.
.
Bagger 288, bucket wheel excavator | Extraordinary Engineering
.
.
.
.
.
96 เมตร คือ ความสูงที่สูงกว่าอนุสาวรีย์
เทพีเสรีภาพ Statue of Liberty
45,500 ตัน คือ น้ำหนักเหล็ก
ที่หนักกว่าหอ Eiffel Tower ที่หนัก 7,000 ตัน
แต่ยังแพ้เรือ Titanic ที่หนัก 46,328 ตัน
Bagger 288 คือ เครื่องจักรกล
ที่ใช้งานเหมืองแร่ถ่านหินของเยอรมันนี
ตอนนี้มันเป็นยานพาหนะขับเคลื่อน
บนพื้นดินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
ขนาดของรถตักขุดดินที่ใช้ล้อขุดดินขึ้นมา
คันนี้คันเดียวทะลายเมืองทั้งเมืองได้
ตอนนี้รถตักขุดดินแบบนี้มีใช้ทำงาน
ในเหมืองแร่ถ่านหินแบบเปิดหน้าดิน
ใช้งานกันแพร่หลายในหลายประเทศ
โดยใช้ล้อหมุนรอบตัวมันเองทำหน้าที่เป็นพลั่วขุดดิน(ฟันบุ้งกี๋/เล็บขุดมีบุ้งกี๋ในตัว) ไปในตัว
มันสามารถขนย้ายเศษแร่เศษหิน
ได้อย่างต่อเนื่องถึง 789.7 ล้านลูกบาศก์เมตร
และเมื่อมันขุดถึงชั้นถ่านหินสีน้ำตาล/ลิกไนต์
ก็จะสามารถเก็บเกี่ยวเชื้อเพลิงแข็ง
ได้ถึง 240,000-265,000 ลบ.ท./วัน
คิดเป็นน้ำหนักถ่านหิน 13,500 ตัน
และขุดลึกได้ลึกถึง 100 เมตร
ใช้คนงานเพียง 3-4 คนเท่านั้น
ในการบังคับเจ้ายักษ์มหึมาตัวนี้
.
.
.
.
© Wikipedia
.
.
สายพาน 4 เส้น
ไว้ลำเลียงดิน/หิน ลิกไนต์จากพลั่วที่ขุดขึ้นมา
ที่วิ่งมาตามสายพานด้วยความเร็ว 17.7 กม./ชม.
สายพานมีความกว้าง 3.2 เมตร
มีขนาดใหญ่เพียงพอให้รถยนต์ขนาดเล็ก
วิ่งไปมาบนสายพานได้อย่างสะดวก
8,600 ตร.ฟุต (2,621.28 ตร.ม.)
ขนาดของตัวรถตักขุดดินน้ำหนัก 45,500 ตัน
Bagger ขนาดมหึมาจะก้าวย่างอย่างช้า ๆ
ก้าวอย่างสง่าผ่าเผยด้วยความเร็วเต็มที่
เพียง 0.64 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ช้ากว่าคนเดิน)
5,600 ฟุต (1,706.9 เมตร)
ความยาวของสายไฟฟ้าในตัวรถ
(สายไฟฟ้าแต่ละเส้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง
ขนาดเทียบเท่ากับท่อนแขนของมนุษย์)
ใช้ป้อนกระแสไฟฟ้าไปยังเครื่องขุดตักดิน
กระแสไฟฟ้าที่ใช้ในตอนที่มันทำงานอยู่
จะจ่ายไฟฟ้าให้กับเมืองขนาดเล็ก
ที่มีประชากร 20,000 คนได้สบาย ๆ
88,000 ปอนด์ (39.9 ตัน)
สีที่ใช้ทาตัวโครงสร้างของ Bagger 288
ประกอบด้วยเสาสูง 45.11 เมตร 2 เสา
และสายเคเบิลเหล็กยาว 2.2 กิโลเมตร
71 ฟุต (21.6 เมตร)
ความสูงของวงล้อถังตักแร่
(ความสูงขนาดของอาคารสูง 7 ชั้น)
ในวงล้อมีถังตักจำนวน 18 ถัง
ขนาดถังเปล่ามีน้ำหนักใบละ 3.5 ตัน
แต่ละถังสามารถตักดินได้ครั้งละ 6.6 ลบ.ม.
เพียงพอที่จะเติมเต็มกะบะรถบรรทุกได้
.
.
.
.
.
Bagger 288 (Excavator 288)
สร้างโดยบริษัท Krupp
ตอนนี้เปลี่ยนชื่อเป็น
ThyssenKrupp
สำหรับใช้ในงานเหมืองแร่
แบบเปิดหน้าดินที่ Rheinbraun
5 ปี คือ ระยะเวลาออกแบบ
และเข้าสู่สายพานการผลิต
จนเสร็จพร้อมใช้งานในปี 1978
งบประมาณการผลิตขึ้นมาจนเสร็จ
ใช้ไปถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐ
Bagger 288 สร้างขึ้นมา
เพื่อขุดหน้าดินเหมืองแร่ออกมา
ก่อนจะถึงชั้นแร่ถ่านหิน
ที่เหมืองแร่ Hambach ในเยอรมันนี
มันสามารถขุดถ่านหินได้
วันละ 240,000 ลูกบาศก์เมตร
หรือคิดเป็นถ่านหินน้ำหนัก 13,500 ตัน
เทียบเท่าสนามฟุตบอล
ที่ขุดลงไปลึก 30 เมตร (98 ฟุต)
ในแต่ละวันจะต้องใช้รถบรรทุก 2,400 คัน
Bagger 288 มีความยาว 240 เมตร (721 ฟุต)
แต่ก็ยังสั้นกว่า Baggers 287 และ 293
Bagger 288 สูงถึง 96 เมตร (315 ฟุต)
ต้องใช้
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าใช้น้ำมัน
เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้งาน 16.56 เมกกาวัตต์
มันขับเคลื่อนเดินหน้าถอยหลังด้วยความเร็ว
2 - 10 ม./นาที (0.1 - 0.6 กม./ชม.)
ช่วงล่างที่รับน้ำหนักกว้าง 46 ม. (151 ฟุต)
และมีตีนตะขาบจำนวน 3 แถว
ในแต่ละล้อที่มีทั้งหมดรวม 4 ล้อ
ตีนตะขาบแต่ละตัวกว้าง 3.8 ม. (12 ฟุต)
หน้ากว้างของตีนตะขาบเหล่านี้
ทำให้แรงกดบนพื้นผิวดิน
เหลือเพียง 1.71 บาร์ หรือ 24.8 psi
ทำให้สามารถเหยียบลงบน
ก้อนกรวด พื้นดิน และพื้นหญ้า
โดยแทบจะไร้ร่องรอยของหนักกดทับ
การตีวงเลี้ยวใช้ระยะทาง 100 เมตร
มุมไต่ทางชัน 1:18 (5° ลาดเอียง)
หัวตักมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 21.6 ม. (70 ฟุต 10 นิ้ว)
มีถังตักติดตั้งไว้รวม 18 ถัง
แต่ละถังบรรจุได้ครั้งละ 6.6 ลบ.ม.
.
.
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2001
Bagger 288 รถตักขุดดินได้ขุดถ่านหิน
ในเหมืองเปิดหน้าดิน Tagebau Hambach
เรียกว่าขุดกันจนหมดเหมือง
ทำให้ต้องย้ายไปที่เหมืองถ่านหิน
แบบเปิดหน้าดิน Tagebau Garzweiler
โดยมีระยะทาง 22 กม. (14 ไมล์)
แต่ต้องใช้เวลาเดินทาง 3 สัปดาห์
เส้นทางต้องข้ามทางด่วน Autobahn 61
แม่น้ำ Erft ทางรถไฟ ถนนอีกหลายสาย
ค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายราว 15 ล้านมาร์ค
(เงินเยอรมันนีในยุคนั้นก่อนใช้เงินสกุล EU)
ต้องใช้ทีมงาน 70 คน
ทำงาน/สำรวจเส้นทางเดินรถตักขุดดิน
การข้ามแม่น้ำในหลายจุด
ต้องใช้ท่อเหล็กขนาดใหญ่
ต่อขึ้นเป็นแพชั่วคราวให้ขนข้าม
โดยให้เจ้ารถยักษ์เหยียบลงบน
แพที่ปูก้อนหิน/ก้อนกรวดไว้รองรับ
มีการปลูกหญ้าพิเศษ
เป็นการล่วงหน้าไว้รองรับเจ้ายักษ์ใหญ่
ก่อนที่มันจะผ่านเข้าไปในเขต
พื้นที่เปราะบาง/อนุรักษ์พิเศษ
การย้าย Bagger 288
ด้วยวิธีการ
ค่อย ๆ ขับเคลื่อน
มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า
การถอดออกมาเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
แล้วค่อยประกอบขึ้นมาใหม่ให้เหมือนเดิม
Bagger 288 เครื่องจักรกลเคลื่อนที่ได้
ที่คล้ายคลึงกับ Bagger 281 (สร้างปี 1958)
Bagger 285 (1975) Bagger 287 (1976) Bagger 293 (1995)
ราคาท้องตลาด Bagger 288
ตอนนี้เพียง 61,904,200.- ปอนด์อังกฤษ
หรือราว ๆ 2,692,832,700.- บาท
(1 ปอนด์เท่ากับ 43.50 บาท)
.
เรียบเรียง/ที่มา
.
https://goo.gl/otsj5P
https://goo.gl/DVm7iw
http://bit.ly/2gXmYXb
https://goo.gl/5Amch1
https://goo.gl/rsa5H6
.
.
.
หมายเหตุ
Bagger 288 ตัวนี้ยังใช้งานอยู่
เจ้าของคือ
RWE AG
เป็นไปตามคุณภาพสินค้าเยอรมันนี
ที่ยอมรับกันว่า ทั้งทนทั้งถึก ใช้ทนใช้นาน
ใช้จนรำคาญ ไม่เสียงานง่าย ๆ
ตามแบบวัฒนธรรมคนในขาตินี้
ที่จริงจัง ทำงานไปเรื่อย ๆ
ไม่อู้งาน ทำจนชำนาญ
ทั้งไม่ยอมเปลี่ยนรุ่นสินค้าเป็นรุ่นใหม่ง่าย ๆ เหมือนพวกเกาหลี ญี่ปุ่น อเมริกัน
.
.
.
.
.
คู่มือการใช้และการบำรุงรักษารถขุด ของ กรมชลประทาน
มีรายชื่อ/ประเภทเครื่องจักรกล
ที่ใช้ทำงานในประเทศไทย
Bagger 288 รถตักขุดดินขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
.
Bagger 288, bucket wheel excavator | Extraordinary Engineering
.
.
.
.
96 เมตร คือ ความสูงที่สูงกว่าอนุสาวรีย์
เทพีเสรีภาพ Statue of Liberty
45,500 ตัน คือ น้ำหนักเหล็ก
ที่หนักกว่าหอ Eiffel Tower ที่หนัก 7,000 ตัน
แต่ยังแพ้เรือ Titanic ที่หนัก 46,328 ตัน
Bagger 288 คือ เครื่องจักรกล
ที่ใช้งานเหมืองแร่ถ่านหินของเยอรมันนี
ตอนนี้มันเป็นยานพาหนะขับเคลื่อน
บนพื้นดินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
ขนาดของรถตักขุดดินที่ใช้ล้อขุดดินขึ้นมา
คันนี้คันเดียวทะลายเมืองทั้งเมืองได้
ตอนนี้รถตักขุดดินแบบนี้มีใช้ทำงาน
ในเหมืองแร่ถ่านหินแบบเปิดหน้าดิน
ใช้งานกันแพร่หลายในหลายประเทศ
โดยใช้ล้อหมุนรอบตัวมันเองทำหน้าที่เป็นพลั่วขุดดิน(ฟันบุ้งกี๋/เล็บขุดมีบุ้งกี๋ในตัว) ไปในตัว
มันสามารถขนย้ายเศษแร่เศษหิน
ได้อย่างต่อเนื่องถึง 789.7 ล้านลูกบาศก์เมตร
และเมื่อมันขุดถึงชั้นถ่านหินสีน้ำตาล/ลิกไนต์
ก็จะสามารถเก็บเกี่ยวเชื้อเพลิงแข็ง
ได้ถึง 240,000-265,000 ลบ.ท./วัน
คิดเป็นน้ำหนักถ่านหิน 13,500 ตัน
และขุดลึกได้ลึกถึง 100 เมตร
ใช้คนงานเพียง 3-4 คนเท่านั้น
ในการบังคับเจ้ายักษ์มหึมาตัวนี้
.
.
.
© Wikipedia
.
.
สายพาน 4 เส้น
ไว้ลำเลียงดิน/หิน ลิกไนต์จากพลั่วที่ขุดขึ้นมา
ที่วิ่งมาตามสายพานด้วยความเร็ว 17.7 กม./ชม.
สายพานมีความกว้าง 3.2 เมตร
มีขนาดใหญ่เพียงพอให้รถยนต์ขนาดเล็ก
วิ่งไปมาบนสายพานได้อย่างสะดวก
8,600 ตร.ฟุต (2,621.28 ตร.ม.)
ขนาดของตัวรถตักขุดดินน้ำหนัก 45,500 ตัน
Bagger ขนาดมหึมาจะก้าวย่างอย่างช้า ๆ
ก้าวอย่างสง่าผ่าเผยด้วยความเร็วเต็มที่
เพียง 0.64 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ช้ากว่าคนเดิน)
5,600 ฟุต (1,706.9 เมตร)
ความยาวของสายไฟฟ้าในตัวรถ
(สายไฟฟ้าแต่ละเส้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง
ขนาดเทียบเท่ากับท่อนแขนของมนุษย์)
ใช้ป้อนกระแสไฟฟ้าไปยังเครื่องขุดตักดิน
กระแสไฟฟ้าที่ใช้ในตอนที่มันทำงานอยู่
จะจ่ายไฟฟ้าให้กับเมืองขนาดเล็ก
ที่มีประชากร 20,000 คนได้สบาย ๆ
88,000 ปอนด์ (39.9 ตัน)
สีที่ใช้ทาตัวโครงสร้างของ Bagger 288
ประกอบด้วยเสาสูง 45.11 เมตร 2 เสา
และสายเคเบิลเหล็กยาว 2.2 กิโลเมตร
71 ฟุต (21.6 เมตร)
ความสูงของวงล้อถังตักแร่
(ความสูงขนาดของอาคารสูง 7 ชั้น)
ในวงล้อมีถังตักจำนวน 18 ถัง
ขนาดถังเปล่ามีน้ำหนักใบละ 3.5 ตัน
แต่ละถังสามารถตักดินได้ครั้งละ 6.6 ลบ.ม.
เพียงพอที่จะเติมเต็มกะบะรถบรรทุกได้
.
.
.
.
Bagger 288 (Excavator 288)
สร้างโดยบริษัท Krupp
ตอนนี้เปลี่ยนชื่อเป็น ThyssenKrupp
สำหรับใช้ในงานเหมืองแร่
แบบเปิดหน้าดินที่ Rheinbraun
5 ปี คือ ระยะเวลาออกแบบ
และเข้าสู่สายพานการผลิต
จนเสร็จพร้อมใช้งานในปี 1978
งบประมาณการผลิตขึ้นมาจนเสร็จ
ใช้ไปถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐ
Bagger 288 สร้างขึ้นมา
เพื่อขุดหน้าดินเหมืองแร่ออกมา
ก่อนจะถึงชั้นแร่ถ่านหิน
ที่เหมืองแร่ Hambach ในเยอรมันนี
มันสามารถขุดถ่านหินได้
วันละ 240,000 ลูกบาศก์เมตร
หรือคิดเป็นถ่านหินน้ำหนัก 13,500 ตัน
เทียบเท่าสนามฟุตบอล
ที่ขุดลงไปลึก 30 เมตร (98 ฟุต)
ในแต่ละวันจะต้องใช้รถบรรทุก 2,400 คัน
Bagger 288 มีความยาว 240 เมตร (721 ฟุต)
แต่ก็ยังสั้นกว่า Baggers 287 และ 293
Bagger 288 สูงถึง 96 เมตร (315 ฟุต)
ต้องใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าใช้น้ำมัน
เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้งาน 16.56 เมกกาวัตต์
มันขับเคลื่อนเดินหน้าถอยหลังด้วยความเร็ว
2 - 10 ม./นาที (0.1 - 0.6 กม./ชม.)
ช่วงล่างที่รับน้ำหนักกว้าง 46 ม. (151 ฟุต)
และมีตีนตะขาบจำนวน 3 แถว
ในแต่ละล้อที่มีทั้งหมดรวม 4 ล้อ
ตีนตะขาบแต่ละตัวกว้าง 3.8 ม. (12 ฟุต)
หน้ากว้างของตีนตะขาบเหล่านี้
ทำให้แรงกดบนพื้นผิวดิน
เหลือเพียง 1.71 บาร์ หรือ 24.8 psi
ทำให้สามารถเหยียบลงบน
ก้อนกรวด พื้นดิน และพื้นหญ้า
โดยแทบจะไร้ร่องรอยของหนักกดทับ
การตีวงเลี้ยวใช้ระยะทาง 100 เมตร
มุมไต่ทางชัน 1:18 (5° ลาดเอียง)
หัวตักมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 21.6 ม. (70 ฟุต 10 นิ้ว)
มีถังตักติดตั้งไว้รวม 18 ถัง
แต่ละถังบรรจุได้ครั้งละ 6.6 ลบ.ม.
.
.
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2001
Bagger 288 รถตักขุดดินได้ขุดถ่านหิน
ในเหมืองเปิดหน้าดิน Tagebau Hambach
เรียกว่าขุดกันจนหมดเหมือง
ทำให้ต้องย้ายไปที่เหมืองถ่านหิน
แบบเปิดหน้าดิน Tagebau Garzweiler
โดยมีระยะทาง 22 กม. (14 ไมล์)
แต่ต้องใช้เวลาเดินทาง 3 สัปดาห์
เส้นทางต้องข้ามทางด่วน Autobahn 61
แม่น้ำ Erft ทางรถไฟ ถนนอีกหลายสาย
ค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายราว 15 ล้านมาร์ค
(เงินเยอรมันนีในยุคนั้นก่อนใช้เงินสกุล EU)
ต้องใช้ทีมงาน 70 คน
ทำงาน/สำรวจเส้นทางเดินรถตักขุดดิน
การข้ามแม่น้ำในหลายจุด
ต้องใช้ท่อเหล็กขนาดใหญ่
ต่อขึ้นเป็นแพชั่วคราวให้ขนข้าม
โดยให้เจ้ารถยักษ์เหยียบลงบน
แพที่ปูก้อนหิน/ก้อนกรวดไว้รองรับ
มีการปลูกหญ้าพิเศษ
เป็นการล่วงหน้าไว้รองรับเจ้ายักษ์ใหญ่
ก่อนที่มันจะผ่านเข้าไปในเขต
พื้นที่เปราะบาง/อนุรักษ์พิเศษ
การย้าย Bagger 288
ด้วยวิธีการค่อย ๆ ขับเคลื่อน
มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า
การถอดออกมาเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
แล้วค่อยประกอบขึ้นมาใหม่ให้เหมือนเดิม
Bagger 288 เครื่องจักรกลเคลื่อนที่ได้
ที่คล้ายคลึงกับ Bagger 281 (สร้างปี 1958)
Bagger 285 (1975) Bagger 287 (1976) Bagger 293 (1995)
ราคาท้องตลาด Bagger 288
ตอนนี้เพียง 61,904,200.- ปอนด์อังกฤษ
หรือราว ๆ 2,692,832,700.- บาท
(1 ปอนด์เท่ากับ 43.50 บาท)
.
เรียบเรียง/ที่มา
.
https://goo.gl/otsj5P
https://goo.gl/DVm7iw
http://bit.ly/2gXmYXb
https://goo.gl/5Amch1
https://goo.gl/rsa5H6
.
.
.
© https://goo.gl/DVm7iw
.
.
.
© https://goo.gl/DVm7iw
.
.
หมายเหตุ
Bagger 288 ตัวนี้ยังใช้งานอยู่
เจ้าของคือ RWE AG
เป็นไปตามคุณภาพสินค้าเยอรมันนี
ที่ยอมรับกันว่า ทั้งทนทั้งถึก ใช้ทนใช้นาน
ใช้จนรำคาญ ไม่เสียงานง่าย ๆ
ตามแบบวัฒนธรรมคนในขาตินี้
ที่จริงจัง ทำงานไปเรื่อย ๆ
ไม่อู้งาน ทำจนชำนาญ
ทั้งไม่ยอมเปลี่ยนรุ่นสินค้าเป็นรุ่นใหม่ง่าย ๆ เหมือนพวกเกาหลี ญี่ปุ่น อเมริกัน
.
.
.
.
คู่มือการใช้และการบำรุงรักษารถขุด ของ กรมชลประทาน
มีรายชื่อ/ประเภทเครื่องจักรกล
ที่ใช้ทำงานในประเทศไทย