มาคุยกันตามประสา DIYer สายอุปกรณ์ครับ 555
ยังวนเวียนอยู่ที่เลื่อย วันนี้เรามาคุยเรื่องเลื่อยวงเดือนกันต่อ
เลื่อยวงเดือนน่าจะเป็นเลื่อยมือ (ไฟฟ้า) ที่ถูกงัดออกมาใช้ในงานไม้บ่อยที่สุด เพราะตัด (เป็นเส้นตรง) ได้เร็ว
แต่ก็เป็นเลื่อยที่ดูน่ากลัวพอสมควร เพราะใบเลื่อยหมุนด้วยความเร็วค่อนข้างมาก
เลื่อยวงเดือนมีหลายขนาด แต่ขนาดยอดนิยมเห็นจะเป็น 7" (7 1/4") กับ 9" (9 1/4") และมักจะมีความเร็วในการหมุนใบเลื่อยประมาณ 5,000 rpm ซึ่งถือว่าใบเลื่อยมีขนาดใหญ่และความเร็วรอบที่น่ากลัวพอสมควรสำหรับ DIYer มือใหม่หลายคน รวมถึงตัวผมเองด้วย
ผมจึงหาทางออกด้วยการซื้อเลื่อยวงเดือนจิ๋ว ใช้ใบเลื่อยขนาด 3 3/8" หรือ 85 ม.ม. มาใช้ (Black and Decker multievo 14.4v กับ Makita HS300d 10.8v) ข้อดีคือขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สามารถใช้งานมือเดียวได้สบาย ๆ
รวมถึงเรื่อง kickback ที่แทบจะไม่มีเลย เพราะกำลังมันน้อย (Makita 10.8v) หรือมีนิดหน่อย ไม่มากจนน่ากลัว (B&D 14.4v)
แต่ถึงแม้กำลังจะน้อย รอบจะต่ำ (Makita 1,400 rpm/B&D 3,400 rpm) แต่ก็เพียงพอที่จะใช้ตัดไม้เนื้อแข็งอย่างประดู่ได้สบาย ๆ ในเงื่อนไขที่ว่า ไม้ต้องหนาไม่เกิน 1"
แต่จะมีปัญหาในการตัดไม้อัด เพราะรอบที่ต่ำ ทำให้รอยตัดแตกเป็นเสี้ยน
ผมจึงเปลี่ยนมาใช้ AEG 18v ใช้ใบเลื่อยขนาด 6 1/2" (165 ม.ม.) ความเร็วใบเลื่อย 5,000 rpm
แวะเรื่องความเร็วรอบของใบเลื่อย รอบที่เหมาะกับการตัดไม้จะอยู่ที่ 5,000 rpm +/- นิดหน่อย
ถ้าต่ำมากตัดแล้วไม้จะแตกหรือเกิดเสี้ยน
ถ้าสูงเกิน ไม้ก็จะไหม้
เมื่อเปรียบเทียบกับยี่ห้ออื่นที่เป็นแบบ 18v ในระดับราคาใกล้เคียงกัน (ที่มีขายในบ้านเรา) พบว่า มีเพียง AEG กับ DeWALT ที่ทำรอบความเร็วใบเลื่อยไว้ถึง 5,000 rpm ซึ่งจะส่งผลต่อความเนียนของรอยตัด (เทียบที่ใบเลื่อยที่มีจำนวนฟันเท่ากัน)

แวะที่จำนวนฟันของใบเลื่อย เรียกเป็น T เช่น 24T, 40T, 60T เป็นต้น เป็นดอก เป็นใบ
ยิ่งจำนวน T มาก = ฟันเลื่อยมาก/ถี่ จะตัดได้เนียน ไม้ไม่แตกเป็นเสี้ยน แต่ก็จะตัดได้ช้าและกินแรงตัวเลื่อย (รวมถึงคนตัด) เหมาะกับการตัดขวางเสี้ยนไม้ (cross cut) เช่น 40T สำหรับเลื่อยวงเดือนขนาด 7"
ส่วน T น้อย ๆ ก็ตรงข้าม เหมาะกับการซอยไม้ตามแนวเสี้ยนไม้หรือตามยาว เช่น 24T สำหรับเลื่อยวงเดือนขนาด 7"
แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของฟันเลื่อยอีก ซึ่งผมจะไม่กล่าวถึง เพราะจำไม่ได้ 555 ปกติจะอ่านจากหีบห่อใบเลื่อยเอา
แล้วก็มีเรื่องใบเลื่อยชนิดพิเศษต่าง ๆ เช่นใบตัดอลูมิเนียม ที่จะมีจำนวน T มากพิเศษ เช่น 100T, 120T
เรื่องต่อไปคือ ขนาดใบเลื่อยมีผลต่อความสามารถในการตัด พูดง่าย ๆ คือ ยิ่งใบใหญ่ก็ยิ่งตัดไม้ได้หนา แต่ราคาใบเลื่อยก็จะแพงตามไปด้วย รวมถึงน้ำหนักของตัวเครื่องเลื่อย ที่จะมากตาม ความคล่องตัวก็ลดลง
เช่น เลื่อย AEG ที่ผมใช้ (6 1/2") ตัดไม้ได้หนาสุดที่ 2" หากเป็นเลื่อย 9" ก็จะตัดไม้ได้หนามากขึ้น แต่ความคล่องตัวก็จะลดลง
ดังนั้น พอจะสรุปได้ว่า ในการเลือกเลื่อยวงเดือน มีเรื่องที่ต้องคิดถึงอยู่ 4-5 เรื่อง คือ
1.จะเอาไปตัดอะไร
2.ขนาดและจำนวนฟันของใบเลื่อย
3.ความเร็วรอบในการหมุนของใบเลื่อย
4.การจับถือ ความคล่องตัว
5.งบประมาณ
และ... เรื่องอะไหล่ บริการหลังการขาย
อันนี้แถม
ข้อดีของเลื่อยวงเดือนไร้สาย คือ
1.แน่นอนว่าคล่องตัวกว่า เพราะไม่เกะกะสายไฟ ไม่ต้องลากปลั๊ก
2.เสียงที่ดังน้อยกว่าแบบเสียบปลั๊ก
3.มีระบบเบรคไฟฟ้า ใบเลื่อยจะหยุดหมุนแทบจะทันทีที่ปล่อยมือจากสวิทช์
ส่วนข้อเสีย
1.แน่นอนว่าแพงกว่า (มาก)
2.ในบ้านเรามีตัวเลือกน้อย
3.ใบเลื่อย 6 1/2" หายาก เจอแต่ 6 1/8" แต่ก็ใช้แทนกันได้
ส่วนด้านพละกำลัง ตอนนี้อุปกรณ์ไร้สายแทบจะทุกชนิดที่เป็นแบบ handheld กำลังไฟ 18v ของยี่ห้อมาตรฐาน จะมีเรี่ยวแรงไม่แพ้แบบเสียบปลั๊กเลย
รวมถึงความอึดของแบตเตอรี่ ที่อึดมาก แต่ก็นั่นแหละ ต้องแลกกับราคาที่แพงกว่าแบบเสียบปลั๊ก (มาก)
รายหยาบเลื่อย 18v ของผมครับ
การเลือกซื้อ เลือกใช้เลื่อยวงเดือน ตามประสา DIYer
ใครมีอะไรจะเสริม จะแลกเปลี่ยน เชิญนะครับ ผมเองก็มือใหม่
มาคุยเรื่องเลื่อยกันต่อ คราวนี้เลื่อยวงเดือน
ยังวนเวียนอยู่ที่เลื่อย วันนี้เรามาคุยเรื่องเลื่อยวงเดือนกันต่อ
เลื่อยวงเดือนน่าจะเป็นเลื่อยมือ (ไฟฟ้า) ที่ถูกงัดออกมาใช้ในงานไม้บ่อยที่สุด เพราะตัด (เป็นเส้นตรง) ได้เร็ว
แต่ก็เป็นเลื่อยที่ดูน่ากลัวพอสมควร เพราะใบเลื่อยหมุนด้วยความเร็วค่อนข้างมาก
เลื่อยวงเดือนมีหลายขนาด แต่ขนาดยอดนิยมเห็นจะเป็น 7" (7 1/4") กับ 9" (9 1/4") และมักจะมีความเร็วในการหมุนใบเลื่อยประมาณ 5,000 rpm ซึ่งถือว่าใบเลื่อยมีขนาดใหญ่และความเร็วรอบที่น่ากลัวพอสมควรสำหรับ DIYer มือใหม่หลายคน รวมถึงตัวผมเองด้วย
ผมจึงหาทางออกด้วยการซื้อเลื่อยวงเดือนจิ๋ว ใช้ใบเลื่อยขนาด 3 3/8" หรือ 85 ม.ม. มาใช้ (Black and Decker multievo 14.4v กับ Makita HS300d 10.8v) ข้อดีคือขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สามารถใช้งานมือเดียวได้สบาย ๆ
รวมถึงเรื่อง kickback ที่แทบจะไม่มีเลย เพราะกำลังมันน้อย (Makita 10.8v) หรือมีนิดหน่อย ไม่มากจนน่ากลัว (B&D 14.4v)
แต่ถึงแม้กำลังจะน้อย รอบจะต่ำ (Makita 1,400 rpm/B&D 3,400 rpm) แต่ก็เพียงพอที่จะใช้ตัดไม้เนื้อแข็งอย่างประดู่ได้สบาย ๆ ในเงื่อนไขที่ว่า ไม้ต้องหนาไม่เกิน 1"
แต่จะมีปัญหาในการตัดไม้อัด เพราะรอบที่ต่ำ ทำให้รอยตัดแตกเป็นเสี้ยน
ผมจึงเปลี่ยนมาใช้ AEG 18v ใช้ใบเลื่อยขนาด 6 1/2" (165 ม.ม.) ความเร็วใบเลื่อย 5,000 rpm
แวะเรื่องความเร็วรอบของใบเลื่อย รอบที่เหมาะกับการตัดไม้จะอยู่ที่ 5,000 rpm +/- นิดหน่อย
ถ้าต่ำมากตัดแล้วไม้จะแตกหรือเกิดเสี้ยน
ถ้าสูงเกิน ไม้ก็จะไหม้
เมื่อเปรียบเทียบกับยี่ห้ออื่นที่เป็นแบบ 18v ในระดับราคาใกล้เคียงกัน (ที่มีขายในบ้านเรา) พบว่า มีเพียง AEG กับ DeWALT ที่ทำรอบความเร็วใบเลื่อยไว้ถึง 5,000 rpm ซึ่งจะส่งผลต่อความเนียนของรอยตัด (เทียบที่ใบเลื่อยที่มีจำนวนฟันเท่ากัน)
แวะที่จำนวนฟันของใบเลื่อย เรียกเป็น T เช่น 24T, 40T, 60T เป็นต้น เป็นดอก เป็นใบ
ยิ่งจำนวน T มาก = ฟันเลื่อยมาก/ถี่ จะตัดได้เนียน ไม้ไม่แตกเป็นเสี้ยน แต่ก็จะตัดได้ช้าและกินแรงตัวเลื่อย (รวมถึงคนตัด) เหมาะกับการตัดขวางเสี้ยนไม้ (cross cut) เช่น 40T สำหรับเลื่อยวงเดือนขนาด 7"
ส่วน T น้อย ๆ ก็ตรงข้าม เหมาะกับการซอยไม้ตามแนวเสี้ยนไม้หรือตามยาว เช่น 24T สำหรับเลื่อยวงเดือนขนาด 7"
แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของฟันเลื่อยอีก ซึ่งผมจะไม่กล่าวถึง เพราะจำไม่ได้ 555 ปกติจะอ่านจากหีบห่อใบเลื่อยเอา
แล้วก็มีเรื่องใบเลื่อยชนิดพิเศษต่าง ๆ เช่นใบตัดอลูมิเนียม ที่จะมีจำนวน T มากพิเศษ เช่น 100T, 120T
เรื่องต่อไปคือ ขนาดใบเลื่อยมีผลต่อความสามารถในการตัด พูดง่าย ๆ คือ ยิ่งใบใหญ่ก็ยิ่งตัดไม้ได้หนา แต่ราคาใบเลื่อยก็จะแพงตามไปด้วย รวมถึงน้ำหนักของตัวเครื่องเลื่อย ที่จะมากตาม ความคล่องตัวก็ลดลง
เช่น เลื่อย AEG ที่ผมใช้ (6 1/2") ตัดไม้ได้หนาสุดที่ 2" หากเป็นเลื่อย 9" ก็จะตัดไม้ได้หนามากขึ้น แต่ความคล่องตัวก็จะลดลง
ดังนั้น พอจะสรุปได้ว่า ในการเลือกเลื่อยวงเดือน มีเรื่องที่ต้องคิดถึงอยู่ 4-5 เรื่อง คือ
1.จะเอาไปตัดอะไร
2.ขนาดและจำนวนฟันของใบเลื่อย
3.ความเร็วรอบในการหมุนของใบเลื่อย
4.การจับถือ ความคล่องตัว
5.งบประมาณ
และ... เรื่องอะไหล่ บริการหลังการขาย
อันนี้แถม
ข้อดีของเลื่อยวงเดือนไร้สาย คือ
1.แน่นอนว่าคล่องตัวกว่า เพราะไม่เกะกะสายไฟ ไม่ต้องลากปลั๊ก
2.เสียงที่ดังน้อยกว่าแบบเสียบปลั๊ก
3.มีระบบเบรคไฟฟ้า ใบเลื่อยจะหยุดหมุนแทบจะทันทีที่ปล่อยมือจากสวิทช์
ส่วนข้อเสีย
1.แน่นอนว่าแพงกว่า (มาก)
2.ในบ้านเรามีตัวเลือกน้อย
3.ใบเลื่อย 6 1/2" หายาก เจอแต่ 6 1/8" แต่ก็ใช้แทนกันได้
ส่วนด้านพละกำลัง ตอนนี้อุปกรณ์ไร้สายแทบจะทุกชนิดที่เป็นแบบ handheld กำลังไฟ 18v ของยี่ห้อมาตรฐาน จะมีเรี่ยวแรงไม่แพ้แบบเสียบปลั๊กเลย
รวมถึงความอึดของแบตเตอรี่ ที่อึดมาก แต่ก็นั่นแหละ ต้องแลกกับราคาที่แพงกว่าแบบเสียบปลั๊ก (มาก)
รายหยาบเลื่อย 18v ของผมครับ
การเลือกซื้อ เลือกใช้เลื่อยวงเดือน ตามประสา DIYer
ใครมีอะไรจะเสริม จะแลกเปลี่ยน เชิญนะครับ ผมเองก็มือใหม่