โรคติดอินเตอร์เน็ต
หรือ ความแปรปรวนทางจิตแบบเสพติดอินเตอร์เน็ต
(Internet Addiction Disorder – IAD)
คุณเป็นแบบนี้บ้างหรือเปล่า ต้องเปิดเข้าไปเช็คในเฟสบุ๊คบ่อยครั้ง เล่นเกมส์ในอินเตอร์เน็ตเป็นประจำ ซื้อของทางออนไลน์อยู่เสมอ
ดูหนังฟังเพลงจากยูทูปบ่อยมาก ใช้เวลาสร้างบล็อก และอัพเดทบล็อกของตัวเองอยู่เสมอ
ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตบางคนจะสร้างความผูกพันทางอารมณ์กับเพื่อนในโลกอินเตอร์เน็ตของเขา
เขาสนุกสนานกับอินเตอร์เน็ตที่ทำให้เขาได้เจอเพื่อน ได้มีสังคม แลกเปลี่ยนความคิดกัน
ทำไมการติดอินเตอร์เน็ตจึงจะเป็นปัญหา ในเมื่อชีวิตในปัจจุบัน เป็นการยากที่จะกำจัดอินเตอร์เน็ตออกไปได้
เราถูกล้อมรอบด้วยอินเตอร์เน็ต และส่วนมากพวกเราก็ใช้มันอยู่ทุกวัน
แล้วการใช้อินเตอร์เน็ตรบกวนชีวิตประจำวันของคุณหรือไม่ เป็นต้นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเสียไป ไม่เป็นอันทำงาน การเรียนเสีย
ถ้าใช่ คุณอาจมีความแปรปรวนทางจิตแบบการเสพติดอินเตอร์เน็ต (Internet Addiction Disorder – IAD)
หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า โรคติดอินเตอร์เน็ต
การเสพติดอินเตอร์เน็ตก็คล้ายการเสพติดอย่างอื่น คือคนที่เสพติดอินเตอร์เน็ตจะใช้จินตนาการในโลกเสมือนเพื่อติดต่อกับบุคคลในชีวิตจริง เป็นการทดแทนการติดต่อกับบุคคลในชีวิตจริงที่เขาไม่สามารถจะทำให้บรรลุผลได้
มีการศึกษาเรื่องการเสพติดอินเตอร์เน็ตมากมาย จนอาการนี้ได้รับการจัดเข้าไปอยู่ใน
คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต ฉบับที่ 5 (
Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (DSM-V)) ซึ่งจัดทำโดยสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา
โรคติดอินเตอร์เน็ตได้ถูกกล่าวครั้งแรกใน
ดร. อีแวน เค โกลเบิร์ก (
Dr. Ivan K. Goldberg) ถึงโรคติดอินเตอร์เน็ต
เขากล่าวว่า ถ้าเราขยายความหมายของการเสพติดให้รวมทุกๆสิ่งที่ทุกคนทำมากเกินไป เราอาจต้องพูดถึง การเสพติดหนังสือ การเสพติดทีวี ฯลฯ
แต่อย่างไรก็ตาม ดร. โกลเบิร์ก ก็เป็นผู้ที่ได้สร้างคุณประโยชน์ให้แก่ที่ประชุมเพื่ออภิปราย (forum) และเขียนเอกสารในเรื่องนี้
ทั้งประเทศจีนและเกาหลีใต้ได้จัดให้การเสพติดอินเตอร์เนตเป็นการคุกคามสุขภาพที่สำคัญของประเทศ
ซึ่งได้รับการสนับสนุนให้มีการศึกษา วิจัย และบำบัด
American Society of Addiction Medicine (ASAM) ได้ให้นิยามใหม่ของการเสพติดว่า เป็นความแปรปรวนทางสมองอย่างเรื้อรัง (chronic brain disorder) และการเสพติดนั้นไม่จำกัดอยู่เพียงการเสพติดสารต่างๆ การเสพติดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีหรือการเสพติดด้านพฤติกรรม ที่มีลักษณะต่างๆร่วมกันอยู่ ซึ่งได้แก่ เสียการควบคุมแรงกระตุ้นอย่างเด่นชัด การปรับเปลี่ยนอารมณ์ มีความทุกข์เพิ่มขึ้น มีความทนและมีอาการถอน
(คล้ายการทนต่อยาเสพติดและอาการถอนยา) และยังคงเล่นต่อไปแม้เกิดผลลัพธ์ทางลบ
การกระตุ้นในสมอง
เป็นที่ทราบกันดีว่า การเสพติดจะเป็นการกระตุ้นส่วนต่างๆของสมองที่เกี่ยวข้องกับความสุข หรือที่เรียกกันว่า “ศูนย์แห่งรางวัล” (reward center) หรือ “เส้นทางแห่งความ เพลิดเพลิน” เมื่อส่วนของสมองเหล่านี้ถูกกระตุ้น สารโดพามีน (สารความสุข) จะเพิ่มขึ้น พร้อมๆกับสารสื่อประสาทอื่นๆ
เมื่อได้รับไปนานๆก็เกิด “อาการทนยา” (คล้ายดื้อยา) ต้องมีการกระตุ้นศูนย์แห่งรางวัลนี้มากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยง “อาการถอนยา”
ลองฟังคำกล่าวของชายหนุ่มอายุ 21 ปีที่กำลังได้รับบำบัด
“
ผมรู้สึกว่าเทคโนโลยีได้นำความสุขมาสู่ชีวิตผมอย่างมาก ไม่มีกิจกรรมอื่นที่ทำให้ผมผ่อนคลายและกระตุ้นผมได้เหมือนเทคโนโลยี
อย่างไรก็ตาม เวลาผมรู้สึกซึมเศร้า ผมมีแนวโน้มจะใช้เทคโนโลยีในการปลีกตัวออกมา และแยกไปอยู่คนเดียว”
ความโน้มเอียงทางชีวะ
มีหลายเรื่องหลายโรคที่มีผู้สนใจว่าจะเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมไหม เรื่องนี้ก็เช่นเดียวกัน มีหลักฐานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆว่า คนที่มีพฤติกรรมเสพติดมีความโน้มเอียงด้านพันธุกรรม ทฤษฎีเรื่องนี้บอกว่า บุคคลที่มีแนวโน้มในเรื่องนี้มักมี dopamine receptor ไม่เพียงพอ หรือขาดเซโรโทนิน/โดพามีน
ดังนั้นจึงยากที่จะเกิดความรู้สึกพอใจในระดับปกติต่อกิจกรรมที่คนทั่วไปเขารู้สึกพึงพอใจ เขาจึงต้องมีพฤติกรรมมากกว่าปกติเพื่อกระตุ้นให้โดพามีนหลั่งมากขึ้น ซึ่งเป็นเหมือนรางวัลที่เขาได้รับ แต่ก็ต้องเสี่ยงต่อการเสพติด
อาการของโรคติดอินเตอร์เน็ตเป็นอย่างไร
สัญญาณหรืออาการของการติดอินเตอร์เน็ตอาจแสดงออกทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
อาการทางอารมณ์ อาจประกอบด้วย
- ซึมเศร้า
- ไม่ซื่อสัตย์
- รู้สึกผิด
- วิตกกังวล
- รู้สึกสบายเมื่อใช้คอมพิวเตอร์
- ไม่สามารถจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังในการทำกิจกรรมต่างๆ
- แยกตัว
- ไม่รู้เวล่ำเวลา
- ปกป้องตัวเอง
- หลีกเลี่ยงการทำงาน
- หงุดหงิดกระสับกระส่าย
- อารมณ์แกว่ง
- กลัว
- เหงา
- เบื่อหน่ายงานประจำวัน
- ผัดวันประกันพรุ่ง
อาการทางกาย อาจประกอบด้วย
- ปวดหลัง
- โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ
- ปวดศีรษะ
- โรคนอนไม่หลับ
- ภาวะโภชนาการไม่ดี (ไม่ค่อยกินหรือกินมากเกินไปเพื่อไม่ต้องห่างคอมพิวเตอร์)
- สุขภาพส่วนตัวเสีย (เช่น ไม่ยอมอาบน้ำ)
- ปวดคอ
- ตาแห้งและปัญหาสายตาอื่นๆ
- น้ำหนักขึ้นหรือลด
ผลของการติดอินเตอร์เน็ตที่มีต่อชีวิตดังที่กล่าวข้างต้นแล้ว บางคนยังสร้างบุคลิกใหม่ทางออนไลน์ขึ้นมา เพื่อปกปิดพฤติกรรมทางออนไลน์ของตน บางคนประสบปัญหาการเงินเพราะเลี่ยงงาน บางคนมีปัญหาการสร้างความสัมพันธ์ใหม่ หลีกเลี่ยงสังคม เพราะรู้สึกสบายใจในโลกออนไลน์มากกว่าในชีวิตจริง
เกณฑ์การวินิฉัยว่าเป็นโรคติดอินเตอร์เน็ตหรือไม่
ปัจจุบันคำที่ใช้มากคือ IAD ซึ่งแต่ก่อนมีการใช้คำต่างๆ เช่น Problematic Internet Use, Computer Addiction, Internet Dependence, Compulsive Internet use, Pathological Internet Use และคำอื่นๆอีก อย่างไรก็ตาม เกณฑ์ของการระบุว่าเป็นการเสพติดอินเตอร์เนต
ก็ยังไม่คงเส้นคงวา
หนึ่งในเครื่องมือที่เป็นที่ยอมรับในการวินิจฉัย IAD คือเกณฑ์ที่เสนอโดย
เบียร์ด (
Beard)
เบียร์ดแนะนำว่าเกณฑ์การวินิจฉัยว่าเสพติดอินเตอร์เนตหรือไม่ ต้องมี 5 ประการต่อไปนี้ กล่าวคือ
1. ครุ่นคิดแต่เรื่องอินเตอร์เนตหรือไม่ (คิดแต่กิจกรรมออนไลน์ที่ผ่านมา และคาดการณ์ถึงเรื่องราวในครั้งต่อไป
พูดง่ายๆคือ ปิดเครื่องแล้ว แต่ยังไม่จบ ยังครุ่นคิดอยู่)
2. ปรารถนาที่จะใช้อินเตอร์เนตในปริมาณเวลาที่มากขึ้น เพื่อให้บรรลุผลที่พึงพอใจ
3. มีความพยายามที่จะลด ตัดทอน หรือหยุดการใช้อินเตอร์เนตแต่ไม่ประสบความสำเร็จ
4. มีอาการกระวนกระวาย อารมณ์เสีย เศร้า หรือหงุดหงิด เมื่อพยายามลดหรือหยุดการเล่นอินเตอร์เนต
5. ออนไลน์อยู่นานกว่าที่ได้ตั้งใจไว้ในตอนแรก
และอย่างต้องมี อย่างน้อย 1 อาการต่อไปนี้
1. ตกอยู่ในอันตราย หรือมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียสัมพันธภาพที่สำคัญ เสี่ยงที่จะสูญเสียโอกาสเรื่องการงาน การศึกษา และอาชีพ
อันเนื่องมาจากอินเตอร์เนต
2. ได้โกหกสมาชิกในครอบครัว นักบำบัด หรือคนอื่น ทั้งนี้เพื่อปิดบังซ่อนเร้นว่าตนใช้อินเตอร์เนตมากเพียงใด
3. ใช้อินเตอร์เนตเป็นหนทางในการหนีปัญหาต่างๆ หรือเพื่อปลดปล่อยอารมณ์ที่ไม่ปกติ เช่น ความรู้สึกสิ้นหวัง ความรู้สึกผิด ความวิตกกังวล
ความซึมเศร้า
เครื่องมือที่ใช้ประเมิน
เครื่องมือที่ใช้ประเมิน IAD เช่น Young’s Internet Addiction Test, the Problematic Internet Use Questionnaire (PIUQ), the Compulsive Internet Use Scale (CIUS)
วิธีการรักษาทางจิตใจของโรคติดอินเตอร์เน็ต อาจประกอบด้วย
- การบำบัดเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่ม หรือเป็นครอบครัว
- การปรับพฤติกรรม (Behavior Modification)
- พฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี (Dialectical Behavioral Therapy – DBT)
- จิตบำบัดด้วยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy – CBT)
- อาชาบำบัด (Equine Therapy)
- ศิลปะบำบัด (Art Therapy)
- นันทนาการบำบัด (Recreation Therapy)
- การบำบัดโดยการเผชิญความจริง (Reality Therapy)
สถานที่ให้คำปรึกษาและบำบัดการเสพติด
ศูนย์สุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
กรมสุขภาพจิต เปิดตัวศูนย์ให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์สายด่วน 1323 และ ศูนย์เรียนรู้ฯเป็นมิตรกับวัยรุ่น
คลินิกให้คำปรึกษาเด็กและครอบครัวอบอุ่น กระทรวงยุติธรรม
โรงพยาบาลของรัฐ
เดอะ เคบิน กรุงเทพฯ
https://th.thecabinbangkok.co.th/
Honestdocs
https://www.honestdocs.co/internet-addiction
ขอบคุณภาพและเอกสารอ้างอิงจาก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
คู่มือวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95 วันที่ 11 กันยายน 2560
Cash, H., Rae, C., Steel, A. & Winkler, A. (2012). Addiction: A Brief Summary of Research and Practice, Curr Psychiatry Rev. 2012 Nov; 8(4): 292–298. Retrieved from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3480687/ , 23/3/2017
Gregory, C. Internet Addiction Disorder Signs, Symptoms, and Treatments. Retrieved from https://www.psycom.net/iadcriteria.html 10/10/2017
Wallis, D. Just Click No. The New Yorker. Jan 13, 1997 Retrieved from https://www.newyorker.com/magazine/1997/01/13/just-click-no, Jan 13, 1997
ภาพประกอบจากกูเกิล และจาก http://mycaresyracuse.com/mycare-syracuse-addiction-treatment-services/
วันที่ 12 กันยายน 2560 เป็นวันคล้ายวันเกิดของคุณสวย (ถ้าฉันรวยจะสวยหั้ยดูเด้อ) เพื่อนรักของดิฉันในพันทิป
ดิฉันจึงขอใช้โอกาสนี้อวยพรวันเกิด
(แก้คำผิด)
สมาชิกท่านใดสงสัยว่าตนเองเป็นโรคติดอินเตอร์เน็ต (Internet Addiction Disorder) เชิญทางนี้
หรือ ความแปรปรวนทางจิตแบบเสพติดอินเตอร์เน็ต
(Internet Addiction Disorder – IAD)
คุณเป็นแบบนี้บ้างหรือเปล่า ต้องเปิดเข้าไปเช็คในเฟสบุ๊คบ่อยครั้ง เล่นเกมส์ในอินเตอร์เน็ตเป็นประจำ ซื้อของทางออนไลน์อยู่เสมอ
ดูหนังฟังเพลงจากยูทูปบ่อยมาก ใช้เวลาสร้างบล็อก และอัพเดทบล็อกของตัวเองอยู่เสมอ
ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตบางคนจะสร้างความผูกพันทางอารมณ์กับเพื่อนในโลกอินเตอร์เน็ตของเขา
เขาสนุกสนานกับอินเตอร์เน็ตที่ทำให้เขาได้เจอเพื่อน ได้มีสังคม แลกเปลี่ยนความคิดกัน
ทำไมการติดอินเตอร์เน็ตจึงจะเป็นปัญหา ในเมื่อชีวิตในปัจจุบัน เป็นการยากที่จะกำจัดอินเตอร์เน็ตออกไปได้
เราถูกล้อมรอบด้วยอินเตอร์เน็ต และส่วนมากพวกเราก็ใช้มันอยู่ทุกวัน
แล้วการใช้อินเตอร์เน็ตรบกวนชีวิตประจำวันของคุณหรือไม่ เป็นต้นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเสียไป ไม่เป็นอันทำงาน การเรียนเสีย
ถ้าใช่ คุณอาจมีความแปรปรวนทางจิตแบบการเสพติดอินเตอร์เน็ต (Internet Addiction Disorder – IAD)
หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า โรคติดอินเตอร์เน็ต
การเสพติดอินเตอร์เน็ตก็คล้ายการเสพติดอย่างอื่น คือคนที่เสพติดอินเตอร์เน็ตจะใช้จินตนาการในโลกเสมือนเพื่อติดต่อกับบุคคลในชีวิตจริง เป็นการทดแทนการติดต่อกับบุคคลในชีวิตจริงที่เขาไม่สามารถจะทำให้บรรลุผลได้
มีการศึกษาเรื่องการเสพติดอินเตอร์เน็ตมากมาย จนอาการนี้ได้รับการจัดเข้าไปอยู่ใน คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต ฉบับที่ 5 (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (DSM-V)) ซึ่งจัดทำโดยสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา
โรคติดอินเตอร์เน็ตได้ถูกกล่าวครั้งแรกใน ดร. อีแวน เค โกลเบิร์ก (Dr. Ivan K. Goldberg) ถึงโรคติดอินเตอร์เน็ต
เขากล่าวว่า ถ้าเราขยายความหมายของการเสพติดให้รวมทุกๆสิ่งที่ทุกคนทำมากเกินไป เราอาจต้องพูดถึง การเสพติดหนังสือ การเสพติดทีวี ฯลฯ
แต่อย่างไรก็ตาม ดร. โกลเบิร์ก ก็เป็นผู้ที่ได้สร้างคุณประโยชน์ให้แก่ที่ประชุมเพื่ออภิปราย (forum) และเขียนเอกสารในเรื่องนี้
ทั้งประเทศจีนและเกาหลีใต้ได้จัดให้การเสพติดอินเตอร์เนตเป็นการคุกคามสุขภาพที่สำคัญของประเทศ
ซึ่งได้รับการสนับสนุนให้มีการศึกษา วิจัย และบำบัด
American Society of Addiction Medicine (ASAM) ได้ให้นิยามใหม่ของการเสพติดว่า เป็นความแปรปรวนทางสมองอย่างเรื้อรัง (chronic brain disorder) และการเสพติดนั้นไม่จำกัดอยู่เพียงการเสพติดสารต่างๆ การเสพติดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีหรือการเสพติดด้านพฤติกรรม ที่มีลักษณะต่างๆร่วมกันอยู่ ซึ่งได้แก่ เสียการควบคุมแรงกระตุ้นอย่างเด่นชัด การปรับเปลี่ยนอารมณ์ มีความทุกข์เพิ่มขึ้น มีความทนและมีอาการถอน
(คล้ายการทนต่อยาเสพติดและอาการถอนยา) และยังคงเล่นต่อไปแม้เกิดผลลัพธ์ทางลบ
การกระตุ้นในสมอง
เป็นที่ทราบกันดีว่า การเสพติดจะเป็นการกระตุ้นส่วนต่างๆของสมองที่เกี่ยวข้องกับความสุข หรือที่เรียกกันว่า “ศูนย์แห่งรางวัล” (reward center) หรือ “เส้นทางแห่งความ เพลิดเพลิน” เมื่อส่วนของสมองเหล่านี้ถูกกระตุ้น สารโดพามีน (สารความสุข) จะเพิ่มขึ้น พร้อมๆกับสารสื่อประสาทอื่นๆ
เมื่อได้รับไปนานๆก็เกิด “อาการทนยา” (คล้ายดื้อยา) ต้องมีการกระตุ้นศูนย์แห่งรางวัลนี้มากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยง “อาการถอนยา”
ลองฟังคำกล่าวของชายหนุ่มอายุ 21 ปีที่กำลังได้รับบำบัด
“ผมรู้สึกว่าเทคโนโลยีได้นำความสุขมาสู่ชีวิตผมอย่างมาก ไม่มีกิจกรรมอื่นที่ทำให้ผมผ่อนคลายและกระตุ้นผมได้เหมือนเทคโนโลยี
อย่างไรก็ตาม เวลาผมรู้สึกซึมเศร้า ผมมีแนวโน้มจะใช้เทคโนโลยีในการปลีกตัวออกมา และแยกไปอยู่คนเดียว”
ความโน้มเอียงทางชีวะ
มีหลายเรื่องหลายโรคที่มีผู้สนใจว่าจะเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมไหม เรื่องนี้ก็เช่นเดียวกัน มีหลักฐานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆว่า คนที่มีพฤติกรรมเสพติดมีความโน้มเอียงด้านพันธุกรรม ทฤษฎีเรื่องนี้บอกว่า บุคคลที่มีแนวโน้มในเรื่องนี้มักมี dopamine receptor ไม่เพียงพอ หรือขาดเซโรโทนิน/โดพามีน
ดังนั้นจึงยากที่จะเกิดความรู้สึกพอใจในระดับปกติต่อกิจกรรมที่คนทั่วไปเขารู้สึกพึงพอใจ เขาจึงต้องมีพฤติกรรมมากกว่าปกติเพื่อกระตุ้นให้โดพามีนหลั่งมากขึ้น ซึ่งเป็นเหมือนรางวัลที่เขาได้รับ แต่ก็ต้องเสี่ยงต่อการเสพติด
อาการของโรคติดอินเตอร์เน็ตเป็นอย่างไร
สัญญาณหรืออาการของการติดอินเตอร์เน็ตอาจแสดงออกทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
อาการทางอารมณ์ อาจประกอบด้วย
- ซึมเศร้า
- ไม่ซื่อสัตย์
- รู้สึกผิด
- วิตกกังวล
- รู้สึกสบายเมื่อใช้คอมพิวเตอร์
- ไม่สามารถจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังในการทำกิจกรรมต่างๆ
- แยกตัว
- ไม่รู้เวล่ำเวลา
- ปกป้องตัวเอง
- หลีกเลี่ยงการทำงาน
- หงุดหงิดกระสับกระส่าย
- อารมณ์แกว่ง
- กลัว
- เหงา
- เบื่อหน่ายงานประจำวัน
- ผัดวันประกันพรุ่ง
อาการทางกาย อาจประกอบด้วย
- ปวดหลัง
- โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ
- ปวดศีรษะ
- โรคนอนไม่หลับ
- ภาวะโภชนาการไม่ดี (ไม่ค่อยกินหรือกินมากเกินไปเพื่อไม่ต้องห่างคอมพิวเตอร์)
- สุขภาพส่วนตัวเสีย (เช่น ไม่ยอมอาบน้ำ)
- ปวดคอ
- ตาแห้งและปัญหาสายตาอื่นๆ
- น้ำหนักขึ้นหรือลด
ผลของการติดอินเตอร์เน็ตที่มีต่อชีวิตดังที่กล่าวข้างต้นแล้ว บางคนยังสร้างบุคลิกใหม่ทางออนไลน์ขึ้นมา เพื่อปกปิดพฤติกรรมทางออนไลน์ของตน บางคนประสบปัญหาการเงินเพราะเลี่ยงงาน บางคนมีปัญหาการสร้างความสัมพันธ์ใหม่ หลีกเลี่ยงสังคม เพราะรู้สึกสบายใจในโลกออนไลน์มากกว่าในชีวิตจริง
เกณฑ์การวินิฉัยว่าเป็นโรคติดอินเตอร์เน็ตหรือไม่
ปัจจุบันคำที่ใช้มากคือ IAD ซึ่งแต่ก่อนมีการใช้คำต่างๆ เช่น Problematic Internet Use, Computer Addiction, Internet Dependence, Compulsive Internet use, Pathological Internet Use และคำอื่นๆอีก อย่างไรก็ตาม เกณฑ์ของการระบุว่าเป็นการเสพติดอินเตอร์เนต
ก็ยังไม่คงเส้นคงวา
หนึ่งในเครื่องมือที่เป็นที่ยอมรับในการวินิจฉัย IAD คือเกณฑ์ที่เสนอโดยเบียร์ด (Beard)
เบียร์ดแนะนำว่าเกณฑ์การวินิจฉัยว่าเสพติดอินเตอร์เนตหรือไม่ ต้องมี 5 ประการต่อไปนี้ กล่าวคือ
1. ครุ่นคิดแต่เรื่องอินเตอร์เนตหรือไม่ (คิดแต่กิจกรรมออนไลน์ที่ผ่านมา และคาดการณ์ถึงเรื่องราวในครั้งต่อไป
พูดง่ายๆคือ ปิดเครื่องแล้ว แต่ยังไม่จบ ยังครุ่นคิดอยู่)
2. ปรารถนาที่จะใช้อินเตอร์เนตในปริมาณเวลาที่มากขึ้น เพื่อให้บรรลุผลที่พึงพอใจ
3. มีความพยายามที่จะลด ตัดทอน หรือหยุดการใช้อินเตอร์เนตแต่ไม่ประสบความสำเร็จ
4. มีอาการกระวนกระวาย อารมณ์เสีย เศร้า หรือหงุดหงิด เมื่อพยายามลดหรือหยุดการเล่นอินเตอร์เนต
5. ออนไลน์อยู่นานกว่าที่ได้ตั้งใจไว้ในตอนแรก
และอย่างต้องมี อย่างน้อย 1 อาการต่อไปนี้
1. ตกอยู่ในอันตราย หรือมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียสัมพันธภาพที่สำคัญ เสี่ยงที่จะสูญเสียโอกาสเรื่องการงาน การศึกษา และอาชีพ
อันเนื่องมาจากอินเตอร์เนต
2. ได้โกหกสมาชิกในครอบครัว นักบำบัด หรือคนอื่น ทั้งนี้เพื่อปิดบังซ่อนเร้นว่าตนใช้อินเตอร์เนตมากเพียงใด
3. ใช้อินเตอร์เนตเป็นหนทางในการหนีปัญหาต่างๆ หรือเพื่อปลดปล่อยอารมณ์ที่ไม่ปกติ เช่น ความรู้สึกสิ้นหวัง ความรู้สึกผิด ความวิตกกังวล
ความซึมเศร้า
เครื่องมือที่ใช้ประเมิน
เครื่องมือที่ใช้ประเมิน IAD เช่น Young’s Internet Addiction Test, the Problematic Internet Use Questionnaire (PIUQ), the Compulsive Internet Use Scale (CIUS)
วิธีการรักษาทางจิตใจของโรคติดอินเตอร์เน็ต อาจประกอบด้วย
- การบำบัดเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่ม หรือเป็นครอบครัว
- การปรับพฤติกรรม (Behavior Modification)
- พฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี (Dialectical Behavioral Therapy – DBT)
- จิตบำบัดด้วยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy – CBT)
- อาชาบำบัด (Equine Therapy)
- ศิลปะบำบัด (Art Therapy)
- นันทนาการบำบัด (Recreation Therapy)
- การบำบัดโดยการเผชิญความจริง (Reality Therapy)
สถานที่ให้คำปรึกษาและบำบัดการเสพติด
ศูนย์สุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
กรมสุขภาพจิต เปิดตัวศูนย์ให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์สายด่วน 1323 และ ศูนย์เรียนรู้ฯเป็นมิตรกับวัยรุ่น
คลินิกให้คำปรึกษาเด็กและครอบครัวอบอุ่น กระทรวงยุติธรรม
โรงพยาบาลของรัฐ
เดอะ เคบิน กรุงเทพฯ https://th.thecabinbangkok.co.th/
Honestdocs https://www.honestdocs.co/internet-addiction
ขอบคุณภาพและเอกสารอ้างอิงจาก [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ดิฉันจึงขอใช้โอกาสนี้อวยพรวันเกิด
(แก้คำผิด)