"เครียด ท้อแท้ หมดหวัง เศร้า อยากตาย" ก่อนอื่นกระทู้นี้ยาวหน่อยค่ะ เกิน 8 บรรทัดแน่นอน แต่ก็อยากให้อ่านกัน อยากฝากไว้ให้กับคนที่ได้ยิน หรือได้เห็นคำพูดเหล่านี้ผ่านทางข้องความที่ไหนก็ได้ "เครียด ท้อแท้ หมดหวัง เศร้า อยากตาย" คำพูดนี้บางทีคนที่พูดออกมาหรือพิมพ์ออกมาเขาอาจะต้องการความช่วยเหลือจริงๆ ไม่ได้อยากเรียกร้องความสนใจ เขาไม่รู้จะไปปรึกษาใคร เลยอยากได้คำปรึกษาจากคนอื่น เขาอาจมีปัญหาทางจิตใจ ในตอนนั้นเขาอาจจะมองไม่เห็นทางออกปัญหาในชีวิตก็ได้ กลายเป็นความเครียด หรือถ้าอาการหนักเขาอาจจะเป็น "โรคซึมเศร้า" ก็ได้ เพราะไม่มีใครรู้ว่าเขาเป็นอะไร คุณรู้ไหม ทุกวันนี้คนเป็นโรคซึมเศร้าเยอะขึ้นเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า คนที่เดินสวนกันกับเราเขาเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า เพราะภายนอกคนพวกนี้ก็ปกติเหมือนพวกคนนี่แหละ เพียงแต่ซ่อนความเศร้าไว้ไม่ให้ใครเห็นว่าเศร้าแค่ไหน แต่ขอร้องละ อย่าไปตัดสินเขาว่า ขี้แพ้ ไม่สู้ อ่อนแอ เรียกร้องความสนใจหรอ หรือไล่เขาไปตาย นั่นยิ่งหนักเลย หยุดคำพูดแย่ๆพวกนั้นมันเป็นคำพูดที่ไม่ได้ช่วยเขาเลยแถมยังไปซ้ำเติมเขาอีก มันจะยิ่งทำให้แย่ลง แล้วอีกอย่างพวกคำพูด สู้สิ มองคนอื่นที่เขาลำบากกว่าสิ อดทนหน่อยนะเดี๋ยวมันก็ดีขึ้น ในกรณีคนเป็นโรคซึมเศร้ามันไม่ได้ช่วยอะไร เพราะเขาทำไม่ได้แล้วจะรู้สึกโทษตัวเองเองที่ทำไม่ได้ เขาไม่ได้อยากเป็นอย่างนั้นแต่เพราะเขาป่วยมันเป็นเรื่องของระดับสารเคมีในสมองหรือฮอร์โมนบางตัว เรื่องนี้เป็นเรื่องของการป่วยทั้งร่างกายเช่นพันธุกรรม จิตใจเช่นการพัฒนาของจิตใจ และรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของระดับสารเคมีในสมองหรือฮอร์โมนบางตัว และโรคนี้ความคิดมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ยกตัวอย่างด้านความคิดผู้ป่วย จะมีความรู้สึกในแง่ลบต่อตนเองคิดถึงแต่เรื่องความผิดที่ตนเองได้ทำผิดพลาดไป มีความรู้สึก ท้อแท้ หมดหวัง รู้สึกชีวิตไร้ค่า หรือมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย ด้านอื่นๆ สมาธิสั้นความจำเสื่อม การทำงานแย่ลง ความสัมพันธ์กับผู้อื่นแย่ลง ด้านอารมณ์ หมดความสนใจสิ่งต่างๆที่เคยชอบทำ บางรายซึทเศร้าแต่ไม่เด่นชัด มีความเบื่อหน่าย ส่วนการรักษา ก็มาทั้งพบจิตแพทย์ ทานยาต้านเศร้า คุยกับนักจิตวิทยา ลองสังเกตคนรอบข้างหรือคนรู้จักว่าใครมีอาการเข้าข่ายแบบนี้ไหม ถ้ามีคนพาไปพบจิตแพทย์และให้จิตแพทย์ประเมินรักษา เพราะคนตัดสินไม่ใช่เราแต่คือหมอ และอย่าไปล้อเลียนผู้ป่วยหรือมองว่าเขาเป็นตัวประหลาด บางคนอายที่จะไปพบจิตแพทย์ คุณไม่ต้องอายคุณแค่ป่วย เหมือนเป็นหวัดแต่นั่นเป็นโรคทางกายแต่เเค่คุณเป็นโรคทางใจเท่านั้นเอง รักษาก็สามารถหายได้เป็นปกติแต่ต้องใช้เวลาซี่งระยะเวลาการรักษาและอาการของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน เอาเป็นว่ากระทู้นี้ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าคุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียวในโลกนะ คุณยังมีเราแม้เราจะไม่รู้จักกันก็ตามยินดีที่ไม่รู้จัก55 และฝากถึงคนที่ไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้าและสังคมเข้าใจผู้ป่วยโรคซึมเศร้าด้วย ถ้าหากยังไม่เข้าใจแล้วมีเวลาว่างไม่มีอะไรทำหรือลองสละเวลาอันมีค่าของคุณสักนิดลองเข้า Google ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าดูบ้าง เผื่อจะได้เป็นประโยชน์กับตัวคุณ ถือว่าเป็นการหาความรู้ใหม่ให้ตัวเองให้เป็นประโยชน์กับตัวเองด้วยและคนรอบข้างด้วย ในเมื่อเรื่องอื่นยังรู้ได้คิดว่าเรื่องนี้คุณก็น่าจะอ่านและทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคได้ ขอฝากไว้ด้วยค่ะ แก้ไขเพิ่มเติมค่ะ ใน Youtube ก็ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าเหมือนกันค่ะ สำหรับใครที่ไม่ชอบอ่านชอบดูเป็นวิดีโอมีเสียงบรรยายมีภาพการ์ตูนก็มีเป็นคนก็มีดูได้เลยค่ะ มาตระหนักถึงโรคนี้กันเถอะค่ะ เพราะชีวิตของแต่ละคนมีคุณค่าทั้งนั้นมาช่วยเหลือซึ่งกันและกันเถอะค่ะ อย่าให้ใครเข้าใจอยู่ฝ่ายเดียวเลย
เพิ่มเติม อ้างอิงจาก
http://www.sanook.com/health/7137/ ลองเข้าไปอ่านดูได้ค่ะ
ทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามากกว่า 300 ล้านคน
องค์การอนามัยเปิดเผยว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยด้วยโรคซึมเศร้ากว่า 300 ล้านคน เมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วจะเท่ากับว่า มีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 4% ของจำนวนประชากรทั้งโลก 7,500 ล้านคน
ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าราว 900,000 คน
ข้อมูลจากงานประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติครั้งที่ 14 เมื่อปี 2558 ระบุว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าตลอดช่วงชีวิตถึง 900,000 คน หรือคิดเป็น 1.8% ของประชากรทั้งประเทศ
เครียด ท้อแท้ หมดหวัง เศร้า อยากตาย พวกคุณมีวิธีและคำพูดปลอบใจคนพวกนี้อย่างไร
เพิ่มเติม อ้างอิงจาก http://www.sanook.com/health/7137/ ลองเข้าไปอ่านดูได้ค่ะ
ทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามากกว่า 300 ล้านคน
องค์การอนามัยเปิดเผยว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยด้วยโรคซึมเศร้ากว่า 300 ล้านคน เมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วจะเท่ากับว่า มีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 4% ของจำนวนประชากรทั้งโลก 7,500 ล้านคน
ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าราว 900,000 คน
ข้อมูลจากงานประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติครั้งที่ 14 เมื่อปี 2558 ระบุว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าตลอดช่วงชีวิตถึง 900,000 คน หรือคิดเป็น 1.8% ของประชากรทั้งประเทศ