ชอบมาก ๆ ๆ ๆ ๆ ที่สุด
“Leviathan” (2012) ผลงานของ Lucien Castaing-Taylor, Verena Paravel ภาพยนตร์สารคดีว่าด้วยเรือประมงขนาดกลางที่เป็นโรงงานแล่สัตว์ทะเลเคลื่อนที่ขนาดย่อมใจกลางมหาสมุทรแอตแลนติก...ใช่แล้ว ใช่เลย มีแค่นี้ล่ะทั้งเรื่องไม่มีอะไรมากกว่านี้ แต่เพราะความที่มันมีเท่านี้ล่ะ องค์ประกอบอื่น ๆ จึงเป็นการสร้างความตื่นตาตื่นใจ
(จากนี้ไปจะเปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของเรื่อง แต่อ่านไปก็ไม่มีผลต่อความรู้สึกที่ยังไม่ได้รับชม)
ด้วยความที่มันเป็นสารคดีที่แท้จริง มันจริงไม่มีการประดิษฐ์หรือกำกับทางอารมณ์ผ่านทางการวางมุมภาพ แสงไฟและการใช้ดนตรีประกอบเพื่อสร้างอารมณ์ความรู้สึกให้แก่เรา ไม่มีบทพูด ไม่มีเสียงบรรยาย จะบอกว่าไม่มี...อะไรเลยก็ได้นอกจาก ภาพและเสียงบรรยากาศ เสียงสภาพแวดล้อม แต่เท่านี้ล่ะมันก็ทำให้ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ได้รับคำวิจารณที่ดีและติด 1 ใน 20 สารคดีที่ควรชมของหลาย ๆ สำนักวิจารณ์
อะไรบ้างคือความทรงพลังของภาพยนตร์สารคดีชิ้นนี้
นั่นคือการพาเราไปเห็นธรรมชาติในความรุนแรงของมนุษย์ที่สะท้อนออกมาจากพฤติกรรมของสายอาชีพประมง เช่นการแล่เอาไส้ปลาออก การตัดครีบปลากระเบน การแกะเอาเนื้อหอยออกจากเปลือกหอย เป็นต้น แน่ล่ะเราก็อาจคิดว่ามันก็เป็นเรื่องปกติธรรมดาของอาชีพนี้อยู่แล้ว แต่ที่มันไม่ธรรมดาก็คือ การได้เห็นความธรรมดาที่เราในฐานะคนทั่วไปคงไม่มีโอกาสหรือไม่แม้แต่จะสนใจไปเห็น แต่เพราะสัตว์ทะเลโดยเฉพาะปลาก็มี “เลือด” สีแดงเหมือนกับมนุษย์ พอมันเป็นการแล่สด ๆ มันก็เกิดความรู้สึกเกี่ยวกับความรุนแรง ความเจ็บปวด เพราะเราเองก็มีเลือดสีแดง มันก็ย่อมเป็นความรู้สึกเจ็บปวดจากการที่เลือดออกมาจากร่างกายของเรานั้นล่ะ
ดังนั้นขณะที่เราดูฉากการแล่สัตว์ทะเลเหล่านี้ เราจึงเจ็บปวด หดหู่ เศร้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นก็เพราะเรากับสัตว์ทะเลต่างมีเลือดสีแดงเช่นเดียวกัน มีเส้นประสาทเหมือนกันและมีความรู้สึกเช่นเดียวกัน ดังนั้นในภาวะหนึ่งเราก็รู้สึกถึงความโหดร้ายจากความธรรมดาของอาชีพ และอาจสะท้อนไปได้ว่า พฤติกรรมปกติของแต่ละอาชีพย่อมมีความรุนแรงจากสายตาของอีกสายอาชีพหนึ่งอยู่เสมอ
ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้มีฉากน่าจดจำหลายฉาก เช่น ฉากตั้งกล้องนิ่ง ๆ ถ่ายชาวประมงกำลังนั่งดูทีวีอยู่บนเรือจนเขาเผลอหลับไป (ทั้งที่ ถ้าเป็นฉากแบบนี้คนที่หลับน่าจะเป็นคนดูมากกว่า) ฉากที่ชาวประมงกำลังแล่เนื้อปลาแล้วนำเนื้อส่วนที่ถูกแล่และไม่มีประโยชน์ในสายตาชาวประมงทิ้งลงทะเล ซึ่งแน่นอนมันก็มีความธรรมดาอยู่นั่นล่ะ แต่สิ่งที่จะกล่าวต่อมา นั้นล่ะคือ พลังทั้งหมดของเรื่อง อย่างแรกนั่นก็คือ วิธีการถ่ายทำ
มันช่างน่าตื่นตาตื่นใจเหลือเกินกับ “มุมภาพ” แบบนี้ มันเหมือนจะเป็นมุมภาพที่ไม่ธรรมดา มันเหมือนเป็นเทคนิคทั่ว ๆ ไปของการถ่ายทำ แต่เพราะความ “เรียล” ของการถ่ายทำนั้นแหละคือ พลังทั้งหมดของเรื่องนี้ ตั้งแต่ มุมภาพบุคคลที่หนึ่งแต่ไม่ใช่สายตาจากบุคคลที่หนึ่ง มันเป็นมุมภาพที่ชาตินี้คงไม่มีใครจะมีประสบการณ์เอาสายตาตัวเองไปอยู่ในตำแหน่งแบบที่กล้องกำลังถ่าย เช่น การตั้งกล้องที่ลังปลาติดกับพื้นล่างของลัง ภาพที่เห็นคือ ตาของปลาระดับ ECU หรือ Close up โคตร ๆ มันใกล้กับปลามากจนเราได้กลิ่น “คาวปลา”
งานสารคดีโดยทั่วไปมักจะถ่ายในฐานะบุคคลที่ 3 หรือถ่ายระยะไกลในฐานะผู้สังเกตการณ์ แต่เรื่อนี้เป็นไปในทิศทางตรงข้าม คือ เอากล้องใกล้กับสิ่งที่ต้องการจะถ่ายมาก จนทำให้เราเกิดความรู้สึกออกมา อย่างที่บอกไปก็คือ มันถ่ายใกล้มากจนได้กลิ่นปลา ใกล้มากจนรู้สึกสยดสยอง หวาดกลัว เป็นการถ่ายที่ทำให้เราในฐานะคนดูเกิดความรู้สึกอื่นๆ มากมาย ไหนจะมีฉากที่เอากล้องไปอยู่ที่แหหรืออวนปลา ไม่ใช่ถ่ายจากบนเรือนะ แต่เอากล้องไปอยู่ที่แหหรืออวนเรือลากเลย เหมือนเรากำลังอยู่ในอวนปลา ให้มุมภาพแบบเรากำลังเป็นปลาตัวนั้นหรือไม่ก็เรากำลังอยู่ในตาข่ายเหล็กของอวนเรือ
พลังของเรื่องคือ การวางมุมกล้องนี้ล่ะ วางมันในฐานะสายตาบุคคลที่ 1 ในมุมที่เราไม่เคยมีมุมมองแบบนี้มาก่อน
ไหนจะฉากที่เห็นฝูงนกกำลังกินซากสัตว์ทะเลที่เรือประมงทิ้งลงทะเลหรือกำลังล่าปลาที่ติดอยู่ในตาข่ายอวนเรือ แน่นอนว่าถ้าเป็นมุมภาพปกติ ก็คงถ่ายจากบนเรือในฐานะบุคคลที่ 3 กำลังสังเกตการณ์ แต่อีเรื่องนี้ก็อย่างที่บอก มันกลับเป็นมุมภาพบุคคลที่ 1 แทนสายตานกตัวนั้น หรืออาจจะหมายถึงเรากำลังเป็นนกตัวนั้น หรืออาจหมายถึงเราคือบุคคลที่ 3 แต่อยู่ท่ามกลางฝูงนก แล้วความน่าตื่นตาตื่นใจคือ มันเป็นฉาก Long take (ไม่ทีคัท) ขณะที่กล้องกำลังอยู่ท่ามกลางอากาศ สักพัก มันก็จมดิ่งไปที่น้ำทะเล ราวกับเรากำลังเป็นนกที่กำลังจับปลากลางทะเล นั่นเพราะมันไม่มีภาพมาเปลี่ยนคัทหรือเปลี่ยนภาพเลย
ดังนั้นภาพรวมของการวางกล้องของหนังเรื่องนี้จึงเป็นภาพแบบบุคลลที่ 3 แต่อยู่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์มาก มากเสียจนชีวิตนี้คงจะไม่ได้เห็นมุมมองแบบนี้ในงานสารคดีเรือประมงใด ๆ นอกจากเรื่องนี้ การวางกล้องที่ ECU หรือ Close up มาก ๆ ในแง่จิตวิทยาก็สามารถดึงเอาความรู้สึกอื่นๆ ออกมาได้ด้วย ทั้งการได้กลิ่นคาวปลา ความรู้สึกอยากอ้วก เหม็นคาวเลือด ทั้งหมดมาจากการ “วางมุมกล้อง” นั้นเอง ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงเป็นครูชั้นดีเกี่ยวกับการวางกล้องเพื่อให้เกิดความรู้สึกและสามารถทำให้เราเกิดการรับรู้จากประสาทสัมผัสมากกว่าแค่ตาเห็น แม้เราจะรับรู้ผ่านสายตาเพียงอย่างเดียว
แล้วที่สร้างความรู้สึกมากขึ้นนั้นก็คือ จังหวะตัดต่อ แน่ล่ะ สารคดีโดยทั่วไปคงไม่ได้ใช้จังหวะการตัดต่อมากนัก แต่สำหรับเรื่องนี้เมื่อมีการวางมุมภาพดั่งที่เขียนไปข้างต้น การตัดต่อจึงมีส่วนสำคัญที่ทำให้เราเกิดความรู้สึก เช่น ฉากที่ชาวประมงกำลังโกยเอาเนื้อปลาที่ถูกแล่แล้วทิ้งลงทะเลไป ภาพก็ตัดอย่างรวดเร็วราวกับ Cutting on action หรือการตัดต่อตามจังหวะการเคลื่อนไหวของวัตถุไปที่อีกมุมกล้องหนึ่งที่ติดกับท้องเรือ ทำให้เห็น ชิ้นเนื้อสัตว์ทะเล เลือด ไหลลงทะเล และด้วยคลื่นลมของเรือที่กำลังแล่นกลางมหาสมุทร ท่ามกลางกระแสลม ทั้งเศษเนื้อสัตว์ทะล น้ำเลือดสีแดงชัดตัดกับสีของน้ำทะเลก็สาดเข้าใส่กล้อง ราวกับกำลังสาดเข้าใส่หน้าเรา ในฐานะมุมมองบุคคลที่ 1 นั้นเอง แล้วที่มันทำให้เรารู้สึกได้แบบนั้นอีกสิ่งหนึ่งก็เพราะ “เสียงบรรยากาศ”
การใช้เสียงบรรยากาศสามารถสร้างอารมณ์ได้อย่างเหลือเชื่อแต่ก็คาดเดาได้ เสียงของเครื่องยนต์ เครื่องลากตาข่ายเหล็ก และเสียงคลื่นทะเล สามารถสร้างความรู้สึกกลัวได้ ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้จึงเล่นกับประสบการณ์ของคนดูผ่านเสียงของสภาพแวดล้อมได้อย่างดี ไหนจะเสียงของกล้องที่อยู่บนผิวน้ำ มันก็ความรู้สึกราวกับเรากำลังว่ายน้ำอยู่ท่ามกลางมหาสมุทร ราวกับคลื่นทะเลกำลังซัดเข้ามาที่หัวของเรา
สรุปแล้ว ถ้าดูภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ตามแว่นที่ใช้ดูภาพยนตร์ทั่วไปอาจชวนน่าเบื่อ ชวนง่วงและเป็นยากล่อมประสาทได้ดีอย่างหนึ่งเพราะไม่มีบทบรรยาย ไม่มีบทสนทนา ไม่มีองค์ประกอบของหนังเล่าเรื่องเลย แต่หากใส่แว่นที่ไม่เคยสวมชมเรื่องไหนมาก่อน สิ่งที่ได้มันคือ ความตื่นตาตื่นใจในความธรรมดาของอาชีพประมงในอุตสาหกรรมแบบเรืออวนหาปลา พร้อมโรงแล่ขนาดย่อม แล้วความไม่ธรรมดาทั้งการวางกล้อง มุมภาพ จังหวะตัดต่อ ของผู้กำกับนี้ล่ะ จึงทำให้ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้เป็นครูสำหรับการวางมุมภาพเพื่อให้คนดูเกิดความรู้สึกอีกด้วย
ติดตามแลกเปลี่ยนพูดคุยพร้อมชมภาพตัวอย่างจากภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ได้ที่
https://www.facebook.com/มองมุมหนัง-1824801794428920/
ภาพยนตร์สารคดี “Leviathan” ตื่นตาตื่นใจบนเรือหาปลา ใจกลางมหาสมุทรแอตแลนติก
“Leviathan” (2012) ผลงานของ Lucien Castaing-Taylor, Verena Paravel ภาพยนตร์สารคดีว่าด้วยเรือประมงขนาดกลางที่เป็นโรงงานแล่สัตว์ทะเลเคลื่อนที่ขนาดย่อมใจกลางมหาสมุทรแอตแลนติก...ใช่แล้ว ใช่เลย มีแค่นี้ล่ะทั้งเรื่องไม่มีอะไรมากกว่านี้ แต่เพราะความที่มันมีเท่านี้ล่ะ องค์ประกอบอื่น ๆ จึงเป็นการสร้างความตื่นตาตื่นใจ
(จากนี้ไปจะเปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของเรื่อง แต่อ่านไปก็ไม่มีผลต่อความรู้สึกที่ยังไม่ได้รับชม)
ด้วยความที่มันเป็นสารคดีที่แท้จริง มันจริงไม่มีการประดิษฐ์หรือกำกับทางอารมณ์ผ่านทางการวางมุมภาพ แสงไฟและการใช้ดนตรีประกอบเพื่อสร้างอารมณ์ความรู้สึกให้แก่เรา ไม่มีบทพูด ไม่มีเสียงบรรยาย จะบอกว่าไม่มี...อะไรเลยก็ได้นอกจาก ภาพและเสียงบรรยากาศ เสียงสภาพแวดล้อม แต่เท่านี้ล่ะมันก็ทำให้ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ได้รับคำวิจารณที่ดีและติด 1 ใน 20 สารคดีที่ควรชมของหลาย ๆ สำนักวิจารณ์
อะไรบ้างคือความทรงพลังของภาพยนตร์สารคดีชิ้นนี้
นั่นคือการพาเราไปเห็นธรรมชาติในความรุนแรงของมนุษย์ที่สะท้อนออกมาจากพฤติกรรมของสายอาชีพประมง เช่นการแล่เอาไส้ปลาออก การตัดครีบปลากระเบน การแกะเอาเนื้อหอยออกจากเปลือกหอย เป็นต้น แน่ล่ะเราก็อาจคิดว่ามันก็เป็นเรื่องปกติธรรมดาของอาชีพนี้อยู่แล้ว แต่ที่มันไม่ธรรมดาก็คือ การได้เห็นความธรรมดาที่เราในฐานะคนทั่วไปคงไม่มีโอกาสหรือไม่แม้แต่จะสนใจไปเห็น แต่เพราะสัตว์ทะเลโดยเฉพาะปลาก็มี “เลือด” สีแดงเหมือนกับมนุษย์ พอมันเป็นการแล่สด ๆ มันก็เกิดความรู้สึกเกี่ยวกับความรุนแรง ความเจ็บปวด เพราะเราเองก็มีเลือดสีแดง มันก็ย่อมเป็นความรู้สึกเจ็บปวดจากการที่เลือดออกมาจากร่างกายของเรานั้นล่ะ
ดังนั้นขณะที่เราดูฉากการแล่สัตว์ทะเลเหล่านี้ เราจึงเจ็บปวด หดหู่ เศร้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นก็เพราะเรากับสัตว์ทะเลต่างมีเลือดสีแดงเช่นเดียวกัน มีเส้นประสาทเหมือนกันและมีความรู้สึกเช่นเดียวกัน ดังนั้นในภาวะหนึ่งเราก็รู้สึกถึงความโหดร้ายจากความธรรมดาของอาชีพ และอาจสะท้อนไปได้ว่า พฤติกรรมปกติของแต่ละอาชีพย่อมมีความรุนแรงจากสายตาของอีกสายอาชีพหนึ่งอยู่เสมอ
ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้มีฉากน่าจดจำหลายฉาก เช่น ฉากตั้งกล้องนิ่ง ๆ ถ่ายชาวประมงกำลังนั่งดูทีวีอยู่บนเรือจนเขาเผลอหลับไป (ทั้งที่ ถ้าเป็นฉากแบบนี้คนที่หลับน่าจะเป็นคนดูมากกว่า) ฉากที่ชาวประมงกำลังแล่เนื้อปลาแล้วนำเนื้อส่วนที่ถูกแล่และไม่มีประโยชน์ในสายตาชาวประมงทิ้งลงทะเล ซึ่งแน่นอนมันก็มีความธรรมดาอยู่นั่นล่ะ แต่สิ่งที่จะกล่าวต่อมา นั้นล่ะคือ พลังทั้งหมดของเรื่อง อย่างแรกนั่นก็คือ วิธีการถ่ายทำ
มันช่างน่าตื่นตาตื่นใจเหลือเกินกับ “มุมภาพ” แบบนี้ มันเหมือนจะเป็นมุมภาพที่ไม่ธรรมดา มันเหมือนเป็นเทคนิคทั่ว ๆ ไปของการถ่ายทำ แต่เพราะความ “เรียล” ของการถ่ายทำนั้นแหละคือ พลังทั้งหมดของเรื่องนี้ ตั้งแต่ มุมภาพบุคคลที่หนึ่งแต่ไม่ใช่สายตาจากบุคคลที่หนึ่ง มันเป็นมุมภาพที่ชาตินี้คงไม่มีใครจะมีประสบการณ์เอาสายตาตัวเองไปอยู่ในตำแหน่งแบบที่กล้องกำลังถ่าย เช่น การตั้งกล้องที่ลังปลาติดกับพื้นล่างของลัง ภาพที่เห็นคือ ตาของปลาระดับ ECU หรือ Close up โคตร ๆ มันใกล้กับปลามากจนเราได้กลิ่น “คาวปลา”
งานสารคดีโดยทั่วไปมักจะถ่ายในฐานะบุคคลที่ 3 หรือถ่ายระยะไกลในฐานะผู้สังเกตการณ์ แต่เรื่อนี้เป็นไปในทิศทางตรงข้าม คือ เอากล้องใกล้กับสิ่งที่ต้องการจะถ่ายมาก จนทำให้เราเกิดความรู้สึกออกมา อย่างที่บอกไปก็คือ มันถ่ายใกล้มากจนได้กลิ่นปลา ใกล้มากจนรู้สึกสยดสยอง หวาดกลัว เป็นการถ่ายที่ทำให้เราในฐานะคนดูเกิดความรู้สึกอื่นๆ มากมาย ไหนจะมีฉากที่เอากล้องไปอยู่ที่แหหรืออวนปลา ไม่ใช่ถ่ายจากบนเรือนะ แต่เอากล้องไปอยู่ที่แหหรืออวนเรือลากเลย เหมือนเรากำลังอยู่ในอวนปลา ให้มุมภาพแบบเรากำลังเป็นปลาตัวนั้นหรือไม่ก็เรากำลังอยู่ในตาข่ายเหล็กของอวนเรือ
พลังของเรื่องคือ การวางมุมกล้องนี้ล่ะ วางมันในฐานะสายตาบุคคลที่ 1 ในมุมที่เราไม่เคยมีมุมมองแบบนี้มาก่อน
ไหนจะฉากที่เห็นฝูงนกกำลังกินซากสัตว์ทะเลที่เรือประมงทิ้งลงทะเลหรือกำลังล่าปลาที่ติดอยู่ในตาข่ายอวนเรือ แน่นอนว่าถ้าเป็นมุมภาพปกติ ก็คงถ่ายจากบนเรือในฐานะบุคคลที่ 3 กำลังสังเกตการณ์ แต่อีเรื่องนี้ก็อย่างที่บอก มันกลับเป็นมุมภาพบุคคลที่ 1 แทนสายตานกตัวนั้น หรืออาจจะหมายถึงเรากำลังเป็นนกตัวนั้น หรืออาจหมายถึงเราคือบุคคลที่ 3 แต่อยู่ท่ามกลางฝูงนก แล้วความน่าตื่นตาตื่นใจคือ มันเป็นฉาก Long take (ไม่ทีคัท) ขณะที่กล้องกำลังอยู่ท่ามกลางอากาศ สักพัก มันก็จมดิ่งไปที่น้ำทะเล ราวกับเรากำลังเป็นนกที่กำลังจับปลากลางทะเล นั่นเพราะมันไม่มีภาพมาเปลี่ยนคัทหรือเปลี่ยนภาพเลย
ดังนั้นภาพรวมของการวางกล้องของหนังเรื่องนี้จึงเป็นภาพแบบบุคลลที่ 3 แต่อยู่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์มาก มากเสียจนชีวิตนี้คงจะไม่ได้เห็นมุมมองแบบนี้ในงานสารคดีเรือประมงใด ๆ นอกจากเรื่องนี้ การวางกล้องที่ ECU หรือ Close up มาก ๆ ในแง่จิตวิทยาก็สามารถดึงเอาความรู้สึกอื่นๆ ออกมาได้ด้วย ทั้งการได้กลิ่นคาวปลา ความรู้สึกอยากอ้วก เหม็นคาวเลือด ทั้งหมดมาจากการ “วางมุมกล้อง” นั้นเอง ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงเป็นครูชั้นดีเกี่ยวกับการวางกล้องเพื่อให้เกิดความรู้สึกและสามารถทำให้เราเกิดการรับรู้จากประสาทสัมผัสมากกว่าแค่ตาเห็น แม้เราจะรับรู้ผ่านสายตาเพียงอย่างเดียว
แล้วที่สร้างความรู้สึกมากขึ้นนั้นก็คือ จังหวะตัดต่อ แน่ล่ะ สารคดีโดยทั่วไปคงไม่ได้ใช้จังหวะการตัดต่อมากนัก แต่สำหรับเรื่องนี้เมื่อมีการวางมุมภาพดั่งที่เขียนไปข้างต้น การตัดต่อจึงมีส่วนสำคัญที่ทำให้เราเกิดความรู้สึก เช่น ฉากที่ชาวประมงกำลังโกยเอาเนื้อปลาที่ถูกแล่แล้วทิ้งลงทะเลไป ภาพก็ตัดอย่างรวดเร็วราวกับ Cutting on action หรือการตัดต่อตามจังหวะการเคลื่อนไหวของวัตถุไปที่อีกมุมกล้องหนึ่งที่ติดกับท้องเรือ ทำให้เห็น ชิ้นเนื้อสัตว์ทะเล เลือด ไหลลงทะเล และด้วยคลื่นลมของเรือที่กำลังแล่นกลางมหาสมุทร ท่ามกลางกระแสลม ทั้งเศษเนื้อสัตว์ทะล น้ำเลือดสีแดงชัดตัดกับสีของน้ำทะเลก็สาดเข้าใส่กล้อง ราวกับกำลังสาดเข้าใส่หน้าเรา ในฐานะมุมมองบุคคลที่ 1 นั้นเอง แล้วที่มันทำให้เรารู้สึกได้แบบนั้นอีกสิ่งหนึ่งก็เพราะ “เสียงบรรยากาศ”
การใช้เสียงบรรยากาศสามารถสร้างอารมณ์ได้อย่างเหลือเชื่อแต่ก็คาดเดาได้ เสียงของเครื่องยนต์ เครื่องลากตาข่ายเหล็ก และเสียงคลื่นทะเล สามารถสร้างความรู้สึกกลัวได้ ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้จึงเล่นกับประสบการณ์ของคนดูผ่านเสียงของสภาพแวดล้อมได้อย่างดี ไหนจะเสียงของกล้องที่อยู่บนผิวน้ำ มันก็ความรู้สึกราวกับเรากำลังว่ายน้ำอยู่ท่ามกลางมหาสมุทร ราวกับคลื่นทะเลกำลังซัดเข้ามาที่หัวของเรา
สรุปแล้ว ถ้าดูภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ตามแว่นที่ใช้ดูภาพยนตร์ทั่วไปอาจชวนน่าเบื่อ ชวนง่วงและเป็นยากล่อมประสาทได้ดีอย่างหนึ่งเพราะไม่มีบทบรรยาย ไม่มีบทสนทนา ไม่มีองค์ประกอบของหนังเล่าเรื่องเลย แต่หากใส่แว่นที่ไม่เคยสวมชมเรื่องไหนมาก่อน สิ่งที่ได้มันคือ ความตื่นตาตื่นใจในความธรรมดาของอาชีพประมงในอุตสาหกรรมแบบเรืออวนหาปลา พร้อมโรงแล่ขนาดย่อม แล้วความไม่ธรรมดาทั้งการวางกล้อง มุมภาพ จังหวะตัดต่อ ของผู้กำกับนี้ล่ะ จึงทำให้ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้เป็นครูสำหรับการวางมุมภาพเพื่อให้คนดูเกิดความรู้สึกอีกด้วย
ติดตามแลกเปลี่ยนพูดคุยพร้อมชมภาพตัวอย่างจากภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ได้ที่
https://www.facebook.com/มองมุมหนัง-1824801794428920/