สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
คำว่า "สวัสดี" นี้ ท่านพระยาอุปกิตศิลปสาร ได้พิจารณามาจากศัพท์ "โสตถิ" ในภาษาบาลี หรือ "สวัสดิ" (สะ-หวัด-ดิ) ในภาษาสันสกฤต ซึ่งเป็นคำที่ใช้ในวรรณคดีไทย ท่านได้เล่าถึงต้นเหตุเดิมไว้ว่า **เจ้าหน้าที่วิทยุกระจายเสียงได้ใช้คำ "ราตรีสวัสดิ์" ลงท้ายคำพูด เมื่อจบการกระจายเสียงตอนกลางคืน โดยอนุโลมตามคำว่า "กู๊ดไนต์" (Goodnight) ของอังกฤษ แต่มีผู้ไม่เห็นด้วย ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงจึงขอให้กรรมการ ชำระปทานุกรมของกระทรวงธรรมการใน สมัยนั้น ช่วยคิดหาคำให้ ในท้ายที่สุดก็ตกลงได้คำว่า "สวัสดี" ไปใช้
คำก่อนหน้าคำว่า "สวัสดี" น่าจะใช้คำว่า "ท่านผู้เจริญ" คำทักทายนี้ เป็นที่นิยมใช้ในสมัยโบราณ และคำว่าท่านผู้เจริญนี้ ไม่ได้หมายถึง "เจริญ" ในลาภยศสรรเสริญ ฐานันดร หรือความมีหน้ามีตาในสังคม แต่หมายถึงเป็นผู้ที่มีความ"เจริญใจ" อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ โดยมีพื้นฐานมาจากการปฏิบัติธรรมนั่นเอง
คนโบราณจะมีคำทักทายหลากหลาย ขึ้นอยู่กับ "ชั้น" ของผู้ทักทายกัน ตัวอย่างเช่น เจ้าพระยาทักทายไพร่ "มึ./เอ็งเป็นอย่างไรบ้าง" "เอาข้าวมาให้ข้ากี่กระบุง" บ่าวไพร่ไม่มีสิทธิไต่ถาม ทักทายเจ้านาย
เพื่อนทักกันก็ "เฮ้ย ตีไก่เมื่อวานนี้ มึ.ได้/เสีย มากี่เบี้ย"
หนุ่มทักสาว "อีผัน-วันนี้เอ็งผัดหน้ามาซะขาว ไม่เกรงใจจมูกข้ามั่งหรือไงวะ"
แต่ทั่วๆไป คนระดับเดียวกัน ทักกันแบบสุภาพ ก็คงทักกันว่า "กินข้าวมาหรือยัง "
เพราะดูแล้ว วัฒนธรรมการกินของคนไทย(และของจีน) ซึมซับอยู่ในสายเลือดมานาน จนเอามาเกี่ยวข้องกับคำทักทายในชีวิตประจำวันสมัยโบราณ มันหมายถึงความเอื้ออาทรของคนไทยที่มีต่อกันว่า
"ทำมาหากินพอไหม?"
"มีข้าวกินไหม?"
"วันนี้ ท้องอิ่มหรือท้องแห้ง"
คำก่อนหน้าคำว่า "สวัสดี" น่าจะใช้คำว่า "ท่านผู้เจริญ" คำทักทายนี้ เป็นที่นิยมใช้ในสมัยโบราณ และคำว่าท่านผู้เจริญนี้ ไม่ได้หมายถึง "เจริญ" ในลาภยศสรรเสริญ ฐานันดร หรือความมีหน้ามีตาในสังคม แต่หมายถึงเป็นผู้ที่มีความ"เจริญใจ" อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ โดยมีพื้นฐานมาจากการปฏิบัติธรรมนั่นเอง
คนโบราณจะมีคำทักทายหลากหลาย ขึ้นอยู่กับ "ชั้น" ของผู้ทักทายกัน ตัวอย่างเช่น เจ้าพระยาทักทายไพร่ "มึ./เอ็งเป็นอย่างไรบ้าง" "เอาข้าวมาให้ข้ากี่กระบุง" บ่าวไพร่ไม่มีสิทธิไต่ถาม ทักทายเจ้านาย
เพื่อนทักกันก็ "เฮ้ย ตีไก่เมื่อวานนี้ มึ.ได้/เสีย มากี่เบี้ย"
หนุ่มทักสาว "อีผัน-วันนี้เอ็งผัดหน้ามาซะขาว ไม่เกรงใจจมูกข้ามั่งหรือไงวะ"
แต่ทั่วๆไป คนระดับเดียวกัน ทักกันแบบสุภาพ ก็คงทักกันว่า "กินข้าวมาหรือยัง "
เพราะดูแล้ว วัฒนธรรมการกินของคนไทย(และของจีน) ซึมซับอยู่ในสายเลือดมานาน จนเอามาเกี่ยวข้องกับคำทักทายในชีวิตประจำวันสมัยโบราณ มันหมายถึงความเอื้ออาทรของคนไทยที่มีต่อกันว่า
"ทำมาหากินพอไหม?"
"มีข้าวกินไหม?"
"วันนี้ ท้องอิ่มหรือท้องแห้ง"
แสดงความคิดเห็น
ละครเรื่องรากนครา มีฉากหนึ่งใช้คำว่า "สวัสดี" ยุคนั้นใช้คำนี้แล้วใช่ไหมครับ แค่สงสัยเฉยๆ