จากที่เคยได้เกริ่นไว้เมื่อนานมาแล้วว่า จะมาบอกเล่าประสบการณ์การมาทำงานด้านการทูตที่เบลเยียม วันนี้ก็ได้ฤกษ์เขียนให้เป็นเรื่องเป็นราวเสียที ในที่นี้จะขออธิบายโดยอาศัยโครงสร้างบุคลากรสถานทูตครับ
บุคลากรในสถานทูตอาจแบ่งได้ออกเป็น ๓ ประเภทหลัก คือ
๑. ข้าราชการ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการทูต ถือหนังสือเดินทางทูต ตำแหน่งใหญ่สุด คือ เอกอัครราชทูต รองลงมาก็ อัครราชทูต อัครราชทูตที่ปรึกษา ที่ปรึกษา เลขานุการเอก เลขานุการโท เลขานุการตรี เป็นข้าราชการจากกระทรวงการต่างประเทศ (หรือที่เรียกว่า นักการทูต) โดยต้องสอบเข้ารับราชการในกระทรวงฯ ในเบื้องต้นต้องปฏิบัติงานอยู่ที่กระทรวงฯ เป็นเวลา ๔ ปี จึงจะได้ออกไปปฏิบัติงานที่ต่างประเทศ จากนั้นก็กลับมาทำที่ไทยอีก ๒ ปี และออกไปประจำที่ต่างประเทศอีก
อย่างไรก็ตาม บางกระทรวงมีภารกิจพิเศษในต่างประเทศ เช่น กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงการคลัง (กรมศุลกากร) กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ก็จะมีสำนักงานประจำในต่างประเทศขึ้นกับสถานเอกอัครราชทูต ตำแหน่งก็จะมีวงเล็บระบุฝ่ายกำกับไว้ เช่น อัครราชทูต (ฝ่ายศุลกากร) เป็นต้น ส่วนกฎระเบียบการมาประจำในต่างประเทศ ต้องศึกษาของแต่ละกระทรวงดูครับ
๒. ลูกจ้างท้องถิ่น เช่น ผู้ช่วยดำเนินงาน คนขับรถ ส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่มีสัญชาติหรือไม่ก็มีถิ่นพำนัก (residence) ในประเทศนั้น ที่เคยเห็นมาก็มีทั้งชาวต่างชาติ ไม่ก็คนไทยที่มาอาศัยที่ประเทศนั้นด้วยวิธีการต่าง ๆ (ที่ถูกกฎหมาย)
สถานทูตต่างประเทศในประเทศไทยก็จะรับสมัครคนไทยเข้าทำงานในฐานะลูกจ้างท้องถิ่นครับ
๓. ลูกจ้างโครงการ พูดง่าย ๆ ก็คือ ลูกจ้างตามระบบราชการ เป็นตำแหน่งที่ผมเข้ามาทำงานที่เบลเยียมโดยตรงจากไทย ไม่ต้องทำงานที่กระทรวงก่อน แต่เป็นตำแหน่งที่ถือหนังสือเดินทางทั่วไปและได้รับบัตรพำนักอาศัยในภายหลัง ในที่นี้จะขอพูดถึงหน้าที่ตามที่ได้มีประกาศเผยแพร่สู่สาธารณชนครับ (เลยเอามาเปิดเผยได้) หน้าที่หลัก ๆ คือ การค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายและนโยบายระหว่างประเทศขององค์การระหว่างประเทศและประเทศต่าง ๆ จัดทำบทความ บทวิเคราะห์ เพื่อนำไปพัฒนาระบบงานในประเทศ นอกจากนั้นก็มีงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย เช่น ไปประชุมที่องค์การระหว่างประเทศ
ที่ผมเลือกเส้นทางนี้ เพราะไม่ได้คิดจะเป็นข้าราชการตลอดไป แต่อยากหาประสบการณ์เพื่อนำไปสมัครงานที่คาดหวังไว้ และขอยืนยันในที่นี้ว่า ผมไม่ได้มีเส้นมีสายแต่อย่างใดครับ
หวังว่า บทความนี้จะช่วยให้ได้พอเห็นหนทางการเข้ามาทำงานที่สถานทูตทั้งสถานทูตไทยและสถานทูตต่างประเทศไม่มากก็น้อยครับ ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ
-----------------------------------------------------------------------------------------------
ใครสนใจการเรียน การทำงาน และการท่องเที่ยวสถานที่แปลกใหม่ในยุโรป ก็ขอเชิญไปเยี่ยมชมหรือพูดคุยกันได้ที่เฟสบุ๊คแฟนเพจครับ
https://www.facebook.com/IRememberEurope/
เส้นทางการเข้าทำงานในสถานทูต
บุคลากรในสถานทูตอาจแบ่งได้ออกเป็น ๓ ประเภทหลัก คือ
๑. ข้าราชการ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการทูต ถือหนังสือเดินทางทูต ตำแหน่งใหญ่สุด คือ เอกอัครราชทูต รองลงมาก็ อัครราชทูต อัครราชทูตที่ปรึกษา ที่ปรึกษา เลขานุการเอก เลขานุการโท เลขานุการตรี เป็นข้าราชการจากกระทรวงการต่างประเทศ (หรือที่เรียกว่า นักการทูต) โดยต้องสอบเข้ารับราชการในกระทรวงฯ ในเบื้องต้นต้องปฏิบัติงานอยู่ที่กระทรวงฯ เป็นเวลา ๔ ปี จึงจะได้ออกไปปฏิบัติงานที่ต่างประเทศ จากนั้นก็กลับมาทำที่ไทยอีก ๒ ปี และออกไปประจำที่ต่างประเทศอีก
อย่างไรก็ตาม บางกระทรวงมีภารกิจพิเศษในต่างประเทศ เช่น กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงการคลัง (กรมศุลกากร) กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ก็จะมีสำนักงานประจำในต่างประเทศขึ้นกับสถานเอกอัครราชทูต ตำแหน่งก็จะมีวงเล็บระบุฝ่ายกำกับไว้ เช่น อัครราชทูต (ฝ่ายศุลกากร) เป็นต้น ส่วนกฎระเบียบการมาประจำในต่างประเทศ ต้องศึกษาของแต่ละกระทรวงดูครับ
๒. ลูกจ้างท้องถิ่น เช่น ผู้ช่วยดำเนินงาน คนขับรถ ส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่มีสัญชาติหรือไม่ก็มีถิ่นพำนัก (residence) ในประเทศนั้น ที่เคยเห็นมาก็มีทั้งชาวต่างชาติ ไม่ก็คนไทยที่มาอาศัยที่ประเทศนั้นด้วยวิธีการต่าง ๆ (ที่ถูกกฎหมาย)
สถานทูตต่างประเทศในประเทศไทยก็จะรับสมัครคนไทยเข้าทำงานในฐานะลูกจ้างท้องถิ่นครับ
๓. ลูกจ้างโครงการ พูดง่าย ๆ ก็คือ ลูกจ้างตามระบบราชการ เป็นตำแหน่งที่ผมเข้ามาทำงานที่เบลเยียมโดยตรงจากไทย ไม่ต้องทำงานที่กระทรวงก่อน แต่เป็นตำแหน่งที่ถือหนังสือเดินทางทั่วไปและได้รับบัตรพำนักอาศัยในภายหลัง ในที่นี้จะขอพูดถึงหน้าที่ตามที่ได้มีประกาศเผยแพร่สู่สาธารณชนครับ (เลยเอามาเปิดเผยได้) หน้าที่หลัก ๆ คือ การค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายและนโยบายระหว่างประเทศขององค์การระหว่างประเทศและประเทศต่าง ๆ จัดทำบทความ บทวิเคราะห์ เพื่อนำไปพัฒนาระบบงานในประเทศ นอกจากนั้นก็มีงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย เช่น ไปประชุมที่องค์การระหว่างประเทศ
ที่ผมเลือกเส้นทางนี้ เพราะไม่ได้คิดจะเป็นข้าราชการตลอดไป แต่อยากหาประสบการณ์เพื่อนำไปสมัครงานที่คาดหวังไว้ และขอยืนยันในที่นี้ว่า ผมไม่ได้มีเส้นมีสายแต่อย่างใดครับ
หวังว่า บทความนี้จะช่วยให้ได้พอเห็นหนทางการเข้ามาทำงานที่สถานทูตทั้งสถานทูตไทยและสถานทูตต่างประเทศไม่มากก็น้อยครับ ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ
-----------------------------------------------------------------------------------------------
ใครสนใจการเรียน การทำงาน และการท่องเที่ยวสถานที่แปลกใหม่ในยุโรป ก็ขอเชิญไปเยี่ยมชมหรือพูดคุยกันได้ที่เฟสบุ๊คแฟนเพจครับ https://www.facebook.com/IRememberEurope/