เมื่อ 2 ปีก่อนที่ดิฉันตัดสินใจจะเรียนต่อป.เอก เพราะเหตุผลว่า ได้เวลาที่จะกลับไปทำงานใกล้ๆบ้านต่างจังหวัด พอศึกษาความเป็นไปได้ของความเชื่อมั่นในตัวสถาบันที่เปิดสอน ความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่และอาจารย์ เปอร์เซ็นต์การเรียนจบแน่ๆ สถานะการเงิน และความสมดุลของการทำงานกับการเรียน ก็เลยตัดสินใจสมัครเรียนที่มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง เรียนภาคพิเศษ คือ เรียนเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ ค่าการศึกษาระบุไว้ประมาณ 650,000 บาท แต่คงต้องมีเตรียมไว้ 1,000,000 บาทเผื่อค่าจิปาถะและฉุกเฉิน
เมื่อตัดสินใจลงทะเบียนเรียน และเริ่มเรียนในเดือนสิงหาคม 2559 ในสายวิชาที่ตนเองไม่มีความรู้มาก่อน คือ รัฐประศาสนศาสตร์ (รปศ.)เป็นการบริหารภาครัฐ ขณะที่ตัวดิฉันเองทำงานสายองค์กรอิสระ ประชาสังคม ชุมชน สาธารณะ หรือที่หลายคนเข้าใจง่ายๆว่า NGOs ซึ่งเป็นศาสตร์การพัฒนาสังคม ดังนั้น อาจจะดูเหมือนว่าเป็นคนละศาสตร์อยู่หน่อยๆ แต่จริงๆแล้ว ในความเป็นศาสตร์คือสิ่งเดียวกัน แค่มองคนละมุมเท่านั้นเอง
ขณะนั้น ดิฉันทำงานประจำในวันจันทร์-ศุกร์ และทำวันเสาร์อีกเดือนละ 1 ครั้ง แต่ดิฉันก็ต้องทิ้งงานวันเสาร์ไป เพราะต้องไปเรียน และขณะที่ทำงานประจำก็พอมีเวลาว่างได้ขายของจุกจิกไปด้วย เพื่อหาเงินเสริมนอกเหนือจากรายได้ประจำ
การเรียนป.เอก จะเรียน course work 1 ปี (3 เทอม) และที่เวลาที่เหลือก็ทำดุษฎีนิพนธ์
การเรียน course work 1 ปีนี้ จะได้เรียนกับผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ตรงในด้านนั้นๆ ซึ่งเป็นแนวทางของสถาบันแห่งนี้ที่การันตีไว้ว่าจะได้เรียนกับผู้มีประสบการณ์ตรง ดิฉันยอมรับค่ะว่าสถาบันลงทุนเรื่องอาจารย์ผู้ให้ความรู้จริงๆ ได้เรียนกับอาจารย์ที่เชี่ยวชาญมากและมีประสบการณ์ตรงจริงๆ ใน 1 วิชา มีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญมาสอนหลายท่านตามประเด็น (ด้านทฤษฎี ด้านกฎหมาย ด้านการคลัง ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านการกำหนดนโยบาย ด้านการนำนโยบายไปปฏิบัติ ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านองค์การ ด้านระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ) คัดสุดยอดของแต่ละสาขาวิชาแต่ละสถาบันมารวมไว้ให้แล้ว แต่....
เนื่องจากดิฉันไม่มีความรู้ด้านการบริหารภาครัฐเลย ที่สอบผ่านมาได้เพราะติดตามข่าวสารบ้านเมืองมาบ้าง ดิฉันไม่รู้ว่าต้องอ่านหนังสือเล่มไหนเตรียมไว้ก่อน และไม่มีความรู้ด้านรปศ.เลย การเรียนในเทอมแรกจึงค่อนข้างลำบาก (เทอมแรก ลง 2 วิชา คือ วิชาที่ว่าด้วยแนวคิดทฤษฎีด้านรปศ. และระเบียบวิธีวิจัยด้านรปศ.) เพราะอาจารย์แต่ละท่านไม่สอนในตำราอีกแล้ว และท่านยังคาดหวังและเข้าใจว่าทุกคนจะมีความรู้ โดยเฉพาะทฤษฎีด้านรปศ. มาแล้วเป็นอย่างดี เพราะการเรียนปริญญาเอก คือ การเรียนแก่นของปรัชญา ไม่ใช่เรียนแค่ท่องจำ หรือเรียนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้เหมือนการเรียนระดับป.ตรี ป.โท แต่อาจารย์ก็ใจดีค่ะ พูดคุยกันก่อนเริ่มเรียน ว่าใครเรียนอะไรมา ทำงานอะไรกันมาบ้าง มีพื้นฐานความรู้แค่ไหน ลงลืมไปแค่ไหน เรียนแล้วจะนำไปใช้ประโยชน์หรือต่อยอดอย่างไร จึงรู้ว่าพี่ๆที่เรียนรุ่นเดียวกัน เรียนสายนี้มา หรือทำงานเป็นอาจารย์รัฐศาสตร์ รัฐประศาสตนศาสตร์อยู่แล้ว และมาต่อยอดหรือต้องการเป็นอาจารย์ด้านนี้ต่อไป และมีรุ่นพี่ที่เรียนจบไปแล้วมาทักทายและแนะนำว่าเรียนอย่างไร เหนื่อยอย่างไร แบ่งเวลา จัดสรรชีวิตอย่างไร
คนอื่นพูดคุยดูสนุกสนานเพราะคงรู้เรื่อง ดิฉันก็ได้แต่ยิ้มตามอย่างงงงวย การพูดคุยก่อนเริ่มเรียนนี้ เหมือนว่าจะไม่มีอะไรเลยค่ะ เป็นการพูดคุยง่ายๆ ในห้องเรียนเพื่อทำความรู้จักกัน แต่มันเป็นความรู้สึกที่กดดันตัวเองมากๆ ถึงมากที่สุด เพราะตัวดิฉันเองไม่มีอะไรในสมองน้อยๆ เลย และการเรียนครั้งนี้ ดิฉันควักกระปุกเงินเก็บ 1,000,000 บาทหมดหน้าตัก เพื่อมาเรียนต่อ ก็คาดหวังกับตัวเองอยู่เหมือนกันว่าควรจะทำให้ได้
ทำงานไปเรียนไป เมื่อต้องเรียนป.เอก ในสาขาที่ไม่เคยเรียนมาก่อนและไม่ถนัดเลย
เมื่อตัดสินใจลงทะเบียนเรียน และเริ่มเรียนในเดือนสิงหาคม 2559 ในสายวิชาที่ตนเองไม่มีความรู้มาก่อน คือ รัฐประศาสนศาสตร์ (รปศ.)เป็นการบริหารภาครัฐ ขณะที่ตัวดิฉันเองทำงานสายองค์กรอิสระ ประชาสังคม ชุมชน สาธารณะ หรือที่หลายคนเข้าใจง่ายๆว่า NGOs ซึ่งเป็นศาสตร์การพัฒนาสังคม ดังนั้น อาจจะดูเหมือนว่าเป็นคนละศาสตร์อยู่หน่อยๆ แต่จริงๆแล้ว ในความเป็นศาสตร์คือสิ่งเดียวกัน แค่มองคนละมุมเท่านั้นเอง
ขณะนั้น ดิฉันทำงานประจำในวันจันทร์-ศุกร์ และทำวันเสาร์อีกเดือนละ 1 ครั้ง แต่ดิฉันก็ต้องทิ้งงานวันเสาร์ไป เพราะต้องไปเรียน และขณะที่ทำงานประจำก็พอมีเวลาว่างได้ขายของจุกจิกไปด้วย เพื่อหาเงินเสริมนอกเหนือจากรายได้ประจำ
การเรียนป.เอก จะเรียน course work 1 ปี (3 เทอม) และที่เวลาที่เหลือก็ทำดุษฎีนิพนธ์
การเรียน course work 1 ปีนี้ จะได้เรียนกับผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ตรงในด้านนั้นๆ ซึ่งเป็นแนวทางของสถาบันแห่งนี้ที่การันตีไว้ว่าจะได้เรียนกับผู้มีประสบการณ์ตรง ดิฉันยอมรับค่ะว่าสถาบันลงทุนเรื่องอาจารย์ผู้ให้ความรู้จริงๆ ได้เรียนกับอาจารย์ที่เชี่ยวชาญมากและมีประสบการณ์ตรงจริงๆ ใน 1 วิชา มีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญมาสอนหลายท่านตามประเด็น (ด้านทฤษฎี ด้านกฎหมาย ด้านการคลัง ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านการกำหนดนโยบาย ด้านการนำนโยบายไปปฏิบัติ ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านองค์การ ด้านระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ) คัดสุดยอดของแต่ละสาขาวิชาแต่ละสถาบันมารวมไว้ให้แล้ว แต่....
เนื่องจากดิฉันไม่มีความรู้ด้านการบริหารภาครัฐเลย ที่สอบผ่านมาได้เพราะติดตามข่าวสารบ้านเมืองมาบ้าง ดิฉันไม่รู้ว่าต้องอ่านหนังสือเล่มไหนเตรียมไว้ก่อน และไม่มีความรู้ด้านรปศ.เลย การเรียนในเทอมแรกจึงค่อนข้างลำบาก (เทอมแรก ลง 2 วิชา คือ วิชาที่ว่าด้วยแนวคิดทฤษฎีด้านรปศ. และระเบียบวิธีวิจัยด้านรปศ.) เพราะอาจารย์แต่ละท่านไม่สอนในตำราอีกแล้ว และท่านยังคาดหวังและเข้าใจว่าทุกคนจะมีความรู้ โดยเฉพาะทฤษฎีด้านรปศ. มาแล้วเป็นอย่างดี เพราะการเรียนปริญญาเอก คือ การเรียนแก่นของปรัชญา ไม่ใช่เรียนแค่ท่องจำ หรือเรียนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้เหมือนการเรียนระดับป.ตรี ป.โท แต่อาจารย์ก็ใจดีค่ะ พูดคุยกันก่อนเริ่มเรียน ว่าใครเรียนอะไรมา ทำงานอะไรกันมาบ้าง มีพื้นฐานความรู้แค่ไหน ลงลืมไปแค่ไหน เรียนแล้วจะนำไปใช้ประโยชน์หรือต่อยอดอย่างไร จึงรู้ว่าพี่ๆที่เรียนรุ่นเดียวกัน เรียนสายนี้มา หรือทำงานเป็นอาจารย์รัฐศาสตร์ รัฐประศาสตนศาสตร์อยู่แล้ว และมาต่อยอดหรือต้องการเป็นอาจารย์ด้านนี้ต่อไป และมีรุ่นพี่ที่เรียนจบไปแล้วมาทักทายและแนะนำว่าเรียนอย่างไร เหนื่อยอย่างไร แบ่งเวลา จัดสรรชีวิตอย่างไร
คนอื่นพูดคุยดูสนุกสนานเพราะคงรู้เรื่อง ดิฉันก็ได้แต่ยิ้มตามอย่างงงงวย การพูดคุยก่อนเริ่มเรียนนี้ เหมือนว่าจะไม่มีอะไรเลยค่ะ เป็นการพูดคุยง่ายๆ ในห้องเรียนเพื่อทำความรู้จักกัน แต่มันเป็นความรู้สึกที่กดดันตัวเองมากๆ ถึงมากที่สุด เพราะตัวดิฉันเองไม่มีอะไรในสมองน้อยๆ เลย และการเรียนครั้งนี้ ดิฉันควักกระปุกเงินเก็บ 1,000,000 บาทหมดหน้าตัก เพื่อมาเรียนต่อ ก็คาดหวังกับตัวเองอยู่เหมือนกันว่าควรจะทำให้ได้