สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
เปิดศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน
ห้องสมุดเฉพาะด้านสิทธิมนุษยชนแห่งแรกของไทย
ส่งเสริมประชาชนเรียนรู้สิทธิมนุษยชนด้วยตนเอง อนาคตพร้อม พัฒนาแอพแบบเรียลไทม์
“สิทธิมนุษยชน” เป็นเรื่องใกล้ตัวที่เรามักหยิบยกขึ้นมาพูดกันอยู่แทบทุกวัน แต่น้อยคนนักที่จะมีความรู้ความเข้าใจว่า “สิทธิมนุษยชน” คืออะไร มีประโยชน์ หรือมีผลกระทบต่อตัวเราและคนรอบข้างอย่างไร สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงได้เปิดให้บริการ “ศูนย์สารสนเทศ
สิทธิมนุษยชน” ภายใต้แนวคิด “สานสร้าง” หรือ “Sync.Space” (Synchronizing Space) สานความรู้ สานเครือข่าย สร้างคน สร้างสิทธิมนุษยชน มุ่งเป้าประชาชนทั่วไป ให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และนำความรู้ไปใช้ให้ถูกต้องในการปฏิบัติตน ปกป้องสิทธิ ตลอดจนช่วยเหลือเกื้อกูลบุคคลอื่น ๆ ในสังคม ให้เกิดความเท่าเทียม และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
พร้อมเปิดศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชนพร้อมให้บริการอย่างเป็นทางการแล้ว เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2560 ณ ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดให้บริการตามวันและเวลาราชการ วันจันทร์ - วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 8.30 – 16.30 และสามารถใช้บริการออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านช่องทาง
http://library.nhrc.or.th,www.facebook.com/Nhrclibrary, www.youtube.com/LibraryNhrct และ Line: @NHRCLibrary สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. 0-2141-3844, 0-2141-1987, 0-2141-3881
ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน ได้รวบรวมความรู้และแหล่งข้อมูลด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะการสื่อสารเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย รวมทั้งการนำเสนอผลงานสำคัญของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อสาธารณชนอย่างถูกต้องและทั่วถึง ทั้งในส่วนของรายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ข้อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย รายงานการศึกษาวิจัยด้านสิทธิมนุษยชน รายงานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ เช่น รายงานคู่ขนานตามพันธกรณีระหว่างประเทศ รายงานตามกระบวนการ UPR รายงานกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ตลอดจนงานเขียน สารคดี และภาพยนตร์ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เป็นต้น ที่จะช่วยให้สามารถเข้าใจและนำข้อมูลความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง
“ภายในศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน ได้จัดสรรพื้นที่ใช้สอยให้เอื้ออำนวยความสะดวกต่อผู้มาใช้บริการในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านการสืบค้นข้อมูล อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้สามารถสืบค้นสารสนเทศจากอินเทอร์เน็ตที่มีความเป็นส่วนตัว หรือผู้ที่ต้องการคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่สิทธิมนุษยชนก็มีเจ้าหน้าที่คอยให้คำปรึกษา ซึ่งรองรับการใช้บริการของผู้พิการด้วยเช่นกัน นอกจากนี้เพื่อตอบโจทย์ยุคดิจิทัล และนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จึงได้เปิดให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งมีทั้งเว็บไซต์ ไลน์ ยูทูป และเฟสบุ๊ค ในการกระจายองค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนที่เป็นประโยชน์ให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างสะดวกรวดเร็วไม่มีข้อจำกัดด้านการเข้าถึง และสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ตลอด 24 ชั่วโมง”
สาธิตการใช้เครื่องยืมหนังสืออัตโนมัติ
เครื่องคืนหนังสืออัตโนมัติ บริการตลอด 24 ชม.
นอกจากนั้น ศูนย์สารนิเทศสิทธิมนุษยชน ยังมีความร่วมมือจากองค์กรสารสนเทศด้านสิทธิมนุษยชนและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น เครือข่ายความร่วมมือห้องสมุดและศูนย์ข้อมูลสำหรับสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และสถาบันการศึกษาในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ห้องสมุดสถาบันราอูลวอลเลนเบิร์กว่าด้วยกฎหมายสิทธิมนุษยชนและมนุษยธรรม (RWI) และเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดกฎหมาย การเมืองและการปกครอง ในการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันข้อมูลร่วมกัน จึงทำให้ข้อมูลต่าง ๆ มีความทันสมัย ตรงกับความต้องการใช้งานของผู้ค้นหาที่ครอบคลุมทุกด้านที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
“ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน เป็นห้องสมุดที่เปิดกว้างสำหรับประชาชนทุกเพศ ทุกวัย ทุกชนชั้นก็สามารถมาใช้บริการได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งนอกจากจะเดินทางมาใช้บริการด้วยตนเองที่ศูนย์สารสนเทศฯ แห่งนี้แล้ว ยังสามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนได้ทุกพื้นที่และตลอดเวลาผ่านทางโซเชียลมีเดียทั้งเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก ไลน์ และยูทูป ของศูนย์สารสนเทศฯ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ในอนาคต กสม. มีความมุ่งหวังที่จะพัฒนาแอพพลิเคชั่นสารสนเทศสิทธิมนุษยชน ที่จะสามารถตอบโต้กับผู้ใช้บริการได้แบบเรียลไทม์ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงง่ายขึ้น และได้รับข้อมูลสิ่งที่ต้องการทราบได้ทันที
แหล่งหาข้อมูลด้านสิทธิมนุษยชน
เปิดศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน ห้องสมุดเฉพาะด้านสิทธิมนุษยชนแห่งแรกของไทย
ส่งเสริมประชาชนเรียนรู้สิทธิมนุษยชนด้วยตนเอง อนาคตพร้อม พัฒนาแอพแบบเรียลไทม์
“สิทธิมนุษยชน” เป็นเรื่องใกล้ตัวที่เรามักหยิบยกขึ้นมาพูดกันอยู่แทบทุกวัน แต่น้อยคนนักที่จะมีความรู้ความเข้าใจว่า “สิทธิมนุษยชน” คืออะไร มีประโยชน์ หรือมีผลกระทบต่อตัวเราและคนรอบข้างอย่างไร สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงได้เปิดให้บริการ “ศูนย์สารสนเทศ
สิทธิมนุษยชน” ภายใต้แนวคิด “สานสร้าง” หรือ “Sync.Space” (Synchronizing Space) สานความรู้ สานเครือข่าย สร้างคน สร้างสิทธิมนุษยชน มุ่งเป้าประชาชนทั่วไป ให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และนำความรู้ไปใช้ให้ถูกต้องในการปฏิบัติตน ปกป้องสิทธิ ตลอดจนช่วยเหลือเกื้อกูลบุคคลอื่น ๆ ในสังคม ให้เกิดความเท่าเทียม และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
พร้อมเปิดศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชนพร้อมให้บริการอย่างเป็นทางการแล้ว เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2560 ณ ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดให้บริการตามวันและเวลาราชการ วันจันทร์ - วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 8.30 – 16.30 และสามารถใช้บริการออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านช่องทาง http://library.nhrc.or.th,www.facebook.com/Nhrclibrary, www.youtube.com/LibraryNhrct และ Line: @NHRCLibrary สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. 0-2141-3844, 0-2141-1987, 0-2141-3881
ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน ได้รวบรวมความรู้และแหล่งข้อมูลด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะการสื่อสารเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย รวมทั้งการนำเสนอผลงานสำคัญของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อสาธารณชนอย่างถูกต้องและทั่วถึง ทั้งในส่วนของรายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ข้อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย รายงานการศึกษาวิจัยด้านสิทธิมนุษยชน รายงานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ เช่น รายงานคู่ขนานตามพันธกรณีระหว่างประเทศ รายงานตามกระบวนการ UPR รายงานกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ตลอดจนงานเขียน สารคดี และภาพยนตร์ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เป็นต้น ที่จะช่วยให้สามารถเข้าใจและนำข้อมูลความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง
“ภายในศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน ได้จัดสรรพื้นที่ใช้สอยให้เอื้ออำนวยความสะดวกต่อผู้มาใช้บริการในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านการสืบค้นข้อมูล อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้สามารถสืบค้นสารสนเทศจากอินเทอร์เน็ตที่มีความเป็นส่วนตัว หรือผู้ที่ต้องการคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่สิทธิมนุษยชนก็มีเจ้าหน้าที่คอยให้คำปรึกษา ซึ่งรองรับการใช้บริการของผู้พิการด้วยเช่นกัน นอกจากนี้เพื่อตอบโจทย์ยุคดิจิทัล และนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จึงได้เปิดให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งมีทั้งเว็บไซต์ ไลน์ ยูทูป และเฟสบุ๊ค ในการกระจายองค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนที่เป็นประโยชน์ให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างสะดวกรวดเร็วไม่มีข้อจำกัดด้านการเข้าถึง และสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ตลอด 24 ชั่วโมง”
สาธิตการใช้เครื่องยืมหนังสืออัตโนมัติ
เครื่องคืนหนังสืออัตโนมัติ บริการตลอด 24 ชม.
นอกจากนั้น ศูนย์สารนิเทศสิทธิมนุษยชน ยังมีความร่วมมือจากองค์กรสารสนเทศด้านสิทธิมนุษยชนและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น เครือข่ายความร่วมมือห้องสมุดและศูนย์ข้อมูลสำหรับสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และสถาบันการศึกษาในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ห้องสมุดสถาบันราอูลวอลเลนเบิร์กว่าด้วยกฎหมายสิทธิมนุษยชนและมนุษยธรรม (RWI) และเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดกฎหมาย การเมืองและการปกครอง ในการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันข้อมูลร่วมกัน จึงทำให้ข้อมูลต่าง ๆ มีความทันสมัย ตรงกับความต้องการใช้งานของผู้ค้นหาที่ครอบคลุมทุกด้านที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
“ศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน เป็นห้องสมุดที่เปิดกว้างสำหรับประชาชนทุกเพศ ทุกวัย ทุกชนชั้นก็สามารถมาใช้บริการได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งนอกจากจะเดินทางมาใช้บริการด้วยตนเองที่ศูนย์สารสนเทศฯ แห่งนี้แล้ว ยังสามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนได้ทุกพื้นที่และตลอดเวลาผ่านทางโซเชียลมีเดียทั้งเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก ไลน์ และยูทูป ของศูนย์สารสนเทศฯ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ในอนาคต กสม. มีความมุ่งหวังที่จะพัฒนาแอพพลิเคชั่นสารสนเทศสิทธิมนุษยชน ที่จะสามารถตอบโต้กับผู้ใช้บริการได้แบบเรียลไทม์ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงง่ายขึ้น และได้รับข้อมูลสิ่งที่ต้องการทราบได้ทันที