"น้ำตาฮีโร่" ฟุตซอลหญิงไทย ไม่มีงานทำ แม้คว้าทองซีเกมส์ รู้สึกแย่ที่ได้อ่านข่าวนี้ค่ะ

ได้อ่านข่าวจากเวปผู้จัดการ http://manager.co.th/Sport/ViewNews.aspx?NewsID=9600000089009 หลังจากอ่านจบ รู้สึกแย่มากๆ ค่ะ ทำไมนักกีฬาไทยถึงได้ลำบากขนาดนี้ บางสมาคมงบมาเป็นฟ่อนๆ นักกีฬาอยู่อย่าง สุขสบาย ตั้งหน้าตั้งตาซ้อมอย่างเดียว ไม่ต้องห่วงอะไร แต่สำหรับอีกสมาคมนักกีฬาต้องมานั่งห่วงอนาคต ลำบาก ลำบน ฝึกซ้อมไป ก็กังวลไป สมัยนี้เขาไม่มีโควต้าให้นักกีฬาทำงานข้าราชการ และรัฐวิสาหกิจ กันแล้วเหรอค่ะ ทางกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ควรจะมีวิธีจัดการที่ดีกว่านี้นะคะ เข้าใจว่าบางชนิดกีฬาไม่เป็นที่นิยมจริงๆ หรือทำผลงานไม่ดีบ้าง แต่ถ้าทางกระทรวงตั้งใจจะปลุกปั้นนักกีฬาเพื่อปูทาง ก็ควรที่จะเลี้ยงดูปูเสื่อ ให้ดีกว่านี้ คิดถึงอนาคตนักกีฬาบ้างจะมีบ้างมั๊ยค่ะ? หรือไม่ก็ตัดประเภทกีฬาที่คิดว่าดันไม่ขึ้นไปน่าจะดีกว่า นักกีฬาจะได้นึกถึงอนาคตตัวเองบ้าง และเมื่อนึกถึงนักกีฬาที่ไม่มีฐานะทางบ้านเป็นทุน เข้าใจว่าน่าจะลำบากน่าดูนะคะ     

เนื้อข่าวค่ะ : แฟนเพจ Futsal Thailand - ฟุตซอลไทยแลนด์ ออกมาเผยแพร่ความจริงของทีมโต๊ะเล็กหญิงทีมชาติไทย แม้จะคว้าเหรียญทองซีเกมส์ 2017 ทว่าเบื้องหลังอาบน้ำตา เพราะไม่มีงาน เนื่องจากต้องฝึกซ้อมแรมเดือนจึงไม่มีห้างร้านใดอยากรับเข้าทำงาน
     
      ภายหลังจากทีมฟุตซอลหญิงทีมชาติไทย ประสบความสำเร็จด้วยการคว้าเหรียญทองซีเกมส์ 2017 โดยนัดสุดท้ายถล่มเอาชนะเจ้าภาพ มาเลเซีย ไปอย่างย่อยยับ 12-0 ประตู ทว่าเบื้องหลังกลับรันทดยิ่งกว่าละครน้ำเน่า โดยแฟนเพจ "Futsal Thailand - ฟุตซอลไทยแลนด์" ออกมาเผยแพร่ข้อเท็จจริงว่า นักกีฬาเหล่านี้แม้สำเร็จการศึกษารับปริญญา ทว่ากลับไม่มีงานทำ เนื่องจากต้องออกมาฝึกซ้อมเพื่อนเตรียมตัวแข่งขันเป็นแรมเดือน จึงได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก
     
      เรื่องราวเบื้องหน้าแห่งชัยชนะ ได้ผ่านไป
      เหรียญทอง ได้สร้างรอยยิ้ม เสียงหัวเราะและความสุข ให้กับแฟนกีฬาชาวไทย
      เป็นสิ่งที่นักกีฬาได้มอบให้จากช่วงเวลาของการแข่งขันและต่อสู้ ด้วยความทุ่มเท บากบั่น เพียรพยายาม จนกระทั่งประสบความสำเร็จ
      แต่หลังจากช่วงเวลานั้นผ่านไป เวลาแห่งความเป็นจริง ที่กำลังปรากฎ กลับเป็นอีกโลกที่แฟนกีฬา อาจไม่รู้มาก่อน ว่าเบื้องหน้ากับเบื้องหลังแท้จริงแล้ว มันกลับกัน
      ถึงเวลาล้อมวงเข้ามาฟังความจริง...
      หลังจากแยกย้ายกลับบ้าน ผู้สื่อข่าวทักทายสอบถามก่อนอำลา " จูน กลับบ้านเเล้วไปทำไรต่อ"
      ศศิชา โพธิวงศ์ "จูน" ดาวซัลโวซีเกมส์ KL 2017 เเละเหรียญทอง 4 สมัย ถึงกับสะดุ้งเหมือนโดนไฟช้อต จากนั้นก้มหน้างุด เงียบงันลงไป ดวงตาเริ่มจะรื้นๆ น้ำตาคลอเบ้า ก่อนจะแข็งใจสะกดคำพูดสั่นเครือออกมา
      "ก็ยังไม่รู้เหมือนกันว่าจะเป็นยังไงคะ เพราะทำงานที่เก่า ถ้าไม่เซนต์ชื่อ ก็ไม่มีเบี้ยเลี้ยง ส่วนเงินเดือนก็ไม่มีอยู่แล้ว หนูทำงานเป็นหน่วยอาสา "
      ฮีโร่ ซีเกมส์เอ่ย ทำเอาผู้สื่อข่าว งุนงง
      "อ้าว แล้วยังไม่มีงานประจำหรอ เงินเดือนไม่มีเลยหรอ นี่อายุเท่าไรแล้ว ได้ข่าวว่าเรียนปริญญาโท"
      "ค่ะ นี่จบโท แต่ก็ยังไม่มีงาน เพราะว่านักกีฬาอย่างเรา ถ้าไปซ้อมไปเก็บตัวเป็นเดือน ๆแบบนี้ ก็ไม่มีใครจ้าง ก็เหมือนเพื่อนๆพี่ๆอีกหลายคน อย่าง กาว พรรนิภา กมลรัตน์ ผู้รักษาประตู เติ้ล จีระประภา ทับสุรีย์ พวกพี่เขาทำ อคาเดมี่สอนบอล ถ้าไม่ไปทำเขาก็ไม่ให้เงิน ก็ต้องเลือกเอาว่าจะทำงาน หรือเล่นกีฬา" จูน พูดหน้าเศร้า
      หันไปหา กาว พรรนิภา ถามไถ่เรื่องราว เธอเล่าว่า
      "หนูทำมาหลายอาชีพแล้วพี่ ตั้งแต่เก็บเงินทางด่วนตรงลาดกะบัง ทำอยู่ปีนึง ก็ไปทำบริษัท ล่าสุดนี่ทำคิวซี ก็พวกตรวจสอบสินค้า ทำมาเกือบปีแล้ว แต่ก่อนจะมาติดซีเกมส์นี่ก็ต้องลาออก เพราะต้องมาซ้อมทีมชาติเป็นเดือน เขาก็ให้ออก เพราะเขาถามว่าให้เลือกเอา จะทำงานหรือจะเล่นกีฬา หนูก็เลยต้องออก"
      "อายุเท่าไร แล้วแล้วจะไปทำอะไรต่อ" ผู้สื่อข่าวอดสงสัยไม่ได้
      "อายุ29 แล้ว ก็ยังไม่รู้ว่าจะทำอะไรต่อ ก็คงค่อยหางานเอาใหม่ ตอนนี้ก็พยายามเล่นทีมชาติให้ประสบความสำเร็จ ได้เบี้ยเลี้ยงซ้อมบ้าง ได้เหรียญทอง พอได้อัดฉีดบ้าง ก็พออยู่ได้ไปก่อน แต่หมายความว่าต้องไม่เจ็บ ไม่โดนตัดตัวนะ" พรรนิภา กล่าวด้วยใบหน้ากังวลเช่นกัน
      นั่นจึงทำให้นึกย้อนกลับไปในเกมกับอินโดนีเซียที่ทีมไทยทำได้แค่เสมอ 2-2 ทำให้ห้องแต่งตัวหลังเกมนั้น เต็มไปด้วยความเครียด ผู้เล่นมีสีหน้าที่กังวล ไม่มีใครพูดจาอะไรกัน เหมือนกับละครเลิกโดยที่การแสดงยังไม่จบ
      เหรียญทอง ความสำเร็จ คือ หนทางอยู่รอดเดียวของพวกเธอเหล่านั้นนั่นเอง
      ผู้สื่อข่าว นึกในใจ
      ย้อนมองไปถึงเรื่องราวของ เส้นทางนักกีฬาฟุตซอลหญิง เบื้องหน้าคือรอยยิ้ม ความภาคภูมิใจของชาติ แต่เบื้องหลังโลกแห่งความเป็นจริง เมื่อไม่มีการเเข่งขัน ทุกคนก็ต้องไปเร่ขายแรงงานตามกำลัง ไม่มีลีกอาชีพให้เล่น ไม่มีสโมสรให้ลงแข่งขันอย่างต่อเนื่อง ไม่มีเงินเดือน เงินดาวน์ เมื่อถึงคราวทัวร์นาเม้นท์เลิกรา ต่างคนต่างแยกย้ายขวนขวายตะเกียกตะกายเพื่ออยู่รอด ไม่แตกต่างกับชีวิตชาวบ้านตาดำๆบนท้องถนนทั่วไป
      นี่คือ ฮีโร่เปื้อนฝุ่น ในแบบไทยๆ เมื่ออยู่หลังม่านความสำเร็จ
      นี่คือเรื่องราวส่วนหนึ่งของฮีโร่หญิงฟุตซอลทีมชาติไทย ความภาคภูมิใจเหรียญทอง 4 สมัยที่ชาติอื่นแค่แค่ฝัน
      แต่อีกหลายชีวิต ยังต้องต่อสู้ฝ่าฟันในโลกแห่งความจริง ไม่เพียงแต่ 3 คนที่กล่าวมา แต่ทว่ายังมีอีกมากมายหลายรายที่กำลังจะเรียนจบออกมาแต่ไม่มีงานทำ เพราะ คำถามที่ไม่มีทางออกว่า จะทำงานหรือเล่นกีฬา ?
      มีคำตอบถูกแค่คำตอบเดียว...น้องๆอย่าง "หยก"พัชราภร , "น้ำ" เจนจิรา , "เติม"มุทิตา , "ปลั้ก"หทัยชนก , ฯลฯ
      จะเลือกตอบอะไร...
      แล้วเราล่ะ...
      จะช่วยเหล่าฮีโร่ พวกเรากันยังไง...
      เป็นคำถามที่พวกเราอาจจะต้องช่วยหาคำตอบด้วย เช่นกัน...
     
      ทั้งนี้กรณีดังกล่าวก็เคยเกิดกับทีมฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย ภายใต้การดูแลของ "มาดามแป้ง" นวลพรรณ ล่ำซำ ผู้จัดการทีม ซึ่งนักกีฬาต่างไม่มีงานประจำ และเคยร้องขอการบรรจุเข้ารับราชการตำรวจ หรือทหาร ทว่ากลับไม่เป็นผล ส่งผลให้ "มาดามแป้ง" ต้องดึงนักกีฬาเหล่านี้เข้าทำงานในบริษัทของตนเอง

FacepalmFacepalmเม่าตกอับเม่าหาบเร่เม่าโกรธเม่าโกรธ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
อยากให้มีการจัดตั้งหน่วยงานดูแลเรื่องอาชีพและความเป็นอยู่ครับ รู้ว่าเหนื่อยทุกคนเพื่อชาติแต่ไม่อยากให้จับยัดเป็นข้าราชการ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่