กฟผ. ได้ดำเนินโครงการชีววิถี เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยน้อมนำแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรม สร้างความรู้ความเข้าใจในการเกื้อกูลซึ่งกันและกันระหว่างธรรมชาติ และการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยมุ่งเน้นการนำจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ(EM) มาใช้แทนสารเคมี ในการดำเนินงาน 4 กิจกรรม ได้แก่ การเกษตร การประมง การปศุสัตว์ และการจัดการสิ่งแวดล้อม ด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ชุมชน เพื่อให้เกิดการพึ่งพาตนเองและลดค่าใช้จ่าย ส่งผลให้เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง นอกจากนี้ยังมีการคัดเลือกชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวทางโครงการชีววิถีฯ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า เขื่อน และใต้แนวสายส่งไฟฟ้าของ กฟผ. ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน จวบจนปัจจุบันมีชุมชนต้นแบบทั้งหมด 39 แห่งทั่วประเทศ
ความเป็นมา
ตามที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2540 ความว่า “…สิ่งสำคัญคือเราพออยู่พอกิน อุ้มชูตัวเราได้ให้มีความพอเพียงแก่ ตัวเอง พึ่งตนเองได้ หมายความว่าให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อน มีความเป็นอยู่อย่างประมาณตน มีกินมีใช้ตามอัตภาพ แล้วที่เหลือจึงจะขายเป็นรายได้ต่อไป...”
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงสืบสานพระราชปณิธานในเรื่องนี้ โดยรับพระราชเสาวนีย์จาก สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งที่ทรงประทับแรม ณ เขื่อนสิรินธร อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2541 มาดำเนินการจัดตั้ง “โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2542 ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี จากศูนย์อำนวยการประสานงานเพื่อความมั่นคงเฉพาะพื้นที่ป่าดงนาทามอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.อุบลราชธานี เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ และเทคนิควิธีการนำจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) มาใช้ทางด้านการเกษตร การเลี้ยง สัตว์น้ำ และปศุสัตว์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ กฟผ. ยังได้นำเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมมาดำเนินการด้วย ต่อมาได้มีการจัดอบรมให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ และยังขยายผลไปยังหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ มูลนิธิ วัด โรงเรียนและชุมชนต่างๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาท้องถิ่นต่อไป ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์ประโยชน์ให้กับสังคมโดยรวม และในปี พ.ศ. 2546 กฟผ. จึงได้จัดตั้งโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อสนับสนุนให้มีการใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีการดำเนินงานเพื่อสังคม ด้วยการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ระหว่างธรรมชาติและการดำรงชีวิตของมนุษย์ รู้จักนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มาพัฒนาเพื่อใช้เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง โดยเน้นเรื่องปลอดสารพิษเป็นหลักสำคัญ และไม่ก่อหนี้สิน ผสมผสานกับการดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง คำนึงถึงการรักษาและฟื้นฟู สิ่งแวดล้อม ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในท้ายที่สุด
วัตถุประสงค์
โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยวิถีการดำเนินชีวิตแบบพออยู่พอกิน พึ่งพาตนเองได้ด้วยการทำการเกษตรแบบธรรมชาติ
• เพื่อนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม
• ส่งเสริมวิถีของคนไทย ให้รู้จักพอมีพอกิน พึ่งตนเองได้
• ให้ความรู้ ความเข้าใจในการเกษตรโดยไม่ใช้สารเคมี ไม่ทำลายระบบนิเวศ
• เสริมสร้างจิตสำนึก ให้เกิดการเกื้อกูลกัน
• เสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง และสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้ยั่งยืน
• ส่งเสริมการผลิตอาหารปลอดภัยสู่สุขภาพอนามัยที่ดี อันจะนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี
• ส่งเสริมให้ทำเกษตรกรรมธรรมชาติ ลดต้นทุนจากการใช้สารเคมี
• สนับสนุนและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
• ส่งเสริมเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
การดำเนินการ
แนวทางในการดำเนินการ โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดำเนินการตามแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” ด้วยการส่งเสริมใน 4 เรื่อง ได้แก่
• การเกษตร การเพาะปลูก พืชไร่ พืชสวน พืชผัก นาข้าว ไม้ดอกไม้ประดับ
• การประมง การเลี้ยงสัตว์น้ำ เลี้ยงปลาในบ่อพลาสติกขนาดเล็ก เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงกบ เลี้ยงตะพาบน้ำ ฯลฯ
• ปศุสัตว์ เลี้ยงไก่ หมู วัวเนื้อ วัวนม แพะ ไก่งวง ฯลฯ
• สิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย กำจัดเศษอาหารในครัวเรือน ด้วยการใช้ถังพิทักษ์โลก บำบัดกลิ่นในห้องน้ำ ทำความสะอาดบ้านเรือน สุขภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ
โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดำเนินการใน 4 เรื่องดังกล่าว ด้วยการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิ์ภาพเป็นตัวช่วย โดยทางโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ทดลองใช้แล้วได้ผลดี และเนื่องจากจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิ์ภาพ เป็นสิ่งมีชีวิต ซึ่งนับเป็นเกษตรทางเลือก (Alternative Agriculture) อีกทางหนึ่ง
โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ความเป็นมา
ตามที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2540 ความว่า “…สิ่งสำคัญคือเราพออยู่พอกิน อุ้มชูตัวเราได้ให้มีความพอเพียงแก่ ตัวเอง พึ่งตนเองได้ หมายความว่าให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อน มีความเป็นอยู่อย่างประมาณตน มีกินมีใช้ตามอัตภาพ แล้วที่เหลือจึงจะขายเป็นรายได้ต่อไป...”
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงสืบสานพระราชปณิธานในเรื่องนี้ โดยรับพระราชเสาวนีย์จาก สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งที่ทรงประทับแรม ณ เขื่อนสิรินธร อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2541 มาดำเนินการจัดตั้ง “โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2542 ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี จากศูนย์อำนวยการประสานงานเพื่อความมั่นคงเฉพาะพื้นที่ป่าดงนาทามอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.อุบลราชธานี เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ และเทคนิควิธีการนำจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) มาใช้ทางด้านการเกษตร การเลี้ยง สัตว์น้ำ และปศุสัตว์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ กฟผ. ยังได้นำเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมมาดำเนินการด้วย ต่อมาได้มีการจัดอบรมให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ และยังขยายผลไปยังหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ มูลนิธิ วัด โรงเรียนและชุมชนต่างๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาท้องถิ่นต่อไป ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์ประโยชน์ให้กับสังคมโดยรวม และในปี พ.ศ. 2546 กฟผ. จึงได้จัดตั้งโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อสนับสนุนให้มีการใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีการดำเนินงานเพื่อสังคม ด้วยการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ระหว่างธรรมชาติและการดำรงชีวิตของมนุษย์ รู้จักนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มาพัฒนาเพื่อใช้เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง โดยเน้นเรื่องปลอดสารพิษเป็นหลักสำคัญ และไม่ก่อหนี้สิน ผสมผสานกับการดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง คำนึงถึงการรักษาและฟื้นฟู สิ่งแวดล้อม ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในท้ายที่สุด
วัตถุประสงค์
โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยวิถีการดำเนินชีวิตแบบพออยู่พอกิน พึ่งพาตนเองได้ด้วยการทำการเกษตรแบบธรรมชาติ
• เพื่อนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม
• ส่งเสริมวิถีของคนไทย ให้รู้จักพอมีพอกิน พึ่งตนเองได้
• ให้ความรู้ ความเข้าใจในการเกษตรโดยไม่ใช้สารเคมี ไม่ทำลายระบบนิเวศ
• เสริมสร้างจิตสำนึก ให้เกิดการเกื้อกูลกัน
• เสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง และสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้ยั่งยืน
• ส่งเสริมการผลิตอาหารปลอดภัยสู่สุขภาพอนามัยที่ดี อันจะนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี
• ส่งเสริมให้ทำเกษตรกรรมธรรมชาติ ลดต้นทุนจากการใช้สารเคมี
• สนับสนุนและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
• ส่งเสริมเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
การดำเนินการ
แนวทางในการดำเนินการ โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดำเนินการตามแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” ด้วยการส่งเสริมใน 4 เรื่อง ได้แก่
• การเกษตร การเพาะปลูก พืชไร่ พืชสวน พืชผัก นาข้าว ไม้ดอกไม้ประดับ
• การประมง การเลี้ยงสัตว์น้ำ เลี้ยงปลาในบ่อพลาสติกขนาดเล็ก เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงกบ เลี้ยงตะพาบน้ำ ฯลฯ
• ปศุสัตว์ เลี้ยงไก่ หมู วัวเนื้อ วัวนม แพะ ไก่งวง ฯลฯ
• สิ่งแวดล้อม บำบัดน้ำเสีย กำจัดเศษอาหารในครัวเรือน ด้วยการใช้ถังพิทักษ์โลก บำบัดกลิ่นในห้องน้ำ ทำความสะอาดบ้านเรือน สุขภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ
โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดำเนินการใน 4 เรื่องดังกล่าว ด้วยการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิ์ภาพเป็นตัวช่วย โดยทางโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ทดลองใช้แล้วได้ผลดี และเนื่องจากจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิ์ภาพ เป็นสิ่งมีชีวิต ซึ่งนับเป็นเกษตรทางเลือก (Alternative Agriculture) อีกทางหนึ่ง