สีของพาสปอร์ต (passport)
สำหรับผู้ที่ประสงค์อยากเดินทางไปต่างประเทศ สิ่งแรกที่ทุกคนต้องมีคือ หนังสือเดินทางหรือที่ทุกคนเรียกว่า พาสปอร์ต (passport) ซึ่งเป็นเอกสารที่ใช้แสดงความเป็นตัวท่านที่ถือเป็นสากล ใช้ได้ทั่วโลก และยังเป็นสมุดบันทึกการเดินทางเข้าออกประเทศต่าง ๆ อีกด้วย
หนังสือเดินทางไทย (Thai passport) เป็นหนังสือเดินทางที่ออกให้เฉพาะประชาชนไทย โดยกองหนังสือเดินทางกระทรวงการต่างประเทศ สามารถออกในประเทศไทยโดย หน่วยงานในสังกัด กองหนังสือเดินทาง กระทรวงการต่างประเทศ บางกรณีอาจจะออกได้ที่ สถานเอกอัครราชทูตในต่างประเทศ หรือสถานกงสุลไทยทั้ง 86 แห่ง
ลักษณะของพาสปอร์ต (หนังสือเดินทาง)
หนังสือเดินทางประเทศไทยสำหรับประชาชนทั่วไปรุ่นปัจจุบันจะมีสีแดงเลือดหมูโดยมีตราครุฑอยู่ตรงกลางที่ปกด้านหน้า และคำว่า "หนังสือเดินทาง ประเทศไทย" (อยู่ต่างบรรทัดกัน) อยู่ด้านบนสุด ส่วนคำว่า "THAILAND PASSPORT" (อยู่ต่างบรรทัดกัน) อยู่ใต้ตราครุฑ ด้านล่างสุดจะเป็นสัญลักษณ์ของหนังสือเดินทางที่มีข้อมูลทางชีวภาพ (biometric passport) อักษรและสัญลักษณ์ที่หน้าปกเป็นสีทอง
ประเภทของพาสปอร์ต (หนังสือเดินทาง)
หนังสือเดินทางประเทศไทยในปัจจุบันมี 4 ประเภท ดังนี้
1. หนังสือเดินทางธรรมดา (หน้าปกสีแดงเลือดหมู)
ออกให้สำหรับประชาชนทั่วไป หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี
2. หนังสือเดินทางราชการ (หน้าปกสีน้ำเงินเข้ม)
หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี ผู้ถือต้องใช้ในราชการเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในการเดินทางส่วนตัว โดยมีข้อกำหนดออกเฉพาะข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญ สมาชิกรัฐสภาซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ และบุคคลอื่นใดที่เดินทางเพื่อทำประโยชน์แก่ทางราชการตามที่กระทรวงการต่างประเทศอนุมัติ
3. หนังสือเดินทางทูต (หน้าปกสีแดงสด)
ประเภทนี้จะมีอายุไม่เกิน 5 ปี ไม่สามารถต่ออายุเพิ่มได้ มีข้อกำหนดออกให้เฉพาะบุคคลดังต่อไปนี้
พระบรมวงศ์และพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าและคู่สมรส
พระราชวงศ์และบุคคลสำคัญที่ราชเลขาธิการขอไปเป็นกรณีพิเศษ
ประธานองคมนตรี และองคมนตรี
นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี
ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา
ประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา และประธานศาลอุทธรณ์
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด
อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ
ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ
ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ ณ ส่วนราชการในต่างประเทศ คู่สมรส และบุตรในประเทศที่ประจำอยู่หรือทำการศึกษาอยู่ในประเทศอื่น แต่บุตรจะต้องอายุไม่เกิน 25 ปี
คู่สมรสที่ร่วมเดินทางไปกับบุคคลดังกล่าวในข้อ 2-8
บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ หรือภายใต้สถานการณ์พิเศษที่มีความจำเป็น หรือเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของประเทศไทย
4. หนังสือเดินทางชั่วคราว (หน้าปกสีเขียว)
นอกจากนี้ ยังมีอีก 2 ประเภทพิเศษ คือ
หนังสือเดินทางพระ ออกให้สำหรับพระภิกษุและสามเณรที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศตามนัยระเบียบมหาเถรสมาคม
หนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ ออกให้ชาวมุสลิมที่เพื่อเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ หนังสือเดินทางประเภทนี้จะมีอายุ 2 ปีเท่านั้น
ที่มาข้อมูล www.vcharkarn.com/varticle/44080
สีของพาสปอร์ต หนังสือเดินทางประเทศไทยในปัจจุบันมี 4 ประเภท ดังนี้
สำหรับผู้ที่ประสงค์อยากเดินทางไปต่างประเทศ สิ่งแรกที่ทุกคนต้องมีคือ หนังสือเดินทางหรือที่ทุกคนเรียกว่า พาสปอร์ต (passport) ซึ่งเป็นเอกสารที่ใช้แสดงความเป็นตัวท่านที่ถือเป็นสากล ใช้ได้ทั่วโลก และยังเป็นสมุดบันทึกการเดินทางเข้าออกประเทศต่าง ๆ อีกด้วย
หนังสือเดินทางไทย (Thai passport) เป็นหนังสือเดินทางที่ออกให้เฉพาะประชาชนไทย โดยกองหนังสือเดินทางกระทรวงการต่างประเทศ สามารถออกในประเทศไทยโดย หน่วยงานในสังกัด กองหนังสือเดินทาง กระทรวงการต่างประเทศ บางกรณีอาจจะออกได้ที่ สถานเอกอัครราชทูตในต่างประเทศ หรือสถานกงสุลไทยทั้ง 86 แห่ง
ลักษณะของพาสปอร์ต (หนังสือเดินทาง)
หนังสือเดินทางประเทศไทยสำหรับประชาชนทั่วไปรุ่นปัจจุบันจะมีสีแดงเลือดหมูโดยมีตราครุฑอยู่ตรงกลางที่ปกด้านหน้า และคำว่า "หนังสือเดินทาง ประเทศไทย" (อยู่ต่างบรรทัดกัน) อยู่ด้านบนสุด ส่วนคำว่า "THAILAND PASSPORT" (อยู่ต่างบรรทัดกัน) อยู่ใต้ตราครุฑ ด้านล่างสุดจะเป็นสัญลักษณ์ของหนังสือเดินทางที่มีข้อมูลทางชีวภาพ (biometric passport) อักษรและสัญลักษณ์ที่หน้าปกเป็นสีทอง
ประเภทของพาสปอร์ต (หนังสือเดินทาง)
หนังสือเดินทางประเทศไทยในปัจจุบันมี 4 ประเภท ดังนี้
1. หนังสือเดินทางธรรมดา (หน้าปกสีแดงเลือดหมู)
ออกให้สำหรับประชาชนทั่วไป หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี
2. หนังสือเดินทางราชการ (หน้าปกสีน้ำเงินเข้ม)
หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี ผู้ถือต้องใช้ในราชการเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในการเดินทางส่วนตัว โดยมีข้อกำหนดออกเฉพาะข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญ สมาชิกรัฐสภาซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ และบุคคลอื่นใดที่เดินทางเพื่อทำประโยชน์แก่ทางราชการตามที่กระทรวงการต่างประเทศอนุมัติ
3. หนังสือเดินทางทูต (หน้าปกสีแดงสด)
ประเภทนี้จะมีอายุไม่เกิน 5 ปี ไม่สามารถต่ออายุเพิ่มได้ มีข้อกำหนดออกให้เฉพาะบุคคลดังต่อไปนี้
พระบรมวงศ์และพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าและคู่สมรส
พระราชวงศ์และบุคคลสำคัญที่ราชเลขาธิการขอไปเป็นกรณีพิเศษ
ประธานองคมนตรี และองคมนตรี
นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี
ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา
ประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา และประธานศาลอุทธรณ์
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด
อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ
ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ
ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ ณ ส่วนราชการในต่างประเทศ คู่สมรส และบุตรในประเทศที่ประจำอยู่หรือทำการศึกษาอยู่ในประเทศอื่น แต่บุตรจะต้องอายุไม่เกิน 25 ปี
คู่สมรสที่ร่วมเดินทางไปกับบุคคลดังกล่าวในข้อ 2-8
บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ หรือภายใต้สถานการณ์พิเศษที่มีความจำเป็น หรือเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของประเทศไทย
4. หนังสือเดินทางชั่วคราว (หน้าปกสีเขียว)
นอกจากนี้ ยังมีอีก 2 ประเภทพิเศษ คือ
หนังสือเดินทางพระ ออกให้สำหรับพระภิกษุและสามเณรที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศตามนัยระเบียบมหาเถรสมาคม
หนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ ออกให้ชาวมุสลิมที่เพื่อเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ หนังสือเดินทางประเภทนี้จะมีอายุ 2 ปีเท่านั้น
ที่มาข้อมูล www.vcharkarn.com/varticle/44080