ฤกษ์ของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่ทรงสอนให้เชื่อฤกษ์ยาม

ได้อ่านชาดกเรื่องนี้แล้วมีความรู้สึกว่าสังคมไทยสมัยนี้ ชาวพุทธเอง
ไม่ได้ปฎิบัติตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแท้จริง
ยังม่ีเรื่องการเชื่อฤกษ์ยามอยู่อย่างกว้างขวาง  มาดูเรื่องราวกันครับ

     ในสมัยเมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่พระเชตวัน ใกล้กรุงสาวัตถีในโกศลรัฐ
ได้มีบุคคลผู้หนึ่งในชนบทสู่ขอธิดาของตระกูลหนึ่งในกรุงสาวัตถีให้แก่บุตร
ของตน ตกลงกันกำหนดวันประกอบพิธีมงคลเรียบร้อยแล้ว


      ต่อมาเขาได้ถามอาชีวก (นักบวชจำพวกหนึ่ง) ผู้เป็นที่นับถือของตนว่า
วันนั้นฤกษ์ดีหรือไม่
     อาชีวกโกรธว่าไม่ถามตนเสียก่อน กำหนดวันกันแล้วมาถามภายหลัง
จึงกล่าวว่า วันนั้นฤกษ์ไม่ดี อย่าทำมงคล ถ้าทำจะเกิดมหาวินาศ
พวกเขาก็พากันเชื่อ เมื่อถึงวันนัดก็ไม่ไปเพราะกลัวจะเกิดมหาวินาศ

      ส่วนทางฝ่ายหญิงซึ่งได้เตรียมการมงคลทั้งปวงไว้แล้ว
รออยู่ไม่เห็นฝ่ายชายมาก็พากันโกรธเพราะได้ตกลงวันกันไว้
ได้ตระเตรียมสิ่งทั้งปวงสิ้นเปลืองไปเป็นอันมาก ทั้งเป็นการเสียหน้าแก่ฝ่ายหญิง
จึงได้ยกธิดาให้แก่ชายในตระกูลอื่นซึ่งเป็นผู้ขอรับแทน
ได้ประกอบพิธีมงคลตามที่เตรียมไว้เสร็จเรียบร้อยไปในวันนั้นเอง

     ครั้นวันรุ่งขึ้น พวกฝ่ายชายที่สู่ขอไว้ก่อนจึงพากันไปยังบ้านเจ้าสาว
ก็ถูกพวกฝ่ายหญิงด่าว่าขับไล่ให้กลับ


     พวกฝ่ายชายก็โต้ตอบเกิดวิวาทกันขึ้นแต่ก็ไมไ่ด้หญิงนั้น
เพราะเขายกให้คนอื่นไปแล้ว ต้องพากันกลับ



ข่าวเรื่องอาชีวกนั้นทำการทำนายทายทักเป็นอันตรายแก่การมงคล
ปรากฏไปทั่วนครจนทราบถึงหมู่ภิกษุ

พระพุทธเจ้าได้ทรงทราบจากหมู่ภิกษุ
ก็ได้ตรัสเล่าเรื่องทำนองเดียวกันที่เกิด
เพราะถือฤกษ์ยามผิดๆ ในอดีตกาลแก่ภิกษุทั้งหลาย
แล้วตรัสประทานโอวาทแปลความว่า

"ประโยชน์ล่วงเลยคนเขลาผู้มัวถือฤกษ์อยู่
ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์ ดาวทั้งหลายจะทำอะไรได้"



ดังที่มีมาในนักขัตตชาดก
หากใครปรารถนาจะให้ชีวิตของตนมีแต่ความเป็นมงคล
ก็ต้องปฏิบัติตามมงคลนั้นๆ นั่นเอง

ที่มา พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่