เรื่องราวเกิดในสมัยสงครามกลางเมืองของสหรัฐอเมริกา ทหารหนุ่มหน้าตาดีคนหนึ่งบาดเจ็บที่ขาจากสงคราม พลัดหลงเข้ามาในละแวกโรงเรียนสตรี และได้รับความช่วยเหลือจากที่นั่น ในโรงเรียนประกอบด้วยผู้หญิงล้วนทั้งหมด 7 คน ได้แก่ ครูใหญ่ที่บริหารโรงเรียนแห่งนี้ชื่อ มาร์ธา และยังมีครูอีกคนหนึ่งชื่อ เอ็ดวิน่า นอกจากนั้นคือเด็กนักเรียนอีก 5 คน โดยมีอายุไล่เลี่ยกันไป เมื่อโรงเรียนหญิงล้วนที่ปกติใช้ชีวิตอยู่กันแต่ผู้หญิงๆ เกิดมีชายหนุ่มโผล่เข้ามา (แถมหล่อด้วย!) สาวๆ แต่ละนางก็ต่างแสดงความตื่นเต้นและให้ความสนใจแก่ชายผู้นี้ทันที
ในยุคนั้นผู้หญิงยังคงถูกเลี้ยงดูและอบรมมาเพื่อเป็นภรรยาที่สมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะเรียนเย็บปักถักร้อย ทำอาหาร เต้นรำ แต่ในช่วงเวลาที่เกิดสงคราม ผู้ชายต้องถูกเกณฑ์ไปสงครามกันหมด ผลก็คือ บรรดาสาวๆ เลยไม่มีผู้ชายให้ได้บริหารเสน่ห์กันเลย วิชาการเป็นศรีภรรยาที่ดีที่เรียนมาก็ไม่ได้นำไปใช้กับใคร บวกกับชีวิตในเวลานั้น ผู้คนต่างมุ่งเน้นกับการจัดสรรอาหารให้พอประทังชีวิตรอด พลางเฝ้ารอเวลาที่สงครามจะจบลง ความจำเจเบื่อหน่ายจึงเกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้นเมื่อมีผู้ชายโผล่เข้ามา ต่างคนก็ต่างที่จะอดตื่นเต้นไม่ได้ หากแต่ความสนใจอาจเกิดจากหลายเหตุผล บางคนอาจสนใจเพราะเห็นเป็นเรื่องสนุกแปลกใหม่ บางคนอาจสนใจชายหนุ่มในแง่กามารมณ์ (จะได้มีคนให้อ่อยได้) หรือบางคนอาจจริงจังไปถึงขั้นรักแท้ (คิดจะแต่งงานจริงจัง)
หนังมีอารมณ์ขันตรงที่เราจะได้เห็นผู้หญิงต่างวัยให้ความสนใจทหารหนุ่ม และพยายามแข่งกันเรียกร้องความสนใจจากฝ่ายชาย จู่ๆ ทุกคนก็ลุกขึ้นมาแต่งสวยซะงั้น บางคนแกล้งทำเป็นแวะผ่านห้องแล้วถามว่ามีอะไรให้ช่วยมั้ย บางคนเอาของมาให้ บางคนก็ทำตัวนิ่งๆ สงวนท่าที แต่ก็ไม่วายแอบชำเลืองมอง ซึ่งหนังทำออกมาได้ดูน่ารักปนฮามากกว่า ฉากบนโต๊ะอาหารที่ต่างคนต่างแย่งความสนใจนี่ตลกสุดแล้วล่ะ ส่วนฝ่ายชายเองก็น่าจะผ่านอะไรมาเยอะ ดูก็รู้ว่าไม่ได้โง่จนมองไม่ออกว่าบรรดาสาวๆ รุ่นใหญ่รุ่นเล็กแต่ละนางให้ความสนใจในตัวเขาอยู่ แน่นอนว่าเขาเองก็เล่นไปตามเกม (แต่ยังคงเล่นในโหมดสุภาพบุรุษ) นัยหนึ่งเพื่อดึงเวลาให้ตนเองอยู่ที่นี่ไปนานๆ เพราะไม่อยากถูกจับตัวเป็นเชลยหรือกลับไปร่วมสงคราม แต่การเล่นเกมของฝ่ายชายอาจจะล้ำเส้นไปนิด จนทำให้เรื่องพลิกผันไปสู่ตอนจบที่ตัวเขาเองก็คงคาดไม่ถึง เราชอบตรงที่หนังไม่ได้ฟันธงความรู้สึกของตัวละครอย่างชัดเจน แต่กลับทิ้งช่องว่างให้คนดูคาดเดาพฤติกรรมของแต่ละคนเอาเองว่าแท้จริงแต่ละฝ่ายรู้สึกอย่างไร ทั้งต่อเพศตรงข้ามและเพศเดียวกัน
* * * * *
Spoiler Alert (จากนี้ไป อาจมีบางส่วนเปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์)
หนังเรื่องนี้ทำให้เราเห็นว่า ผู้หญิงก็คือผู้หญิงและผู้ชายก็คือผู้ชายจริงๆ เราได้เห็นการยั่วยวนเพศตรงข้ามของทั้งหญิงและชาย เมื่อต่างฝ่ายต่างมีความต้องการต่อเพศตรงข้าม ฝ่ายชายในเรื่องจะแสดงออกแบบตรงไปตรงมา ส่วนฝ่ายหญิงนี่ออกจะมีการสงวนท่าทีเล็กน้อย ด้วยความที่ตัวละครฝ่ายหญิงมีเยอะกว่า เราเลยได้เห็นวิธีการแสดงออกในทางเชิญชวนของผู้หญิงแต่ละนางที่แตกต่างกันไปตามนิสัย มีทั้งแสดงออกโจ่งแจ้ง แสดงออกแบบอ้อมๆ แสร้งมีท่าทีต่อต้าน หรือสนใจแบบซื่อๆ ไร้เดียงสา
เมื่อไฟราคะแปรเปลี่ยนเป็นโทสะ เราก็ได้เห็นการปะทะกันระหว่างสองเพศนี้อย่างชัดเจน ฝ่ายชายใช้กำลังข่มขู่คุกคาม ส่วนฝ่ายหญิงใช้เล่ห์เหลี่ยมเข้าสู้ เมื่อฝ่ายหญิงได้เห็นชายหนุ่มที่แสนสุภาพในตอนต้นเปลี่ยนไปเป็นสัตว์ร้าย การแสดงออกของผู้หญิงแต่ละคนก็เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือทันที แน่นอนว่าพอถึงเวลาที่จะต้องเอาชีวิตตนเองให้รอด บทจะโหดขึ้นมาผู้หญิงก็ทำได้เด็ดขาดเหมือนกัน และในตอนจบ ก็สมกับหนังที่ชื่อ Beguiled ที่แปลว่า ถูกล่อลวง (ด้วยเสน่หา) ตลอดทั้งเรื่องเราอาจจะได้เห็นฝ่ายหญิงและฝ่ายชายสลับกันใช้เสน่ห์เพื่อยั่วยวนอีกฝ่ายให้ได้มาในสิ่งที่ต้องการ แต่สุดท้ายแล้ว บุคคลที่พลาดท่าเสียทีโดนหลอกเป็นคนสุดท้ายก็ต้องแพ้ภัยไป
ภาพยนตร์เรื่องนี้ประกอบด้วยนักแสดงระดับแนวหน้าทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น
นิโคล คิดแมน รับบท
มาร์ธา ซึ่งแสดงได้ดีมาก ดูมีอำนาจและใจเด็ด ในบางเวลาดูยากว่าเธอชอบฝ่ายชายหรือไม่หรือสนใจฝ่ายชายแง่ไหน ชอบรอยยิ้มในช่วงสุดท้ายของเธอดูเหี้ยมดีเมื่อเห็นฝ่ายชายเสียท่าต่อหน้าต่อตา สังเกตว่าในซีนนั้น เธอเป็นตัวละครที่ยิ้มอยู่คนเดียวในขณะที่คนอื่นหน้าเครียดหรือหวาดกลัว ต่อมา
เคิร์สเติน ดันส์ รับบท
เอ็ดวิน่า ครูสาวผู้เรียบร้อย คนนี้ก็เล่นได้อินเหมือนกัน ดูเหมือนเป็นหญิงซื่อๆ โดนหลอกง่าย (น่าสงสาร อุตส่าห์แต่งตัวอย่างดี พรมน้ำหอม นอนสวยๆ รอหนุ่มมาที่ห้อง แต่ดันรอเก้อ)
แอล แฟนนิ่ง รับบท
อลิเซีย สาวแรกรุ่นที่มีจริตจะก้านของผู้หญิงอย่างเห็นได้ชัด เวลาอ่อยดูน่ารักปนน่าหมั่นไส้ ถือว่าเป็นสีสันของหนังเลยทีเดียว ส่วน
โคลิน ฟาร์เรล ผู้รับบททหารหนุ่ม
จอห์น แมคเบอร์นี่ย์ ก็เล่นได้สมตัวในบทนี้ ตอนอาละวาดดูน่ากลัวจริงจัง ตอนจีบผู้หญิงก็ดูขายฝันใช้ได้
เกร็ดเล็กน้อยเกี่ยวกับภาพยนตร์
- The Beguiled ได้รับรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยม จากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ปี 2017 ซึ่งผู้กำกับก็คือ
โซเฟีย คอปโปลา
- ภาพยนตร์เรื่องนี้ดัดแปลงมาจากภาพยนตร์ชื่อเดียวกัน The Beguiled ในปี 1971 ของดอน ซีเกล ซึ่งสร้างมาจากนิยายที่ชื่อว่า A Painted Devil ของ โธมัส คัลลิแนน โดยผู้รับบททหารหนุ่มในเวอร์ชัน 1971 คือ คลินท์ อีสวู้ด
- เชื่อหรือไม่ หนังไทยเรื่องหนึ่งที่คล้ายคลึงกับ The Beguiled อย่างมากก็คือ
“พิศวาสซาตาน” (พ.ศ. 2529) ของคุณพิศาล อัครเศรณี ผู้หญิงตัวเอกของเรื่องก็ชื่อ มาร์ธา เหมือนกัน เนื้อหาค่อนข้างเหมือนกันราว 70% มีบางส่วนที่แตกต่างออกไปเล็กน้อย ตอนจบแหวกแนวไปจากต้นฉบับและค่อนข้างแรงทีเดียว ทำให้คิดว่าที่จริงหนังไทยสมัยก่อนเนื้อเรื่องแรงจังแฮะ เห็นว่าฉากโป๊ หรือฉากรุนแรงไม่มีกั๊กเลย
- ฝ่ายคอสตูมของภาพยนตร์ได้คัดเลือกเสื้อผ้าที่เหมาะสมกับลักษณะนิสัยของตัวละคร เช่น มาร์ธาผู้เป็นครูใหญ่จะสวมใส่เสื้อผ้าคอปิด เพราะทำให้ดูมีอำนาจ ตัวละครเอ็ดวิน่าที่เหมือนหญิงสาวใสซื่อโรแมนติก จะสวมเสื้อที่มีแขนพองๆ และกระโปรงเนื้อบางเบา รวมทั้งใส่เครื่องประดับเพื่อแสดงออกถึงความเป็นหญิง ส่วนอลิเชีย จะสวมชุดที่มีระบายเป็นชั้นๆ เน้นความ “horny” ของเธอ (เพิ่งรู้ว่าชุดที่มีแถบระบายเยอะๆ มันสื่อแง่นั้นด้วยหรอ)
เขียนโดย: ฟุ้งซ่านจัง
ที่มา: https://revieweryclub.wordpress.com/2017/09/02/the-beguiled-2017/
Fan Page: https://www.facebook.com/RevieweryClub
ข้อมูลอ้างอิง
http://www.latimes.com/entertainment/movies/moviesneaks/la-ca-mn-sneaks-beguiled-sofia-coppola-20170421-story.html
http://www.imdb.com/title/tt5592248/trivia?ref_=tt_trv_trv
[Review] The Beguiled เกมเล่ห์ลวงเชือดเฉือนระหว่างหญิงและชาย (2017)
เรื่องราวเกิดในสมัยสงครามกลางเมืองของสหรัฐอเมริกา ทหารหนุ่มหน้าตาดีคนหนึ่งบาดเจ็บที่ขาจากสงคราม พลัดหลงเข้ามาในละแวกโรงเรียนสตรี และได้รับความช่วยเหลือจากที่นั่น ในโรงเรียนประกอบด้วยผู้หญิงล้วนทั้งหมด 7 คน ได้แก่ ครูใหญ่ที่บริหารโรงเรียนแห่งนี้ชื่อ มาร์ธา และยังมีครูอีกคนหนึ่งชื่อ เอ็ดวิน่า นอกจากนั้นคือเด็กนักเรียนอีก 5 คน โดยมีอายุไล่เลี่ยกันไป เมื่อโรงเรียนหญิงล้วนที่ปกติใช้ชีวิตอยู่กันแต่ผู้หญิงๆ เกิดมีชายหนุ่มโผล่เข้ามา (แถมหล่อด้วย!) สาวๆ แต่ละนางก็ต่างแสดงความตื่นเต้นและให้ความสนใจแก่ชายผู้นี้ทันที
ในยุคนั้นผู้หญิงยังคงถูกเลี้ยงดูและอบรมมาเพื่อเป็นภรรยาที่สมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะเรียนเย็บปักถักร้อย ทำอาหาร เต้นรำ แต่ในช่วงเวลาที่เกิดสงคราม ผู้ชายต้องถูกเกณฑ์ไปสงครามกันหมด ผลก็คือ บรรดาสาวๆ เลยไม่มีผู้ชายให้ได้บริหารเสน่ห์กันเลย วิชาการเป็นศรีภรรยาที่ดีที่เรียนมาก็ไม่ได้นำไปใช้กับใคร บวกกับชีวิตในเวลานั้น ผู้คนต่างมุ่งเน้นกับการจัดสรรอาหารให้พอประทังชีวิตรอด พลางเฝ้ารอเวลาที่สงครามจะจบลง ความจำเจเบื่อหน่ายจึงเกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้นเมื่อมีผู้ชายโผล่เข้ามา ต่างคนก็ต่างที่จะอดตื่นเต้นไม่ได้ หากแต่ความสนใจอาจเกิดจากหลายเหตุผล บางคนอาจสนใจเพราะเห็นเป็นเรื่องสนุกแปลกใหม่ บางคนอาจสนใจชายหนุ่มในแง่กามารมณ์ (จะได้มีคนให้อ่อยได้) หรือบางคนอาจจริงจังไปถึงขั้นรักแท้ (คิดจะแต่งงานจริงจัง)
หนังมีอารมณ์ขันตรงที่เราจะได้เห็นผู้หญิงต่างวัยให้ความสนใจทหารหนุ่ม และพยายามแข่งกันเรียกร้องความสนใจจากฝ่ายชาย จู่ๆ ทุกคนก็ลุกขึ้นมาแต่งสวยซะงั้น บางคนแกล้งทำเป็นแวะผ่านห้องแล้วถามว่ามีอะไรให้ช่วยมั้ย บางคนเอาของมาให้ บางคนก็ทำตัวนิ่งๆ สงวนท่าที แต่ก็ไม่วายแอบชำเลืองมอง ซึ่งหนังทำออกมาได้ดูน่ารักปนฮามากกว่า ฉากบนโต๊ะอาหารที่ต่างคนต่างแย่งความสนใจนี่ตลกสุดแล้วล่ะ ส่วนฝ่ายชายเองก็น่าจะผ่านอะไรมาเยอะ ดูก็รู้ว่าไม่ได้โง่จนมองไม่ออกว่าบรรดาสาวๆ รุ่นใหญ่รุ่นเล็กแต่ละนางให้ความสนใจในตัวเขาอยู่ แน่นอนว่าเขาเองก็เล่นไปตามเกม (แต่ยังคงเล่นในโหมดสุภาพบุรุษ) นัยหนึ่งเพื่อดึงเวลาให้ตนเองอยู่ที่นี่ไปนานๆ เพราะไม่อยากถูกจับตัวเป็นเชลยหรือกลับไปร่วมสงคราม แต่การเล่นเกมของฝ่ายชายอาจจะล้ำเส้นไปนิด จนทำให้เรื่องพลิกผันไปสู่ตอนจบที่ตัวเขาเองก็คงคาดไม่ถึง เราชอบตรงที่หนังไม่ได้ฟันธงความรู้สึกของตัวละครอย่างชัดเจน แต่กลับทิ้งช่องว่างให้คนดูคาดเดาพฤติกรรมของแต่ละคนเอาเองว่าแท้จริงแต่ละฝ่ายรู้สึกอย่างไร ทั้งต่อเพศตรงข้ามและเพศเดียวกัน
* * * * *
Spoiler Alert (จากนี้ไป อาจมีบางส่วนเปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์)
หนังเรื่องนี้ทำให้เราเห็นว่า ผู้หญิงก็คือผู้หญิงและผู้ชายก็คือผู้ชายจริงๆ เราได้เห็นการยั่วยวนเพศตรงข้ามของทั้งหญิงและชาย เมื่อต่างฝ่ายต่างมีความต้องการต่อเพศตรงข้าม ฝ่ายชายในเรื่องจะแสดงออกแบบตรงไปตรงมา ส่วนฝ่ายหญิงนี่ออกจะมีการสงวนท่าทีเล็กน้อย ด้วยความที่ตัวละครฝ่ายหญิงมีเยอะกว่า เราเลยได้เห็นวิธีการแสดงออกในทางเชิญชวนของผู้หญิงแต่ละนางที่แตกต่างกันไปตามนิสัย มีทั้งแสดงออกโจ่งแจ้ง แสดงออกแบบอ้อมๆ แสร้งมีท่าทีต่อต้าน หรือสนใจแบบซื่อๆ ไร้เดียงสา
เมื่อไฟราคะแปรเปลี่ยนเป็นโทสะ เราก็ได้เห็นการปะทะกันระหว่างสองเพศนี้อย่างชัดเจน ฝ่ายชายใช้กำลังข่มขู่คุกคาม ส่วนฝ่ายหญิงใช้เล่ห์เหลี่ยมเข้าสู้ เมื่อฝ่ายหญิงได้เห็นชายหนุ่มที่แสนสุภาพในตอนต้นเปลี่ยนไปเป็นสัตว์ร้าย การแสดงออกของผู้หญิงแต่ละคนก็เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือทันที แน่นอนว่าพอถึงเวลาที่จะต้องเอาชีวิตตนเองให้รอด บทจะโหดขึ้นมาผู้หญิงก็ทำได้เด็ดขาดเหมือนกัน และในตอนจบ ก็สมกับหนังที่ชื่อ Beguiled ที่แปลว่า ถูกล่อลวง (ด้วยเสน่หา) ตลอดทั้งเรื่องเราอาจจะได้เห็นฝ่ายหญิงและฝ่ายชายสลับกันใช้เสน่ห์เพื่อยั่วยวนอีกฝ่ายให้ได้มาในสิ่งที่ต้องการ แต่สุดท้ายแล้ว บุคคลที่พลาดท่าเสียทีโดนหลอกเป็นคนสุดท้ายก็ต้องแพ้ภัยไป
ภาพยนตร์เรื่องนี้ประกอบด้วยนักแสดงระดับแนวหน้าทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น นิโคล คิดแมน รับบท มาร์ธา ซึ่งแสดงได้ดีมาก ดูมีอำนาจและใจเด็ด ในบางเวลาดูยากว่าเธอชอบฝ่ายชายหรือไม่หรือสนใจฝ่ายชายแง่ไหน ชอบรอยยิ้มในช่วงสุดท้ายของเธอดูเหี้ยมดีเมื่อเห็นฝ่ายชายเสียท่าต่อหน้าต่อตา สังเกตว่าในซีนนั้น เธอเป็นตัวละครที่ยิ้มอยู่คนเดียวในขณะที่คนอื่นหน้าเครียดหรือหวาดกลัว ต่อมา เคิร์สเติน ดันส์ รับบท เอ็ดวิน่า ครูสาวผู้เรียบร้อย คนนี้ก็เล่นได้อินเหมือนกัน ดูเหมือนเป็นหญิงซื่อๆ โดนหลอกง่าย (น่าสงสาร อุตส่าห์แต่งตัวอย่างดี พรมน้ำหอม นอนสวยๆ รอหนุ่มมาที่ห้อง แต่ดันรอเก้อ) แอล แฟนนิ่ง รับบท อลิเซีย สาวแรกรุ่นที่มีจริตจะก้านของผู้หญิงอย่างเห็นได้ชัด เวลาอ่อยดูน่ารักปนน่าหมั่นไส้ ถือว่าเป็นสีสันของหนังเลยทีเดียว ส่วน โคลิน ฟาร์เรล ผู้รับบททหารหนุ่ม จอห์น แมคเบอร์นี่ย์ ก็เล่นได้สมตัวในบทนี้ ตอนอาละวาดดูน่ากลัวจริงจัง ตอนจีบผู้หญิงก็ดูขายฝันใช้ได้
เกร็ดเล็กน้อยเกี่ยวกับภาพยนตร์
- The Beguiled ได้รับรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยม จากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ปี 2017 ซึ่งผู้กำกับก็คือ โซเฟีย คอปโปลา
- ภาพยนตร์เรื่องนี้ดัดแปลงมาจากภาพยนตร์ชื่อเดียวกัน The Beguiled ในปี 1971 ของดอน ซีเกล ซึ่งสร้างมาจากนิยายที่ชื่อว่า A Painted Devil ของ โธมัส คัลลิแนน โดยผู้รับบททหารหนุ่มในเวอร์ชัน 1971 คือ คลินท์ อีสวู้ด
- เชื่อหรือไม่ หนังไทยเรื่องหนึ่งที่คล้ายคลึงกับ The Beguiled อย่างมากก็คือ “พิศวาสซาตาน” (พ.ศ. 2529) ของคุณพิศาล อัครเศรณี ผู้หญิงตัวเอกของเรื่องก็ชื่อ มาร์ธา เหมือนกัน เนื้อหาค่อนข้างเหมือนกันราว 70% มีบางส่วนที่แตกต่างออกไปเล็กน้อย ตอนจบแหวกแนวไปจากต้นฉบับและค่อนข้างแรงทีเดียว ทำให้คิดว่าที่จริงหนังไทยสมัยก่อนเนื้อเรื่องแรงจังแฮะ เห็นว่าฉากโป๊ หรือฉากรุนแรงไม่มีกั๊กเลย
- ฝ่ายคอสตูมของภาพยนตร์ได้คัดเลือกเสื้อผ้าที่เหมาะสมกับลักษณะนิสัยของตัวละคร เช่น มาร์ธาผู้เป็นครูใหญ่จะสวมใส่เสื้อผ้าคอปิด เพราะทำให้ดูมีอำนาจ ตัวละครเอ็ดวิน่าที่เหมือนหญิงสาวใสซื่อโรแมนติก จะสวมเสื้อที่มีแขนพองๆ และกระโปรงเนื้อบางเบา รวมทั้งใส่เครื่องประดับเพื่อแสดงออกถึงความเป็นหญิง ส่วนอลิเชีย จะสวมชุดที่มีระบายเป็นชั้นๆ เน้นความ “horny” ของเธอ (เพิ่งรู้ว่าชุดที่มีแถบระบายเยอะๆ มันสื่อแง่นั้นด้วยหรอ)
เขียนโดย: ฟุ้งซ่านจัง
ที่มา: https://revieweryclub.wordpress.com/2017/09/02/the-beguiled-2017/
Fan Page: https://www.facebook.com/RevieweryClub
ข้อมูลอ้างอิง
http://www.latimes.com/entertainment/movies/moviesneaks/la-ca-mn-sneaks-beguiled-sofia-coppola-20170421-story.html
http://www.imdb.com/title/tt5592248/trivia?ref_=tt_trv_trv